Wednesday, 15 May 2024
Line

‘พม.’ จับมือ ‘สสส.’ แถลงข่าวเปิดตัวแพลตฟอร์ม “Line Chatbot” พร้อมชวนประชาชน - นักศึกษา ร่วมชิงเงินรางวัล สถานที่จัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ

ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรุงเทพฯ นางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นประธานงานแถลงข่าวเปิดโครงการ “แพลตฟอร์มการขึ้นทะเบียนสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ” เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการและผู้สูงอายุในสังคมไทย ให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์ม Line Chatbot เมืองใจดีเที่ยวทุกวัย ภายใต้แนวคิด “เจอ แจ้ง แจ่ม แจ๋ว” โดยมีผู้บริหารกระทรวง พม. พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ

 

การปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลของธุรกิจไทยเริ่มต้นและเดินหน้าอย่างช้าๆ ในช่วงก่อนวิกฤตโควิด แต่เมื่อเกิดโรคระบาดที่เปลี่ยนวิถีชีวิตคน เป็นผลให้ธุรกิจต้องเดินหน้าสู่การใช้งานดิจิทัลเต็มตัว เพราะเป็นช่องทางเดียวในการเข้าถึงผู้บริโภค

LINE ถูกเลือกให้เป็นแพลตฟอร์มหลักในการสร้างแบรนด์ สร้างการเติบโตให้ธุรกิจ ด้วยประสิทธิภาพของเครื่องมือบนแพลตฟอร์ม ที่พร้อมให้แบรนด์เข้าถึงคนไทยได้มากกว่า 53 ล้านคน

LINE พร้อมเชิดชูความสำเร็จขององค์กรและแบรนด์ที่ใช้งานแพลตฟอร์มในเชิงธุรกิจได้อย่างสร้างสรรค์ ทรงประสิทธิภาพ นำไปสู่ความสำเร็จเชิงการตลาดอันโดดเด่น และเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับการทำธุรกิจในวงกว้าง จึงจัดงานประกาศรางวัลสำหรับภาคธุรกิจครั้งใหญ่แห่งปี LINE Thailand Awards 2022

โดยมีการมอบรางวัลรวมทั้งสิ้น 51 รางวัล แบ่งเป็นรางวัลสุดยอดแบรนด์ผู้สร้างผลงานการตลาดดิจิทัลยอดเยี่ยมแห่ง 8 รางวัล และรางวัลการใช้งานโซลูชันต่างๆ บน LINE ยอดเยี่ยมตามแต่ละกลุ่มประเภทธุรกิจอีก 43 รางวัล ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจสำคัญในไทย

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา LINE ได้พัฒนาโซลูชันมากมาย เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถเลือกใช้งานตามเป้าหมายทางการตลาดได้อย่างครบครัน นำมาซึ่งผลสำเร็จเชิงการตลาดที่หลากหลาย ไม่เพียงเพิ่มจำนวนลูกค้าหรือเพิ่มยอดขาย แต่ยังสร้างความประทับใจและประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าของแบรนด์

โดยเห็นได้จากแบรนด์ที่ได้รับรางวัล ‘สุดยอดแบรนด์ผู้สร้างผลงานการตลาดดิจิทัลยอดเยี่ยมแห่งปี 2022’ ที่สามารถสร้างความสำเร็จเชิงธุรกิจได้หลากหลายมิติ จากการใช้แพลตฟอร์ม LINE อาทิ

>>ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง คว้ารางวัล Data Lead Campaign of the Year หรือ สุดยอดแบรนด์บริหารดาต้ายอดเยี่ยมแห่งปี

