Tuesday, 22 April 2025
เอฟเคไอไอ

เอฟเคไอไอ.เตรียมเสนอวาระเร่งด่วนต่อนายกรัฐมนตรีเร่งแก้ปัญหาแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน

'อลงกรณ์' ชี้โมเดลค้าออนไลน์แบบ TEMU เป็นปัญหาความเป็นความตายของเอสเอ็มอี และเศรษฐกิจไทย

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ. ไทยแลนด์(FKII Thailand) เปิดเผยวันนี้ว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับภัยคุกคามจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนเปรียบเสมือนโควิดทางเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเป็นความตายของ เอสเอ็มอี.กว่า 3 ล้านกิจการและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและอาเซียนโดยรวม ”สถาบันเอฟเคไอไอ.จึงได้จัดสัมนาFKII NATIONAL DAILOGUEเรื่อง “อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน ภัยคุกคามเศรษฐกิจไทย ปัญหาและทางออก“ ในวันพุธที่ 21 สิงหาคม 2567 เวลา 13.30-17.00 น. ณ สวนเสียงไผ่ ทาวน์อินทาวน์ โดยระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิในประเด็นต่างๆเช่น หัวข้อ“โอกาสและภัยคุกคามเศรษฐกิจไทย”โดย ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตสว.  อดีตปลัดกระทรวงการคลัง
หัวข้อ“มาตรการรับมือ อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน” โดย นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธาน FKII ร่วมด้วยวิทยากรท่านอื่นๆได้แก่

นายชยดิฐ หุตานุวัชร์
ประธานสถาบันทิวา
นายสุปรีย์ ทองเพชร ประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย
นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ผู้ก่อตั้งตลาดดอตคอม และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพย์ โซลูชั่น จำกัด
นายภาวัต พุฒิดาวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท GoShip จำกัด
และผู้แทนองค์กรต่าง ๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมเสนอปัญหาและทางออก

“โรงงานปิดเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งจากปีที่แล้วเป็นกว่า100 แห่งต่อเดือนเกือบทั้งหมดเป็นเอสเอ็มอี. เรารอต่อไปไม่ได้
เอฟเคไอไอ.ฯ.จะเสนอเป็นวาระเร่งด่วนต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลทั้งในมุมโอกาสและภัยคุกคามจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนเช่นTEMU ในฐานะประธานFKIIและ อดีตรองปธ.สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและอดีตรมช.พาณิชย์ ทำหน้าที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ผมยืนยันว่า ประเทศไทยเคารพหลักการเศรษฐกิจเสรีและเป็นธรรม การคุ้มครองเศรษฐกิจในประเทศ(Domestic economy)เป็นมาตรการที่อยู่ภายใต้กติกาขององค์การการค้าโลก ดังนั้นข้อเสนอของเอฟเคไอไอ.จะเป็นมาตรการที่เด็ดขาดในการแก้ไขปัญหาและไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และส่วนหนึ่งของมาตรการจะต้องเป็นความร่วมมือระดับอาเซียนด้วย”
นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธาน FKII อดีตรองปธ.สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและอดีตรมช.พาณิชย์ กล่าวในท้ายที่สุด

'เอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์' ผนึก 'เกาหลี' จัดบิสสิเนส ฟอรั่มกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

'อลงกรณ์' ชี้การเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-เกาหลีช่วยยกระดับศักยภาพใหม่2ประเทศขยายการลงทุนเพิ่มมูลค่าการค้า5 แสนล้าน

