Wednesday, 23 April 2025
โลก

'ผศ.ดร.ธรณ์' แจง!! เมฆดำทะมึน เปลี่ยนเช้าให้เหมือนกลางคืน ผลพวงลมฟ้าอากาศสุดโต่งจากมนุษย์ ที่จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

จากเฟซบุ๊ก 'Thon Thamrongnawasawat' โดย ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม ได้ไขข้อกระจ่างเมฆดำทะมึนบนท้องฟ้ากรุงเทพฯ เมื่อช่วงเช้าของวันที่ (29 ส.ค. 65) ไว้ว่า...

ภาพเมฆดำทะมึน เปลี่ยนกรุงเทพตอนเช้าให้เป็นเหมือนตอนกลางคืน คงเป็นสิ่งที่ทำให้เพื่อนธรณ์ตกใจ

นั่นคือเมฆโลกร้อน เกิดจากทะเลร้อน น้ำระเหยเยอะ อากาศร้อน จุไอน้ำได้มากขึ้น กลายเป็นเมฆจุน้ำมหาศาล พร้อมจะเททะลักลงมากลายเป็นฝนห่าใหญ่

เคราะห์ดีที่หนนี้ลมพัดผ่านไป ฝนตกไม่มาก แต่ยังมีหนหน้าและหนต่อไป เพราะนี่คือการเริ่มต้นของยุค Extreme Weather (ลมฟ้าอากาศสุดโต่ง)

สภาพภูมิอากาศสุดขั้วเกิดจากความแปรปรวนของโลก หลังจากที่มนุษย์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปสะสมกันมานาน และยังคงปล่อยต่อไป

กลายเป็นภัยพิบัติที่จะสร้างผลกระทบสาหัส โดยเฉพาะประเทศที่กำลังเปราะบางทางเศรษฐกิจ

ตัวอย่างเห็นชัด ปากีสถาน เจอมหาอุทกภัย จากสภาพอากาศเช่นนี้

ไม่ใช่เพียงฝนตกหนัก 8 สัปดาห์รวด ปริมาณน้ำจากฟ้ามากกว่าค่าเฉลี่ยเป็นเท่าๆ ยังรวมถึงธารน้ำแข็งบนหิมาลัยที่ละลายแบบไม่เคยเกิดมาก่อน

ปากีสถานเป็นประเทศที่มีธารน้ำแข็งมากที่สุดในโลก (ไม่นับแถบขั้วโลก) น้ำจากยอดเขาไหลทะลักมารวมน้ำฝน เกิดเป็นอุทกภัยทำให้ผู้เสียชีวิตนับพัน คน 33 ล้านคนเดือดร้อน แหล่งเกษตรเสียหายยับเยิน 

ความเสียหายที่เกิดขึ้นนับว่าเกินความสามารถประเทศที่กำลังอยู่ในสถานการณ์ทางการเงินไม่ดี จะรับมือได้ 

เมืองไทยเองก็กำลังเกิดน้ำท่วมใหญ่หลายแห่ง น้ำทางเหนือกำลังมา

ในขณะที่ลำธารและน้ำตกใกล้ภูเขา บางแห่งเจอน้ำป่าฉับพลัน ต้องปิดการท่องเที่ยวบางจุด

รวมไปถึงเมฆสีดำทะมึน ฝนตกรุนแรงในพื้นที่เล็กๆ เกิดน้ำท่วมรวดเร็ว 

คนเมืองเหนื่อยเหลือเกินกับการไปทำงาน/กลับบ้าน รถติด/น้ำเข้าบ้าน

นั่นคือบางตัวอย่างของ Extreme Weather ที่เราเจอและจะเจอต่อไป

'สว.วีระศักดิ์' ร่วมถกเสวนา 'ชุมชนกับภาวะโลกร้อน…โลกรอด…เรารอด' ชี้!! กทม.น่าห่วง 'ฝุ่นพิษ-มลพิษจากขยะ-อากาศแปรปรวน' รุม ควรเร่งแก้