ด้วยกลยุทธ์ในการบริหาร จัดการข้อมูลบนแพลตฟอร์ม LINE อย่างมีชั้นเชิง ผ่านการใช้ LINE OA และ Mission Stickers เพื่อเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย พร้อมจำแนกแบ่งกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาในเชิงลึก ด้วยเครื่องมือ MyCustomer และต่อยอดสู่การทำ Cross Targeting ร่วมกับ LINE OA ของแบรนด์ในเครือ ด้วย Business Manager ทำให้ประสิทธิภาพการสื่อสาร และการลงโฆษณาผ่าน LINE Ads ไปสู่กลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ของแต่ละแบรนด์ในเครือ Unilever แม่นยำ ตอกย้ำการเป็นแบรนด์ผู้นำในกลุ่ม FMCG ในยุคดิจิทัลได้อย่างแท้จริง

>>วอลโว่ คาร์ (ประเทศไทย) คว้ารางวัล Chat Commerce of the Year หรือ สุดยอดแบรนด์สร้างสรรค์กลยุทธ์ Chat Commerce ยอดเยี่ยมแห่งปี

ด้วยการใช้โซลูชันบนแพลตฟอร์ม LINE ในการทำแชตคอมเมิร์ซได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การลงโฆษณาผ่าน LINE Ads เพื่อกระตุ้นลูกค้ามาเพิ่มเพื่อนบน LINE OA การใช้ LINE OA เป็นช่องทางสื่อสารโต้ตอบกับลูกค้าได้อย่างทันใจ มีการใช้แชตบอตเข้ามาเสริมเพื่อสร้างสัมพันธ์และเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายไปพร้อมๆ กัน และสามารถนำเสนอสินค้า เปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถเลือกจองรถและปิดการขายผ่าน LINE SHOPPING ได้อย่างลงตัว สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับธุรกิจยานยนต์ไทย ขับเคลื่อนด้วยแชตคอมเมิร์ซบน LINE ได้อย่างครบวงจร

>>ซีพี ออลล์ คว้ารางวัล Best LINE OA of the Year หรือ สุดยอดแบรนด์ใช้งาน LINE OA ยอดเยี่ยมแห่งปี จาก LINE OA: CP ALL 7-Eleven

ด้วยยอดการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (Target Reach) และอัตราการเข้าใช้งาน LINE OA จากตลอดทั้งปีสูงที่สุด สะท้อนถึงกลยุทธ์การพัฒนารูปแบบการซื้อขายร้านสะดวกซื้อสู่บริการยุคใหม่ผ่านแชตบน LINE OA ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทั่วไทยได้อย่างตรงจุด ทำให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมกับทุกการสื่อสาร ทุกกิจกรรมและทุกบริการที่นำเสนอบน LINE 0A นี้อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการปฏิรูปวิถีการค้าปลีกของไทยมาอยู่บน LINE ได้อย่างทรงพลัง

>> สำนักงานประกันสังคม คว้ารางวัล Best Sticker of the Year หรือ สุดยอดแบรนด์สร้างสรรค์สติ๊กเกอร์ยอดเยี่ยมแห่งปี

จากสติ๊กเกอร์ชุด ‘ออมสุขและอุ่นใจห่วงใยคุณ ด้วยยอดดาวน์โหลดถล่มทลายสูงสุด จากการออกแบบคาแรคเตอร์ ‘น้องออมสุขและน้องอุ่นใจ’ ในรูปแบบสติ๊กเกอร์ไลน์ ที่สะท้อนถึงภาพลักษณ์และสร้างการจดจำต่อองค์กรได้เป็นอย่างดี สมาชิกผู้ประกันตนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสื่อสารแทนใจ ส่งต่อความห่วงใยให้คนรอบข้างได้ในหลากหลายโอกาส ถือเป็นหนึ่งในตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ที่มีการปรับใช้ดิจิทัลเพื่อการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ สร้างการรับรู้สู่ประชาชนในวงกว้างได้อย่างน่าสนใจและมีประสิทธิภาพ

>> ลาซาด้า คว้ารางวัล Best Display Advertising of the Year หรือ สุดยอดแบรนด์ด้านโฆษณายอดเยี่ยมแห่งปี

