Monday, 21 April 2025
Education

ขอนแก่น - รมช.ศธ.เปิดนิทรรศการ "KKC Smart Education 2021" ตอกย้ำมาตรฐานการศึกษาของไทย! ในยุคโควิด-19 ทั้งออนไลน์ - ออนไซค์ต้องได้มาตรฐาน

เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 20 ต.ค.2564 ที่ ห้องประชุมแก่นเมือง ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รมช.ศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดนิทรรศการ "KKC Smart Education 2021: เพราะการศึกษาต้อง Move on" ซึ่งกระทวงศึกษาธิการ และสำนักงานศึกษาธิการ จ.ขอนแก่น ได้กำหนดจัดกิจกรรมขึ้น โดยมี นายสุภัทร จำปากุล ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ,นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผจ.ขอนแก่น ,นายศุภชัย จันปุ่ม ศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง เข้าร่วมงานกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียง ท่ามกลางมาตราการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มงวด

คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดนโยบายในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ มีความพร้อม ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยกำหนดจุดเน้นในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้และใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของการจัดการองค์ความรู้และยกระดับทักษะที่จำเป็นที่เน้นพัฒนาความรู้และสมรรถนะ ด้าน Digital  Literacy และเน้นหนักในเรื่องของการศึกษาแบบยกกำลัง 2 ในการพัฒนาครูให้มีความรู้ สมรรถนะและทักษะ

"ขณะเดียวกันในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา โดยพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้และระบบบริหารจัดการห้องเรียน Smart School และ Smart Classroom ซึ่งจังหวัดขอนแก่นมีแนวโน้มการขยายตัวของเมืองและเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องโดยถูกกำหนดให้เป็น 1 ใน 7 เมือง ของประเทศในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี สู่การพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบหรือ Smart City ได้อย่างชัดเจนและลงตัวที่สุด"

 

'เยอรมนี' ชาติยอดนิยมในยุโรป นักศึกษา 'อินเดีย-จีน' แห่ไปเรียนมากสุด

(13 พ.ย. 67) เยอรมนีพบจำนวนนักศึกษาต่างชาติเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ โดยในภาคการศึกษาฤดูหนาวปี 2023-2024 มีนักศึกษาต่างชาติกว่า 380,000 คนลงทะเบียนเรียน เพิ่มขึ้น 3% จากปีที่ผ่านมา ตามข้อมูลของ DAAD (German Academic Exchange Service) นักศึกษาต่างชาติเหล่านี้คิดเป็นเกือบ 13% ของนักศึกษาทั้งหมดในเยอรมนี

นักเรียนจากอินเดียมีจำนวนมากที่สุด โดยมีนักเรียนลงทะเบียนประมาณ 49,000 คน รองลงมาคือจีน (38,700 คน) ตุรกี (18,100 คน) ออสเตรีย (15,400 คน) และอิหร่าน (15,200 คน) ขณะที่ซีเรีย ซึ่งเคยอยู่ในห้าอันดับแรก ปัจจุบันมีนักเรียนประมาณ 13,400 คนหล่นอยู่ในอันดับที่หก

นักศึกษาต่างชาติส่วนใหญ่อยู่ในรัฐนอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลีย (78,500 คน) รองลงมาคือบาวาเรีย (61,400 คน) และเบอร์ลิน (40,800 คน)

ศาสตราจารย์ Monika Jungbauer-Gans ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์ศูนย์วิจัยอุดมศึกษาและการศึกษาวิทยาศาสตร์เยอรมัน กล่าวว่า จำนวนผู้ลงทะเบียนนักศึกษาต่างชาติในเยอรมนีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลา 15 ปี นับเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความน่าดึงดูดของมหาวิทยาลัยในเยอรมนี โดยเฉพาะหลักสูตรปริญญาโทที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ “เพื่อเพิ่มจำนวนการลงทะเบียน เราจำเป็นต้องยกระดับการสนับสนุนนักศึกษาในทุกระดับการศึกษา” เธอกล่าวในแถลงการณ์ของ DAAD

ปัจจุบัน หลักสูตรวิชาการในเยอรมนีราว 10% ใช้การสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ซึ่งช่วยหลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับหลักสูตรภาษาอังกฤษที่เพิ่มขึ้นจนเกิดข้อจำกัดในบางประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ ตามรายงานของ The PIE News

