Wednesday, 26 March 2025
Info

ระบบสาธารณสุขที่ดีที่สุดในโลก ปี 2023

(5 ก.พ. 68) ระบบสาธารณสุขเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่ออายุขัย คุณภาพชีวิต และผลิตภาพทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในปี 2023 ที่ผ่านมา Legatum Institute จึงได้จัดทำ  Legatum Prosperity Index 2023 ขึ้น โดยประเทศสิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับให้มีระบบสาธารณสุขที่ดีที่สุดในโลกจากทั้งหมด 167 ประเทศ โดยวิเคราะห์ผ่านข้อมูลสุขภาพโดยรวมของประชากรและการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ เพื่อให้เห็นว่าประเทศต่างๆ ให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานทางสาธารณสุข ค่าใช้จ่าย และประสิทธิภาพของระบบสาธารณสุขอย่างไร

และเป็นที่น่าประทับใจที่ห้าอันดับแรกของการจัดอันดับในปีนี้ถูกครอบครองโดย ประเทศในเอเชีย ซึ่งสะท้อนถึงการพัฒนาด้านสาธารณสุขที่ก้าวหน้าอย่างมาก โดยสิงคโปร์ ครองอันดับที่ 1 และขึ้นชื่อในเรื่องระบบสาธารณสุขที่เป็นแบบผสมระหว่างภาครัฐและเอกชน ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพสูงได้ในราคาที่เหมาะสม ตามมาด้วยญี่ปุ่น (อันดับที่ 2) และ เกาหลีใต้ (อันดับที่ 3) เป็นประเทศที่มีระบบสาธารณสุขที่ทันสมัยและมีมาตรการดูแลสุขภาพประชากรสูงวัยที่มีประสิทธิภาพ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอายุขัยเฉลี่ยสูงที่สุดในโลก ซึ่งเป็นผลมาจากการให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ในขณะที่เกาหลีใต้มีระบบ National Health Insurance System ที่ครอบคลุมประชาชนทุกคน

ไต้หวันและ จีนก็เป็นอีกสองประเทศที่โดดเด่นที่ตามมาในอันดับที่ 4 และ 5 โดยเฉพาะระบบ single-payer healthcare ของไต้หวันที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในระบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก ส่วนจีนมีการพัฒนาระบบสาธารณสุขของตนเองอย่างรวดเร็ว โดยขยายเครือข่ายโรงพยาบาลและพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง

แม้ว่าประเทศในเอเชียจะครองอันดับต้นๆ ของรายการ แต่ ยุโรป ก็ยังคงมีบทบาทสำคัญในระบบสาธารณสุขที่มีคุณภาพ หลายประเทศติดอันดับ Top 20 เช่นกัน นอร์เวย์ (อันดับที่ 7) และไอซ์แลนด์ (อันดับที่ 8) โดดเด่นในเรื่องระบบสาธารณสุขแบบถ้วนหน้า ที่ให้บริการฟรีหรือในราคาต่ำแก่ประชาชน ส่วน สวีเดน (อันดับที่ 9) และสวิตเซอร์แลนด์ (อันดับที่ 10) มีระบบการเงินด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ และให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน 

การจัดอันดับนี้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของนโยบายรัฐบาล การเงินด้านสาธารณสุข และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยเน้นความสำคัญของ การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ประสิทธิภาพ และนวัตกรรม ในการให้บริการทางสาธารณสุขค่ะ  

โดย Top 20 อันดับของโลกประกอบไปด้วยประเทศเหล่านี้ และอย่างบ้านเราที่ก็ขึ้นชื่อเรื่องเทคโนโลยีทางการแพทย์และยังมีแผนที่จะก้าวไปสู่การเป็น Medical Hub อยู่ในลำดับที่ 31 ค่ะ

ตัด 5 จุด ส่งไฟขายเมียนมา ตัดตอนความเสียหาย 'แก๊งคอลเซ็นเตอร์'

เมื่อรัฐบาลไทยเอาจริง!! ส่องพื้นที่สำคัญ 5 จุดชายแดนไทย - เมียนมา ที่ สมช. มีคำสั่งให้ตัดไฟฟ้า หวังตัดตอนความเสียหาย ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ มีจุดใดบ้างไปส่องกัน

