Wednesday, 24 April 2024
EcomBiz

‘รมว.อุตสาหกรรม’ เผยภาพรวมการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ในเดือนธันวาคม 2563 ขยายตัว 6.68% เป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 12 เดือน คาดแนวโน้มเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมไทยค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) จัดทำดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) โดยภาพรวมการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหักทองคำในเดือนธันวาคม 2563 ขยายตัวร้อยละ 6.68 โดยเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 12 เดือน

ขณะที่การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปหักทองคำขยายตัวร้อยละ 13.61 สูงสุดในรอบ 26 เดือน สะท้อนสัญญาณที่ดีต่อแนวโน้มการผลิตในระยะต่อไป

โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนธันวาคม 2563 หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.44 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นานในการควบคุมการระบาด เนื่องจากระบบการสาธารณสุขของไทยมีความสามารถในการป้องกันและควบคุมโรคได้ดี

ประกอบกับประชาชนมีความรู้และมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ในเบื้องต้น รวมทั้งผู้ประกอบการก็มีระบบการจัดการแก้ปัญหาจากโควิด-19 รอบแรก จึงส่งผลให้เศรษฐกิจอุตสาหกรรมชะลอตัวลงเพียงเล็กน้อย

โดยสินค้าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงขยายตัวตามอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศได้อย่างต่อเนื่อง อาทิ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ ถุงมือยาง เภสัชภัณฑ์ และอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น

ประกอบกับในเดือนกุมภาพันธ์ประเทศไทยจะได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในล็อตแรก และต่างประเทศเริ่มมีการฉีดวัคซีนเช่นเดียวกัน จะสร้างความเชื่อมั่นทั้งในการผลิตและการบริโภคตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น นายสุริยะ กล่าว

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมไทยค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ขยายตัวเป็นเดือนที่ 2 หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และอยู่ในหลักแสนคันเป็นเดือนแรก

เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศเริ่มฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งมีการออกรถยนต์รุ่นใหม่และการส่งเสริมการขายในงานมหกรรมยานยนต์เมื่อวันที่ 1 - 13 ธันวาคม 2563 โดยมียอดจองรถยนต์กว่า 33,000 คัน และการผลิตเป็นไปตามเป้าของปี 2563 จำนวน 1.4 ล้านคัน ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์มีคำสั่งซื้อเพิ่มตาม

นอกจากนี้อุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการป้องกันโควิด-19 ยังขยายตัวตามอุปสงค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนธันวาคมขยายตัวร้อยละ 13.61 ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 26 เดือน สะท้อนถึงสัญญาณที่ดีต่อแนวโน้มการผลิตในระยะต่อไป

นายทองชัย กล่าวต่อว่า นโยบายของภาครัฐสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี อาทิ โครงการคนละครึ่ง ช้อปดีมีคืน และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อีกทั้งในเดือนกุมภาพันธ์รัฐบาลได้อนุมัติโครงการเราชนะ จะส่งผลให้การบริโภคของภาคครัวเรือนและการผลิตของผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs ดีขึ้น ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง และเมื่อประเทศไทยเริ่มมีการฉีดวัคซีนได้ผลและมีประสิทธิภาพ คาดว่าการส่งออกรวมถึงการท่องเที่ยวที่เป็นกลจักรสำคัญของประเทศกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ

โดยอุตสาหกรรมหลักที่ยังคงขยายตัวดีในเดือนธันวาคม 2563 ได้แก่ ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.03 เนื่องจากตามความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์

ชิ้นส่วนอุปกรณ์โทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ รถยนต์ และเครื่องยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.49 จากรถบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล จากตลาดในประเทศที่ปรับตัวได้ดีขึ้นจากการจัดงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2020 ช่วงต้นเดือนธันวาคม ผู้ผลิตออกรถยนต์รุ่นใหม่และจัดแคมเปญพิเศษทำให้มีคำสั่งซื้อและส่งมอบเพิ่มขึ้น เกษตรกรมีกำลังซื้อจากสินค้าเกษตรปรับตัวสูง รวมทั้งการขยายตัวของธุรกิจขนส่งจากการเติบโตของตลาดออนไลน์

ยางรถยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.80 จากยางนอกรถยนต์นั่ง ยางนอกรถกระบะ และยางนอกรถบรรทุกรถโดยสาร เนื่องจากผู้ผลิตบางรายได้รับคำสั่งผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากไทยมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าประเทศอื่น การขยายสาขาศูนย์ยางรถยนต์ใหม่และอานิสงค์จากงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2020 ทำให้ได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น

เฟอร์นิเจอร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.50 จากเครื่องเรือนทำด้วยไม้ เป็นหลัก เป็นคำสั่งซื้อพิเศษจากอเมริกาเพื่อจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า

เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.30 จากเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เหล็กลวดและลวดเหล็ก เป็นหลัก ตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ อาหารกระป๋อง เครื่องใช้ไฟฟ้า

กระทรวงการคลัง ผนึกกำลังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดันนโยบาย ‘Made in Thailand’ สนับสนุนหน่วยงานรัฐซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศ เปิดโอกาสผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยเข้าสู่การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐได้มากขึ้น

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง ได้ร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผลักดันนโยบาย “Made in Thailand” เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน หันมาใช้สินค้าที่ผลิตภายในประเทศมากขึ้น โดยส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันด้านการตลาดในประเทศได้

ซึ่งที่ประชุม ครม.ได้พิจารณาอนุมัติกฎกระทรวง กำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2563 เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานราชการใช้สินค้าที่ผลิตภายในประเทศเพิ่มขึ้น ประกาศเป็นกฎกระทรวงที่มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ประเมินว่า จากกฎกระทรวงฉบับนี้ที่สนับสนุนหน่วยงานให้ภาครัฐจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย คือผู้ประกอบการสามารถเพิ่มยอดขาย และหน่วยงานภาครัฐได้สินค้าที่ผลิตในประเทศไทยตามที่ต้องการ ภาครัฐมั่นใจว่าการสนับสนุนครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้ประกอบการและห่วงโซ่เอสเอ็มอี เข้มแข็งขึ้น จากยอดการซื้อจากภาครัฐ ซึ่งในแต่ละปีหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศจะใช้งบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างกว่า 1.77 ล้านล้านบาท ซึ่งจะเป็นการยกระดับเสริมศักยภาพการแข่งขันและลดภาระด้านการเงินที่ต้องนำมาหมุนเวียนในธุรกิจ

สำหรับการรับรองสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย หรือ Made in Thailand ได้กำหนดสัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบผลิตในประเทศอย่างน้อย 40% โดยคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนสินค้า Made in Thailand จะเป็นผู้ประกอบการไทยหรือต่างประเทศ ที่มีโรงงานผลิตในประเทศไทย มีใบอนุญาตประกอบกิจการ มีการจดทะเบียน มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่ถูกต้องในประเทศไทย และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด

หากสินค้าใดที่ผ่านการรับรองจะได้รับเอกสารรับรองที่ ส.อ.ท. ออกให้แก่ผู้ประกอบการนำ ไปใช้แสดงคุณสมบัติสินค้า Made in Thailand กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และต่อไปในอนาคตจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมบัญชีกลางอย่างเป็นระบบ

สำหรับกลุ่มสินค้า Made in Thailand ที่มีโอกาสเข้าสู่การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ อาทิ วัสดุครุภัณฑ์สำนักงาน, ครุภัณฑ์การศึกษา, จอมอนิเตอร์, เฟอร์นิเจอร์, ชุดยูนิฟอร์ม, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ, อุปกรณ์ไฟฟ้าและพลังงาน, วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้าง อาทิ เหล็ก, ปูนซีเมนต์

