Sunday, 12 May 2024
APEC

รมว.ต่างประเทศ ยืนยัน ทุกประเทศตอบรับร่วม APEC 2022 ลุ้นแค่ผู้นำมาเองหรือส่งตัวแทน ด้านด้าน 'มกุฎราชกุมารซาอุฯ' เตรียมยกคณะใหญ่ 800 คนเยือนไทย

ใกล้เข้ามาเต็มทีกับงานใหญ่อย่าง APEC 2022 ที่กรุงเทพฯ โดยนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 11 ต.ค.ที่ผ่านมา ถึงความคืบหน้าการเชิญผู้นำจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมการประชุมผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ที่ประเทศไทย ในวันที่ 18-19 พ.ย.65 ว่า...

"ไม่มีประเทศใดที่เราเชิญไปแล้วจะไม่เข้ามาร่วม เพียงแต่เมื่อใกล้ถึงวันประชุม ตัวผู้นำจะเดินทางมาเองหรือมอบหมายให้ผู้ใดมาแทนต้องรอดูในช่วงใกล้วันประชุมอีกครั้ง ว่าประเทศต่างๆ พิจารณาอย่างไร ดังนั้น ยืนยันว่าทุกประเทศจะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว แต่อยู่ที่ว่าจะเป็นบุคคลระดับใด"

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในการประชุมเตรียมการจัดการประชุมเอเปก เมื่อวันที่ 10 ต.ค. นายกรัฐมนตรีที่เป็นประธานการประชุม ได้มีความกังวลเรื่องใดเป็นพิเศษหรือไม่ นายดอน กล่าวว่า "ไม่มี ทั้งนี้ นายกฯ รับทราบมาตลอดว่าการประชุมเอเปกครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ 3 การประชุมสำคัญที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ที่จัดติดกัน และมีการติดตามการเตรียมการของแต่ละหน่วยงาน นายกฯ จึงได้รับทราบถึงรายละเอียด ว่าแต่ละก้าวย่างจะต้องทำอย่างไร และประเทศไทยให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรบ้าง"

เมื่อถามถึงกรณีที่มีข่าวมกุฎราชกุมารมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมซาอุดีอาระเบีย จะนำผู้ร่วมคณะกว่า 800 คน เดินทางมาที่ประเทศไทย นายดอน กล่าวว่า...

"เป็นไปตามข่าว โดยการเยือนดังกล่าวมาในฐานะแขกของรัฐบาล ส่วนหนึ่งมาจากการตกลงร่วมกันในช่วงที่นายกฯ เดินทางไปเยือนซาอุดีอาระเบีย ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา จึงได้เตรียมการต่างๆ พร้อมสำหรับการเยือนประเทศไทย ทั้งนี้การเยือนดังกล่าวจะทำให้ทุกเรื่องราวที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและซาอุดีอาระเบีย เกิดเป็นโอกาสสำหรับสองประเทศ อย่างไรก็ตามขอให้ รอรายละเอียดอีกครั้งในช่วงที่ใกล้ถึงวันที่จะมีการเยือนเกิดขึ้น ซึ่งจะมีการแถลงข่าวด้วย ตอนนี้ไม่ควรไปพูดอะไรล่วงหน้ามากนัก"

2 เหตุผลใหญ่ ทำไมการประชุม APEC ปี 2022 ที่ไทย คนทั่วทั้งโลกต้อง ‘ทบทวน-พิจารณา’

ปี 2022 ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นประธานและเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดทั้งปี มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของระบบเศรษฐกิจโลก 

ทำไม? เราถึงสามารถกล่าวเช่นนี้ได้ ผู้เขียนคิดว่าเป็นเพราะอย่างน้อย 2 เหตุผลด้วยกัน...