เจาะธุรกิจ 10 มหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลกปี 2025

(6 ก.พ. 68) เปิดปี 2025 มาพร้อมกับการแข่งขันด้านความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีระดับโลก ที่ยังคงกอบโกยทรัพย์สินกันแบบไม่มีหยุด ใครที่เคยคิดว่าเศรษฐีเหล่านี้รวยแล้ว แต่ขอบอกเลยว่าปี 2025นี้คนเหล่านี้ยังรวยขึ้นอีก เรามาดูกันว่า 10 คนที่รวยที่สุดในปีนี้ มีใครบ้าง และพวกเขาทำเงินจากธุรกิจอะไรกัน

อันดับ 1. Elon Musk – 437,000 ล้านดอลลาร์
เจ้าพ่อ Tesla และ SpaceX ยังครองบัลลังก์มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของโลก ด้วยการที่ Tesla ยังขายดี SpaceX ก็กำลังบุกอวกาศเต็มตัว และ AI ของเขายังทำเงินได้ต่อเนื่อง มัสก์จึงเป็นคนที่มีทรัพย์สินสูงสุดแบบขาดลอยคู่เเข่งคนอื่น

อันดับ 2. Jeff Bezos – 243,000 ล้านดอลลาร์
แม้จะลาออกจากตำแหน่ง CEO ของ Amazon แต่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซและ AWS (Cloud Service) ของเขาก็ยังคงทำเงินไม่หยุด เรียกได้ว่าหายใจทิ้งก็ยังรวยขึ้นในทุกนาที

อันดับ 3. Mark Zuckerberg – 214,000 ล้านดอลลาร์
CEO แห่ง Meta ยังคงทำเงินได้อย่างมหาศาลจาก Facebook, Instagram, WhatsApp และ Metaverse นอกจากนี้ AI และแพลตฟอร์ม VR ของเขายังช่วยผลักดันทรัพย์สินให้พุ่งขึ้นไปอีกด้วย

อันดับ 4. Larry Ellison – 192,000 ล้านดอลลาร์
เจ้าพ่อ Oracle ยังคงเป็นมหาเศรษฐีระดับแนวหน้าของโลก ในยุคที่ Cloud Computing และ AI กำลังมาแรง Oracle ก็ยังเป็นบริษัทที่ช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้ขับเคลื่อนแบบไร้ขีดจำกัด

อันดับ 5. Larry Page – 170,000 ล้านดอลลาร์
หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Google ยังคงได้รับผลประโยชน์จากธุรกิจ Search Engine และ AI รวมถึง Cloud Computing ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

อันดับ 6. Bernard Arnault – 169,000 ล้านดอลลาร์
เศรษฐีสายแฟชั่นและเจ้าพ่อแบรนด์หรู LVMH ก็ตามมาในอันดับที่ 6 เพราะแบรนด์ Louis Vuitton, Dior, Givenchy และสินค้าหรูอื่น ๆ ยังคงขายดีไม่มีตก เทรนด์ของใช้แบรนด์เนมยังคงมาแรง คนพร้อมจ่ายเพื่อความหรูหรา ทำให้เขายังเป็นเศรษฐีอันดับต้น ๆ ของโลกได้

อันดับ 7. Sergey Brin – 160,000 ล้านดอลลาร์
ผู้ร่วมก่อตั้ง Google อีกรายที่ยังคงครองตำแหน่งเศรษฐีระดับโลก ด้วยการเติบโตของ AI, Search Engine และ Cloud Services เขาจึงยังมีทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อันดับ 8. Bill Gates – 158,000 ล้านดอลลาร์
แม้จะลดบทบาทใน Microsoft แต่ทรัพย์สินของ Bill Gates ก็ยังเพิ่มขึ้นจากการลงทุนใน AI, พลังงานสะอาด และโครงการการกุศล เขายังคงเป็นหนึ่งในคนที่ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจของโลกด้วย

อันดับ 9. Steve Ballmer – 147,000 ล้านดอลลาร์
อดีต CEO ของ Microsoft ยังคงทำเงินได้อย่างต่อเนื่องจาก หุ้น Microsoft และธุรกิจกีฬา (L.A. Clippers) นอกจากนี้ การเติบโตของ Cloud Services และ AI ยังช่วยเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินของเขาด้วย