ด้วยอัตราการคลิกโฆษณารวมตลอดทั้งปีสูงที่สุด จากกลยุทธ์ในการวางแผนลงโฆษณาที่โดดเด่น ทรงประสิทธิภาพ มีการจำแนกประเภทกลุ่มสินค้าให้ตรงกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายตามความสนใจ ลงโฆษณาผ่าน LINE ในหลากหลายตำแหน่งเพื่อความครอบคลุม ออกแบบช่วงเวลาการนำเสนอโฆษณาแต่ละชิ้นได้อย่างชัดเจนและต่อเนื่อง เพื่อให้สารจากโฆษณาถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดในเวลาที่ใช่ นำมาสู่ผลลัพธ์เชิงการตลาดที่น่าประทับใจท่ามกลางการแข่งขันอันดุเดือดของตลาดอีคอมเมิร์ซ

>>โคคา โคล่า ประเทศไทย คว้ารางวัล Best LINE Ads Campaign of the Year หรือ สุดยอดแบรนด์แคมเปญโฆษณาบน LINE Ads จากแคมเปญโฆษณา ‘Coke ซ่าทุกเบรก’

ถือเป็นผู้นำพากลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ติดโผที่สุดแห่งปี ด้วยกลยุทธ์การวางกลุ่มเป้าหมายหลักของโฆษณาได้อย่างน่าสนใจ ก่อนกระจายการรับรู้ไปในวงกว้าง ผสานกับคอนเซปต์และชิ้นงานโฆษณาที่ดึงดูดสายตา ดึงดูดใจ ไปจนถึงเส้นทางการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ หลังรับชมโฆษณาที่ออกแบบมาได้อย่างลงตัว ทำให้แคมเปญนี้สร้างสถิติการเข้าถึง และอัตราการคลิกผ่าน LINE Ads สูงที่สุดแห่งปี

>>M-Flow - กรมทางหลวง คว้ารางวัล Best Display Advertising of the Year in Public
Sector หรือ สุดยอดองค์กรภาครัฐด้านโฆษณายอดเยี่ยมแห่งปี จากโฆษณา ‘M-Flow’

รางวัลพิเศษที่ตอกย้ำถึงการปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลของภาครัฐอย่างเห็นได้ชัดในช่วงปี 2022 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในด้านสื่อโฆษณา ซึ่ง M-Flow ได้ออกแบบคอนเซปต์โฆษณาได้อย่างสร้างสรรค์ ชูสโลแกนความเป็นครอบครัวเดียวกัน (M-Flow Family) และกลยุทธ์ในการเลือกตำแหน่งโฆษณาบน LINE ได้อย่างทรงพลัง นำมาซึ่งผลสำเร็จในการสร้างการรับรู้แก่ประชาชนในวงกว้าง ด้วยยอดการเข้าถึงและอัตราการคลิกโฆษณาสูงที่สุดในกลุ่มโฆษณาจากองค์กรภาครัฐด้วยกัน

ทั้งนี้ หากมองในมุมของกลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจตลอดช่วงปี 2022 ที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจค้าปลีกและอีคอมเมิร์ซ ยังคงเป็นกลุ่มธุรกิจที่สร้างการเติบโตบนแพลตฟอร์ม LINE ได้อย่างโดดเด่น ทั้งในด้านการใช้งาน LINE OA เพื่อสื่อสารกับฐานผู้บริโภคของแต่ละแบรนด์ในข้อมูลเชิงลึกต่างๆ เช่น รายละเอียดสินค้าหรือบริการ ด้วยการพูดคุยผ่านแชตเพื่อปิดการขาย และในด้านการลงโฆษณาบน LINE เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ บริการ ไปจนถึงแคมเปญการตลาด โปรโมชันไปยังผู้บริโภค ถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่ปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เช่นเดียวกับกลุ่มธนาคารและสถาบันการเงิน

