Tuesday, 22 April 2025
MHESI

'ดร.อเนก' ยัน ไม่เกี่ยวอดีตอาจารย์ ม.ดัง ซื้อขายผลงานวิจัย พร้อมสั่ง!! ปลัดกระทรวง อว.เอาผิดพวกทุจริตทางวิชาการ

'เอนก' ยันไม่เกี่ยวข้องอดีต อจ. มหาลัยเอกชนดังเอี่ยวปมซื้อขายผลงานวิจัย ย้ำชัดไม่เคยเป็นทีมงาน สั่งปลัดกระทรวง อว.เอาผิดพวกทุจริตทางวิชาการ ขณะที่ กกอ. จี้ทุกมหาลัยเร่งตรวจสอบอาจารย์ในสังกัด ขีดเส้นรายงานผล 15 ก.พ.นี้ 

(18 ม.ค. 66) ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่ามี 'อดีตทีมงาน รมต.เอนก' เข้าไปเกี่ยวข้องกับการซื้อขายงานวิจัยและบทความวิชาการ ตนขอชี้แจงว่าบุคคลที่ถูกกล่าวอ้างนั้นไม่เคยเป็นทีมงานของตนแต่อย่างใด เป็นอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ในสมัยที่ตนเป็นอธิการบดีวิทยาลัยรัฐกิจ ซึ่งเวลานั้นตนและผู้บริหารก็สงสัยในพฤติกรรมของบุคคลดังกล่าวที่ส่อถึงความไม่ตรงไปตรงมาทางวิชาการ และได้เฝ้าระวังมาตลอด และ ม.รังสิต ขณะนั้นก็ได้ดำเนินการสอบสวนบุคคลดังกล่าวด้วย

“ขอยืนยันว่าที่ผ่านมาตนให้ความสำคัญกับการจัดการการผิดจริยธรรมและเอาเรื่องพวกทุจริตทางวิชาการนี้มาตั้งแต่เป็นผู้บริหารที่ ม.รังสิต และเมื่อเป็น รมว.อว. ก็จัดการกับเรื่องนี้อย่างชัดเจน ต่อเนื่อง และในครั้งนี้ก็เช่นกันที่ได้มอบหมายให้ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. และคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ดำเนินการจัดการตรวจสอบ ติดตามและลงโทษผู้กระทำผิดอย่างรวดเร็ว รวมถึงหาแนวทางป้องกันในอนาคต” ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าว

ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 17 ม.ค. กกอ. ได้มีการจัดประชุมที่สำนักงานปลัดกระทรวง อว. (สป.อว.) เพื่อพิจารณามาตรการต่าง ๆ ในประเด็นที่เป็นข่าวเรื่องซื้อผลงานวิจัย โดยหลังการประชุม ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง อว. ในฐานะเลขานุการ กกอ. เปิดเผยว่า กกอ. มีมติสำคัญ 4 เรื่องด้วยกัน คือ...

1. ให้ สปอว. แจ้งให้ มหาวิทยาลัยทุกแห่ง ทำการตรวจสอบบุคลากรในสังกัด หากพบว่ามีข้อสังเกตที่จะนำไปสู่ความผิดจริยธรรมดังกล่าว ให้ทำการตรวจสอบอย่างยุติธรรมและรวดเร็ว และขอให้รายงานการดำเนินการแก่ สป.อว. ในครั้งแรก ภายในวันที่ 15 ก.พ. นี้

'เอนก' เผย มสธ. นำเงินรายได้ไปลงทุนได้ ไม่ผิด กม. ชี้!! เป็นไปตามกระบวนการ - มติของสภา มสธ.

'เอนก' แจง มสธ.นำเงินรายได้ไปลงทุนทำได้ หารือกับกรมบัญชีกลางและสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว เผย 4 ปีได้ผลตอบแทนกว่า 200 ล้าน ส่วนการแต่งตั้งอธิการบดี มสธ.ให้รอผลการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด 

เมื่อวันที่ (17 ก.พ. 66) ศ.(พิเศษ)​ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวถึงกรณีนายระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ กล่าวในการอภิปรายไม่ไว้วางใจกรณีนายกสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช(มสธ.) กรรมการสภา มสธ. และคณะกรรมการบริหารเงินได้และทรัพย์สิน มสธ.มีมติเห็นชอบ นำเงินรายได้ของ มสธ. จำนวน 5,500 ล้านบาท ไปลงทุนกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จัดการกองทุน ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ว่า การลงทุนของ มสธ. เป็นไปตามกระบวนการและขั้นตอนและมติของสภา มสธ. และชอบด้วยกฎหมาย โดยสภา มสธ.เห็นชอบกรอบและนโยบายการลงทุน และคัดเลือกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน 4 บริษัท ภายใต้การกำกับดูแลของ กลต. และก่อนการลงทุน มสธ. ได้หารือกับกรมบัญชีกลางและส่งร่างสัญญาการลงทุนให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจตามระเบียบราชการแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำฝากธนาคารโดยได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4 ปีอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ร้อยละ 0.61 – 1.16 บาท และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามผลทุก 3 เดือน โดย 4 ปีที่ผ่านมา พ.ศ.2562-2565  มสธ. ได้รับผลตอบแทนจากเงินลงทุน ทั้งสิ้น 216,965,623 บาท โดยเฉลี่ย 4 ปี ร้อยละ 2.33-4.40 บาท ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