>> เหตุผลส่วนแรก
APEC คือ ความร่วมมือของ 21 เขตเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ประชากรของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจรวมกันครอบคลุมประชากรมากกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 38% ของประชากรของทั้งโลก และนี่คือกลุ่มประชากรที่มีความน่าสนใจมากที่สุด เพราะตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมา กำลังซื้อของประชากรกลุ่มนี้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 

พิจารณาได้จากสัดส่วนของประชากรของ 21 เขตเศรษฐกิจที่ดำเนินชีวิตอยู่ใต้เส้นขีดความยากจนที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากที่มีสัดส่วนของคนจนสูงถึง 41.7% ของประชากรในปี 1990 โดยปัจจุบันตัวเลขนี้ลดต่ำลงเหลือเพียง 1.8% ของประชากร APEC เท่านั้นที่ยังอยู่ในสถานะยากจน 

นอกจากนี้ APEC ยังเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีขนาดเศรษฐกิจรวมกันราว 2 ใน 3 ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมของทั้งโลก หรือคิดเป็นตัวเงินกว่า 50 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการค้าระหว่าง 21 เขตเศรษฐกิจ ยังเทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของทั้งโลก

ยิ่งไปกว่านั้นตลอดช่วงเวลากว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา จากปี 1990 ถึง 2020 มูลค่าการลงทุนระหว่างประเทศภายในกลุ่มสมาชิก APEC เพิ่มขึ้นจาก 45.2% เป็น 67.9% นั่นแปลว่า 21 เขตเศรษฐกิจนี้คือผู้ลงทุนรายสำคัญที่ต่างก็ลงทุนภายกลุ่ม APEC ด้วยกันเอง ซึ่งการลงทุนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องนี้ เป็นผลมาจากการที่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่าง APEC ที่เน้นสร้างความร่วมมือในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitations: TFs) อาทิ การลด ละ เลิก มาตรการทางการค้าที่มิใช่มาตรการทางภาษี, การสร้างความร่วมมือเพื่อให้พิธีการทางศุลกากรมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น, ลดความซับซ้อนลง หรือ การอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจ APEC ได้ทำให้ดัชนีความยากง่ายในการทำธุรกิจ (Ease of Doing Business: EoDB Index) เฉลี่ยของทั้งกลุ่มปรับตัวสูงขึ้นกว่า 11.3% 

รู้ไหม? APEC 2022 จัดประชุมมาแล้ว ตั้งแต่ต้นปี!! | APEC Insight Part 4

การประชุม APEC 2022
การประชุมที่ว่าด้วยผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับ 21 เขตเศรษฐกิจ
หัวข้อการการพัฒนาอย่างยั่งยืน และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
เรื่องราวการประชุมตลอดทั้งปี ที่กำลังจะเกิดขึ้นที่ประเทศไทย

.

THE STATES TIMES ‘Y World’ ตอน APEC Insight ชวนมาไขข้อสงสัยกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เป้าหมายกรุงเทพฯ กลไกสำคัญ ยกระดับคุณภาพชีวิต 2 พันล้านคน ใน 21 เขตเศรษฐกิจ

จากการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC ที่ล้มเหลวในปี 2018 และ 2019 สู่การประชุมทางไกล ที่ผู้นำไม่มีโอกาสได้พบหน้าหารือ โอภาปราศรัย ทั้งระหว่างผู้นำและระหว่างผู้นำกับประชาคมนักธุรกิจของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ สู่การประชุมที่มีแรงกดดันสูงในปี 2022

ที่เกริ่นเช่นนี้เพราะ...ไม่ว่าใครจะได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพการประชุม APEC ในปี 2022 ก็ต้องประสบกับแรงกดดันของการเป็นเจ้าภาพของการประชุมครั้งแรกที่ผู้นำจะได้มาเจอหน้ากันอีกครั้งทั้งนั้น ท่ามกลางภาวะวิกฤตทั้งจาก สงครามระหว่างรัสเซียกับพันธมิตร NATO ที่ปะทุขึ้นเป็นสงครามในยูเครน, ความพยายามของชาติมหาอำนาจในการยกระดับจากสงครามเศรษฐกิจ

อีกทั้งยังมี สงครามการค้าแบบเดิม ที่ออกมาตรการกีดกันทางการค้า ไปสู่การ Weaponized Economic Interdependency หรือการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า อาทิ บริการการเงิน, การธนาคาร, การโอนย้ายเงินระหว่างประเทศ, ระบบโลจิสติกส์, ระบบประกันภัย ฯลฯ มาเป็นเครื่องมือประหัตประหารซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจจนโลกเกิดทั้งวิกฤตอาหาร, วิกฤตพลังงาน และการดำเนินนโยบายที่ไร้ความรับผิดชอบของระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มุ่งมั่นในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่สร้างขึ้นด้วยตนเองในอดีต จนนำไปสู่การดูดสภาพคล่อง ขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ ที่ทำให้เงินทุนจำนวนมากไหลออกจากหลายเขตเศรษฐกิจ และนำไปสู่ความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยน 