ในขณะที่กลุ่มธุรกิจ FMCG เริ่มมีการพัฒนาการใช้งาน LINE OA ในเชิงลึก ยกระดับสู่การบริหาร จัดการดาต้าบน LINE นำโดยแบรนด์ใหญ่อย่าง Unilever Thai Trading Limited ถือเป็นโอกาสให้แบรนด์อื่นทั้งในกลุ่มธุรกิจนี้และกลุ่มธุรกิจอื่น ได้ศึกษาและพัฒนาต่อยอด LINE OA เพื่อประโยชน์สูงสุดในการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยดาต้าได้ดียิ่งขึ้น

ส่วนกลุ่มธุรกิจที่ถือเป็นน้องใหม่มาแรงในช่วงปี 2022 คือ ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจสินค้าหรู และองค์กรภาครัฐ โดยธุรกิจยานยนต์และสินค้าหรู เน้นกลยุทธ์ Chat Commerce ด้วยการออกแบบเส้นทางให้ลูกค้าเข้าถึงแบรนด์ผ่าน LINE ตั้งแต่สร้างการรับรู้จนถึงปิดการขาย แม้สินค้ามีราคาค่อนข้างสูง แต่ก็สามารถสร้างการเติบโตผ่าน LINE ได้อย่างต่อเนื่องและโดดเด่นไม่แพ้กลุ่มธุรกิจอื่น

ในขณะที่หน่วยงานภาครัฐ ถือว่ามีความโดดเด่นในด้านโฆษณาบนแพลตฟอร์ม LINE ด้วยการสร้างการรับรู้สู่ประชาชนผ่านโซลูชันต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นสติ๊กเกอร์ และการลงโฆษณารวมไปจนถึงการใช้งาน LINE OA จากหลากหลายหน่วยงานภาครัฐที่มีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวสู่โลกดิจิทัลที่จริงจัง อันสามารถต่อยอดสู่การขับเคลื่อนประเทศในเชิงโครงสร้างด้วยดิจิทัลได้ในอนาคต

ในยุคดิจิทัลเช่นนี้ โลกและพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แบรนด์จำเป็นต้องเลือกใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการเข้าถึง เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย และสร้างการเติบโตได้ในระยะยาว การมอบรางวัล LINE Thailand Awards ไม่เพียงเชิดชูแบรนด์ที่มีการตลาดดิจิทัลที่เหนือกว่า แต่ยังเป็นเครื่องกระตุ้นให้แต่ละแบรนด์พัฒนาความสามารถในการนำโซลูชัน LINE ไปใช้งานเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

ที่มา: LINE Thailand Awards 2022

Wongnai ผนึก LINE เข้าซื้อ Rabbit LINE Pay จากผู้ถือหุ้นเดิม ปั้นบริการคลุม ‘สั่งอาหาร’ จนถึง ‘กู้เงิน’ พร้อมท้าชน ‘e-Wallet-เป๋าตัง’

(5 ก.ย. 66) นายยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai และ ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE ประเทศไทย ได้ร่วมเปิดเผยภายหลังจาก LINE MAN Wongnai และ LINE ได้เข้าซื้อ Rabbit LINE Pay (RLP) จากผู้ถือหุ้นเดิม และทำให้ LINE MAN Wongnai กลายเป็นถือหุ้นสูงสุดใน RLP ว่า...

หากเป็นคนกรุงเทพฯ ที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS บ่อยๆ เชื่อว่าก็คงจะใช้บริการ Rabbit LINE Pay (RLP) แน่นอน ซึ่ง Rabbit LINE Pay นั้นเป็นแพลตฟอร์มที่เกิดจาก LINE Thailand ร่วมมือกับทาง Rabbit Card และ mPay แพลตฟอร์มบริการทางการเงินของ AIS เข้ามาลงทุนร่วมกันเมื่อปี 2018 โดยทั้ง 3 พาร์ตเนอร์นั้นถือหุ้นเท่าๆ กัน

โดยจุดเด่นของ Rabbit LINE Pay ก็คือ การใช้งานผ่านแพลตฟอร์ม LINE ได้เลยโดยไม่ต้องโหลดแอปฯ เพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นการซื้อตั๋ว BTS, ซื้อสินค้าใน LINE เช่น สติกเกอร์ รวมไปถึงร้านค้าชั้นนำต่าง ๆ ทั้งนี้ ตัวเลข ณ ปี 2022 Rabbit LINE Pay มีจำนวนผู้ใช้กว่า 10 ล้านราย