‘อว.’ ร่วมกับ ‘มจพ.’ ประยุกต์ใช้ ‘เทคโนโลยี’ ในยามเกิดวิกฤติ ส่ง ‘iRAP Robot-ยานไร้คนขับ’ ช่วยผู้ประสบภัยตึกถล่ม

เมื่อวานนี้ (28 มี.ค. 68) น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ตนได้สั่งการให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) นำทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot มจพ. แชมป์โลก 10 สมัย เข้าพื้นที่เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ กรณีเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง โครงการอาคารที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ซึ่งอยู่ในระหว่างก่อสร้าง บริเวณ ถ.กำแพงเพชร เขตจตุจักร กทม. เกิดถล่มลงมา ทำให้มีผู้บาดเจ็บและสูญหายเป็นจำนวนมาก

น.ส.ศุภมาส กล่าวต่อว่า ทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot มจพ. ควบคุมโดย รศ.ดร.กิตติชัย ธนทรัพย์สิน คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ. จะนำหุ่นยนต์ฯ สำรวจภารกิจในพื้นที่อาคารถล่มร่วมกับเจ้าหน้าที่จากภาครัฐและภาคเอกชน โดยนำหุ่นยนต์สำรวจ จำนวน 3 ตัว เข้าร่วมภารกิจในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากภัยพิบัติซ้ำซ้อน มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการทำงานของหน่วยกู้ภัย และเพิ่มความปลอดภัยในการเข้าถึงผู้ประสบภัยในสถานการณ์วิกฤติ ได้แก่…

หุ่นยนต์สำรวจเพื่อการกู้ภัยและหุ่นยนต์สำรวจขนาดเล็ก ซึ่งถูกออกแบบมาให้สามารถสร้างแผนที่สามมิติของพื้นที่ และเคลื่อนที่ผ่านสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน เช่น อาคารที่ถล่มหรือพื้นที่จำกัดการเข้าถึง ข้อมูลที่หุ่นยนต์เก็บรวบรวมได้จะช่วยให้หน่วยกู้ภัยสามารถประเมินสถานการณ์และวางแผนการช่วยเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

หุ่นยนต์สำรวจขนาดเล็ก มีจุดเด่นที่ความคล่องตัวสูง เหมาะสำหรับการเข้าถึงพื้นที่แคบหรือซอกมุมต่าง ๆ พร้อมติดตั้งเซนเซอร์สำหรับตรวจวัดระดับออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการประเมินความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเข้าไปปฏิบัติงาน 

ในขณะที่ หุ่นยนต์สำรวจเพื่อการกู้ภัย มาพร้อมแขนกลสำหรับหยิบจับหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของ และมีความสามารถในการเคลื่อนที่ผ่านพื้นที่ต่างระดับ รวมถึงการขึ้นบันไดได้อย่างมีเสถียรภาพ พร้อมทั้งติดตั้งเซนเซอร์วัดอุณหภูมิเพื่อใช้ประเมินสภาวะความร้อนในพื้นที่ปฏิบัติงาน ซึ่งมีความสำคัญต่อการวางแผนและตัดสินใจของเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่ร่วมปฏิบัติงาน

น.ส.ศุภมาส กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กระทรวง อว.จะนำอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) จำนวน 2 ตัว เพื่อสนับสนุนภารกิจการสำรวจในครั้งนี้ด้วย โดยอากาศยานไร้คนขับ DJI Mavic 3 Enterprise ซึ่งเป็นโดรนที่มีศักยภาพสูง มีกล้องที่ให้ความละเอียดสูงและฟังก์ชันการซูมระยะไกล เพื่อใช้ในการสำรวจขอบเขตของความเสียหายจากแผ่นดินไหว ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจะถูกนำไปใช้วิเคราะห์เพื่อค้นหาผู้ประสบภัย และสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นข้อมูลสำคัญในการประเมินความเสียหายของโครงสร้างอาคาร รวมถึงแนวทางการบูรณะและซ่อมแซมต่อไป

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) มุ่งมั่นในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อช่วยเหลือสังคมในยามวิกฤต และพร้อมให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้อย่างเต็มกำลัง และร่วมกันส่งกำลังใจให้กับทุกท่านที่ประสบภัยในครั้งนี้

สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรใดต้องการให้ มจพ. นำหุ่นยนต์กู้ภัยเข้าไปให้ความช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ที่ รศ.ดร.กิตติชัย ธนทรัพย์สิน คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ. โทร. 096-829-5353 และ ผศ.ดร.จิรพันธ์ อินเทียม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสนับสนุนเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ. โทร.099-023-6920


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top