ยิ่งไปกว่านั่น การที่บางประเทศเลือกที่จะนำเอาประเด็นทางด้านการเมือง (หรือแม้แต่เหตุผลส่วนตัวด้านครอบครัว) เข้ามาเป็นข้ออ้างในการที่จะหลีกเลี่ยงการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ของประชากรโลกกว่า 2 พันล้านคน จาก 21 เขตเศรษฐกิจเหล่านี้ ก็อาจจะสร้างความหนักใจให้กับเจ้าภาพการประชุม APEC ได้ทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม เราสามารถเชื่อมั่นใจ ‘ประเทศไทย’ ในฐานะประเทศ และเจ้าภาพการประชุมได้ครับ เพราะไทยเรามีความแข็งแกร่งในด้านการมีน้ำใจที่ดีงาม เปิดกว้าง และรักการให้บริการ Thailand Hospitality ซึ่งเหล่านี้ เป็นหนึ่งในหลักประกันได้ในระดับหนึ่งว่า ในฐานะประธานและเจ้าภาพ เราจะให้การต้อนรับผู้แทนในทุกระดับ และคณะทำงานทุกคนที่เข้ามาประชุมในประเทศไทย ตลอดทั้งปี 2022 ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดีที่สุด 

หากแต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันนั่นคือ ‘สารัตถะ’ และการประสานงานของเจ้าภาพอย่างประเทศไทยต้องการผลักดัน ยังคงต้องเกิดขึ้นได้ ท่ามกลางความแตกแยก แม้จะไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมของผู้นำจากทุกเขตเศรษฐกิจร่วมกันได้ก็ตาม แต่ประเทศไทยต้องประสานงาน ดำเนินการทั้งในทางปกติ และในทางลับ เพื่อให้ในที่สุด แม้จะมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก็ตาม ประเทศไทยในฐานะประธานจะยังสามารถออกแถลงการณ์ของประธานในที่ประชุม ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากสมาชิกทั้ง 21 เขตได้ และ สารัตถะสำคัญ นั้นคือ ‘เป้าหมายกรุงเทพฯ’ Bangkok

เป้าหมายกรุงเทพฯ คือ การต่อยอดจากโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy หรือ BCG ของประเทศไทยที่วางอยู่บนแนวคิดสำคัญคือ ‘ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง’ และความต้องการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs 2030) ที่ประเทศไทยต้องการเชิญชวนให้ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ร่วมกันสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีความรับผิดชอบ (Responsible Economies) 

รัฐบาลไทยโชว์ศักยภาพหนุน EV บนเวทีโลกอีกครั้ง จัดรถ BMW i7 ใหม่ล่าสุด EV 100% รับส่งผู้นำเอเปค

เอเปกครั้งนี้ ประเทศไทยเน้นรายละเอียดจริง ๆ ขนาดรถของผู้นำยังเป็น THE NEW BMW i7 ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าล้วน 100 % สำหรับใช้ต้อนรับผู้นำจากทุกประเทศอีกด้วย

ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก BMW Thailand ได้โพสต์ภาพ คาราวาน THE NEW BMW i7 ที่ส่งตรงมาจากประเทศเยอรมนี เพื่อรับหน้าที่ “The Official Mobility Partner for APEC 2022 Leaders” สำหรับผู้นำคนสำคัญจากเขตเศรษฐกิจสำคัญทั่วโลก ภายใต้ธีม “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล หรือ Open. Connect. Balance.” ในวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 โดย THE NEW BMW i7 จะให้ความสะดวกสบายในทุก ๆ การเดินทาง เพื่อความสมบูรณ์แบบของการประชุม APEC 2022 ครั้งนี้

แน่นอนว่า การเลือกใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) 100% สำหรับใช้เป็นยานพาหนะอย่างเป็นทางการ ตลอดระยะเวลาการประชุมสัปดาห์ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ทำให้ประเทศไทยได้โชว์ศักยภาพบนเวทีโลกอีกครั้ง โดยเฉพาะในด้านการสนับสนุนยานยนต์พลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับเทรนด์รักษ์โลกยุคปัจจุบันอีกด้วย