(5 ก.ย. 67) นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ. ไทยแลนด์ (FKII Thailand: Field for Knowledge Integration and Innovation) เปิดเผยวันนี้ว่าสถาบันเอฟเคไอไอ. ไทยแลนด์(FKII Thailand) สถาบันทิวา(TVA)และสมาคมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเกาหลี-เอเซีย(Korea-Asia Economic Cooperation Association :KOAECA)จับมือจัดงานสัมมนา(seminar)และจับคู่ธุรกิจ(business matching) “เอฟเคไอไอ. โกลบอล บิสสิเนส ฟอรั่ม : ความร่วมมือ ไทย-เกาหลี” (FKII GLOBAL BUSINESS FORUM: THAI - KOREA COLLABORATION) ในวันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2567 เวลา 9.00-13.30 น. ณ สวนเสียงไผ่ ทาวน์อินทาวน์ โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวรวมทั้งด้านเกษตรอัจฉริยะและธุรกิจไบโอเทคโนโลยีด้านสุขภาพ เกาหลีใต้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีกับไทยมาถึง66 ปีซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันเกาหลีใต้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 10 ของโลก และเป็นประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่อันดับ 6 ของโลก มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีชั้นสูง รวมทั้งยังเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงอย่างยิ่งในการใช้ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์”เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ในด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่าง2ประเทศนั้น เกาหลีใต้เป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญในปี 2566 เกาหลี เป็นคู่ค้าอันดับ 12 ของไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน14,736.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือกว่า 5 แสนล้านบาทโดยไทยส่งออกไปสาธารณรัฐเกาหลี 6,070.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐและนำเข้าจากสาธารณรัฐเกาหลี 8,666.42 ล้านดอลลาร์ สำหรับด้านการท่องเที่ยว ในช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 มีนักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้หลั่งไหลเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยประมาณ 2 ล้านคนต่อปี

ทั้งประเทศไทยและเกาหลีใต้ได้ร่วมกันจัดแคมเปญเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างกัน โดยให้ปี 2566 และปี 2567 เป็น “ปีแห่งการเยี่ยมเยียนระหว่างสองประเทศ” ส่วนทางด้านการลงทุนมีบริษัทเกาหลีมากกว่า 400 ราย ที่เข้ามาลงทุนในไทยและประสบความสำเร็จอย่างดี โดยบริษัทรายใหญ่หรือกลุ่มแชโบล เช่น ซัมซุง แอลจี พอสโก ฮันวา และฮันซอล ถือเป็นคลื่นการลงทุนลูกแรกจากเกาหลีที่เข้ามาไทยเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว และได้ขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา มีโครงการลงทุนจากเกาหลีเข้ามาอย่างต่อเนื่องปีละเฉลี่ย 30 โครงการ เงินลงทุนราว 5 พันล้านบาทต่อปี โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่ทั้งสองประเทศมีความสนใจร่วมกัน และเกาหลีมีความเชี่ยวชาญ เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เซมิคอนดัคเตอร์ ระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีชีวภาพ ดิจิทัล โดยเฉพาะการพัฒนาเกมและระบบอัจฉริยะใน Smart City รวมทั้งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบในประเทศอาเซียน เกาหลีใต้ยังลงทุนในไทยน้อย โดยอยู่ในอันดับที่ 8 ซึ่งมากกว่าเพียงแค่ลาวและกัมพูชาเท่านั้นจึงเป็นโอกาสที่จะขยายการลงทุนได้อีกมาก

“ผมเห็นด้วยกับการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Economic Partnership Agreement: EPA) ไทย-เกาหลี ซึ่งเริ่มการเจรจาและตั้งเป้าเจรจาเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2568 หรือต้นปี 2569 เป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเร่งรัดการจัดทำความตกลงการค้าเสรีของไทยให้มากขึ้น เอฟทีเอฉบับนี้ จะเป็นการต่อยอดจากเอฟทีเอที่ไทยและเกาหลีเป็นภาคีร่วมกัน ทั้งความตกลงการค้าเสรีอาเซียน–เกาหลี (AKFTA) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย อีกทั้งยังช่วยดึงดูดการลงทุนจากสาธารณรัฐเกาหลีเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้น” นายอลงกรณ์กล่าวว่า สัปดาห์ที่แล้ว ตนและ ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล รองประธานFKII ด้านต่างประเทศได้สนทนากับฯพณฯมุน ซึง–ฮย็อน (Moon Seoung–hyun) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ประจำประเทศไทยซึ่งสถานเอกอัครราชทูตยินดีเข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้

ก่อนหน้านี้ในการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไทย ฯพณฯมุน ซึง–ฮย็อน (Moon Seoung–hyun) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ประจำประเทศไทยได้ชี้ให้เห็นโอกาสใน 4 ด้านที่จะเพิ่มความร่วมมือระหว่างกัน

ด้านที่ 1 คือ ความร่วมมือกันในด้าน EV (Electric Vehicle) ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเกาหลีใต้มีผู้ผลิตที่สำคัญ อย่าง “Hyundai” และ “Kia” รวมทั้งแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีซัมซุง และแอลจีเป็นผู้นำ นอกจากนี้ ยังมองว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ EV จะมีส่วนช่วยสำคัญในนโยบายการดูแลสิ่งแวดล้อม และการไปถึงเป้าหมาย Zero Corbon ในปี 2593