รวมถึงจะมุ่งประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลไปยังกลุ่มผู้ค้าส่ง ค้าปลีก ที่เข้าร่วมยื่นเสนองานกับภาครัฐให้เข้าใจในกฎกระทรวงฉบับใหม่และการนำสินค้า Made in Thailand ไปเสนอต่อภาครัฐด้วย ตั้งเป้าหมายในปี 2564 จะมีผู้ยื่นขอการรับรอง Made in Thailand ไม่ต่ำกว่า 100,000 รายการสินค้า

ถอดรหัส!! แผนฟื้นฟู​ใหม่ ดัน​ 'บินไทย'​ ทะยานฟ้า เปิดโอกาส 'ธุรกิจ​ -​ ประเทศ'​ ที่น่าคิดตาม

เป็นที่ทราบกันดีว่า บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI กำลังอยู่ในกระบวนการทำแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมีกำหนดการนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการและโหวตแผนฟื้นฟูกิจการ

โดยแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทย ประกอบด้วยส่วนที่เป็นสาระสำคัญหลายประการ เช่น... 

1) วิเคราะห์และกำหนดรูปแบบการปรับโครงสร้างหนี้ 

2) โครงสร้างทุน 

และ 3) โครงสร้างองค์กร ตลอดจนแผนธุรกิจและแผนการเงิน ที่จะสะท้อนความสามารถในการดำเนินกิจการและความสามารถในการชำระหนี้ภายใต้ข้อกฎหมาย ข้อสัญญาที่มีกับพนักงานและคู่ค้าตลอดจนเจ้าหนี้ทั้งหลาย 

อย่างไรก็ตามข้อแตกต่างของแผนฟื้นฟูการบินไทยที่ยื่นต่อศาลล้มละลายกลางเมื่อเทียบกับแผนฟื้นฟูกิจการอื่นๆ นั้น ต้องยอมรับว่ามีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงและเป็นการร่างแผนฟื้นฟูกิจการแบบ “นอกตำรา” 

เนื่องจากปกติแผนฟื้นฟูกิจการส่วนใหญ่ ที่เกิดจากความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัท มักปล่อยให้บริษัทล้มละลาย​ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่า (ทั้งต่อเจ้าหนี้ เจ้าของ และสังคม) จึงมักจะมีบริษัทกระทำโดยการ 'ลดหนี้​ ลดทุน'​ แล้วดำเนินการ เป็นส่วนใหญ่แทน

แน่นอนว่า​ กรณีการฟื้นฟูกิจการของบริษัททั่วไป​ รวมถึงบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสายการบิน​ ก็มักจะลดหนี้ลดทุนแล้วดำเนินการทั้งสิ้น!! 

แต่กรณีการบินไทย โดยผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ ไม่ดำเนินการเช่นนั้น!! 

เพราะปัญหาการบินไทยแท้จริงแล้วมีสองสามปัญหาใหญ่ๆ คือ... 

1) การบริหารจัดการ 

2) โครงสร้างองค์กร 

และ 3) การแทรกแซงจากผู้มีอำนาจ 

การฟื้นฟูกิจการการบินไทยที่อยู่บนฐานคิดที่ว่า ธุรกิจต้องไปรอดและเติบโตอย่างยั่งยืนนั้น จึงจำเป็นต้องแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างให้เสร็จสิ้น เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการที่ดี มีระบบและกลไกในการป้องกันการแทรกแซง​ ที่จะส่งผลเสียต่อธุรกิจของการบินไทย

ในฐานะที่ติดตามเรื่องการฟื้นฟูการบินไทย ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ตั้งแต่มีการเตรียมเรื่องการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการนั้น โครงสร้างองค์กรและโครงสร้างธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็นองค์กรที่มีพนักงานในจำนวนที่เหมาะสมเพียงพอ และมีประสิทธิภาพในการบริหารงาน 

นั่นก็เพราะ โครงสร้างพนักงานใหม่​ ที่จะใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 นั้น​ จะมีพนักงานที่ทำสัญญาเริ่มต้นกันใหม่ ทำให้เหลือพนักงานทั้งหมดราว 1.4 -​ 1.5 หมื่นคน จากจำนวนพนักงานมากกว่าสองหมื่นคนในอดีต และปรับลดการจ้างงานภายนอกลง รวมถึงการปรับฝูงบินที่ทำให้เหลือชนิดและประเภทของเครื่องบินและเครื่องยนต์น้อยลง 

ทั้งสองกรณีนำไปสู่การปรับลดต้นทุนอย่างมีนัยยะสำคัญ!! 

