Thursday, 2 May 2024
LGBTQ+

ธอส. ปรับเงื่อนไขผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ ปลดล็อกให้คู่ LGBTQ+ กู้ร่วมซื้อบ้านได้

ธอส.ปรับปรุงเงื่อนไขในการให้สินเชื่อของธนาคาร ปลดล็อกให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ สามารถกู้ร่วมกันได้แล้ว

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธอส.ได้ปรับปรุงเงื่อนไขในการให้สินเชื่อของธนาคาร โดยกำหนดให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) สามารถกู้ร่วมกันได้แล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์สินเชื่อ เช่นเดียวกับกรณีกู้ร่วมกับคู่สมรส พี่-น้อง และบิดา-มารดา เพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมทางเพศในสังคมไทย สนับสนุนให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ง่ายยิ่งขึ้น 
 

'MISS TRANS THAILAND' บริบทเวทีใหม่เพื่อชาว LGBTQ+

เมื่อเข้าสู่โลกสมัยใหม่ ทุกอย่างได้เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดการสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่ม “กลุ่มเพศทางเลือก” หรือ “LGBTQ+” ก็เช่นกัน สังคมได้เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น กลุ่มเหล่านี้เริ่มมีตัวตนและมีพื้นที่ยืนในสังคม โดยไม่ต้องหลบซ่อนกันอีกต่อไป จึงได้เกิดกลุ่ม องค์กร หน่วยงาน และกิจกรรมที่สร้างสรรค์อีกมากมาย ที่ส่วนใหญ่จะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้คนทั่วไปได้เล่งเห็น มองเห็น พิจารณาเห็นถึงคุณค่าและศักยภาพของชาว LGBTQ ที่ช่วยสีสันให้สังคมน่าอยู่มากยิ่งขึ้น

องค์กร “MISS TRANS THAILAND” จึงได้ถูกก่อตั้งขึ้นมา เมื่อ ปี พ.ศ.2560 (ค.ศ. 2018) โดย “คุณเฟม-อคีราห์ จันทพาน” สาวประเภทสองที่กล้าเปิดเผยตัวตนให้เป็นที่ประจักษ์และความสามารถอย่างชัดเจน โดยเป็นเวทีการประกวดของสาวประเภทสอง ภายใต้คอนเซปต์ “คนงามเคียงความรู้ เชิดชูวัฒนธรรม นำความเท่าเทียม ยอดเยี่ยมเสมอภาค” ซึ่งได้จัดประกวดมาอย่างต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันที่จะกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 6 และเตรียมจัดการประกวดกับ “MISS TRANS THAILAND 2022” เพื่อเฟ้นหากลุ่มเพศทางเลือกที่พร้อมจะเป็นแบบอย่างในสังคมทุกมิติ

สำหรับการดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์กับคำว่า “TRANS”
T-Teamwork : เพื่อให้เกิดความสามัคคีและการรวมพลังเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของทุกฝ่ายทุกภาคส่วนโดยไม่แบ่งเพศ จะนำมาซึ่งความสำเร็จอย่างยั่งยืนที่งดงาม

R-Relationship : เพื่อให้เกิดความสัมพันธภาพที่ดีไม่เกิดช่องว่างในกลุ่มคนเพศทางเลือกกับคนทั่วไป สามารถทำงานและอยู่ในสังคมส่วนรวม โดยไม่มีอคติต่อกัน

A-Authority : เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เป็นต้นแบบที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับครอบครัว องค์กรสถาบัน สังคม และประเทศชาติ

N-Nationalism : เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความรักชาติและรักแผ่นดิน พร้อมที่จะเป็นผู้สืบทอดและสืบสานชาติไทยไว้จากรุ่นสู่รุ่น

S –Strong : เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความอดทนให้บังเกิดกับผู้เข้าประกวด เพราะจะเป็นต้นทุนที่ดีในการทำงานให้ประสบความสำเร็จสืบต่อไปในอนาคตกาล  
ส่วนคุณสมบัติของ “MISS TRANS THAILAND 2022” เพื่อให้เป็นทรัพยากรบุคคลของประเทศชาตินั้นสอดคล้องกับคอนเซ็ปต์ ดังนี้คือ “คนงามเคียงความรู้ เชิดชูวัฒนธรรม นำความเท่าเทียม ยอดเยี่ยมเสมอภาค”

