เคลียร์ชัด!! พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ ‘PDPA’
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ พระราชบัญญัติ หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ที่ก่อนหน้านี้มีผลใช้บังคับแล้วบางหมวด บางมาตรา จะมีผลใช้บังคับทั้งหมดในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนผ่านสำคัญเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของแต่ละคน ตั้งแต่การมอบข้อมูล และการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเอง ที่อยู่ในมือของคนอื่นอย่างเต็มที่ เพื่อปกป้องสิทธิของตนไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิส่วนตัว
ทั้งนี้ หลายคนอาจจะยังไม่ทราบกรอบของ PDPA ว่าสามารถทำอะไรได้หรือไม่ได้บ้าง ภายใต้เงื่อนไขที่มีการระบุไว้ก่อนหน้า
สำหรับ PDPA นั้น มีประเด็นที่ประชาชนควรรู้ ดังนี้…
1. ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลเที่ยวกับบุคคล ซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมเฉพาะ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลข ประจำตัว ข้อมูลสุขภาพ ฯลฯ (มาตรา 6)
2. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ต้องเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งเราไว้ก่อนหรือในขณะเก็บรวบรวม (ห้ามใช้นอกเหนือวัตถุประสงค์) (มาตรา 21)
3.ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเราเท่าที่จำเป็น ภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบ
ด้วยกฎหมาย (มาตรา 22) (ใช้ข้อมูลของเราให้น้อยที่สุด)
4. ความยินยอม เป็นฐานการประมวลผลฐานหนึ่งเท่านั้น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ในการกำหนดฐานการประมวลผล ให้สอดคล้องกับลักษณะการประมวลผล และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (ตามมาตรา 24 หรือมาตรา 26)