เปิดตัว 5 ผู้นำใหม่ใน APEC 2022 ครั้งแรกบนเวทีที่ทั่วโลกเฝ้าจับตา

Highlight สำคัญของการประชุม APEC ในปี 2022 ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงแค่การประชุมสุดยอดผู้นำของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการประชุมตลอดทั้งปีของหลากหลายคณะทำงานเพื่อสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อันจะส่งผลดีต่อประชากรมากกว่า 2 พันล้านคน ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี รวมทั้งการประชุมของภาคเอกชนที่จะเสนอแนะข้อเสนอต่อผู้นำในรูปแบบของ Track 2 และการสร้างความร่วมมือเพื่อเปิดโอกาสทางการค้าและการลงทุนด้วยกันเองระหว่างภาคเอกชน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสนใจไม่แพ้กันด้วย

อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกมิติที่ถือเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจับตามองการประชุม APEC ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วง APEC Week เดือนพฤศจิกายน 2022 ในประเทศไทย นั่นก็คือ ‘การเปิดตัวผู้นำใหม่ของโลกหลายๆ คน ที่จะเดินทางมาประชุมสุดยอดผู้นำ APEC เป็นครั้งแรก’ 

โดยท่าทีของผู้นำใหม่เหล่านี้ในเวทีการประชุมหลัก การประชุมย่อย และการประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงภาคเอกชน จะเป็นอีกมิติที่ทั่วโลกจับตา โดยผู้นำใหม่เหล่านี้ได้แก่…

1. Anthony Albanese นายกรัฐมนตรีของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งพึ่งจะเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา เขาเป็นนักการเมืองสังกัดพรรคแรงงาน และเคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในสมัยของ อดีตนายกรัฐมนตรี Kevin Rudd ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ออสเตรเลียนำพาประเทศออกจากความร่วมมือ Quadrilateral Security Dialogue (QSD) หรือ The Quad ซึ่งมีสหรัฐเป็นแกนนำ และเขายังต้องเข้ามาสะสางปัญหาความไม่พอใจของประเทศเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซีย ที่ไม่พอใจอย่างยิ่งเมื่อ อดีตนายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย Scott Morrison นำพาประเทศไปสู่การติดอาวุธนิวเคลียร์ภายใต้ความร่วมมือ AUKUS นโยบายต่างประเทศ โดยเฉพาะในมิติเศรษฐกิจ ที่เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องสัมพันธ์กับความมั่นคง จึงเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายจับตา


2. Gabriel Boric ประธานาธิบดีของประเทศชิลี ที่เข้ารับตำแหน่งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยเป็นประธานาธิบดีจากกลุ่มแนวคิดซ้ายจัดรายแรกและรายใหม่ของประเทศ ภายหลังจากที่ประเทศชิลีมีอดีตประธานาธิบดี 2 ท่าน คือ Michelle Bachelet (ปนวคิดกลาง-ซ้าย) และ Sebastián Piñera (แนวคิดอนุรักษ์นิยม) ที่หมุนเวียนผลัดกันขึ้นมาผูกขาดตำแหน่งประธานาธิบดีมาตั้งแต่ปี 2006-2022 จนนำไปสู่การประท้วงทางการเมืองที่ใหญ่โตรุนแรงต่อเนื่องตลอดปี 2019-2022 เพื่อขับไล่ ปธน. Sebastián Piñera โดยคาดการณ์ว่าในการประท้วงต่อเนื่องนี้ มีผู้ออกมาร่วมชุมนุมมากกว่า 3.7 ล้านคน มีผู้เสียชีวิต 36 ราย บาดเจ็บเรือนหมื่น และถูกคุมขังกว่า 28,000 คน ชิลี คือตลาดที่มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นประเทศสมาชิกกลุ่ม OECD ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี แบบปรับค่าเสมอภาคของค่าเงิน (Per Capita GDP (PPP)) ที่สูงที่สุดในภูมิภาคอเมริกาใต้ เป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาแล้วที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง 