แม้จะไม่มีการเปิดเผยถึงมูลค่าการเข้าซื้อหุ้น RLP ต่อจาก แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด และ บริษัท แรบบิทเพย์ ซิสเทม จำกัด แต่ ยอด เผยว่า LINE MAN Wongnai เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยเชื่อว่า RLP นั้นเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจของ LINE MAN Wongnai โดยเปรียบเสมือน น้ำมันหล่อลื่น ให้กับธุรกิจ เพราะในทุกบริการต้องใช้ระบบเพย์เมนต์ นอกจากนี้ ยอด ยังมองว่า ตลาดอีเพย์เมนต์ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก

“ทุกบริการของ LINE MAN Wongnai ไม่ว่าจะเป็น Food, Taxi Messengers หรือ LINE เองก็มีบริการอีคอมเมิร์ซอย่าง LINE Shopping และทุกอย่างต้องใช้ระบบเพย์เมนต์ทั้งหมด ดังนั้น RLP จะมาช่วยให้บริการต่างๆ มันไร้รอยต่อ (Seamless) มากขึ้น” ดร.พิเชษฐ กล่าวเสริม

ทั้งนี้ ในแง่ขององค์กร RLP ยังคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ทั้งออฟฟิศและพนักงาน ในส่วนของผู้ใช้ก็เช่นเดียวกัน บริการไหนที่เคยใช้ได้ก็ยังใช้ได้ตามเดิม ไม่ว่าจะเติมเงินขึ้นรถไฟฟ้า BTS หรือการใช้จ่ายผ่านร้านค้าพันธมิตร ดังนั้น สิ่งที่ผู้บริโภคอยากรู้คือ บริการใหม่ที่จะได้เห็น

โดย ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ได้กล่าวเสริมว่า จะมีบริการใหม่ๆ เกิดขึ้นแน่นอน อย่างน้อยที่จะได้เห็นก็คือ สิทธิพิเศษที่มากขึ้น หากใช้งาน RLP ผ่าน LINE หรือ LINE MAN รวมถึงความเป็นไปได้ของบริการ กู้เงินออนไลน์ เพราะทาง LINE เองก็มี LINE BK บริการทางการเงินแบบ Social Banking ของบริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างบริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด (บริษัทในเครือของธนาคารกสิกรไทย) และบริษัท ไลน์ ไฟแนนเชียล เอเชีย (LINE Financial Asia) อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีแผนชัดเจนว่าจะเห็นบริการใหม่ ๆ เร็วสุดเมื่อไหร่

“อาจยังไม่ชัดเจนว่าจะมีบริการอะไรใหม่ ๆ แต่เราจะพยายามดันทรานซ์แซ็คชั่นของทั้ง LINE MAN Wongnai และ LINE เข้าไปใช้ใน RLP ให้ได้มากที่สุด แต่เราอยากให้คนเข้ามาในแพลตฟอร์มของเราแล้วทำได้ทุกอย่างตั้งแต่สั่งอาหารจนถึงกู้เงิน” ดร.พิเชษฐ กล่าว

ด้าน ยอด ได้กล่าวด้วยว่า แม้ว่าตลาดอี-วอลเลตปีนี้ผู้เล่นรายใหญ่อย่าง ดอลฟิน วอลเลต จะหายไป แต่การแข่งขันก็ไม่ได้ลดน้อยลง โดยตลาดอีเพย์เมนต์ยังมีความท้าทายจาก พร้อมเพย์ ที่ทำให้ทุกอย่างใช้งานได้อย่างเปิดกว้าง นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์ม เป๋าตัง ของรัฐบาล ดังนั้น การแข่งขันจึงกว้างมากเพราะมีทั้งธนาคารและแพลตฟอร์มอีวอลเลต ซึ่ง RLP ก็อยากจะเป็นผู้เล่นหลักของตลาดไทย ดังนั้น การมีบริการต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคยังใช้งานเป็นโจทย์ที่สำคัญ