อันดับ 10. Warren Buffett – 142,000 ล้านดอลลาร์
เจ้าพ่อการลงทุนยังคงอยู่ใน Top 10 และแม้จะอายุเกือบ 100 ปี แต่พอร์ตการลงทุนของเขายังคงสร้างผลตอบแทนได้อย่างต่อเนื่องจาก Apple, Coca-Cola, และธุรกิจประกัน

ส่วนการจัดอันดับคนที่รวยสุดในบ้านเราจากการจัดลำดับล่าสุด คงหนีไม่พ้นคุณเฉลิม อยู่วิทยา และครอบครัว เจ้าของร่วมแบรนด์เครื่องดื่มชูกำลัง Red Bull ได้ก้าวขึ้นเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทย ด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิประมาณ 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.32 ล้านล้านบาทค่ะ

ส่อง 10 อันดับ ประเทศผลิตกาแฟมากที่สุดในโลก

จากผลพวงของสภาพภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างหนักในรอบปีที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่ปลูกกาแฟหลัก ๆ ของโลกเผชิญกับภาวะแห้งแล้งส่งผลให้ผลผลิตที่ออกมามีจำนวนลดลงอย่างมาก และทำให้ราคาของเมล็ดกาแฟพุ่งสูงสุดในรอบ 47 ปี

และหากย้อนกลับไปในอดีต ผลผลิตกาแฟส่วนใหญ่นั้นเติบโตในเอธิโอเปียและซูดาน แต่ในปัจจุบันได้กระจายพื้นที่เพาะปลูกกว่า 70 ประเทศ และมีกว่า 50 ประเทศที่มีการส่งออกกาแฟไปทั่วโลก ส่วนประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ ที่ผลิตกาแฟมากที่สุด 10 อันดับแรกของโลก อัปเดตล่าสุดมีประเทศใดบ้างไปดูกันเลย

10 อันดับ ประเทศในอาเซียนที่เป็นผู้นำด้านระบบจ่ายเงินดิจิทัล

เข้าใกล้สังคมไร้เงินสด!!

ส่อง 10 อันดับ ประเทศในอาเซียนที่เป็นผู้นำด้านระบบจ่ายเงินดิจิทัล มีประเทศไหนบ้าง และประเทศไทยอยู่อันดับที่เท่าไหร่ ไปติดตามได้เลย

อาณาจักรธุรกิจของโดนัลด์ ทรัมป์ : จากเจ้าพ่ออสังหาฯ สู่เวทีการเมือง

หากพูดถึงบุคคลที่ทรงอิทธิพลทั้งในแวดวงธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ สื่อบันเทิง และการเมือง โดนัลด์ ทรัมป์ คือชื่อที่ไม่มีใครไม่รู้จัก จากการเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างตึกระฟ้าในนิวยอร์ก สู่การเป็นพิธีกรเรียลลิตี้ชื่อดัง และก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 45 และ 47 

อาณาจักรธุรกิจของทรัมป์ไม่ได้มีเพียงแค่ตึกหรูและโรงแรมระดับโลก แต่ยังขยายไปถึงคาสิโน สนามกอล์ฟ โซเชียลมีเดีย และแม้กระทั่งแบรนด์สินค้าต่าง ๆ แม้จะประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่เส้นทางของเขาก็เต็มไปด้วย วิกฤติทางการเงิน การล้มละลาย และคดีความมากมาย และวันนี้เราจะพาไปเจาะลึกเส้นทางธุรกิจของเขากันค่ะ

วันวาเลนไทน์ วันแห่งความรักที่กลายเป็นปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ

วันแห่งความรัก หรือ วันวาเลนไทน์ได้พัฒนามาเรื่อยๆจนกลายเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเอง และวันแห่งความรักนี้ยังเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่มีการใช้จ่ายสูงสุดของปีในประเทศไทย การบริโภคที่เพิ่มขึ้นในวันนี้ส่งผลโดยตรงต่อภาคธุรกิจหลัก ๆ เช่น ค้าปลีก ร้านดอกไม้ อาหารและเครื่องดื่ม โรงแรม การท่องเที่ยว และความบันเทิง