3. John Lee หัวหน้าคณะผู้บริหารเขตบริหารพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เขาขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทนที่ Carrie Lam เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2022 แน่นอนว่า เขาคือผู้นำสูงสุดของฮ่องกงที่ขึ้นดำรงตำแหน่งหลังเหตุการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองที่รุนแรงต่อเนื่อง และเป็นผู้นำคนแรกภายหลังจากที่ฮ่องกงมีการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคง รวมทั้งในการเลือกตั้งที่ชนะเลิศและได้รับการดำรงตำแหน่งจากคณะผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็ยังมีเครื่องหมายคำถามมากมาย เพราะเขาคือตัวเลือกเพียงตัวเลือกเดียว เนื่องจากผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมดต้องผ่านการตรวจสอบประวัติและได้รับการรับรองจากรัฐบาลกลางที่กรุงปักกิ่งว่าเป็นผู้รักชาติ ดังนั้นชะตากรรมของพื้นที่ที่เคยเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกคือสิ่งที่ทุกคนจับตาดูจากการดำเนินนโยบายของเขา

4. Yoon Suk-yeol ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ซึ่งพึ่งจะเข้าดำรงตำแหน่งในวันที่ 10 พฤษภาคม 2022 ท่ามกลางเสียงครหาที่ว่า การเลือกตั้งในเดือนมีนาคม 2022 คือการเลือกตั้งเพื่อเลือกตัวแทนที่ย่ำแย่น้อยที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากตัวแทนดั้งเดิมที่เป็นที่คาดหมายและวางตัวของแต่ละพรรคการเมืองใหญ่ของเกาหลีในเวลานั้นต่างก็เผชิญหน้ากับวิบากต่างๆ จนไม่สามารถลงสมัครเข้ารับการเลือกตั้งด้วยกันทั้งสิ้น และผลการเลือกตั้งที่ออกมาก็ยังทำให้มีเครื่องหมายคำถามเช่นกัน เนื่องจาก Yoon Suk-yeol เอาชนะ Lee Jae-myung ด้วยสัดส่วนคะแนนเพียง 0.73% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ออกมาใช้สิทธิกัน 77.1% รวมทั้งคำถามอีกมากมายที่คนเกาหลีถามถึงในมิติภาวะผู้นำ ทั้งที่ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ความไม่สงบในคาบสมุทรเกาหลี และความขัดแย้งระหว่างจีน และสหรัฐ เป็นประเด็นสำคัญที่คนเกาหลีห่วงกังวล

ไทยดัน ‘เป้าหมายกรุงเทพฯ’ กลไกยกคุณภาพชีวิต 21 เขตเศรษฐกิจ | APEC Insight Part 7

ในการประชุม APEC 2022 ซึ่งประเทศไทยครั้งนี้เตรียมผลักดัน 'เป้าหมายกรุงเทพฯ' กลไกยกคุณภาพชีวิต 21 เขตเศรษฐกิจ หลังจากการประชุมออนไลน์มาหลายปี

.

THE STATES TIMES ‘Y World’ ตอน APEC Insight ชวนมาไขข้อสงสัยกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ส่อง BMW i7 xDrive60 M Sport รถคันหรูคู่ควรผู้นำระดับโลก เตรียมรับ-ส่ง ผู้นำประเทศที่เข้าร่วมประชุมเอเปค 2022

BMW ส่งมอบรถยนต์ซีดานพรีเมียมไฟฟ้ารุ่นล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวในประเทศไทย บีเอ็มดับเบิลยู i7 xDrive60 M Sport (First Edition) จำนวน 21 คัน ในฐานะโมบิลิตี้ พาร์ตเนอร์สำหรับการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 2022 อย่างเป็นทางการ เพื่อใช้ต้อนรับและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในช่วงระหว่างการประชุมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders' Meeting 2022: AELM 2022) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 นี้ 

เราลองมาดูรถคันนี้กันดีกว่า ว่า BMW รุ่นนี้มีอะไรเด็ด ถึงขั้นถูกใช้เป็นพาหนะหลักในการต้อนรับผู้นำเอเปค 

