Saturday, 5 April 2025
CATL

CATL เปิดตัวแบตเตอรี่รุ่นใหม่ ช่วย EV วิ่งได้ 1,000 กม.ต่อ 1 ชาร์จ พร้อมวาดฝันจะนำไปใช้กับ ‘เครื่องบินไฟฟ้า’ ด้วย

Contemporary Amperex Technology บริษัทแบตเตอรี่ยักษ์ใหญ่ของจีน หรือที่รู้จักในชื่อ CATL เปิดตัวแบตเตอรี่รุ่นใหม่ ที่วาดฝันไว้ว่าสักวันหนึ่งสามารถใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าให้กับเครื่องบินได้

(20 เม.ย.66) เพจ 'เดือดทะลักจุดแตก' เผย CATL ของจีน เปิดตัว 'แบตเตอรี่' อัดพลังงานแน่นสุดโลก:  2 เท่าของปัจจุบัน: 500 วัตต์-ชั่วโมง/กก.! ก้าวกระโดด จากใช้กับ EV สู่เครื่องบินได้!?

ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน แบตเตอรี่ รุ่น Qilin ของ CATL ความหนาแน่นพลังงาน 255 วัตต์-ชั่วโมง/กิโลกรัม เพียงพอทำให้รถยนต์ไฟฟ้า EV วิ่งได้ 1,000 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง

'Arun Plus' ผนึก 'CATL' ตั้งโรงงานแบตเตอรี่ EV ในไทย ดันไทยสู่ผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจรในอาเซียน

(9 มิ.ย. 66) Arun Plus – CATL บรรลุข้อตกลงร่วมจัดตั้งโรงงานประกอบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบ Cell-To-Pack (CTP) ในประเทศไทย พร้อมเดินหน้าผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภทด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อเสริมศักยภาพด้านการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย ภายใต้กรอบการลงทุนกว่า 3,600 ล้านบาท โดยโรงงานดังกล่าวจะพร้อมเดินสายการผลิตภายในปี 2567 ด้วยกำลังการผลิต 6 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี

นายเอกชัย ยิ้มสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (Arun Plus) พร้อมด้วย 
Mr. Ni Zheng, Executive president of overseas car business, and CEO of Japan & Korea affiliate, Contemporary Amperex Technology Co., Ltd (CATL) ลงนามสัญญาร่วมจัดตั้งโรงงานแบตเตอรี่ Cell-To-Pack (CTP) ภายในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ขั้นสูงที่นำเซลล์แบตเตอรี่มาประกอบกันเป็นแพ็กโดยตรง ไม่ต้องผ่านขั้นตอนการประกอบเป็นโมดูล ทำให้แบตเตอรี่มีประสิทธิภาพความจุพลังงานสูงขึ้น น้ำหนักเบา และมีความปลอดภัยสูง เป็นการตอกย้ำความเชื่อมั่นของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการผลิต EV ของภูมิภาคอาเซียนในอนาคต ภายใต้ความร่วมมือกับ CATL ผู้นำในระดับสากลด้านเทคโนโลยีแบตเตอรี่ EV โดยพิธีลงนามฯ จัดขึ้นที่งาน Shanghai International Automobile Industry Exhibition สาธารณรัฐประชาชนจีน

นายเอกชัย ยิ้มสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อรุณ พลัส จำกัด กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่าง Arun Plus กับ CATL ในครั้งนี้เป็นก้าวแรกที่สำคัญของการดำเนินธุรกิจแบตเตอรี่อย่างครบวงจรในอนาคต ด้วย CATL เป็นบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจแบตเตอรี่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Battery Value chain) ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตแบตเตอรี่ ไปจนถึงการรีไซเคิลแบตเตอรี่ ตลอดจนธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง Arun Plus มุ่งมั่นที่จะสร้างความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ โดยได้ร่วมกับ Honhai Precision Industry Co., Ltd หรือ FOXCONN ก่อตั้งบริษัท ฮอริษอน พลัส จํากัด (Horizon Plus) เพื่อดำเนินการผลิต EV รองรับความต้องการที่สูงขึ้นทั้งภายในประเทศและในภูมิภาคอาเซียน โดยจะเริ่มเดินสายการผลิตในปี 2567 ด้วยกำลังการผลิตเริ่มต้นที่ 50,000 คันต่อปี และจะเพิ่มเป็น 150,000 คันในปี 2573

