Monday, 20 May 2024
Delivery

‘ตำรวจ’ เข้ม!! คุย Delivery คุม 2 ล้อขี่ไร้วินัย พร้อมให้รางวัล กระตุ้นคนช่วยเป็นหูเป็นตา

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จับมือภาครัฐและธุรกิจ Delivery ออกมาตรการแก้ปัญหาการขับรถฝ่าฝืนกฎหมาย หวังลดอุบัติเหตุบนท้องถนน พร้อมมอบเงินรางวัล ชวนคนไทยร่วมเป็นหูเป็นตา 2 ล้อส่งด่วนขับขี่ไร้ระเบียบ

(10 พ.ย. 64) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานจราจร (ศจร.ตร.), พล.ต.ท.ปรีชา เจริญสหายานนท์ ผู้ช่วย ผบ.ตร., พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย ผบ.ตร., นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, นางสาวณัฎกร โอภาสทิพากร นักวิชาการขนส่งชำนาญการ กรมการขนส่งทางบก นายศุภกฤต บุญขันธ์ ผอ.สำนักเทศกิจ ร่วมแถลงผลการประชุมการบูรณาการความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานภาคีเครือข่ายเพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน อันเกิดจากการกระทำผิดของผู้ใช้รถใช้ถนน 

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ฯ เปิดเผยว่า พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร.ได้สั่งการให้เชิญหน่วยงานราชการ บริษัทที่ให้บริการขนส่งด้านอาหารและสิ่งของ เครือข่ายด้านความปลอดภัยบนท้องถนน รวมทั้งสื่อในด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุประกอบด้วย ดร.เก่งการ เหล่าวิโรจนกุล บริษัท แกร็บ ประเทศไทย, นายกลวัชร เทอดมิตรกรานต์ บริษัท ฟู๊ดแพนด้า (ประเทศไทย) จำกัด, นายยอด ชินสุภัคกุล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไลน์แมน วงใน จำกัด, นายสีหนาท ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (โรบินฮู้ด), นายรวีโชติ  เศรษฐี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลาลามูฟ ประเทศไทย มาร่วมประชุมเพื่อกำหนดมติการบูรณาการความร่วมมือกันโดยแบ่งเป็น 3 ประเด็น...

ประเด็นที่ 1 มาตรการบังคับใช้กฎหมาย โดยตำรวจจะบังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มรถจักรยานยนต์ที่กระทำผิด ในพื้นที่เขตเมือง เขตชุมชน หรือเขตสถานศึกษาอย่างเข้มงวด ในข้อหา ‘ขับรถย้อนศร’ (ปรับไม่เกิน 500 บาท) ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร (ปรับไม่เกิน 1,000 บาท) ขับรถรถจักรยานยนต์บนทางเท้า (ปรับตาม พ.ร.บ.จราจรฯ 400 - 1,000 บาท และปรับตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ ไม่เกิน 5,000 บาท) รวมถึงการขับรถปาดซ้ายปาดขวา ซึ่งเป็นการขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว (ปรับ 400-1,000 บาท)

ทั้งนี้ นอกจากการออกใบสั่งตามปกติแล้ว หากพฤติการณ์การกระทำผิดข้างต้นดังกล่าวมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนน หรือประชาชนทั่วไป เจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดในข้อหา ‘ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น’ ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับ 2,000 - 10,000 บาท โดยจะต้องมีการสอบสวนดำเนินคดีและยื่นฟ้องผู้กระทำผิดต่อศาล ยึดรถใช้ในการกระทำผิดเป็นของกลางในคดีและมีคำร้องขอให้ศาลริบเป็นของแผ่นดิน  

โดยจะใช้วิธีการตรวจจับการกระทำผิด 5 วิธี...   
1.) ตรวจพบการกระทำผิดซึ่งหน้าในขณะอำนวยความสะดวกการจราจร
2.) การใช้ชุดสายตรวจจราจรออกตรวจในพื้นที่จุดเสี่ยงที่มีฝ่าฝืนกฎหมายหรือจุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
3.) การตั้งจุดตรวจกวดขันวินัยจราจร
4.) การใช้กล้องตรวจจับความผิด
5.) การรับข้อมูลจากประชาชน (คลิปกล้องหน้ารถหรือคลิปจากมือถือ) ที่บันทึกเหตุการณ์การกระทำผิดดังกล่าว

ประเด็นที่ 2 ความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายในการกำกับติดตามผู้กระทำผิดกฎหมายตามข้อ 1

1.) กทม. ร่วมบูรณาการการบังคับใช้กฎหมายเรื่องการขับรถบนทางเท้าซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
2.) กรมการขนส่งทางบก ร่วมบูรณาการกำกับดูแล การจัดตั้งวินรถจักรยานยนต์สาธารณะ และการขอจดทะเบียนขึ้นทะเบียนเป็นรถจักรยานยนต์สาธารณะ หากกระทำความผิดตามหลักเกณฑ์ของกรมการขนส่งทางบก จะดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาต หรือพักใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราว 
3.) บริษัทที่ให้บริการด้านการขนส่งสินค้าและอาหารดิลิเวอรี ร่วมบูรณาการใช้มาตรการองค์กร กำกับดูแลผู้ขับขี่ในสังกัดให้ปฏิบัติตามกฎหมาย โดย ตร.ประสานข้อมูลประวัติการกระทำผิด ข้อมูลการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้บริษัทคัดกรองผู้ขับขี่ที่มีคุณภาพและปฏิบัติตามกฎจราจร และบริษัทฯ จะเพิ่มหมายเลขพนักงานหลังเสื้อบริษัท 