1. คนงามเคียงความรู้ : เป็นผู้มีความงามทั้งภายนอกและความงามภายใน โดยเฉพาะด้านความรู้ที่เคียงคู่กับคุณธรรม

2. เชิดชูวัฒนธรรม : เป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นผู้ส่งเสริมและสนับสนุนวัฒนธรรมในทุกด้านทุกมิติ อาทิ ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ด้านการท่องเที่ยว ด้านเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ไทย ด้านสังคม                                                      

ลีน่า จัง’ ชี้ งาน Pride ปีนี้ กลายเป็นเวทีของนักการเมือง ทั้งเพื่อไทย และก้าวไกล หาใช่การแสดงออกเพื่อ LGBT อย่างแท้จริง

ลีน่า จังจรรจา โพสต์คลิปสั้นลงใน TikTok แสดงความผิดหวังกับงาน Pride ของปีนี้
โดยได้แสดงความคิดเห็นลงไปในคลิปว่า การจัดงาน Pride ของปีที่แล้วนั้นเป็นการจัดเดินขบวนเพื่อแสดงออกของกลุ่ม LGBTQ+ อย่างแท้จริง

แต่ในปีนี้นั้นกลับกลายเป็นเวทีที่นักการเมืองนำมาใช้ พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย นำมาใช้แสดงเจตนารมณ์เรื่องที่มีคนถูกยิงตาย หน้าวัดปทุมมีการวางดอกไม้ไว้อาลัยมันก็เลยกลายเป็นการเมืองไป กลายเป็นเวทีของนักการเมืองที่มายึดพื้นที่ไป ก็เลยกลายเป็นว่า งาน Pride เป็นงานของพรรคการเมือง พรรคก้าวไกลและติ่งส้ม

‘2 มิสอินเตอร์ควีนฯ’ เปิดมุมมอง ‘ความเท่าเทียมทางเพศ’  เผยประทับใจ ‘คนไทย’ เพราะเปิดกว้าง-ยอมรับ LGBTQ+

(5 ก.ค. 66) ‘ความเท่าเทียม’ เป็นคำที่มักได้ยินบ่อยในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็น ความเท่าเทียมทางสังคม หรือ ความเท่าเทียมทางด้านการงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเท่าเทียมทาง ‘เพศ’ ที่มีผู้คนให้ความสนใจ และมีการออกมารณรงค์ถึงประเด็นดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง กระทั่งมีหลากหลายพรรคการเมืองหยิบยกมาเป็นนโยบายหาเสียงในช่วงเลือกตั้ง

ประจวบเหมาะกับเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เป็นเดือนแห่ง ‘Pride Month’ ผู้คนนับแสนต่างพร้อมใจกันโบกสะบัดธงสีรุ้งซึ่งเป็นตัวแทนแห่งความหลากหลาย เพื่อเป็นการเรียกร้องให้สังคมโอบรับเรื่องเพศสภาพมากยิ่งขึ้น ราวกับเป็นภาพสะท้อนต่อกระแสของโลกในปัจจุบันต่อเรื่องการตระหนักถึงความหลากหลายทางเพศว่า…

เริ่มเป็นไปในทิศทางที่ ‘ดีขึ้น’ แต่ไม่ใช่ ‘ดีแล้ว’

‘โซลานจ์ เดคเคอร์’ ผู้ครองมงกฏเวที มิสอินเตอร์เนชันแนล ควีน 2023 (Miss International Queen 2023) เวทีเฟ้นหาสาวประเภทสองระดับโลก เปิดเผยความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวภายหลังได้ตำแหน่งว่า ภาพความเท่าเทียมที่เธออยากเห็น คือ การเข้าถึงระบบสาธารณสุขอย่างเท่าเทียม

“บางประเทศเกิดเป็นกฏหมายขึ้นมาแล้วว่า LGBTQ+ หรือทรานส์เจนเดอร์ไม่สามารถเข้ารับบริการจากสาธารณสุข หรือทางการแพทย์ กีดกันแม้กระทั่งการศึกษา เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยากเห็นคือการที่ทุกคนเปิดกว้างในเรื่องนี้ เนื่องจากตอนนี้ทางประเทศฝั่งยุโรปยังคงมีการต่อต้าน และมีการแบ่งแยกกลุ่มคนเหล่านี้จากสังคม”