BMW i7 สะท้อนวิสัยทัศน์การเป็นผู้นำ ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าคู่ 2 ตัว พละกำลังสูงสุด 552 แรงม้า ที่ 5,000 – 12,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 745 นิวตันเมตร ที่ 0-5,000 รอบ/นาที ทำงานร่วมกันขับเคลื่อน 4 ล้อ xDrive แบตเตอรี่ Lithium-ion ขนาด 101.7 kWh มอเตอร์ไฟฟ้าด้านหน้า มีกำลัง 262 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 365 นิวตันเมตร มอเตอร์ด้านหลัง มีกำลัง 317 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 380 นิวตันเมตร ชาร์จไฟจนเต็ม วิ่งไกล 625 กิโลเมตร

ระบบชาร์จพลังงานไฟฟ้า รองรับการชาร์จด้วยหัวชาร์จแบบ Type 2 / CCS Combo กระแสสลับ AC สูงสุด 11 kW / กระแสตรง DC Fast Charging 195 kW หรือ จาก 10-80% ใช้เวลา 34 นาที หรือ ชาร์จ 10 นาที วิ่งได้ไกล 170 กิโลเมตร อัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใน 4.7 วินาที ความเร็วสูงสุด 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

'อ.นิด้า' ทวงถามจริยธรรมสื่อดัง บิดเบือนกรณีปลากุเลา ชี้!! ทุกครั้งก็รับปากว่าจะแก้ไข แต่ก็ทำซ้ำเหมือนเดิม

เมื่อ (14 พ.ย. 65) ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) NIDA ได้ออกมาประณามช่อง ThaiPBS ซึ่งได้นำเสนอข้อมูลบิดเบือนใส่ร้ายเชฟชุมพล และประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ APEC 2022 ด้วยการกุเรื่องว่า ‘ปลากุเลาเค็ม’ ที่ขึ้นโต๊ะอาหารผู้นำเอเปคไม่ได้มาจากตากใบ

โดยเป็นการนำเสนอหัวข้อข่าวชื่อ ‘จับโป๊ะ Soft Power 'ปลากุเลาเค็ม' ขึ้นโต๊ะผู้นำเอเปค ไม่ได้มาจากตากใบ’ ซึ่งเป็นการไปสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านขายอาหารทะเลกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้ได้บทว่า “ไม่มีใครมาซื้อปลากุเลาไปใช้ในงาน APEC” 

แต่ความจริงซึ่งถูกเปิดเผยโดยเชฟชุมพล แจ้งไพร เชฟมิชเชอร์ลินสตาร์ ที่เป็นหนึ่งในทีมทำอาหารเลี้ยงผู้นำเอเปค ก็คือ ทางทีมเชฟได้ซื้อปลามาจากร้าน ‘ปลากุเลาเค็มป้าอ้วนตากใบ’ ซึ่งอยู่ที่ 40/1 หมู่ที่ 3 ต.เจ๊ะเห อ.ตกใบ จ.นราธิวาส เบอร์โทรร้าน 086-9636422

ซึ่งทางร้านก็ได้ออกมาประกาศผ่าน Facebook ทางร้านว่า ร้านเป็นผู้จัดจำหน่ายปลากุเลาเค็ม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 5 ดาวของชุมชน โดยก่อนหน้านี้มีเจ้าหน้าที่มาซื้อปลากุเลาเค็มไป 1 ตัวเพื่อนำไปชิม และภายหลังมีการสั่งออนไลน์วันละหลายหมื่นบาทในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา

หลังข้อมูลปรากฏชัดเจน ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ได้ตั้งคำถามว่าไทยพีบีเอสทำแบบนี้ ไม่แน่ใจว่าทีมข่าวเรียนจบวารสารศาสตร์และมีกอง บก.หรือไม่ ทำไมจึงพยายามสร้างเนื้อหาที่ไม่สมเหตุผล ด้วยการไปสัมภาษณ์ร้านที่ไม่ได้รับการติดต่อซื้อ แล้วไปสรุปว่า 'ไม่มีการซื้อจริง'

พร้อมระบุว่า ไทยพีบีเอส จะรับผิดชอบอย่างไรต่อชื่อเสียงของเชฟชุมพล และชื่อเสียงของประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ APEC และไทยพีบีเอสยังเคยทำเรื่องแบบนี้มาหลายครั้ง และทุกครั้งก็รับปากว่าจะแก้ไข แต่ก็ทำซ้ำเหมือนเดิมเรื่อย ๆ จนมาถึงครั้งนี้

สุดท้ายประชาชนเสียเงินภาษีปีละ 2,000 ล้านบาทเลี้ยงช่องไทยพีบีเอส ก็ควรได้ช่องข่าวที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ไม่ใช่ได้ช่องทีวีที่ผลิต Fake News 

ข้อความของ ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต

“จับโป๊ะ” ใครกันแน่? 