'มือเศรษฐกิจจุลภาค' ชี้!! Delivery รายเล็กน่าห่วง หาก Food Panda ขายกิจการในไทยให้ Grab

(23 ก.ย.66) นายพลัฏฐ์ ศิริกุลพิสุทธิ์ มือเศรษฐกิจจุลภาค อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Ta Plus Sirikulpisut' เกี่ยวกับกรณี Food Panda เตรียมขายกิจการในไทยและอาเซียนให้ Grab โดยระบุว่า...

"Grab ซื้อกิจการ Food Panda ในไทย ฝาก ท่านคณะกรรมการ กขค พิจารณาด้วยครับ"

ทั้งนี้ เมื่อมีคำถามว่าซื้อไม่ได้หรืออย่างไร? เพราะอะไร? นายพลัฏฐ์ กล่าวว่า "ก็ต้องดูสัดส่วน ส่วนแบ่งตลาด ว่ามีอำนาจเหนือตลาดหรือไม่" พร้อมทั้งชี้ให้เห็นด้วยว่า "หากขายให้รายอื่น เช่น Robinhood, Line Man จะไม่น่ากังวล เช่นนี้ แต่ถ้าหากขายให้คนตัวใหญ่สุด จะกลายเป็น Grab มีอำนาจเหนือตลาดไปในทันที"

โซเชียลจวกเละ ลูกค้าเรื่องเยอะ อ้าง “เราเป็นคนจ่ายเงิน” ด้าน ‘ไรเดอร์’ สุดทนพฤติกรรม!! ร่ายยาว “นี่คน ไม่ใช่ทาส”

(25 ก.พ.67) กลายเป็นโพสต์ไวรัลแห่วิจารณ์สนั่น เมื่อมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งประกอบอาชีพเป็น พนักงานบริการส่งอาหาร หรือ ไรเดอร์ ซึ่งเป็นอาชีพยอดฮิตในปัจจุบัน ออกมาแชร์ประสบการณ์ เจอลูกค้าเรื่องเยอะ งานนี้ชาวเน็ตแห่จวกแรง “โตมาแบบไหน ทำไมไม่มีมารยาท”

โดยเจ้าของโพสต์ระบุข้อความว่า “หัวจะปวดกับลูกค้าแบบนี้ ขอบคุณร้านที่ยกให้ครับ ร้านก็ไม่เอาเหมือนกัน55 ไม่ต้องกินครับขนาดนี้ ทำกินเองก็ได้55”

พร้อมแนบแชทข้อความสนทนากับลูกค้า เผยให้เห็นข้อความจากลูกค้าระบุว่า “พี่อย่าลืมให้ไม่ขาดที่ระบุไว้ด้วยนะคะ เพราะว่าหนูไม่ชอบกินเห็ดเข็มทองกับเห็ดชิตาเกะ ให้ใส่แต่เห็ดที่ใส่แกงลาวได้เท่านั้น แล้วไม่ใส่น้ำย่านาง ของที่เป็นผัก เอาเฉพาะใบแมงลักเท่านั้น ไม่เอาบวบ ไม่เอาฟักทอง อยากกินเห็ดล้วนๆ”

โดยทางไรเดอร์ตอบกลับไปว่า “โทรหาร้านเลยครับ”

ก่อนที่ทางลูกค้าจะตอบกลับว่า “เราลงข้อความบอกเขาตอนสั่งของแล้วค่ะ เราจะวานให้คุณบอกเขาอีกทีไม่ได้หรือไงคะ คุณก็มีรายได้จากการที่เราสั่งของอยู่”

พร้อมเสริมอีกว่า “คุณก็ช่วยบอกหน่อยค่ะ เราใช้หมดแหละ ใช้ได้ทั้งคุณ ใช้ได้ทั้งแม่ค้านั่นแหละ เพราะเราจ่ายเงิน”

ซึ่งทางไรเดอร์ตอบกลับไปว่า “ผมยังไม่ถึงร้านครับ”

เมื่อโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ก็สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์สนั่น ชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็น จวกเละพฤติกรรมของลูกค้า อาทิ

- พูดเหมือนตรูเป็นคนใช้
- ลูกค้าไม่ได้จ่ายเงินเรานะ บริษัทจ่ายให้เรา ลูกค้าเป็นคนสั่ง เราเป็นคนส่ง ไม่ใช่คนปรุงอาหาร
คนส่งอาหารครับ ไม่ใช่คนรับใช้
- แม่ค้าก็คน ไรเดอร์ก็คน แม้แต่คนรับใช้ก็คน มีความเป็นคนเท่าเทียมกัน ตรรกะแบบนี้ บ้งมากค่ะ
- ทำไมไม่โทรไปบอกร้าน
- หน้าที่เราคือไปรับของแล้วส่งของ ไม่มีหน้าที่ต้องมาคอยบอกร้านค้า ลูกค้าไม่ใช่พระเจ้า


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top