ไม่นานมานี้ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา รองประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ได้รับเชิญจากสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ร่วมลงพื้นที่พบปะและสนทนากับชาวชุมชนในกรุงเทพมหานคร เพื่อสนทนากับผู้นำชุมชนในเขตดุสิต ในหัวข้อสิ่งแวดล้อมในกรุงเทพฯ ขยะ ฝุ่น PM2.5 ทางระบายน้ำ และภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่เกิดในกรุงเทพมหานครแล้ว

ในการนี้ นายทรงศัก สายเชื้อ ผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นประธานในกิจกรรม มี แพทย์หญิง วันทนีย์ วัฒนะ ปลัดกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน, หม่อมหลวง ปุณฑริก สมิติ อดีตปลัดกระทรวงแรงงานในฐานะที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน, นางสาวรุจิรา อารินท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตดุสิต ร่วมในกิจกรรม

หลังจากเยี่ยมเยือนกลุ่มผู้เปราะบางตามบ้านพักในชุมชนบางกระบือแล้ว คณะได้จัดให้มีการเสวนารับฟังปัญหาของชาวชุมชนและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตดุสิต ที่ห้องประชุมโรงเรียนวัดจันทรสโมสร 

จากนั้นเปิดเวทีเสวนา 'ชุมชนกับภาวะโลกร้อน…โลกรอด…เรารอด' โดยมีนายทรงศัก สายเชื้อ และนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ เป็นวิทยากร ซึ่งได้รับความสนใจอย่างดียิ่งจากชาวชุมชน ว่าเป็นประเด็นที่ใกล้ตัวกว่าที่คาดคิด มีทั้งมุมคิดทางแก้ไข และมุมคิดการปรับตัวเพื่อรับมือกับภาวะภูมิอากาศสุดขั้วที่มีแต่จะเพิ่มทวีรุนแรงขึ้นตามลำดับ

การเสวนานี้ดำเนินรายการโดยนายสรรเสริญ เริงฤทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตดุสิต อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดก่รน้ำจากสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร

ส่อง 10 ประเทศที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปี 2567

ปัจจุบันโลกใบนี้มีอยู่ 196 ประเทศ โดยแต่ละประเทศต่างมีเอกลักษณ์ทางภูมิศาสตร์, วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่ต่างกันไป แต่ในบรรดาประเทศเหล่านี้นั้น ประเทศที่ใหญ่ที่สุดตามพื้นที่มักจะมีความโดดเด่นในทางเศรษฐศาสตร์โลก รวมถึงบทบาททางภูมิศาสตร์ต่อโลกไม่น้อย และนี่คือประเทศระดับบิ๊กที่ว่า...

1. รัสเซีย ตั้งอยู่ระหว่างยุโรปและเอเชีย ไม่เพียงแต่เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ยังเป็นผู้เล่นหลักในตลาดพลังงานโลก ด้วยทรัพยากรธรรมชาติอันกว้างใหญ่ ที่รวมถึง น้ำมัน และ ก๊าซ นั่นเอง

2. แคนาดา อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ป่าไม้ขนาดใหญ่และทรัพยากรน้ำจืด มีความสำคัญอย่างมากในภาคพลังงานและวัสดุ 

3. สหรัฐอเมริกา ไม่ได้เป็นเพียงประเทศที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งเท่านั้น แต่ยังเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย ผ่านตลาดการเงินการซื้อขาย หุ้น, ดัชนี และ สินค้าโภคภัณฑ์

4. จีน มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลกและใหญ่เป็นอันดับสอง จีนเป็นศูนย์กลางของการซื้อขายในตลาดที่หลากหลาย ตั้งแต่โลหะอุตสาหกรรมไปจนถึงหุ้นเทคโนโลยี บริษัทจีนมีบทบาทอย่างมากในตลาดทุนทั่วโลกในปัจจุบัน