การสำรวจจาก Study in Germany เว็บไซต์การศึกษาต่อเยอรมนี ระบุเหตุผลสำคัญสามประการที่ดึงดูดนักเรียนต่างชาติ ได้แก่ 1.การเรียนฟรี มหาวิทยาลัยของรัฐในเยอรมนีไม่มีการเก็บค่าเล่าเรียน โดยนักศึกษาชำระเพียงค่าธรรมเนียมการบริหารปีละประมาณ 150-250 ยูโร (160-268 ดอลลาร์สหรัฐ) นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตรกว่า 500 หลักสูตรที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ และมหาวิทยาลัยเยอรมนี 49 แห่งติดอันดับโลกโดย Times Higher Education

2.ค่าครองชีพต่ำ นักศึกษาต่างชาติใช้ชีวิตด้วยงบประมาณเฉลี่ย 930 ยูโร (1,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกามาก 3.โอกาสทำงานหลังเรียนจบ นักศึกษาสามารถอยู่ในเยอรมนีได้นานถึง 18 เดือนเพื่อหางาน โดยผลสำรวจยังชี้ว่านักศึกษาต่างชาติ 70% ต้องการทำงานในเยอรมนีหลังเรียนจบ

Kai Sicks เลขาธิการ DAAD กล่าวถึงความสำคัญของการสนับสนุนหลักสูตรภาษาอังกฤษพร้อมกับการส่งเสริมการเรียนภาษาเยอรมันเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ “นักเรียนต่างชาติที่ประสบความสำเร็จในเยอรมนีมักจะเป็นผู้ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและมหาวิทยาลัยได้ดี” เขากล่าวกับ The PIE

นอกจากนี้ เยอรมนี เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป กำลังเผชิญกับการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะถึง 7 ล้านคนภายในปี 2035 เนื่องจากประชากรสูงวัย DAAD ได้เรียกร้องให้รัฐบาล มหาวิทยาลัย และธุรกิจต่างๆ เพิ่มอัตราการคงอยู่ของบัณฑิตต่างชาติ โดยตั้งเป้ารักษาบัณฑิตไว้ประมาณ 50,000 คนต่อปีภายในปี 2030

ในปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Steffen Kaupp รองผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ่ ฮานอย เปิดเผยว่า จำนวนนักศึกษาชาวเวียดนามในเยอรมนีเพิ่มขึ้นเกือบ 30% จากช่วงก่อนโควิด-19 โดยส่วนใหญ่สนใจการฝึกอาชีวศึกษาในสาขาการพยาบาลและการบริการ

แดนมังกรต้อนรับนศ.ต่างชาติแล้ว 195 ประเทศ เร่งขยายหลักสูตรรองรับ ดึงนร.อเมริกัน 50,000 คน

เมื่อวานนี้ (14 พ.ย.67)  เฉินต้าลี่ เจ้าหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการของจีน เปิดเผยว่า การศึกษาของจีนได้รับความสนใจจากนักเรียนนักศึกษาต่างชาติในระดับที่สูงขึ้น

เฉินระบุว่า จีนได้ลงนามข้อตกลงรับรองปริญญาบัตรและประกาศนียบัตรร่วมกับ 60 ประเทศและภูมิภาค และขณะนี้มีนักเรียนนักศึกษาจากกว่า 195 ประเทศและภูมิภาคเดินทางมาศึกษาต่อในจีน

จีนยังได้จัดตั้งหลู่ปาน เวิร์กชอป (Luban Workshop) มากกว่า 30 แห่งในเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา เพื่อจัดฝึกอบรมวิชาชีพให้กับประชาชนกว่า 31,000 คน

ในส่วนของแผนการทางการศึกษา เฉินกล่าวว่า จีนกำลังดำเนินโครงการเชิญชวนวัยรุ่นชาวอเมริกัน 50,000 คน เดินทางมาจีนในช่วงเวลา 5 ปี ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนและการเรียนรู้

นอกจากนี้ จีนยังมีแผนที่จะรับนักเรียนนักศึกษาชาวฝรั่งเศสมากกว่า 10,000 คน ภายในระยะเวลา 3 ปี และเพิ่มจำนวนการแลกเปลี่ยนเยาวชนจากยุโรปไปยังจีนเป็นเท่าตัว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top