ซึ่งการก่อตั้งโรงงานแบตเตอรี่ CTP ในครั้งนี้ จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับ โรงงานผลิต EV ดังกล่าว และในอนาคต Arun Plus ยังศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมมือกับ CATL เพื่อนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่ของ CATL มาใช้ในประเทศ อาทิ เทคโนโลยีสลับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (Battery Swapping) เทคโนโลยีการรีไซเคิลแบตเตอรี่ (Battery Recycling) เทคโนโลยีแพลตฟอร์มรถยนต์ไฟฟ้าของ CATL (CATL Integrated Intelligent Chassis : CIIC) พร้อมทั้งจะศึกษาแนวทางในการเป็นผู้ผลิตเซลล์แบตเตอรี่ในอนาคต

ความร่วมมือในการจัดตั้งโรงงานประกอบแบตเตอรี่ CTP นี้ นอกจากจะช่วยเสริมศักยภาพด้านการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของกลุ่ม Arun Plus แล้ว ยังเป็นการสนับสนุนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทยต่อไป

‘CATL’ เปิดตัวแบตเตอรี่ EV ชาร์จ 10 นาที วิ่งได้ 400 กม. คาด!! เริ่มวางจำหน่ายในช่วงไตรมาสแรก ปี 2024

เมื่อไม่นานมานี้ CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่จากจีนได้เปิดตัว ‘Shenxing’ แบตเตอรี่ 4C superfast charging LFP ก้อนแรกของโลกที่ช่วยให้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ไกลถึง 400 กิโลเมตรภายในเวลาชาร์จเพียงแค่ 10 นาที

โดยหากทำการชาร์จนเต็มนั้น Shenxing จะช่วยให้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ไกลกว่า 700 กิโลเมตร ซึ่งทาง CATL นั้นก็คาดว่า Shenxing จะช่วยให้ผู้ใช้รถ EV หมดกังวลเกี่ยวกับเวลาที่ต้องใช้ในการชาร์จแต่ละครั้งได้ และจะช่วยเปิดยุคใหม่ของรถยนต์ไฟฟ้าที่ชาร์จได้รวดเร็วยิ่งกว่าเดิมขึ้นมา

แบตเตอรี่ Shenxing นั้นใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Super electronic network cathode และวัสดุแคโทด LFP ที่ตกผลึกในระดับนาโนเข้ามาช่วยให้แบตเตอรี่สามารถตอบสนองต่อการชาร์จที่รวดเร็วได้ และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ครอบคลุมของ CATL ยังช่วยให้แบตเตอรี่ Shenxing มีคุณสมบัติที่สมดุลทั้งการชาร์จที่รวดเร็วและการขับขี่ในระยะไกล

และอีกหนึ่งในคุณสมบัติที่น่าสนใจก็คือแบตเตอรี่ตัวใหม่ยังสามารถรักษาประสิทธิภาพในการชาร์จตั้งแต่ความจุ 0 – 80% ได้ภายใน 30 นาทีภายใต้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า -10 องศาเซลเซียส และสามารถรักษาประสิทธิภาพในการเร่งความเร็วจาก 0 – 100 กม./ชม.เอาไว้ได้ในอุณหภูมิต่ำ โดยในอุณหภูมิห้องนั้น Shenxing จะสามารถชาร์จตั้งแต่ 0 – 80% ได้ในเวลาเพียง 10 นาที