ข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่าในปี 2567การใช้จ่ายในวันวาเลนไทน์ของไทยแตะระดับ 2.5 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 5.4% จากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สะท้อนถึง พฤติกรรมผู้บริโภคที่ยังคงให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้ แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวก็ตาม และสำหรับปี 2568 ก็มีการคาดการณ์ว่าการใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นไปที่ 2.7 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7.2% จากปีก่อนหน้า

โดยผลกระทบเชิงบวกจากวาเลนไทน์จะสามารถแบ่งเป็นหัวข้อที่น่าสนใจแบบไหนบ้าง วันนี้จะพาไปดูกันค่ะ

การลดลงของประชากรไทย : วิกฤตหนักที่กำลังมา

(17 ก.พ. 68) ปีนี้เราจะได้ยินคนพูดกันว่าสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอ่ยุกันมากขึ้น เพราะประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรครั้งใหญ่ที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อ เศรษฐกิจ สังคม และโครงสร้างแรงงาน การลดลงของอัตราการเกิด และจำนวนประชากรที่เติบโตช้าลง ส่งสัญญาณถึง แรงงานขาดแคลน ค่าใช้จ่ายสวัสดิการเพิ่มขึ้น และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยรวม และข้อมูลจากธนาคารโลกยังมีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2573 ผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนกว่า 30% ของประชากรทั้งหมดของไทยด้วย

ทางออกที่ประเทศไทยต้องเร่งดำเนินการก็มีได้ทั้งการสนับสนุนการเกิด การขยายอายุการเกษียณ การเพิ่มแรงงานต่างชาติ และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเอาชดชเยแรงงานที่ขาดแคลนค่ะ เพราะหากไม่มีมาตรการแก้ไขที่เหมาะสมและดีพอ ประเทศไทยอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปีค่ะ

แล้วทำไมเราถึงควรต้องกังวลเรื่องนี้ เราไปดูตัวเลขทางสถิติที่สำคัญกันค่ะ?

ระดมทีม All-Star! เปิดลิสต์ผู้นำบริษัทเทคจีนร่วมโต๊ะหารือสีจิ้นผิง

เมื่อวันที่ (17 ก.พ. 68) ที่ผ่านมา สำนักข่าวซีซีทีวีของจีนเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ผู้นำจีนได้จัดประชุมสัมมนานัดพิเศษ เพื่อเพื่อส่งเสริมการพัฒนาภาคเอกชนของจีนที่ทำเนียบรัฐบาลจีนในกรุงปักกิ่ง  โดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้พบปะกับผู้ประกอบการจากภาคเอกชนที่มีชื่อเสียงหลายราย

ที่น่าสนใจคือมีตัวแทนจากภาคธุรกิจสายเทคโนโลยีของจีนรายใหญ่หลายรีาย เข้าร่วมการหารือดังกล่าว อาทิ 

เหริน เจิ้งเฟย (Ren Zhengfei) – ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ หัวเว่ย (Huawei) ผู้นำระดับโลกด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยี 5G

หวัง ฉวนฝู (Wang Chuanfu) – ประธานและซีอีโอของ BYD บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำของจีน

หลิว หยงห่าว (Liu Yonghao) – ผู้ก่อตั้งบริษัท New Hope ผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ของจีน

อวี๋ เหรินหรง (Yu Renrong) – ผู้ก่อตั้งและประธานของ Will Semiconductor บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำของจีน

หวัง ซิงซิง (Wang Xingxing) – ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Unitree Robotics ผู้พัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์

เล่ย จุน (Lei Jun) – ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Xiaomi บริษัทสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ IoT ชั้นนำ

นอกจากนี้  CMG สื่อท้องถิ่นจีนยังเผยให้เห็นผู้บริหารระดับสูงที่คุ้นหน้าคุ้นตาเข้าร่วมประชุม เช่น

โพนี่ หม่า (Pony Ma) – ซีอีโอของ Tencent ยักษ์ใหญ่ด้านเกมและโซเชียลมีเดีย

แจ็ค หม่า (Jack Ma) – ผู้ก่อตั้ง Alibaba บริษัทอีคอมเมิร์ซและเทคโนโลยีระดับโลก

และรวมถึง เหลียง เหวินเฟิง (Liang Wenfeng) – ผู้ก่อตั้ง DeepSeek บริษัทสตาร์ทอัพด้านปัญญาประดิษฐ์ที่กำลังมาแรงในเวลานี้ 