5. บราซิล อีกหนึ่งประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในอเมริกาใต้ โดดเด่นด้วยสินค้าเกษตรที่ขึ้นชื่อ เช่น กาแฟ และ น้ำตาล รวมถึงยังโดดเด่นในด้านพลังงานหมุนเวียน ป่าฝนและแหล่งน้ำอันกว้างใหญ่

6. ออสเตรเลีย การส่งออกแร่ธาตุและทรัพยากรเป็นจุดแข็งที่สำคัญของออสเตรเลีย ทั้งแร่เหล็กและถ่านหิน และด้วยเศรษฐกิจในการเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้มีความแข็งแกร่งในตลาดตราสารทุนอีกด้วย

7. อินเดีย มีเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ภายใต้การเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีและบริการที่สำคัญใหม่ จนทำให้เกิดโอกาสมากมายทางการค้า ตั้งแต่หุ้นเทคโนโลยีไปจนถึงสินค้าเกษตร

8. อาร์เจนตินา โดดเด่นที่ภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถั่วเหลือง และการส่งออกเนื้อวัว

9. คาซัคสถาน อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีความสำคัญสำหรับเทรดเดอร์ที่สนใจสินค้าโภคภัณฑ์พลังงาน รวมถึงน้ำมัน ยูเรเนียม และถ่านหิน

10. แอลจีเรีย อีกหนึ่งประเทศที่มีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในระดับแกนหลักของตลาดพลังงานที่มองข้ามไม่ได้

เปิด 4 ประเด็นสำคัญ 'ลอว์เรนซ์ หว่อง' สื่อสารตรงไปตรงมากับประชาชนสิงคโปร์ ยอมรับความจริง สร้างความมั่นใจ ในวันที่โลกไม่เหมือนเดิม

(5 เม.ย. 68) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายกรัฐมนตรีลอว์เรนซ์ หว่อง ของประเทศสิงคโปร์ ประกาศเตือนประชาชนผ่านคลิปวิดีโอบนยูทูบ ‘@Lawrence_Wong’ ระบุว่า “เราไม่สามารถคาดหวังได้อีกว่า กฎกติกาที่เคยปกป้องประเทศเล็กๆ อย่างเรา จะยังดำรงอยู่เหมือนเดิม”

นายกรัฐมนตรีลอว์เรนซ์ หว่อง ระบุเพิ่มว่า “โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความจริงอันโหดร้ายที่ประเทศมหาอำนาจจะขับเคลื่อนด้วยผลประโยชน์ส่วนตน และใช้อำนาจทางเศรษฐกิจหรือแรงกดดันเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ…

“เราจะต้องเตรียมพร้อมทั้งทางจิตใจและการปฏิบัติ เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในความประมาท เราไม่สามารถรอให้ภัยมาถึงหน้าประตูบ้านแล้วค่อยตั้งรับ ความเสี่ยงนั้นเป็นเรื่องจริง และเดิมพันในครั้งนี้สูงมาก”

นายกรัฐมนตรีลอว์เรนซ์ หว่อง กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบอย่างรุนแรงในเวทีการค้าโลก โดยระบุว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้สะท้อนว่า ยุคของโลกาภิวัตน์ที่ขับเคลื่อนด้วยกฎเกณฑ์และการค้าเสรีได้สิ้นสุดลงแล้ว และกำลังถูกแทนที่ด้วยโลกที่เต็มไปด้วย กำแพงภาษี การกีดกันทางการค้า และความไม่แน่นอน”

เขายกตัวอย่างการเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นผู้นำในการส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีที่ยึดตามกฎ WTO (องค์การการค้าโลก) ว่า “ขณะนี้กลับกลายเป็นผู้นำในการบ่อนทำลายระบบนั้นด้วยการดำเนินนโยบายแบบทวิภาคีและตอบโต้เชิงภาษี สิ่งที่สหรัฐฯ ทำอยู่ไม่ใช่การปฏิรูประบบ WTO แต่เป็นการละทิ้งระบบที่พวกเขาเองเคยสร้างขึ้น”