ที่สำคัญไปกว่าเรื่องนี้ คือ ความปลอดภัยด้านอื่นๆ ในการใช้ชีวิตประจำวันของเหล่า LGBTQ+ ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เธอหวังให้เกิดขึ้น “เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์อันตราย ทรานส์เจนเดอร์ หรือ LGBTQ+ มักถูกมองว่าเป็นตัวการหลักของความไม่ปลอดภัยสำหรับเมืองนั้นๆ”

และยังบอกอีกว่า ในอนาคตอยากเห็นประเทศไทยมีกฏหมายสมรสเท่าเทียม

ด้าน ‘เมโลนี มอนโร’ รองชนะเลิศอันดับ 2 มิสอินเตอร์เนชันแนล ควีน 2023 เผยว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือสร้างการเรียนรู้ให้ผู้คนทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเท่าเทียมให้มากยิ่งขึ้น เข้าใจให้ลึกลงไปถึงระดับจิตวิญญาณ เพราะความเป็นจริงแล้วมนุษย์ทุกคน ‘เท่ากัน’

“มนุษย์คือมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความแตกต่างทางศาสนาก็ตาม แต่สุดท้ายแล้วมนุษย์ก็มีความเป็นมนุษย์เท่ากันอยู่ หากโลกของเราสามารถที่จะพูด หรือมีพื้นที่ที่จะพูด และได้เรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้มากขึ้น ว่าสุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเพศสภาพอะไรก็ยังเป็นมนุษย์เหมือนกันกับเรา เพื่อในอนาคตจะลดความอันตราย ลดความเข้าใจผิดต่อมนุษย์ด้วยกันเองบนโลกของเรา หรือแม้กระทั่งลดความเข้าใจผิดในเรื่องที่ว่า LGBTQ+ จะมาสร้างความอันตรายกับโลกใบนี้ และเข้าใจกันมากขึ้น” เมโลนีกล่าว

“สุดท้ายแล้วทรานส์เจนเดอร์ หรือ LGBTQ+ ไม่ได้สร้างปัญหา หรืออันตรายให้แก่โลกใบนี้เลย หากในอนาคตถ้าเรามีเวทีที่จะถกกัน จะเข้าใจว่าเพศสภาพ เพศทางเลือกใดๆ ก็แล้วแต่ไม่ได้เกี่ยวกับความสันติสุขของโลกเรา มนุษย์ทุกคนเท่ากันหมด” จับใจทุกประโยค เป็นความในใจที่ผ่านการกลั่นกรองจากหัวใจของคนที่อยู่ในสถานะนี้ ลึกซึ้งแต่หนักแน่น

นอกเหนือจากนั้น เมโลนี ยังเปิดเผยสิ่งที่เธอประทับใจในประเทศไทยในตลอดระยะเวลาสองอาทิตย์นี้ คือ เธอประทับใจ ‘คนไทย’

“เพราะคนไทยเป็นคนที่ใจกว้างมาก และใจดีกับทุกเพศ ทุกวัย คนไทยมองเห็นความเป็นมนุษย์ เคารพมนุษย์ด้วยกันเอง เปิดกว้างให้กับทรานส์เจนเดอร์เป็นอย่างมาก และให้ความอบอุ่นมาก วัฒนธรรมความเป็นคนไทยที่เปิดรับทุกคนคือสิ่งที่ประทับใจมากที่สุด” เมโลนีกล่าว

ท้ายที่สุดแล้ว จุดมุ่งหมายอันสูงสุดบนเส้นทางที่เต็มไปด้วยความหลากหลายนี้ คือการที่อยากเห็น ‘ทุกคน’ มีชีวิตตามที่ตัวเองปรารถนา ไม่ถูกตีตรา ไม่ถูกลดทอนคุณค่า เพียงเพราะคำว่า ‘แตกต่าง’ และเดินบนเส้นทางที่พวกเขาสามารถเป็นตัวของตัวเองได้โดยไม่ถูกสังคมตั้งคำถาม นั่นคือความหวังอันสูงสุด ที่อยากจะขอ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top