ด้านที่ 2  “ความร่วมมือด้านดิจิทัล” โดยการเพิ่มความร่วมมือในธุรกิจอี-คอมเมิร์ช (E-commerce) ดิจิทัลแบงกิ้ง (Digital Banking) และธุรกิจจัดส่งอาหารไปยังที่พัก (Food Delivery) ซึ่งเป็นธุรกิจที่เป็นที่นิยมในเกาหลีใต้ และธนาคารในเกาหลีใต้ได้ยกระดับเป็น Digital Banking เกือบทั้งหมดแล้ว ทำให้สามารถเพิ่มความร่วมมือระหว่างกันได้ เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่เกาหลีใต้สนใจมาลงทุน

ด้านที่ 3 คือ ความร่วมมือในการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์Soft Power เพื่อประชาสัมพันธ์ และเพิ่มมูลค่าของทั้งคนไทย และประเทศ ยกตัวอย่าง เกาหลีใต้ มีอุตสาหกรรม K-POP หรือการสอดแทรกส่งเสริมวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ สถานที่ท่องเที่ยว หรือตัวสินค้าในซีรีส์เกาหลี ซึ่งจะเห็นว่าสามารถทำเงินได้มหาศาลโดยมองว่า ทั้งสองประเทศมี “จุดแข็ง” ร่วมกันที่จะช่วยส่งเสริม Soft Power ได้ อย่าง Lisa BLACKPINK ซึ่งนอกจากจะทำเงินได้มากมายแล้ว ยังเปรียบเสมือนเป็น “ผู้เชื่อมโยงสานสัมพันธ์ระหว่างไทยและเกาหลีใต้”

และด้านที่ 4  “ความร่วมมือกันในอุตสาหกรรมอนาคต” ซึ่งอาจเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ยานอวกาศ ฯลฯ.

สำหรับสถาบันเอฟเคไอไอ. ไทยแลนด์(FKII Thailand: Field for Knowledge Integration and Innovation)เป็นองค์กรวิสาหกิจเพื่อสังคม(Social Enterprise)ทำหน้าที่สนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศรวมทั้งเป็นตัวกลางเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานวิจัยกับภาคเอกชนภาครัฐทั้งในและต่างประเทศทางด้านนวัตกรรมและองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพใหม่ของประเทศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนตอบโจทย์ความท้าทายใหม่ของโลกปัจจุบันและอนาคต

'อลงกรณ์-เอฟเคไอไอ.' ชู 'บางระจันโมเดล' ปกป้องเศรษฐกิจไทย 700,000 ล้าน สนับสนุนอีคอมเมิร์ซไทยจับมือสภาเอสเอ็มอี. รวมพลังสู้แพลตฟอร์มค้าออนไลน์ต่างชาติ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์( FKII Thailand ) รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ปชป.และ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยวันนี้ว่า

ตลาดอีคอมเมิร์ซ (eCommerce ) ของไทยมีการซื้อขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซ(Social commerce)กว่า700,000ล้านบาทต่อปีถูกครอบครองตลาดโดยแพลตฟอร์มต่างชาติแบบครบวงจรเกือบ100% จากต้นน้ำถึงปลายน้ำตั้งแต่ระบบซัพพลายเชน (supply chain system) โรงงานผลิตสินค้า ,ระบบอี-มาร์เก็ตเพลส (eMarketplace) ,ระบบขนส่งโลจิสติกส์ (Logistics) จนถึงระบบการชำระเงิน (Payment Gateway) โดยสินค้าส่วนใหญ่มาจากต่างชาติทำให้เอสเอ็มอี. โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจค้าปลีกค่าส่งดั้งเดิม ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจขนส่งและบริการส่งถึงลูกค้า(last mile delivery)ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและเสียเปรียบดุลการค้ามากขึ้น