“อย่างเป๋าตังเขาก็มีบริการซื้อสลากออนไลน์เพื่อดึงดูดให้ใช้งาน นี่ก็เป็นโจทย์ของเราว่านอกจากบริการที่มีที่ผู้บริโภคใช้อยู่แล้ว เราจะเพิ่มอะไรเข้าไปได้อีก”

อย่างไรก็ตาม ทิศทางของตลาดอีเพย์เมนต์ มีแต่ขาขึ้นไม่มีทางลง ตลาดจะใหญ่ขึ้นอีกเพราะผู้บริโภคใช้งานชินตั้งแต่เกิดโควิดระบาด คนใช้เงินสดน้อยลง เพียงแต่ตลาดยังไม่มาชัวร์ เพราะยังมีผู้เล่นที่ออกจากตลาดไปและยังมีผู้เล่นใหม่ๆ เข้ามา

ปัจจุบัน แม้บริการ RLP จะยังไม่ทำกำไร โดยในปี 2565 รายได้รวม 319.63 ล้านบาท ขาดทุน 156.65 ล้านบาท แต่ในส่วนของผู้ใช้ยังคงเติบโต โดย ยอด เชื่อว่า ต้องทำให้ RLP มีกำไร และเติบโตในฐานะ STAND ALONE COMPANY ที่แข็งแกร่งให้ได้

‘LINE’ ยอมรับ!! ทำข้อมูลผู้ใช้ ‘รั่วไหล’ กว่า 3 แสนรายการ พร้อมดำเนินการปิดกั้นเรียบร้อย หลังถูกมือที่สามเจาะระบบ

เมื่อวานนี้ (27 พ.ย. 66) รายงานข่าวจาก LY Corporation บริษัทแม่ในญี่ปุ่นของ ‘ไลน์’ (LINE) เปิดเผยว่า บริษัทพบการเข้าถึงระบบภายในจากบุคคลที่สามโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่งผลให้มีการรั่วไหลของข้อมูลผู้ใช้, พันธมิตรธุรกิจ, พนักงานและบุคลากรอื่น ๆ ซึ่งบริษัทได้ทำการบล็อกการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์จากภายนอกโดยระบบบริษัทในเครือ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเส้นทางที่เซิร์ฟเวอร์ถูกเข้าถึงได้

อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ได้รับรายงานเกี่ยวกับความเสียหายในระยะที่สอง รวมถึงการใช้ข้อมูลของผู้ใช้และพันธมิตรทางธุรกิจในทางที่ผิด แต่บริษัทจะดำเนินการสอบสวนต่อไปและดำเนินการทันทีหากจำเป็นต้องใช้มาตรการที่เคร่งครัด

รายงานระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องหนึ่งของพนักงานในบริษัทรับช่วงสัญญาในเครือของ NAVER Cloud Corporation ในเกาหลีใต้ และ LY Corporation ได้รับมัลแวร์ เนื่องจากทั้งสองบริษัทมีการแลกเปลี่ยนระบบภายในองค์กรเพื่อจัดการข้อมูลของพนักงานและข้อมูลของบุคลากรอื่น ๆ ซึ่งจัดการโดยใช้ระบบการยืนยันตัวตนร่วมกัน ส่งผลให้มีการเข้าถึงเครือข่ายภายในของบริษัท LINE เดิมและบุคคลที่สามก็สามารถเข้าถึงระบบของบริษัทโดยไม่ได้รับอนุญาตผ่าน NAVER Cloud Corporation ในวันที่ 9 ต.ค. 2566