สำหรับปัจจุบันทาง CATL ได้คาดการณ์ว่า Shenxing จะสามารถเริ่มทำการ Mass Produce ได้ภายในปลายปีนี้ และจะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงไตรมาสแรกของปี 2024 ซึ่งทาง CATL นั้นก็มั่นใจว่าการเปิดตัวของ Shenxing นั้นจะเป็นอีกก้าวที่สำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ EV และจะช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคของการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าไปทั่วโลกได้อย่างครอบคลุม

CATL เปิดตัวแบตฯ ใหม่ อายุการใช้งาน 15 ปี รองรับวิ่ง 1.5 ล้านกิโลเมตร เผย!! มีบัสไฟฟ้ารายใหญ่จากจีน เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรยาว 10 ปี

เมื่อไม่นานมานี้ CATL ได้เปิดตัวแบตเตอรี่ LFP รุ่นใหม่ รองรับการใช้งาน 1.5 ล้านกิโลเมตร อยู่ได้นาน 15 ปี พร้อมการันตีชาร์จ 1,000 รอบโดยไม่เสื่อมสภาพเลย 

CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่ของจีน เปิดตัวแบตเตอรี่รุ่นใหม่แบบ lithium iron phosphate (LFP) ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน รองรับการใช้งานในรถยนต์ 1.5 ล้านกิโลเมตร การันตีอายุการใช้งานนาน 15 ปี โดยการชาร์จ 1,000 รอบแรกจะไม่เสื่อมสภาพเลย (zero degradation)

ลูกค้ารายแรกของ CATL คือ Yutong Bus ผู้ผลิตรถบัสไฟฟ้ารายใหญ่ของจีนที่มีลูกค้าทั่วโลก โดยทั้งสองบริษัทเซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรยาวนาน 10 ปี ตั้งแต่ปี 2022

‘CATL’ พัฒนาแบตเตอรี่ EV ขนาด 500 Wh/kg ‘น้ำหนักเบา-วิ่งไกลขึ้น’ เริ่มทดสอบในเครื่องบินแล้ว

(27 มิ.ย. 67) เพจเฟซบุ๊ก ‘Business Tomorrow’ โพสต์ข้อความถึงกรณี ‘CATL’ กำลังซุ่มพัฒนาแบตเตอรี่ EV ที่มีความหนาแน่น 500 Wh/kg พร้อมเริ่มการทดสอบแล้วบนเครื่องบิน โดยระบุว่า…

Dr. Robin Zeng ผู้ก่อตั้ง และประธานของบริษัท Contemporary Amperex Technology (CATL) ผู้พัฒนาและผลิตแบตเตอรี่ Lithium-ion สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าออกมาเปิดเผยว่าบริษัทกำลังสนใจพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ไปอีกขั้น โดยจะพัฒนาแบตเตอรี่ EV ที่มีความหนาแน่น 500 Wh/kg 

>> ความหนาแน่นแบตเตอรี่เยอะดีอย่างไร ?
ปัจจุบันยิ่งความหนาแน่นของพลังงานของแบตเตอรี่สูงขึ้นเท่าใด พลังงานก็จะยิ่งสามารถจัดเก็บต่อหน่วยปริมาตรหรือน้ำหนักได้มากเท่านั้น

นั่นหมายความว่า CATL จะสามารถทำแบตเตอรี่ที่ ‘เบา’ กว่าเดิม แต่สามารถวิ่งได้ ‘ระยะทาง’ ที่ไกลมากยิ่งขึ้น หรือ Shenxing Battery ที่จะสามารถวิ่งได้ไกล 1,000 กิโลเมตรอาจกำลังเป็นจริงเข้ามาเรื่อย ๆ 

อย่างไรก็ตามไม่เพียงแต่การพัฒนาแบตเตอรี่เท่านั้น แต่การพัฒนาเครื่องชาร์จแบตเตอรี่อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทำให้ CATL เหนือยิ่งกว่าบริษัทผลิตแบตเตอรี่อื่น ๆ ทั่วโลก