แนวทางหนึ่งในการแก้ไขสถานการณ์ที่เข้าขั้นวิกฤติคือการสนับสนุนบริษัทอีคอมเมิร์ซไทยและเอสเอ็มอี.ไทยโดยสร้าง ระบบนิเวศน์การค้า(Eco-System)ในการซื้อขายในประเทศไทยรวมทั้งผนึกความร่วมมือกันต่อสู้เรียกว่า 'บางระจันโมเดล' และขอให้ภาครัฐกำกับการค้าออนไลน์ข้ามชาติแบบเสรีและเป็นธรรมควบคุมมาตรฐานสินค้าต่างชาติและการเสียภาษีสินค้า-นิติบุคคลรวมทั้งการใช้มาตรการปกป้องคุ้มครองผู้ประกอบการไทยตามกฎกติกา WTO และยกหารือประเด็นการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนรูปแบบใหม่ F2C(Factory to Customer) กรณีเตมู (TEMU) ภายใต้กลไกข้อตกลงทวิภาคีไทย-จีน และพหุภาคี เอฟทีเอ.อาเซียน-จีน ความตกลงDEFA(Digital Economy Framework Agreement)และAEC (ASEAN Economic Community)บนพื้นฐานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ดีระหว่างไทย-จีนและความร่วมมือในกรอบอาเซียน

ทั้งนี้สถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์ร่วมกับสถาบันทิวา (TVA) ได้จัดงาน 'รวมพลังไทย : สร้างอาชีพ สร้างชาติ' (Thai Power : Building Careers, Building the Nation) SME - E-COMMERCE COLLABORATION ณ สวนเสียงไผ่ สถาบันทิวา ทาวน์อินทาวน์ กรุงเทพมหานครโดยได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ 5 องค์กรได้แก่

สถาบันทิวา (TVA) สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สภาเอสเอ็มอี) บริษัท โกชิปป์ จำกัด และ บริษัท นีโอเวนเจอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด 

เพื่อร่วมกันผลักดันการพัฒนาอีคอมเมิร์ซไทยและเอสเอ็มอี.ไทยนอกจากนี้ยังมีการสัมมนาโดยนายชยดิฐ หุตานุวัชร์ ประธานกรรมการสมาคมสถาบันทิวาได้บรรยายถึงวัตถุประสงค์ของการผนึกความร่วมมือของ 5 องค์กร

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธาน FKII Thailand และ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวเปิดงานและบรรยายหัวข้อ 'สถานการณ์ตลาดและผลกระทบของอีคอมเมิร์ซและเอสเอ็มอีไทยกับแนวทางแก้ปัญหา การค้าออนไลน์ข้ามชาติ'

นายสุปรีย์ ทองเพชร ประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยบรรยายพิเศษเรื่อง 'ศักยภาพเอสเอ็มอีไทยในการสนับสนุนอีคอมเมิร์ซไทย (Thai SME Potential and Strength for E-Commerce)' นายภาวัต พุฒิดาวัฒน์ CEO บริษัท โกชิปป์ จำกัดบรรยายหัวข้อ 'แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน (GoSell & GoShip - E-Commerce Platform : Thailand Situation)' ภญ.ภัสราธาดา วัชรธาดาอาภาภัค CMO บริษัท นีโอเวนเจอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด Thailand’s NO.1 Complete Solutions for E-Commerce บรรยายหัวข้อ 'Thai Think, Thai Made, Thai Trade' โดยมีนายราม คุรุวาณิชย์ บอร์ดเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์ สรุปการสัมมนา

ทั้งนี้ภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง สมาคมสถาบันทิวา สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย บริษัท โกชิปป์ จำกัด และ บริษัท นีโอเวนเจอร์ โซลูชั่นส์ จำกัดได้มีการทำกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจเอสเอ็มอี.กับผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซไทยด้วย

‘อลงกรณ์’ - เอฟเคไอไอ “ผนึก3ภาคีเอ็มโอยู.ส่งเสริมเศรษฐกิจไทยจับคู่ธุรกิจระลอกแรก28บริษัทจีนฉลองสัมพันธ์50ปีไทย-จีน

(7 ต.ค. 67) นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ. ไทยแลนด์ (FKII Thailand)  รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ปชป.และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงานสัมมนา”บริบทใหม่หุ้นส่วน ไทย-จีน: โอกาสใหม่ของธุรกิจและการลงทุน”(FKII Global Business Forum “New Paradigm of Thailand - China Partnership: Next Business & Investment Opportunity”)ณ สวนเสียงไผ่ สถาบันทิวา ทาวน์อินทาวน์ กรุงเทพมหานคร

