Monday, 20 May 2024
IMF

‘IMF’ เผย ยูโรอาจกลายเป็นผู้ท้าชิง ‘สกุลเงินสำรองหลักของโลก’ หลังสัดส่วนการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเหลือต่ำกว่า 60%

(3 พ.ค. 66) กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แสดงความคิดเห็นในเวทีสัมมนาหนึ่งในสัปดาห์นี้ เผย ดอลลาร์สหรัฐฯ กำลังค่อยๆ สูญเสียสถานะในฐานะ ‘สกุลเงินสำรองหลักของโลก’ ท่ามกลางสัดส่วนการถือครองลดลงจากระดับ 70% เหลือต่ำกว่า 60% เล็กน้อย

อย่างไรก็ตาม คริสตาลินา จอร์เจียวา กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เน้นย้ำระหว่างกล่าวในเวทีสัมมนา Milken Institute Global Conference ประจำปี 2023 ในเบเวอร์ลีฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เรีย สหรัฐฯ เมื่อวันจันทร์ (1พ.ค.) ว่ายังไม่มีทางเลือกอื่นในบรรดาสกุลเงินอื่น ๆ ของโลก ที่จะก้าวมาแทนที่ดอลลาร์ในอนาคตอันใกล้นี้

“มีการบ่ายหนีจากดอลลาร์อย่างค่อยเป็นค่อยไป สัดส่วนการสำรองเคยอยู่ที่ 70% ตอนนี้ลดลงมาต่ำกว่า 60% เล็กน้อย” เธอกล่าว พร้อมระบุว่า ยูโรสามารถถูกมองในฐานะผู้ท้าชิงรายใหญ่ที่สุดของดอลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ของสหราชอาณาจักร เยนญี่ปุ่นและหยวนองจีน “มีบทบาทเล็กน้อยมาก”

เธอเน้นว่าปัจจัยสำคัญสำหรับความเชื่อมั่นที่มีต่อสกุลเงินและประเทศนั้น ๆ ก็คือความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและมิติความลึกของตลาดทุน

“และหากคุณคิดว่ามีทางเลือกอื่นๆในโลก ซึ่งเราอาจโยกย้ายสู่สกุลเงินดิจิทัล ที่ออกโดยธนาคารกลางครั้งใหญ่ แต่ฉันมองไม่เห็นทางเลือกอื่น ฉันไม่เห็นว่ามันจะก้าวเข้ามาในอนาคตอันใกล้นี้” จอร์เจียวา ระบุ

เงินสำรองไทยแกร่งต่อเนื่อง แตะ 8.6 ล้านล้านบาท สะท้อนสถานะทางการเงินของประเทศสุดแข็งแกร่ง

ในช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540 นับเป็นช่วงเวลาที่ฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศของไทยอ่อนแอลงอย่างมาก เนื่องจากต้องรับมือกระแสเก็งกำไรค่าเงินบาท ในช่วงก่อนเกิดวิกฤต จนทำให้เหลือเงินสำรองฯ เพียง 2 หมื่นกว่าล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น

อย่างไรก็ดี หลังจากได้รับบทเรียนจากวิกฤตในครั้งนั้น ฐานะเงินสำรองฯ ของประเทศไทยก็เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง กระทั่งปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาถึง 10 เท่า จากปี 2540

และเมื่อมองย้อนกลับไป 5 ปี หลังสุด พบว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย ปี 2559 อยู่ที่ 6,155,783 ล้านบาท, ปี 2560 อยู่ที่ 6,615,482 ล้านบาท, ปี 2561 อยู่ที่ 6,666,266 ล้านบาท, ปี 2562 อยู่ที่ 6,756,943 ล้านบาท, ปี 2563 อยู่ที่ 7,747,644 ล้านบาท และ ณ สิ้นปี 2564 อยู่ที่ 8,212,110 ล้านบาท