>> CATL ทดสอบแบตเตอรี่กับเครื่องบิน
ทั้งนี้แบตเตอรี่ความหนาแน่นสูงของ CATL กำลังถูกทดสอบบนเครื่องบินขนาด 4 ตัน โดยสามารถทำให้เครื่องบินบินขึ้นสูงได้อย่างน่าประหลาดใจ และในอนาคต CATL ตั้งเป้าหมายที่จะขยับการทดสอบไปสู่เครื่องบินขนาด 8.8 ตัน หรือเทียบเท่ากับ 1 ใน 5 ของน้ำหนักเครื่องบิน Boeing เฉลี่ย โดยตั้งเป้าเริ่มทดสอบภายในปี 2570

ในเร็ว ๆ นี้นักวิเคราะห์คาดว่าจะเห็นแบตเตอรี่ของ CATL ถูกใช้บนเครื่องบินขนาด 4 ที่นั่ง ซึ่งสามารถบินได้ไกลถึง 2,000-3,000 กิโลเมตร แต่ปัจจุบันยังเรียกได้ว่าห่างไกลจากเครื่องบินเชิงพาณิชย์ยิ่งนัก

อย่างไรก็ตาม CATL กำลังผลิตแบตเตอรี่ Shenxing เริ่มผลิตช่วงสิ้นปีนี้และจะส่งมอบให้กับผู้ผลิตรถยนต์ต่าง ๆ ในปี 2024 เตรียมใช้งานกับรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ NETA, CHERY, BAIC, BJEV, JIDU และ VOYAH ซึ่งอาจเป็นแบตเตอรี่ที่กำลังทดสอบอยู่นี้ก็เป็นได้

CATL ผนึกกำลังเครือ ปตท. เดินหน้าพัฒนาระบบนิเวศพลังงานไทย ชูเป้าหมายใหญ่ เปลี่ยนผ่านจากพลังงานฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาด

เมื่อวานนี้ (28 ส.ค. 67) บริษัท เอ ซี เอนเนอร์ยี่ โซลูชั่น จำกัด A C Energy Solution (ACE) และ Contemporary Amperex Technology Co., Ltd. (CATL) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อศึกษาและพัฒนาระบบนิเวศพลังงานไทย ณ สำนักงานใหญ่ CATL เมืองหนิงเต๋อ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) พร้อมด้วย Mr. LiBin Tan Chief Customer Officer & Co-President of the Market System CATL, นายเอกชัย ยิ้มสกุล กรรมการผู้จัดการ ACE และ Mr. See Tzu Cheng (ขวาล่าง) General Manager of APAC & Strategic Projects CATL ร่วมเป็นเกียรติในพิธี

🚗#กลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) จากนโยบายการสนับสนุนการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ทำให้ปริมาณการใช้ EV มีการเติบโตอย่างเนื่อง โดยปัจจุบัน ACE และ CATL ได้มีความร่วมมือในการจัดตั้งโรงงานประกอบ EV battery pack โดยใช้เทคโนโลยีชั้นนำจาก CATL และ EV value chain จากกลุ่ม ปตท. โดยมุ่งเน้นการผลิต ประกอบ battery pack ที่มีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังมีแผนในการศึกษาการพัฒนา ระบบ green factory เพื่อรองรับ Net Zero ในอนาคต เพื่อลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกและมลพิษทางอากาศ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การพัฒนาระบบ Green factory โดยการนำ Renewable energy และ ระบบ battery มาประยุกต์ใช้ ยังสามารถต่อยอดธุรกิจไปได้หลากได้ด้าน ทั้ง PPA และ Private PPA ภายในประเทศในอนาคตอันใกล้

⚡#กลุ่มการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging) การเติบโตอย่างรวดเร็วของยานยนต์ไฟฟ้า จำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้ผู้ใช้สามารถชาร์จไฟได้สะดวกและรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามสถานีชาร์จปัจจุบัน ยังพึ่งพาระบบโดยทั้งหมดจากการไฟฟ้า ทำให้เกิดปัญหาในหลายมิติ อาทิเช่น Grid stability, Low priority power เป็นต้น โดยความร่วมมือดังกล่าวจะร่วมศึกษาความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการพลังงานในสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งการติดตั้งระบบ BESS ร่วมกับ Solar system เพื่อลดภาระการใช้งานพลังงานจาก Grid เพิ่มความเสถียรของระบบไฟฟ้าในสถานีชาร์จ โดยการจัดการกับความผันผวนของการใช้พลังงานและลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนพลังงาน และรองรับการชาร์จเร็ว (Super-fast charging) ได้ถึง 4C - 6C เป็นต้น