นอกจากนี้ บริษัทยังพบการเข้าถึงต้องสงสัยภายในระบบ ณ วันที่ 17 ต.ค. 2566 เช่นเดียวกัน และหลังจากได้วิเคราะห์เหตุการณ์แล้ว จึงได้ผลสรุปว่า ในวันที่ 27 ต.ค. 2566 มีความเป็นไปได้สูงที่มีการเข้าถึงระบบจากภายนอกโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งบริษัทกำลังใช้มาตรการเพื่อทำความเข้าใจเหตุการณ์ทั้งหมด และป้องกันไม่ให้ข้อมูลแพร่กระจาย อีกทั้งบริษัทได้รายงานไปยังกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว

>> รายละเอียดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนตัวจากเหตุการณ์ดังกล่าวที่ได้รับการยืนยันแล้วเป็นดังนี้

1. ข้อมูลผู้ใช้

- ข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับผู้ใช้ จำนวน 302,569 รายการ (เป็นของผู้ใช้ญี่ปุ่น 129,894 รายการ)
- ข้อมูลผู้ใช้ประมาณ 49,751 รายการ (เป็นของผู้ใช้ญี่ปุ่น 15,454 รายการ) ได้แก่ ประวัติการใช้บริการที่เชื่อมโยงกับตัวระบุตัวตนภายในของผู้ใช้ LINE
- ในจำนวนทั้งหมดนี้ 22,239 รายการ เป็นข้อมูลความเป็นส่วนตัวด้านการสื่อสาร (เป็นของผู้ใช้ญี่ปุ่น 8,981 รายการ)
- รวมประมาณการ 3,573 รายการ (เป็นของผู้ใช้ญี่ปุ่น 31 รายการ)
- หมายเหตุ: ข้อมูลข้างต้นไม่รวมข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต หรือข้อความแชตในแอป LINE

2. ข้อมูลที่เกี่ยวกับพันธมิตรธุรกิจ

- ข้อมูลพันธมิตรธุรกิจ 86,105 รายการ เป็นข้อมูลส่วนบุคคลของพันธมิตรธุรกิจและผู้อื่น เช่น ที่อยู่อีเมลของพันธมิตรธุรกิจ เป็นต้น
- ที่อยู่อีเมลของพันธมิตรธุรกิจ 86,071 รายการ
- รายชื่อของพนักงาน LINE และพันธมิตรธุรกิจ รวมถึงชื่อของบริษัทและแผนกต่าง ๆ, ที่อยู่, อีเมล 34 รายการ

3. ข้อมูลที่เกี่ยวกับพนักงานและบุคลากรอื่น ๆ

- ข้อมูลบุคลากรและพนักงาน เช่น ชื่อ, รหัสประจำตัวพนักงาน, ที่อยู่อีเมล 51,353 รายการ
- ข้อมูลบุคลากรและพนักงาน และข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการเอกสารที่มีการรั่วไหลทั้งหมด 6 รายการ
- ข้อมูลบุคลากรและพนักงานที่อยู่ในระบบการยืนยันตัวตนทั้งหมด 51,347 รายการ แบ่งเป็น LY Corporation 30,409 รายการ และ NAVER 20,938 รายการ

>> ไทม์ไลน์ของเหตุการณ์ดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้

- 9 ต.ค. 2566 : มีการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ของ LY Corporation โดยไม่ได้รับอนุญาตผ่านทางเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทในเครือ
- 17 ต.ค. 2566 : ทีมงานรักษาความปลอดภัยของ LY Corporation ได้ตรวจพบการเข้าถึงในระบบที่ต้องสงสัยและทีมงานเริ่มทำงานตรวจสอบ
- 27 ต.ค. 2566 : มีการระบุว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการเข้าถึงจากภายนอกโดยไม่ได้รับอนุญาต มีการรีเซ็ตรหัสผ่านของพนักงานที่อาจถูกใช้เพื่อเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตและตัดการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ ในระบบของบริษัทในเครือ ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าเป็นทางที่สามารถเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ ภายในบริษัท
- 28 ต.ค. 2566 : บังคับให้พนักงานเข้าสู่ระบบภายในของบริษัทอีกครั้ง
- 27 พ.ย. 2566 : ส่งแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้ พนักงานและบุคคลอื่น ๆ