ไฮไลท์สำคัญของการประชุมนี้คือการปรากฏตัวของ ‘แจ็ค หม่า’ผู้ก่อตั้ง Alibaba ที่หายหน้าไปจากสื่อในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก่อนที่จะกลับมาในงานฉลองครบรอบ 20 ปี ของ Ant Group เมื่อปลายปี 2024 หลังจากหายไปนานถึง 4 ปี การที่เขามาพบ สี จิ้นผิง จึงเป็นสัญลักษณ์สำคัญของการเปลี่ยนท่าทีของรัฐบาลจีนที่เริ่มหันมาสนับสนุนภาคเอกชน โดยเฉพาะในกลุ่มเทคโนโลยี

ในการกล่าวสุนทรพจน์ของ สี จิ้นผิง เขาเน้นถึงการขจัดอุปสรรคในการใช้ทรัพยากรอย่างเท่าเทียมและส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม พร้อมทั้งยืนยันจะสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับบริษัทเอกชน ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจที่ประสบปัญหาในการเข้าถึงเงินทุน

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาบริษัทเอกชนจีนโดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีเผชิญแรงกดดันจากการควบคุมของภาครัฐ ทำให้บรรยากาศในวงการเทคโนโลยีจีนเข้าสู่ยุคมืด มูลค่าหุ้นและผลประกอบการได้รับผลกระทบหนัก ส่งผลให้หลายซีอีโอถอยห่างจากสื่อ ซึ่งแจ็ค หม่าเป็นหนึ่งในนั้น

การที่รัฐบาลจีนเรียกบิ๊กเทคจีนเข้าพบครั้งนี้จึงเป็นสัญญาณสำคัญของการผ่อนคลายมาตรการ และสะท้อนถึงการที่จีนกำลังมองเห็น AI และเทคโนโลยีเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าการประชุมสัมมนาครั้งนี้เป็นสัญญาณเชิงบวกต่อภาคเอกชนของจีน โดยเน้นย้ำว่าธุรกิจเอกชนเป็นพลังสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศ ปัจจุบัน ภาคเอกชนจีนมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจ โดยคิดเป็น 48.6% ของการค้าต่างประเทศ 56.5% ของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 59.6% ของรายได้ภาษี และมีส่วนในการสร้าง GDP มากกว่า 60% นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งคิดค้นนวัตกรรมกว่า 70% และสร้างการจ้างงานในเขตเมืองมากกว่า 80%

หลี่ หย่ง หัวหน้านักวิจัยจากสถาบัน D&C Think Tank ให้สัมภาษณ์กับ CGTN ว่าการคัดเลือกบริษัทเอกชนชั้นนำเข้าร่วมประชุมสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลจีนในการสนับสนุนเทคโนโลยีเอกชน โดยย้ำว่าการพัฒนาภาคเอกชนเป็นรากฐานของ "สังคมนิยมที่มีลักษณะจีน"

หนึ่งในประเด็นสำคัญที่กล่าวถึงคือการปฏิเสธแนวคิด "เอกชนต้องถอยจากเศรษฐกิจ" (Exit Theory) พร้อมยืนยันว่าตำแหน่งของภาคเอกชนมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐ โดยรัฐบาลจีนยังคงสนับสนุน และสภาพแวดล้อมการลงทุนจะยังคงเหมือนเดิม

ตามมติของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ออกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2024 จีนจะเพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรมอนาคต เช่น AI เทคโนโลยีสารสนเทศรุ่นใหม่ การบินและอวกาศ พลังงานใหม่ วัสดุใหม่ อุปกรณ์ไฮเอนด์ และควอนตัมเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก

“รื้อ ลด ปลด สร้าง พลังงานไทย” เปิด 10 ผลงานเด่น ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพลังงาน ในรอบปี 2567 มีอะไรบ้าง ไปส่องกันเลย

“รื้อ ลด ปลด สร้าง พลังงานไทย” เปิด 10 ผลงานเด่น ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพลังงาน ในรอบปี 2567 มีอะไรบ้าง ไปส่องกันเลย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top