🔋#กลุ่มระบบกักเก็บพลังงานและพลังงานหมุนเวียน เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงระบบพลังงานของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน ความร่วมมือนี้มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเก็บและจัดการพลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม และนำมาใช้ในช่วงเวลาที่มีความต้องการสูง ระบบ ESS นี้จะช่วยลดการสูญเสียพลังงานและเพิ่มความเสถียรของระบบไฟฟ้า และลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานในช่วงเวลาที่มีค่าไฟฟ้าสูง (peak hours) โดยการใช้พลังงานที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่แทน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพลังงานและลดภาระการใช้พลังงานจาก Grid นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือในการศึกษาการสร้าง ESS production line และ Battery cell production line เพื่อรองรับการเติบโตและเป็นการสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย

🚉#กลุ่มระบบการขนส่ง การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า ไม่ใช่แค่รองรับรถยนต์ส่วนบุคคลเท่านั้น การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) มีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการขนส่งที่ยั่งยืน (Sustainable Transportation) เนื่องจากการขนส่งเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวันและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความร่วมมือดังกล่าวได้ร่วมศึกษาพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน เทคโนโลยี การวางแผนเมืองโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ให้รองรับการขนส่ง อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิเช่น ระบบบริหารจัดการพลังงาน ระบบการชาร์จ ระบบ renewable energy ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

Tencent-CATL ยืนยันไม่เกี่ยวกิจกรรมทหาร หลังกลาโหมสหรัฐฯ ขึ้นบันชีดำ 2 เทคฯ ยักษ์ใหญ่จีน

เทนเซ็นต์ (Tencent) บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่และคอนเทมโพรารี แอมเพอเร็กซ์ เทคโนโลยี จำกัด หรือซีเอทีแอล (CATL) ผู้ผลิตแบตเตอรี่ชั้นนำของจีน ออกมาโต้แย้งกรณีถูกรวมอยู่ในรายชื่อบัญชีดำของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ด้วยข้ออ้างว่าบริษัททั้งสองแห่งให้การช่วยเหลือกองทัพจีน

วันอังคาร (7 ม.ค. 68) เทนเซ็นต์เผยกับสำนักข่าวซินหัวของจีนว่าการรวมเอาเทนเซ็นต์ไว้ในรายชื่อบัญชีดำเป็นความผิดพลาดอย่างเห็นได้ชัด บริษัทฯ ปฏิเสธและยืนยันว่าเทนเซ็นต์ไม่ใช่บริษัทหรือซัพพลายเออร์ทางการทหาร โดยแม้ว่าการขึ้นบัญชีดำครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของเทนเซ็นต์ แต่บริษัทฯ จะทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสหรัฐฯ เพื่อแก้ไข “ความเข้าใจผิด” ครั้งนี้

ด้านซีเอทีแอลเรียกการขึ้นบัญชีดำครั้งนี้ว่าเป็นความผิดพลาดเนื่องจากบริษัทฯ ไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทหาร

ซีเอทีแอลเผยว่าการถูกขึ้นบัญชีดำไม่ได้จำกัดบริษัทฯ จากการทำธุรกิจกับหน่วยงานอื่นนอกเหนือจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และคาดว่าจะไม่มีผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจของซีเอทีแอล

ซีเอทีแอลทิ้งท้ายว่าจะเดินหน้าหารือร่วมกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เพื่อจัดการปัญหานี้ ซึ่งรวมถึงการดำเนินการทางกฎหมายหากจำเป็น เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นโดยรวม


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top