(13 ต.ค. 67) ‘แกร็บ’ (Grab) สตาร์ทอัพเล็กๆ ในมาเลเซีย ที่เริ่มต้นด้วยบริการแอปพลิเคชันเรียกรถแท็กซี่ จากเงินทุนก้อนแรก 8 แสนบาท ก้าวสู่การเป็น ‘ยูนิคอร์น’ บริษัทแรกของอาเซียนในเวลาเพียงไม่กี่ปี
เพียงเพราะ ‘แอนโทนี่ ตัน’ เด็กหนุ่มทายาทตระกูลร่ำรวยที่อยากพิสูจน์ตัวเอง จนสร้าง ‘ซูเปอร์แอป’ ที่มีรายได้ปีละ 2 พันล้านดอลลาร์ หรือราวๆ 6.6 หมื่นล้านบาท ด้วยธุรกิจเจาะกลุ่ม ‘ฐานของปิรามิด’ และทำงานหนักเพื่อสร้างแอปที่ใช้งานได้จริง
แอนโทนี่ ตัน โตมากับตำแหน่งทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูลแทน จากการทำธุรกิจผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ข้ามชาติ บริษัทตันชงมอเตอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศมาเลเซีย จนไม่จำเป็นต้องแสวงหาความร่ำรวยแล้ว
ในปี 2552 แทนได้เข้าศึกษาต่อที่ Harvard Business School และพบกับ โฮย หลิง ตัน เพื่อนชาวมาเลเซียในชั้นเรียน ‘การทำธุรกิจในตลาดที่เป็นฐานของปิรามิด’
จนกระทั่งปีในปี 2554 ทั้งคู่ได้พูดคุยกันถึงปัญหาความปลอดภัยของระบบแท็กซี่ในมาเลเซีย โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิง ซึ่งจุดประกายให้พวกเขาตัดสินใจที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
จุดเริ่มต้นของธุรกิจ Grab หลังจากที่ทั้งคู่ได้ร่วมกันร่างแผนธุรกิจเพื่อเข้าร่วมการประกวดสตาร์ทอัพในมหาวิทยาลัย และสามรถคว้ารางวัลรองชนะเลิศพร้อมเงินรางวัล 25,000 ดอลลาร์ หรือราวๆ 8 บาทเท่านั้น
จากสตาร์ทอัพเล็กๆ ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและได้รับการสนับสนุนจากบริษัทชั้นนำอย่าง SoftBank จนมีมูลค่าตลาดสูงถึง 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่เส้นทางการสร้างบริษัทให้ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
ความคาดหวังของครอบครัวที่อยากให้ตันสานต่อธุรกิจที่บ้าน มำให้ไอเดียการสร้าง Grab ถูกปฏิเสธ พ่อของเขาพูดว่า “ฉันไม่คิดว่ามันจะสำเร็จ” ประโยคกลายเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ทันมุ่งมั่นที่จะพิสูจน์ตัวเอง
เมื่อขอเงินทุนจากพ่อไม่สำเร็จ ทันหันขอเสนอแผนธุรกิจนี้กับแม่ ซึ่งเห็นความเป็นไปได้ในธุรกิจนี้และตัดสินใจสนับสนุนเงินทุนให้เป็นคนแรก ด้วยเงินทุนที่ได้มา ทันจึงเริ่มต้นธุรกิจ Grab ภายใต้ชื่อ MyTeksi ในเดือนมิถุนายน ปี 2555
.
ช่วงเริ่มต้นของ Grab นั้นเต็มไปด้วยความท้าทาย ตันและทีมงานต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องงบประมาณที่จำกัดในการสร้างระบบแท็กซี่ใหม่ให้กับมาเลเซีย
สำนักงานเดิมของ Grab ตั้งอยู่ในห้องเล็กๆ ในกัวลาลัมเปอร์ เป็นห้องทำงานเล็กๆ ที่ขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานอย่างเครื่องปรับอากาศขณะที่อากาศร้อนตลอดปี และไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตขนาดต้องใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตจากมือถือ
นอกจากนี้ ข้อจำกัดด้านงบประมาณทำให้เป็นเรื่องยากที่ทำให้ Grab ดึงคนขับมาเป็นพาร์ทเนอร์บนแพลตฟอร์ม ดังนั้นพวกเขาจึงต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ
ในการเริ่มต้นธุรกิจ Grab ในช่วงแรก ๆ แทนได้เดินทางไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อโน้มน้าวให้พนักงานขับรถแท็กซี่มาลองใช้บริการ Grab
ตันสังเกตเห็นพฤติกรรมของคนขับแท็กซี่ในโฮจิมินห์ซิตี้ที่มักแวะดื่มกาแฟที่ปั๊มน้ำมันในช่วงเช้า จึงนำไปสู่ไอเดียแจกกาแฟฟรีตอน ตี 4 เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีและชักชวนให้พวกเขามาร่วมงานกับ Grab นั่นเป็นวิธีเดียวที่ทำให้เค้าเข้าถึงกลุ่มไรเดอร์
ส่วนที่มะนิลา แทนใช้เวลาช่วงเช้ามืดไปทำความรู้จักกับคนขับแท็กซี่อย่างใกล้ชิด นั่งคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวชีวิตพร้อมกับดื่มเบียร์เย็นๆ เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาและความต้องการของพวกเขาอย่างลึกซึ้ง
ปี 2561 เป็นปีที่ตลาดบริการเรียกรถในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อ Uber ยักษ์ใหญ่ด้านการเรียกรถบริการจากสหรัฐตัดสินใจขายธุรกิจในภูมิภาคนี้ให้กับ Grab คู่แข่งรายสำคัญ โดยแลกกับหุ้นใน Grab ถึง 27.5% และ Dara Khosrowshahi ซีอีโอของ Uber เข้าร่วมคณะกรรมการของ Grab
การตัดสินใจครั้งนี้ถือเป็นการสิ้นสุดสงครามการแข่งขันที่ดุเดือดและยาวนาน ทำให้ Grab กลายเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในตลาด และมีอิทธิพลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งในภูมิภาคอย่างมาก
แม้ว่า Grab จะประสบความสำเร็จในการสร้างฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งและขยายธุรกิจไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่บริษัทก็ต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาเรื่องการผูกขาดตลาดจากทั้งนักวิจารณ์และหน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างรวดเร็วและการครอบคลุมตลาดในหลายประเทศ
Grab ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนไปแล้ว เช่นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทาง และเพิ่มโอกาสใหม่ๆ ให้กับผู้คนในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้มีรายได้น้อยหรือที่เรียกว่า ‘ฐานของปิรามิด’
ตอนนี้นอกจาก Grab จะให้บริการเรียกแล้ว ยังขยายธุรกิจไปสู่บริการจัดส่งอาหารและสินค้า รวมถึงบริการทางการเงิน เช่น การชำระเงิน การให้กู้ยืมและธนาคารดิจิทัล ปัจจุบันแกร็บให้บริการลูกค้ากว่า 35 ล้านคน และสร้างงานอิสระกว่า 13 ล้านตำแหน่งใน 8 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา