Friday, 9 May 2025
PM2.5

‘ดร.ธรณ์’ สงสัย?? การแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ทำไม?? เพิ่งจะทำ ทั้งที่รู้ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วัน

(26 ม.ค. 68) ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ PM2.5 โดยมีใจความว่า .
ผมไม่มีความคิดเห็นต่อวิธีการแก้ไขปัญหาฝุ่นที่ออกมาเพราะมี 2 มุมมอง แต่ที่สงสัยคือช่วงเวลาที่ทำ

ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน เราพอทำนายสถานการณ์ฝุ่นล่วงหน้าอย่างน้อยก็ 3 วัน โดยดูจากสภาพอากาศ 

ผมจึงสงสัยว่าทำไมมาตรการต่างๆ ที่ทำในกรุงเทพและจังหวัดรอบๆ บางอย่างก็ไม่สอดคล้องกับช่วงเวลาของฝุ่นที่พอคาดเดาได้ด้วยเทคโนโลยีและหลักวิชาการ

เราโดนฝุ่นหนักๆ กันมาตั้งแต่กลางสัปดาห์ก่อน แต่ไม่มีมาตรการใดชัดเจน 

มาถึงวันเสาร์ เราขึ้นรถไฟฟ้าฟรี ต่อเนื่องไปอีกทั้งสัปดาห์ ถึงวันที่ 31 มกราคม

นอกจากนี้ ยังพอทราบว่า โรงเรียนบางแห่งปิด ให้เรียนออนไลน์ในสัปดาห์หน้า รวมถึงมหาลัยบางแห่งที่ให้อาจารย์เลือก ซึ่งส่วนใหญ่ก็คงเป็นออนไลน์ (เน้นย้ำ - บางแห่ง)

แต่ดูจากโมเดลพยากรณ์ต่างๆ สถานการณ์ฝุ่นจะคลี่คลายในวันจันทร์ 

และต่อเนื่องถึงอังคารและพุธ ที่อาจมีฝุ่นกลับมาบ้าง แต่ก็ไม่แรงเหมือนสัปดาห์ก่อน

หลังจากนั้นยังทำนายไม่ได้ หมายถึงบอกไม่ได้

ที่สงสัยคือช่วงฝุ่นแรงๆ ที่พอรู้ล่วงหน้า เราไม่ทำอะไร 

พอฝุ่นเริ่มหายไป เรากลับทำนี่นั่นตามกระแส

กระแสจะเกิดเมื่อมีฝุ่นหนัก เพราะคนมองเห็นด้วยตา แต่อากาศที่เอื้อต่อฝุ่นจะอยู่เพียงไม่กี่วัน

หากเรารอให้ฝุ่นเยอะจนเกิดกระแส จากนั้นค่อยทำ เวลามันจะเหลื่อมกันแบบนี้เสมอ

เอาเป็นว่าในวันจันทร์ หากเป็นไปตามพยากรณ์
พ่อแม่อาจมึน สงสัยว่าทำไมลูกถึงอยู่บ้านเรียนออนไลน์ ทั้งที่ฟ้าใส ก่อนเดินมึนๆ ขึ้นรถไฟฟ้าฟรีโดยใช้เงินภาษีต่อไปทั้งสัปดาห์
ก็ได้แต่ตั้งคำถามไว้แบบมึนๆ เหมือนกัน

ฝุ่นมา เราตกใจ ฝุ่นหาย เราทำ!!

‘นักวิชาการ วิศวะเกษตร’ เผย!! ค่าแรงงานตัด ‘อ้อยสด’ สูงกว่า ‘อ้อยเผา’ ถึง 3 เท่า ชี้!! ต้องสร้างระบบนิเวศน์ที่ยั่งยืน เพิ่มมูลค่าให้ ‘ใบอ้อย’ พัฒนาเทคโนโลยี ที่เหมาะสม

(26 ม.ค. 68) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Khwan Saeng’ ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ ‘การเผาอ้อย’ ในฐานะที่เติบโตมา ในโรงงานผลิตเครื่องจักรกลเกษตร ในจังหวัดที่มีไร่อ้อยเยอะมากๆ จนต่อมาได้ทุนรัฐบาลญี่ปุ่นไปเรียนต่อ แล้วเลือกไปที่ Okinawa เพราะอยากจะทำรถตัดอ้อยขนาดเล็กช่วยชาวไร่จะได้ไม่ต้องเผา จนกลับมาเป็นอาจารย์ที่สาขาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยข้อความที่ ‘Khwan Saeng’ โพสต์นั้นมีใจความว่า ...