แม้สิงคโปร์จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากอัตราภาษีในระดับต่ำ ประมาณ 10% จากโครงสร้างใหม่ของสหรัฐฯ แต่นายหว่องเตือนว่า “ผลกระทบเชิงระบบจะลึกและกว้างกว่านั้นมาก โดยเฉพาะหากประเทศอื่น ๆ เลือกดำเนินรอยตามแนวทางเดียวกัน ประเทศเล็กอย่างเราเสี่ยงที่จะถูกบีบ ถูกมองข้าม และถูกทิ้งไว้ข้างหลังในระบบที่ไม่เอื้อให้กับผู้เล่นขนาดเล็ก”

นายกสิงคโปร์ เน้นย้ำ จุดแข็งของประเทศ คือ ความสามัคคีและเงินสำรอง แม้ภาพรวมของโลกตอนนี้จะมีความน่ากังวล แต่นายหว่องกล่าวย้ำว่า “สิงคโปร์ยังคงมี ‘ข้อได้เปรียบเชิงโครงสร้าง’ ที่ทำให้ประเทศสามารถตั้งรับและปรับตัวได้อย่างแข็งแกร่ง”

“เรามีเงินสำรองที่มั่นคง เรามีความเป็นเอกภาพภายในประเทศ และเรามีความมุ่งมั่นที่จะยืนหยัดในหลักการของเรา” เขากล่าว “เราจะยังคงเสริมสร้างขีดความสามารถของเรา และขยายเครือข่ายความร่วมมือกับประเทศที่มีแนวคิดสอดคล้องกัน”

เขายังย้ำถึงความจำเป็นในการตระหนักรู้ต่อความเสี่ยงรอบด้าน ทั้งในระดับการค้า การเมือง และความมั่นคงทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเรียกร้องให้ประชาชนทุกคนมีสติ เตรียมพร้อม และไม่ประมาทต่อคลื่นความเปลี่ยนแปลงที่กำลังซัดเข้ามา

ทางด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Aksornsri Phanishsarn ว่า…

“#ผู้นำสิงคโปร์ 🇸🇬 นายกฯ สิงคโปร์ #ไม่ชะล่าใจ ออกทีวี เน้นพูดอย่างจริงใจ พูดตรงจุดตรงใจในสิ่งที่ประชาชนกังวล/ต้องการความมั่นใจ (ไม่พูดเยิ่นเย้อ ไม่ใช้สำนวนลิเก ไม่บ้าประดิษฐ์คำ) สรุป 4 ประเด็น ตามนี้ค่ะ

1) ยอมรับปัญหา this troubled world โลกถูกปั่นป่วนไม่เหมือนเดิม กล้าพูดความจริงกับประชาชน #ไม่โลกสวย 

2) #ยอมรับความจริง เศรษฐกิจสิงคโปร์มีขนาดเล็ก small and open economy ยังไงก็ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจโลก เสี่ยงสูงต่อปัจจัยภายนอก

3) #สร้างความมั่นใจ ในศักยภาพของสิงคโปร์ หากเกิดวิกฤต สิงคโปร์ก็ยังมี #ทุนสำรอง reserves มากพอ (มากติดอันดับ 10 ของโลก) ไว้ใช้ยามฉุกเฉินจำเป็น และจะ #สร้างเครือข่าย ความร่วมมือกับประเทศที่มีแนวคิดเหมือนกัน 

4) ขอให้เตรียมใจ be mentally prepared ขอให้มี resolute and united แล้วเราจะผ่าน #โลกที่เต็มไปด้วยปัญหา นี้ไปด้วยกัน 🇸🇬 #เน้นความสามัคคีแน่วแน่  ของคนในชาติ

คลิกฟังคลิปเต็ม นายกฯ Lawrence Wong ของสิงคโปร์ 🇸🇬 04.04.2025 https://youtu.be/A3hS93y7C0I?feature=shared


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top