กรณีการลงข่าวนี้ ข่าวไทยพีบีเอสจะ 'จับโป๊ะ' รัฐบาล หรือว่าข่าวไทยพีบีเอส จะถูก 'จับโป๊ะ' เสียเอง? 

เนื้อหาข่าวไทยพีบีเอส เป็นการให้สัมภาษณ์ของผู้ประกอบการในพื้นที่ตากใบ 'บางคน' ที่ให้ข้อมูลว่าไม่เห็นรู้เรื่องว่ามีการซื้อปลากุเลาเค็มจากร้านใดร้านหนึ่งใน 9 ร้านที่ได้ขึ้นทะเบียน GI ของจังหวัดไปเลย จึงสรุปได้ว่า ที่รัฐบาลโปรโมตว่าจะนำเอาปลากุเลาเค็มไปทำอาหารในการประชุมเอเปคนั้น 'ไม่จริง'

ซึ่งต่อมาเชฟชุมพล และรองโฆษกรัฐบาล ก็ออกมาให้ข้อเท็จจริงว่า เชฟชุมพลซื้อปลากุเลาเค็มมาจากตากใบจริง จากร้านป้าอ้วน เพราะเป็นร้านเดียวที่ผ่านมาตรฐาน ซึ่งต่อมาเฟซบุ๊กของร้านป้าอ้วนก็ออกมายืนยันว่ามีการสั่งซื้อไปจริง แต่ด้วยการที่ร้านขายจำนวนมาก ก็ไม่รู้ว่าใครซื้อไปบ้าง (แล้วก็คงบอกกันไปในกลุ่มว่า ไม่รู้เรื่องที่ขายปลาเค็มไปทำอาหารเอเปค เพราะไม่เห็นมีใครมาติดต่อแจ้งอย่างนั้น)

ผมไม่แน่ใจว่านักข่าวที่ทำข่าวนี้ เรียนจบวารสารศาสตร์มาหรือไม่ หรือบก. ที่ตรวจข่าวนี้ (มีไหม) ใช้หลักการอะไรในการปล่อยให้ข่าวนี้ออกมาได้ แต่ในฐานะที่ผมเป็นอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ ผมก็มีคำถามที่คนทั่วไปก็น่าจะสงสัยเหมือนกัน คือ ทำไมนักข่าวที่ทำข่าวนี้ถึง ... 

1.) เชื่อมั่นว่าไม่มีการซื้อจริง ด้วยคำบอกเล่าของร้าน (บางคน) ทำไมไม่คิดว่า คนที่ไปสัมภาษณ์นั้น เขารู้จริงหรือไม่ เข้าใจผิดหรือไม่ รู้ได้อย่างไรว่าไม่มีคนซื้อไปทำอาหารเอเปค การหาข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานนี่คือหลักการวารสารศาสตร์เบื้องต้นเลย

2.) ถ้าไม่แน่ใจว่าร้านค้าจะรู้ข้อมูลหรือไม่ ทำไมไม่ทำสิ่งที่ง่ายที่สุด ก็คือถามไปที่ต้นตน นั่นคือเชฟชุมพล หรือทางสำนักนายกก็ได้ ว่าซื้อจริงไหม ซื้อยังไง ใครซื้อ การหาข้อมูลจากอีกฝั่ง ก็เป็นหลักวารสารศาสตร์เบื้องต้นสุด ๆ เช่นกัน (ถ้าติดต่อไม่ได้ ก็ระบุไปว่ายังไม่ได้รับคำตอบ) 

แต่ไม่ครับ นักข่าวที่ทำข่าวนี้ ไม่ได้ทำทั้งสองข้อ แล้วก็ลงข่าวพร้อมพาดหัวเลยว่า 'จับโป๊ะ' ที่แปลว่า 'จับโกหก'


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top