ทว่าในปี 2565 ช่วงเดือนธันวาคม ไทยมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ อยู่ที่ 8,491,594.33 ล้านบาท ขณะที่ปี 2566 ในเดือนเมษายน มีทุนสำรองอยู่ 8,604,607.56 ล้านบาท มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ใกล้เคียงกับมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและเป็นรองเพียงสิงคโปร์ในกลุ่มประเทศอาเซียนเท่านั้น 

ในส่วนของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย มีทองคำด้วยมูลค่า 495,966.88 ล้านบาท รวมอยู่ด้วย ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีจำนวนทองคำมากที่สุดในกลุ่มอาเซียน (244 ตัน)

นอกจากนี้ ไทย ยังถือเป็นหนึ่งใน ‘เจ้าหนี้’ ของ IMF หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยได้เงินสบทบหรือให้กู้แก่ IMF เป็นจำนวน 41,508.51 ล้านบาทอีกด้วย

ทั้งนี้ เงินสำรองทางการ คือ เงินตรา/สินทรัพย์ต่างประเทศของเศรษฐกิจไทยที่อยู่บนงบดุลของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อรองรับความเสี่ยงในการทำธุรกรรมของเศรษฐกิจไทย และรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินของประเทศ ให้ค่าเงินบาทยังสามารถรักษาอำนาจในการซื้อของเศรษฐกิจไทย (Global Purchasing Power) ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนทั้งในไทยและต่างชาติ

ดังนั้น เงินสำรองทางการจึงทำหน้าที่เป็น ‘กันชน’ ให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อไม่ให้ความผันผวนจากภายนอกเข้ามาสร้างผลกระทบต่อธุรกิจไทย ซึ่งอาจจะกระทบกับอำนาจการซื้อของเศรษฐกิจไทยโดยรวมได้  

เงินสำรองทางการ จึงเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่ต่างชาติใช้ประเมินความมั่นคงและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ

เมื่อธุรกิจไทยส่งออกสินค้า คนต่างชาติมาท่องเที่ยวมากขึ้น หรือมีการลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ความต้องการที่จะแลกเงินบาทก็จะมีมากขึ้น เงินบาทก็จะแข็งค่าขึ้น

ฉะนั้น เงินสำรองฯ จึงเป็นเครื่องชี้สำคัญที่ต่างชาติใช้ประเมินความมั่นคง และเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของประเทศ หากเงินสำรองฯ มีน้อยไปก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤตค่าเงินเช่นที่เคยเกิดขึ้น แต่ถ้ามีมากไปก็อาจต้องคำนึงถึงภาระจากขนาดงบดุลธนาคารกลางที่ใหญ่ขึ้นทั้งด้านสินทรัพย์และหนี้สินด้วยเช่นกัน

และแน่นอนว่า จากระดับของทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นอีกหนึ่งดัชนีชี้วัด ที่สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นคงของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจของโลก ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา

เปิด 30 อันดับประเทศ 'ขนาดเศรษฐกิจใหญ่’ ที่สุดในโลก ประจำปี 2023

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product) หรือจีดีพี ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้วัด ‘ขนาดเศรษฐกิจ’ ของประเทศ ปี 2023 โดย ‘สหรัฐอเมริกา’ ครองอันดับ 1 ส่วน ‘ประเทศจีน’ พี่ใหญ่แห่งเอเชีย รั้งอันดับที่ 2 

วันนี้ THE STATES TIMES ได้รวบรวม 30 อันดับประเทศ 'ขนาดเศรษฐกิจใหญ่’ ที่สุดในโลก ประจำปี 2023 มาไว้ให้ชมกัน แอบกระซิบว่า ประเทศไทยก็ติดอันดับด้วยนะ แต่จะลำดับที่เท่าไหร่…ไปดูกันเลย!!