วันนี้ขอมาตอบคำถามที่หลายคนที่ไม่คุ้นเคยกับอ้อยสงสัยว่า ‘ทำไมต้องเผาอ้อย’ เท่าที่ตัวเองมีความรู้ที่จะตอบได้นะคะ

ปัญหาการเผาอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยว: สาเหตุ วิธีแก้ไข และอนาคต

• การเผาอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยวเป็นปัญหาสำคัญในอุตสาหกรรมอ้อยไทย เนื่องจากลดต้นทุนแรงงาน แต่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ (PM2.5) และทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดิน

• สาเหตุหลักมาจากค่าแรงงานตัด ‘อ้อยสด’ ที่สูงกว่า ‘อ้อยเผา’ ถึง 3 เท่า เจ้าของแปลงเล็กๆ ขาดแคลนแรงงานและเครื่องจักร ทำให้ต้องพึ่งพาระบบการเผาเพื่อลดต้นทุนและขายอ้อยให้ทันเวลา

• แม้จะมีเครื่องจักรกลเกษตรขนาดเล็กสำหรับการตัดอ้อยสด แต่ก็ยังมีข้อจำกัดด้านต้นทุน การใช้งาน และความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ทำให้การเปลี่ยนแปลงยังไม่ครอบคลุม

• การแก้ปัญหาจำเป็นต้องมีมาตรการควบคู่กัน ทั้งการเพิ่มราคาอ้อยสด ลดการรับซื้ออ้อยเผา การให้เงินสนับสนุนและสินเชื่อสำหรับเครื่องจักรกลเกษตร รวมถึงการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากใบอ้อย

• งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อลดการเผาอ้อย เช่น เครื่องสับกลบใบอ้อย เครื่องอัดใบอ้อยเป็นก้อน และการใช้โดรนในการตรวจสอบการเผา

• อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด และการมีส่วนร่วมของชุมชนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการแก้ปัญหาการเผาอ้อยอย่างยั่งยืน การสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนจึงเป็นสิ่งจำเป็น

• อนาคตของการลดการเผาอ้อยนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ที่ยั่งยืน การเพิ่มมูลค่าให้กับใบอ้อย และการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะช่วยให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การจะแก้ปัญหานี้ได้ เรายังคงต้องช่วยกันหาทางสร้าง ‘มูลค่าเพิ่ม’ ให้ใบอ้อย หาทางลดค่าขนส่งใบอ้อย ซึ่งทั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นและนักวิจัยจากหลายภาคส่วนมากๆ กำลังทำงานวิจัยด้านนี้อยู่ บางอย่างก็สำเร็จแล้วรอนำไปขยายสเกล บางส่วนก็เริ่มทดลองจริงในบางพื้นที่ และสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือ 

แผนงานที่ชัดเจนและต่อเนื่อง เป็นแผนที่แปลว่า Action Plan ที่บอกว่าหน่วยงานไหนต้องทำอะไร อย่างไร แค่ไหนในแต่ละปี แผนที่ไม่ใช่แค่ยอดตัวเลขเป้าหมายแต่ไม่บอกว่าต้องทำยัไงให้ถึงเป้า (ตัวอย่างเช่นที่บราซิล รัฐ โรงงานและชาวไร่ 19,000 รายลงนามกันปี 2008 เพื่อจะแบนทุกกิจกรรมการเผาให้หมดสิ้นภายในปี 2017)