ข้อดีของวิกฤติโควิด-19 ทำให้การปรับลดต้นทุนนี้ทำได้ง่ายขึ้น ทั้งการเจรจาเจ้าหนี้เครื่องบิน และการปรับลดพนักงาน 

แต่ข้อเสียของโควิค-19 ทำให้การดำเนินธุรกิจที่สร้างรายได้ชะงักไป โดยเฉพาะธุรกิจหลักอย่างการให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศ

กลับมาที่ตัวแผนฟื้นฟูฯ เนื่องจากแผนฟื้นฟูฯ ที่ยื่นต่อศาลล้มละลายนั้น ผ่านการเจรจาเจ้าหนี้จำนวนมาก และอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า เป็นแผนฟื้นฟูฯ ที่นอกตำรา และอาจกล่าวได้ว่าทั้งชีวิตอาจจะเห็นได้ครั้งเดียว 

เนื่องจากเป็นแผนฟื้นฟูฯ ที่มีการลดหนี้ไม่มาก และไม่ได้ลดทุนโดยตรง ซึ่งตามปกติของแผนฟื้นฟูฯ จะทำโดยการ ลดหนี้ ลดทุน ใส่เงินใหม่ และดำเนินกิจการ

อย่างไรก็ตาม​ ผู้ทำแผนฟื้นฟูฯ เสนอแผนบนฐานที่ 'เจ้าหนี้'​ และ 'เจ้าของ'​ ต้องร่วมกันสนับสนุนการบินไทย และช่วยกันกับผู้บริหารแผนเพื่อทำให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการเสนอแผนฟื้นฟูฯ โดยการยืดระยะเวลาการชำระหนี้ และกำหนดให้เจ้าหนี้และเจ้าของต้องร่วมกัน “ใส่เงินใหม่” เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับการดำเนินธุรกิจ 

ดังนั้น โอกาสที่เจ้าหนี้จะโหวตเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูดังกล่าว​ จึงมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง โดยทุนใหม่ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในแผนนั้นกำหนดไว้ตามแผนฟื้นฟูฯ ที่ 5 หมื่นล้านบาท ภายใต้ หลักการคร่าวๆ คือ ยืดหนี้ เจ้าหนี้​ และเจ้าของใส่เงิน “คนละครึ่ง” และดำเนินกิจการต่อไป

โดยเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นนั้น ก็ไม่ได้ถูกลดมูลค่าหุ้นลงจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการ และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของการบินไทย ก็ยังเป็นกระทรวงการคลัง (ราวร้อยละ 48) และกองทุนวายุภักษ์ (ราวร้อยละ 16-17) หากเป็นแผนฟื้นฟูฯ อื่น หุ้นจะถูกปรับลดเหลือ 1 สตางค์ หากมีการขาดทุนจำนวนมากๆ

ในขณะที่เจ้าหนี้มีหลายกลุ่มมีการปรับลดหนี้ลงเล็กน้อย เช่น เจ้าหนี้การค้า ผู้ให้กู้ สถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นกู้ พนักงาน และอื่นๆ โดยมีเจ้าหนี้รายใหญ่ คือ ธนาคาร สถาบันการเงิน และกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ นอกจากนั้น กระทรวงการคลังยังนับเป็นเจ้าหนี้อีกด้วย 

คำถามสำคัญ คือ เจ้าหนี้และเจ้าของควรใส่เงินใหม่หรือไม่?