‘IMF’ ชี้!! ‘เศรษฐกิจจีน’ ปี 66 โตทะลุเป้า หลังปรับเปลี่ยนจากส่งออกเป็นรูปแบบบริโภค

(18 ม.ค. 67) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า คริสตาลินา จอร์จีวา กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2023 ถือเป็นข่าวดีสำหรับจีนและทั่วโลก

จอร์จีวาได้มีการเปิดเผยกับสำนักข่าวนอกรอบการประชุมสภาเศรษฐกิจโลก (WEF) ครั้งที่ 54 ในเมืองดาวอสว่า เศรษฐกิจของจีนบรรลุเป้าหมายระดับชาติซึ่งตั้งไว้ที่ราวร้อยละ 5 และเติบโตสูงกว่านั้น สิ่งนี้เป็นข่าวดีทั้งสำหรับจีน เอเชีย และทั่วโลก เนื่องจากจีนครองส่วนแบ่งการเติบโตหนึ่งในสามของการเติบโตทั่วโลก

เมื่อวันพุธ (17 ม.ค.) สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนรายงานว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนในปี 2023 สูงถึง 126.06 ล้านล้านหยวน (ราว 638 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบปีต่อปี

จอร์จีวาชี้ว่ารัฐบาลจีนกำลังมุ่งมั่นเดินหน้าสู่การเติบโตที่มีคุณภาพสูง และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเติบโตจากที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก ไปเป็นรูปแบบที่การบริโภคมีบทบาทสำคัญมากขึ้น

จอร์จีวากล่าวว่าเราเป็นพันธมิตรที่ดีมากกับจีน จีนมีศักยภาพอย่างมากในการดึงเอาผลิตภาพออกมามากขึ้น และสร้างแรงงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมเสริมว่าการปฏิรูป การเปิดกว้าง และการบูรณาการในเศรษฐกิจโลกถือเป็นหนทางที่ถูกต้องในการเดินหน้าต่อของจีน

อนึ่ง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2023 กองทุนฯ ได้ปรับขึ้นการคาดการณ์เศรษฐกิจจีนในปี 2023 จากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 5.4 และในปี 2024 จากร้อยละ 4.2 เป็นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่กองทุนฯ เผยแพร่เมื่อเดือนตุลาคม

‘รัชดา’ แนะ ‘เพื่อไทย’ ให้อ่านบทความของ IMF เพื่อจะได้ไม่เขลา เรื่องความเป็นอิสระของ ‘ธนาคารกลาง’

(5 พ.ค.67) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก อดีตสส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองโฆษกรัฐบาล โพสต์เฟซบุ๊กชวนพรรคเพื่อไทย ให้อ่านบทความจาก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) หัวข้อ Strengthen Central Bank Independence to Protect the World Economy เผยแพร่เมื่อ 21 มี.ค. 24 ซึ่งเป็นประเด็นสืบเนื่องจากที่น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวในงานอีเวนต์ของพรรคเพื่อไทยว่า ความเป็นอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยระบุว่า ...

บทความจาก IMF เรื่องความสำคัญของความเป็นอิสระของธนาคารกลาง เพื่อไทย ควรหาโอกาสอ่าน จะได้มีทัศนคติที่ถูกต้องในการบริหารประเทศ ปลอดอคติจากความเขลาต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเสียที

น.ส.รัชดา ระบุว่า บางส่วนที่น่าสนใจของบทความ 

1.ผลสำรวจของ IMF ยืนยันความสำคัญ ‘ธนาคารกลางต้องมีความเป็นอิสระ’ 

2.ธนาคารกลางที่มีlคะแนนความเป็นอิสระสูง ทำได้ดีในการควบคุมการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของประชาชน ซึ่งช่วยให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ 

3.ความเป็นอิสระยังส่งผลต่อการสร้างเสถียรภาพด้านราคา ซึ่งสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว 

4.รัฐบาลและธนาคารกลางต่างมีหน้าที่และบทบาทที่ตนเองต้องรับผิดชอบ ซึ่งต้องหารือกัน ไม่ใช่แทรกแซงกัน เพื่อให้เกิดการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและเพิ่มการจ้างงานที่สำคัญลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเงิน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top