กลไกการบังคับใช้กฏหมายที่จริงจังจากภาครัฐที่จริงใจ 

กลไกทางสังคม ชุมชนที่เข้มแข็งที่ทุกคนต้องมีจุดยืนร่วมกันว่า ‘ไม่เอาคนจุดไฟเผาใบอ้อย’ ผ่านการจูงใจรูปแบบต่างๆ 

‘กองทัพอากาศ’ เตรียมเครื่องบิน BT-67 และ AU-23 โรยน้ำแข็งแห้ง!! ปราบฝุ่นแบบ ‘ภาวะฝาชีครอบ’

เมื่อวานนี้ (25 ม.ค. 68) พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวถึงการสนับสนุนการแก้ปัญหาฝุ่น pm 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือ ว่า ส่วนใหญ่กองทัพอากาศสนับสนุนเรื่องอุปกรณ์และอากาศยาน โดยใช้เครื่องบินทางธุรการที่สามารถกระจายเสียงให้ประชาชนรับทราบ ในการขอความร่วมมืองดเทำลายด้วยเผา ปัจจุบันมีเครื่องบินแบบพีซเมคเกอร์ ในเฟสแรก นอกจากนี้ยังมีดาวเทียมนภา 2 ซึ่งมีความละเอียดค่อนข้างดี และยังมีกล้อง MX15D ที่สามารถติดตั้งกับเครื่องบินโจมตีแบบ AT-6 และ DA-42 โดยเมื่อได้ภาพมาแล้ว สามารถสกรีนจุดความร้อน และจับจาก 1000 จุด ให้เหลือ 40-50 จุดได้ ที่ผ่านมาเราก็ใช้วิธีการแบบนี้ ซึ่งภาพที่ได้มีความแม่นยำสูงทำให้สามารถวางแผนในการนำเครื่องบินไปทิ้งสารหรือปล่อยสารสกัดจุดความร้อน ในเส้นทางที่อาจจะลุกลามซึ่งเป็นการประหยัด รวดเร็ว และทันท่วงที

นอกจากนี้ ยังมีเครื่องบิน BT-67 ที่ใช้ในการปล่อยสารยับยั้งไฟป่า รวมทั้งมีเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันยังมี ฮ. ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย ซึ่งมีการฝึกซ้อมร่วมกัน และมีการพัฒนาให้มีความแม่นยำในการยับยั้งไฟป่ามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด

ส่วนปัญหาฝุ่นแบบภาวะฝาชีครอบ จะดำเนินการอย่างไรนั้น ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวว่า จากที่ได้พูดคุยมา จะมีการนำเครื่องบินโรยน้ำแข็งแห้ง เพื่อจะเจาะรูโดยจะทำที่กรุงเทพฯ ซึ่งมีการพูดคุยกับทาง กทม. แล้ว และมีการเตรียมเครื่องบินสำรองไว้ให้คือ BT-67 และ AU-23 หรือพีชเมคเกอร์ หากมีการร้องขอเมื่อไหร่ก็สามารถขึ้นปฏิบัติการได้ ทั้งนี้การบินในพื้นที่ กทม. ค่อนข้างลำบากเนื่องจากการจราจรทางอากาศที่คับคั่ง

‘วีระศักดิ์ โควสุรัตน์’ ประธานสภาลมหายใจกรุงเทพ จับมือ ‘AFD’ จากฝรั่งเศส เดินหน้า!! แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ เพื่อให้คนไทย มีลมหายใจที่สะอาด

(16 ก.พ. 68) นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการบริหาร มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง ยามยาก สภากาชาดไทย ประธานสภาลมหายใจกรุงเทพ ได้ร่วมกับ AFD หน่วยงานของกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส เดินหน้าทำโครงการร่วมพัฒนาคุณภาพอากาศในอาเซียน โดยนำคณะทำงานของอาเซียนมาร่วมกันศึกษาการพยายามแก้ไขมลพิษทางอากาศในไทย ร่วมงานกับทั้งหน่วยงานรัฐและภาคประชาสังคม อย่างสภาลมหายใจกรุงเทพฯ เพื่อให้ประชาชนได้มีอากาศสะอาด


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top