นายอลงกรณ์กล่าวว่าเนื่องในโอกาสที่ไทยและจีนจะครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ในปี พ.ศ.2568 จึงเป็นโอกาสอันดีในการขยายธุรกิจการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศมากยิ่งขึ้น วันนี้มีบริษัทชั้นนำของจีนชุดแรกจากเซิ่นเจิ้น กว่างโจวและจูไห่28 บริษัทในสาขาต่างๆเช่น กลุ่มพัฒน อสังหาริมทรัพย์ กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอัจฉริยะและนวัตกรรมไฮเทค กลุ่มอุตสาหกรรมแอลอีดี. กลุ่มบ้าน-อาคาร-เมืองอัจฉริยะกลุ่มอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเกษตรอะกรีเทค กลุ่มธุรกิจแพลตฟอร์มการเงินและพลังงาน กลุ่มไซเบอร์ซีเคียวริตี้และอื่นๆที่สนใจมาร่วมค้าร่วมธุรกิจร่วมทุนกับผู้ประกอบการไทยซึ่งเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจในวิกฤตต่างๆที่ประเทศไทยเผชิญ จีนเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของไทยและมีความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้องจึงเป็นฐานความมั่นคงหนึ่งที่สำคัญของไทยในการก้าวเดินไปข้างหน้าฝ่าปัญหาและอุปสรรคทั้งปัจจุบันและอนาคตไปด้วยกัน ทั้งนี้จะมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างเอฟเคไอไอ. ไทยแลนด์ สถาบันทิวาและบริษัทไวส์ยูของจีนเพื่อสร้างสะพานเชื่อมโยงโอกาสทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีนอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยในช่วงสัมมนา ได้รับเกียรติจากนายชยดิฐ หุตานุวัชร์ ประธานสถาบันทิวา ในการกล่าวต้อนรับและบรรยายพิเศษหัวข้อ “บริบทใหม่ธุรกิจและการลงทุนของไทยกับบทบาทของ FKII Thailand และสถาบันทิวา” การบรรยายหัวข้อ “หุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-จีน: ปัจจุบันและอนาคต (Thailand - China Economic Partnership: Present and Future) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน และการบรรยายหัวข้อ “โอกาสและศักยภาพการลงทุนในประเทศไทย” (Opportunities and Potential of Investment in Thailand) โดย นางสาวธนิตา ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้ได้มีการแนะนำคณะผู้ประกอบการจีนจำนวน 28 ราย ที่มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ โดย Mr. Phillip Lin CEO of WISEYOU จากนั้นมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างเอฟเคไอไอ. ไทยแลนด์( FKII Thailand )โดย นายอลงกรณ์ พลบุตรกับสถาบันทิวา (TVA) โดย คุณชยดิฐ หุตานุวัชร์ ประธานสถาบันทิวาและ WISE YOU CULTURAL MEDIA, Co., Ltd.จากประเทศจีน โดย Mr. Phillip Lin CEO of WISEYOU) และกล่าวปิดงาน” โดย ศาสตราจารย์ ดร.ฐาปนา บุญหล้า ที่ปรึกษา FKII Thailand จากนั้นมีกิจกรรมเชื่อมโยงธุรกิจ(Namecard Exchange)ตามความสนใจของผู้เข้าร่วมงาน ที่สนใจเชื่อมโยงธุรกิจกับผู้ประกอบการจีนชั้นแนวหน้าของจีนในกลุ่ม อุตสาหกรรมซอฟแวร์และแฟลตฟอร์ม อุตสาหกรรมไฟส่องสว่าง  การทดสอบและรับรอง เทคโนโลยี่สมาร์ทซิตี้ ระบบอีคอมเมิร์ซอัจฉริยะ  ตลอดจนสินค้านวัตกรรมต่างๆ ติดตาม FKII Thailand https://shorturl.at/zZPtt https://lin.ee/BgPCPvd

#FKIIThailand #FKII #FKIIGlobalBusinessForum #China #Thailand #MOU #TVA #WISEYOU #สวนเสียงไผ่

“อลงกรณ์-เอฟเคไอไอ.”คิกออฟนวัตกรรม“คอรัปชั่นเทค(CorruptionTech)ผนึกเครือข่ายทุกภาคส่วนร่วมปราบปรามการทุจริตแนวใหม่