โจทย์นี้ จะเกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนาคตธุรกิจเป็นสำคัญ 

เพราะตามที่กล่าวไว้ข้างต้น โครงสร้างสำคัญได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะโครงสร้างพนักงาน โครงสร้างธุรกิจ ทั้งเรื่องการบริหารจัดการเครื่องบินเครื่องยนต์ การปรับกลไกการจำหน่ายตั๋ว และอื่นๆ 

นอกจากนั้น เรื่องราวความซ่อนเงื่อนของการบินไทยได้ถูกตีแผ่จากทั้งสื่อสารมวลชน คณะกรรมการที่มาตรวจสอบ และเป็นที่สนใจของสาธารณชน 

พูดง่ายๆ ว่า การบินไทย ในอนาคตจะอยู่ในที่​ 'สว่าง'​ กว่าเดิม และต้องดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวังและโปร่งใส 

ดังนั้น ในด้านต้นทุนจะมีความสมเหตุสมผลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น!!

นอกจากนั้น รายได้ของการบินไทย ที่มาจากธุรกิจการขนส่งผู้โดยสาร และการขนส่งสิ่งของแล้ว ยังมีธุรกิจที่มีอนาคตดีหลังจากโควิด-19 เช่น 

>> ธุรกิจอาหารที่แตกไลน์จากการบริการอาหารให้สายการบิน 
>> สู่การบริการอาหารผ่านร้านสะดวกซื้อ 
>> ธุรกิจการเทรนนิ่งนักบินและบุคลากรสืบเนื่อง ธุรกิจการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ ฯลฯ 

การประมาณการรายได้ที่ระบุในแผนมีความเป็นไปได้ทางธุรกิจ​ จากการใส่เงินใหม่จำนวน 5 หมื่นล้าน ซึ่งมีความสมเหตุสมผลอย่างยิ่ง และในแผนฟื้นฟูฯ แถมยังกำหนดสิทธิพิเศษสำหรับผู้ใส่เงินใหม่ที่จะได้สิทธิในการแปลงหนี้เดิมเป็นทุนได้อีกด้วย เพื่อจะได้ไม่ต้องรอเวลาการชำระหนี้ที่ถูกยืดออกไปนาน และจะได้รับการชำระหนี้เพิ่มเติมหากมีกระแสเงินสดมากกว่าที่คาดการณ์ไว้

สำหรับภาครัฐโดยกระทรวงการคลัง ที่เป็นทั้งเจ้าหนี้และเจ้าของนั้น การใส่เงินใหม่ในรูปแบบที่เหมาะสม จะทำให้รัฐไม่เสียประโยชน์ เพราะหากการฟื้นฟูกิจการการบินไทยเริ่มต้นด้วยการลดหนี้ลดทุนตามตำราฝรั่ง เงินของรัฐที่อยู่ในการบินไทยก็จะลดลงทันที ซึ่งเงินของรัฐที่อยู่ในการบินไทยนั้นมีมากกว่า 2.5 หมื่นล้าน

แต่ที่สำคัญที่สุด เวลาพูดถึงการบินไทย สิ่งที่รัฐควรพิจารณาคือ ห่วงโซ่ที่เกี่ยวข้องของการบินไทยทั้งหมด ทั้งผู้ทำธุรกิจร่วม พนักงาน เจ้าหนี้ ภารกิจที่ต้องใช้สายการบินแห่งชาติ และเศรษฐกิจโดยรวม

ในภาวะที่เศรษฐกิจกำลังประสบปัญหาเนื่องจากวิกฤติโควิด-19 การปล่อยให้ธุรกิจที่มีอนาคตหลังปรับโครงสร้างอย่างหนักอย่างการบินไทยให้ล้มไป กระทบกับภาพรวมทางเศรษฐกิจไม่น้อย 