ทั้งนี้ รายงานข่าวระบุด้วยว่า จากเหตุการณ์ดังกล่าว บริษัทได้บล็อกการเข้าถึงจากภายนอก และแจ้งเตือนให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรับทราบแล้ว รวมถึงในอนาคต LY Corporation วางแผนที่จะพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการการเข้าถึงของเครือข่ายในระบบและทำการแยกระบบยืนยันตัวตนข้อมูลพนักงานออกจาก NAVER Cloud Corporation ซึ่งได้ซิงโครไนซ์ภายใต้ระบบภายในของบริษัท LINE เดิม

‘LINE’ เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ‘Combination Sticker’ ส่งสติกเกอร์รวมกันได้สูงสุด 6 ตัว ภายในคราวเดียว

เมื่อวานนี้ (8 พ.ค.67) ที่ผ่านมา LINE STICKERS จัดเป็นหนึ่งในฟีเจอร์เด็ดมัดใจผู้ใช้งานแชต ด้วยการสร้างสีสันให้บทสนทนามากกว่าการส่งข้อความตัวหนังสือ และยังช่วยสื่ออารมณ์หรือความรู้สึก จึงทำให้มีการใช้สติกเกอร์ในการสนทนากันอย่างแพร่หลาย จนวันนี้มีสติกเกอร์อยู่ในระบบเพื่อให้ผู้ใช้งานทั่วโลกได้เลือกใช้กว่า 20 ล้านชุด

ล่าสุด ฟีเจอร์คอมบิเนชันสติกเกอร์ (Combination Sticker / Sticker Arranging*) ได้ถูกเปิดตัวขึ้นเพื่อตอบโจทย์ใหม่ ๆ ของผู้ใช้งานให้ทุกการแชต สนุก มีสีสัน และสื่อสารได้มากขึ้น โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกผสมผสานสติกเกอร์ประเภทต่าง ๆ ได้สูงสุด 6 ตัวต่อการส่งหนึ่งครั้ง ทั้งจากเซตเดียวกันหรือต่างเซต พร้อมเลือกจัดวาง หมุน หรือปรับขนาดได้ตามใจ

โดยฟีเจอร์นี้จะทยอยครอบคลุมสติกเกอร์ที่ใช้งานได้ โดยเริ่มจากสติกเกอร์ทางการ (Official Stickers) ก่อนขยายสู่สติกเกอร์ครีเอเตอร์ (Creators’ Stickers) ในการใช้งานเวอร์ชันเต็มรูปแบบในวันที่ 13 พฤษภาคม 2567 นี้

สำหรับการใช้งานฟีเจอร์คอมบิเนชัน สติกเกอร์ จะเข้ามาช่วยให้ ‘ขยาย’ สติกเกอร์ให้ใหญ่มากขึ้นกว่าปกติ ‘เพิ่มจำนวน’ สติกเกอร์ในรูปเดียวแบบซ้ำ ๆ ได้ตามใจ และ ‘รวม’ สติกเกอร์หลายตัวเข้าด้วยกัน

เริ่มต้นด้วยการกดค้างตัวสติกเกอร์ที่อยากนำมาทำคอมบิเนชันสติกเกอร์ จากนั้นจะมีแถบพื้นที่สีขาวใหญ่ปรากฏขึ้น ให้ลากสติกเกอร์ที่ต้องการเข้ามาวางในแถบขาวนั้น โดยสามารถหมุน เพิ่มขนาด และเพิ่มจำนวนได้อย่างอิสระ

เมื่อได้คอมบิเนชันสติกเกอร์ที่ต้องการ ผู้ใช้งานสามารถกดส่งสติกเกอร์ที่ครีเอตใหม่นั้นได้เลยทันที และเพื่อการใช้งานที่สะดวกยิ่งขึ้นในครั้งต่อไป LINE ยังช่วยเก็บคอมบิเนชันสติกเกอร์ที่ผู้ใช้งานสร้างและเคยใช้แล้วไว้ใน History Tab


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top