(30 ม.ค. 68) นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์(FKII Thailand)เปิดเผยวันนี้ว่าสถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์จะคิกออฟนวัตกรรม“คอรัปชั่นเทค(CorruptionTech)ร่วมปราบปรามการทุจริตแนวใหม่ใช้เทคโนโลยีผสานเครือข่ายทุกภาคส่วนร่วมขจัดการฉ้อราษฎรบังหลวงในวันพรุ่งนี้ภายใต้โครงการใยแมงมุม ((The Spider Web Solution: Eliminating Corruption for a Brighter Future) เป็นแนวทางใหม่ในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการขจัดคอรัปชั่นโดยประชาชนจะบทบาทสำคัญและมีส่วนร่วมโดยตรงในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฉ้อราษฎรบังหลวง 

นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปว่า การคอรัปชันเป็นปัญหาเรื้อรังที่สั่งสมมานานส่งผลเสียหายต่อประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งสถานการณ์ปัญหาไม่ได้ดีขึ้นมิหนำซ้ำกลับถดถอยลง พิจารณาจากรายงานขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) ที่เผยแพร่ผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index หรือ CPI) ประจำปี 2566 จาก 180 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทย ได้ 35 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 108 ของโลกแย่ลงจากปี2565ถึง 7 อันดับ

ในขณะที่ประเทศเดนมาร์กได้คะแนนสูงที่สุด 90 คะแนนเป็นอันดับ 1 ของโลก, ประเทศฟินแลนด์ อันดับ 2 ได้ 87 คะแนน ประเทศนิวซีแลนด์อันดับ 3 ได้ 85 คะแนน ประเทศที่ได้คะแนนสูงสุดในอาเซียนคือประเทศสิงคโปร์ ได้ 83 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก ส่วนการจัดอันดับปี2567 องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติจะประกาศในต้นเดือนหน้า “สถาบันเอฟเคไอไอ.ฯ.ขับเคลื่อนการอัพเกรดประเทศด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมในมิติต่างๆแต่ขณะเดียวกันก็เล็งเห็นว่าปัญหาคอรัปชั่นเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องแก้ไขไปพร้อมกันเพราะไม่ว่าจะพยายามยกระดับการพัฒนาประเทศอย่างไรแต่ถ้าเรือประเทศไทยยังมีรูรั่วขนาดใหญ่ก็ไม่สามารถแล่นได้เร็วในทางตรงข้ามกลับแล่นได้ช้าลงแข่งขันกับใครเขาไม่ได้

ดังนั้นการนำคอรัปชั่นเทคโนโลยีบนแพลตฟอร์มTraffy Fondueจึงเป็นแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นโดยเชื่อมโยงเครือข่ายใยแมงมุมกับหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนและภาคประชาชน“

พร้อมกันนี้ขอเชิญร่วมงานสัมนาแนวรบสุดท้ายของสงครามปราบทุจริตในประเทศไทย FKII National Dialogue Forum2025 “ขจัดคอรัปชั่น เพื่อประเทศไทยใสสะอาด “พร้อมเปิดตัวแพลตฟอร์ม คอรัปชั่นเทค ”เดอะ สไปเดอร์ เว็ป“
วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2568 
เวลา 09.00 – 13.00 น. 
ณ TVA Hall สวนเสียงไผ่ สถาบันทิวา ทาวน์อินทาวน์ กรุงเทพมหานคร
📌https://maps.app.goo.gl/YxVYudCo6RNZuUbA9?g_st=il
พบกับวิทยากร ที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง สถานการณ์และพัฒนาการด้านการคอรัปชั่นในประเทศไทย และการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการขจัดคอรัปชั่น โดยประชาชนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร โดย
🟢  นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบัน FKII Thailand
🟢  ดร. วสันต์ ภัทรอธิคม ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม Traffy Fondue
🟢  ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
🟢  พลเอก ดร.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ เลขาธิการภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาลแห่งชาติ
🟢  นายชยดิฐ หุตานุวัชร ประธานสถาบันทิวา และผู้อำนวยการสถาบัน FKII Thailand
🟢  และ ร่วมอภิปรายโดยผู้เข้าร่วมงาน
สำรองที่นั่งด่วน รับจำนวนจำกัด
เพียง 80 ท่าน เท่านั้น❗️
ที่ LineOA FKII Thailand: https://lin.ee/BgPCPvd
ติดต่อสอบถาม
คุณวรวุฒิ 091-1805459
FKII Thailand
Facebook : FKIIThailand


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top