ฉากทัศน์ที่คาดการณ์ได้อย่างชัดเจน คือ การปล่อยล้มนั้น​ จะทำให้เม็ดเงินที่เกี่ยวข้องกับการบินไทยผ่านสถาบันการเงิน กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ ต้องเสียหายอย่างมาก เพราะสถาบันการเงิน และกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ต้องตั้งสำรอง ทำให้กิจการเหล่านั้น ไม่สามารถจ่ายปันผลได้ตามปกติ จนกระทบกับกระแสเงินสดของประชาชนจำนวนมากกว่า 3 ล้านคน พนักงานการบินไทยที่มีอนาคตกว่า 1.5 หมื่นคน และพนักงานของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบินไทยที่จะตกงานอีกกว่า 3 หมื่นคน

การใส่เงินใหม่ของกระทรวงการคลัง​ จึงสำคัญยิ่ง ขณะที่การใส่เงินใหม่ของเจ้าหนี้​ ก็สำคัญยิ่งไม่แพ้กัน

สำหรับเม็ดเงินใหม่นั้น ถูกกำหนดให้มีการจ่ายคืนพร้อมดอกเบี้ยภายในหกปี รวมถึงมีหลักประกันที่เป็นทรัพย์ก้นถุงของการบินไทยที่เริ่มดำเนินธุรกิจมากว่า 60 ปี นั่นหมายถึง การใส่เงินใหม่มีความเสี่ยงที่ไม่มากนักเพราะมีหลักประกัน และมีผลตอบแทนที่เหมาะสม

การร่วมมือร่วมใจของเจ้าหนี้และเจ้าของในครั้งนี้จะมีส่วนผลักดันให้โอกาสธุรกิจมีมากขึ้น และประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูกิจการอย่างยั่งยืน เพราะมีการแก้ไขปัญหาภายใน และนำธุรกิจขึ้นมาอยู่ในที่ที่การแทรกแซงทำได้ยาก และกำจัดจุดอ่อนจำนวนมากในการบินไทยออกไป 

นอกจากนั้น การฟื้นฟูกิจการการบินไทยจะมีการบริหารแผนและมีคณะกรรมการเจ้าหนี้ในการทำให้แผนฟื้นฟูกิจการการบินไทยประสบความสำเร็จตามแผน ซึ่งคงไม่ง่ายนักที่จะมีการแทรกแซงและรุมทึ้งการบินไทยโดยการวางโครงสร้างที่บิดเบี้ยวและไร้ประสิทธิภาพเช่นในอดีต และเชื่ออย่างยิ่งว่าพนักงานการบินไทยและประชาชนไทยที่รักการบินไทยจะไม่ยอมให้เกิดการผิดพลาดซ้ำรอยสร้างความเสียหายซ้ำๆ จากคนที่ฉวยโอกาสอย่างแน่นอน

โอกาสทางธุรกิจของการบินไทยและโอกาสของประเทศ จึงอยู่ในมือของ​ 'เจ้าหนี้'​ และ 'เจ้าของ'​ แล้ว

การร่วมมือร่วมใจในการทำให้การบินไทยรอด ก็จะทำให้เจ้าหนี้และเจ้าของได้ประโยชน์ ประเทศก็จะได้ประโยชน์จากสายการบินแห่งชาติที่ชื่อ... 

การบินไทย—รักคุณเท่าฟ้า

เรื่อง: ผศ. ดร.ประชา คุณธรรมดี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

EA เปิด 'อมิตาฯ' อาณาจักรเทคโนโลยีด้านพลังงาน พร้อมโชว์ศักยภาพ ป้อนสังคมสะอาดสู่ไทยในเร็ววัน

คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร เยี่ยมชมบริษัทอมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด และบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ 

(24 พ.ค.65) ที่ บริษัทอมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดน ไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร และคณะฯ เยี่ยมชมกิจการของบริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด และบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ โดยมีนายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับ

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด และบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จํากัด บริษัทย่อยในกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานของคนไทย ที่เริ่มต้นจากธุรกิจไบโอดีเซล และขยายสุ่ธุรกิจพลังงานทดแทน ทั้งไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top