Sunday, 20 April 2025
เศรษฐกิจสร้างสรรค์

‘ชาติพัฒนากล้า’ ปลุกพลังบวกส่งต่อน้องๆ ม.สวนดุสิต ฉายภาพอนาคต ‘Soft Power’ ปลุกเศรษฐกิจสร้างสรรค์

(12 พ.ย. 65) พรรคชาติพัฒนากล้าได้โพสต์บรรยากาศและมุมมองสร้างสรรค์ของงานเสวนาแบบสบายๆ ในธีม ‘My Life / My Goal’ ซึ่งจัดขึ้นที่ ดุสิต บิสโทร ผ่านเฟซบุ๊กของพรรค ว่า...

คนรุ่นใหม่ ‘ชาติพัฒนากล้า’
ปลุกพลังบวกส่งต่อน้องๆ ม.สวนดุสิต

ผ่านงานเสวนาแบบสบายๆ ในธีม ‘My Life / My Goal’ จัดขึ้นที่ ดุสิต บิสโทร

ผ่านประเด็นดังต่อไปนี้...
1. Soft power  
2. เศรษฐกิจสายมู 
3. บ้านในฝัน 
4. จากซึมเศร้าสู่สร้างสรรค์
5. Future Learning
6. Green Eco Life

งานนี้ อีฟ วิเวียน จุลมนต์ สมาชิก #พรรคชาติพัฒนากล้า นำทีมฉายภาพอนาคตผ่าน Keywords เริ่มด้วย ‘Soft Power’ นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างไร

นุ่น ยศยา ชิยาปภารักษ์ - Yossaya Chiyapapharak : พูดถึงเศรษฐกิจสายมู ผ่านการเล่าเรื่อง How to สร้างเม็ดเงินจากมูเตลู เปี่ยมไปด้วยจินตนาการที่ทำได้จริง สร้างอาชีพให้กับน้องๆทุกคน ถ้าคุณไม่ได้เป็นสายมู แต่มี Passion ทำสิ่งใดสิ่งนั้นนำมามู Market ได้

PK Pasakorn Vanasirikul พีเค พัสกร วรรณศิริกุล : สุขภาพจิต จิตที่เหนื่อยล้าของเราทุกคนในสังคมจะทำอย่างไรให้ผันไปทางเรื่องสมดุล พีเค นำเสนอมุมมองเหนือชั้นที่ทุกคนในงานต่างร้อง Wow 

ธาม สมุทรานนท์ - Tharm Smuthranond : เล่าประสบการณ์เจอผู้คนที่เคยเจอวิกฤตเศรษฐกิจทำให้ต้องสูญเสียอาชีพ บ้านโดนยึด ทำให้เกิดปมในใจ ผลักดันให้ธามอยากผลักดันให้คนส่วนใหญ่สามารถซื้อบ้านเป็นของตัวเองได้ โดยมีคุณภาพดีและราคาจับต้องได้ 

ศราพงศ์ ปรินซ์ อิศรศักดิ์ ณ อยุธยา : ฉายภาพ Future Learning เพื่อให้น้องๆ สามารถออกแบบชีวิตที่ดีด้วยตัวเอง อาชีพใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ใช่เรื่องไกลตัว โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 

อีฟ วิเวียน จุลมนต์ : ได้ชี้เป้าให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาโลกร้อน แล้วพาชวนมองภาพความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิด และตระหนักรู้ถึงมาตรการของโลกที่จะตอบสนองต่อภาวะโลกร้อนเพื่อให้ผู้ฟังทุกคนเตรียมมองเห็นช่องทางในการทำเงินรวมถึงการปรับตัวในการดำรงชีวิต 

กลุ่ม ปตท. ดันเทคโนโลยีดิจิทัล หนุน ศก.สร้างสรรค์ ช่วยขับเคลื่อนเสน่ห์ Soft Power ไทยสู่เวทีสากล

กลุ่ม ปตท. ร่วมขับเคลื่อน Soft Power ไทย ดันเทคโนโลยีดิจิทัลหนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พร้อมส่งออกคอนเทนต์ไทยคุณภาพสู่เวทีสากล จับมือพันธมิตรต่อยอดต้นทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย สนับสนุน ‘ระบบนิเวศสร้างสรรค์’ ผ่านอุตสาหกรรมคอนเทนต์ มุ่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ได้มาตรฐานสากล รองรับการผลิตคอนเทนต์ไทยสู่ตลาดโลก เพื่อพัฒนารายได้และคุณภาพชีวิตคนไทย ยกระดับเศรษฐกิจประเทศให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน

เมื่อวันที่ 3 ก.พ.66 นายเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ซอฟท์พาวเวอร์ (Soft Power) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญในการแพร่ขยายอิทธิพลทางค่านิยม หรือ วัฒนธรรม ที่นานาประเทศผลักดันให้เป็นกลยุทธ์ในการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) 

ปตท. เล็งเห็นถึงโอกาสของการต่อยอดแนวคิดดังกล่าว เพื่อรุกเข้าสู่ธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงานให้พร้อมรับการแข่งขันบนเวทีโลก ด้วยวิสัยทัศน์ “Powering Life with Future Energy and Beyond” จึงจัดตั้งโครงการ Soft Power for Better Thailand ขึ้น เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยยกระดับการพัฒนาซอฟท์พาวเวอร์ไทย หรือ 'เสน่ห์ไทย' ที่เกิดจากวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีปฏิบัติอันเป็นภูมิปัญญาของประเทศไทย ที่อยู่ในความสนใจของชาวต่างชาติ ซึ่งนอกจากจะเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้กลับเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจที่จะสามารถดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนเพื่อขยายฐานอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Industry) ในประเทศไทย ที่จะช่วยสนับสนุนนโยบายภาครัฐในการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย หลังสถานการณ์โรคติดเชื้อ COVID-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกได้อีกทางหนึ่งด้วย 

“ปตท. จับมือพันธมิตรภาคส่วนต่างๆ ทั้งจาก บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) บริษัทในกลุ่ม ปตท. ที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านซอฟท์พาวเวอร์ ผ่านการนำเทคโนโลยีมาช่วยยกระดับการสร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ภายใต้แนวคิด TECH CREATE FUN คือ การนำเทคโนโลยี (TECH) เช่น Virtual Reality, Augmented Reality, Drone และ Metaverse เป็นต้น มาเสริมศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงาน (CREATE) เช่น ภาพยนตร์ ดิจิทัลคอนเทนต์ หรือ งานศิลปะ เพื่อให้ทั้งผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้ชมได้สัมผัสประสบการณ์ที่ดีขึ้น (FUN) รวมไปถึงยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ในการจัดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาซอฟท์พาวเวอร์ไทย ด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมคอนเทนต์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งการพัฒนาทักษะบุคลากร การสนับสนุนด้านทรัพยากรและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยมียุทธศาสตร์สำคัญในการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่...

1. สร้างคอนเทนต์ไทยสู่สากล ผ่านโครงการ Content Lab โดยร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) จัดโปรแกรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับผลิตภาพยนตร์ ซีรีส์ งานโฆษณา งานอีเวนต์ และเกม ให้กับนักเรียน นักศึกษา นักสร้างอนิเมชั่น และบุคคลทั่วไปที่สนใจ เพื่อต่อยอดการสร้างสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) สำหรับการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ทันสมัยเทียบเท่ามาตรฐานระดับสากล รวมถึงได้รับประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีการถ่ายทำชั้นนำของประเทศไทย โดยจะมีกิจกรรม Open House โครงการในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้

2. สร้างบุคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผ่านโครงการ TGIF - Technology is Fun โดยนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการยกระดับซอฟท์พาวเวอร์ จัดแสดงที่มหาวิทยาลัย 11 แห่งทั่วประเทศ ในช่วงเดือนมีนาคม - กันยายน 2566 เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา ได้มีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย สร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่จะสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นซอฟท์พาวเวอร์ของประเทศได้ในเชิงพาณิชย์ 

และ 3. จัดแสดงศักยภาพซอฟท์พาวเวอร์ด้านศิลปะไทย ผ่านนิทรรศการ “Locating the Locals: A Virtual Exhibition by PTT” โดยคัดเลือกผลงานบางส่วนจากการจัดประกวดศิลปกรรม ปตท. ที่เคยได้รับรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 นำออกจัดแสดงอีกครั้ง โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ชมบนพื้นที่จัดแสดงศิลปะแบบเสมือนจริง (Virtual Art Gallery) ซึ่งนอกจากการจัดแสดงครั้งแรก ณ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ เมื่อช่วงปลายปี 2565 ที่ได้การตอบรับเป็นอย่างดีแล้ว นิทรรศการนี้จะมีการจัดแสดงขึ้นอีกในงาน Bangkok Design Week 2023 ณ River City Bangkok ระหว่างวันที่ 4 - 12 กุมภาพันธ์ 2566 และ Isan Creative Festival 2023 ณ จ.ขอนแก่น ระหว่างวันที่ 1 - 9 เมษายน 2566 ซึ่งผู้สนใจยังสามารถชมนิทรรศการในโลกเสมือนที่ virtualspacebyptt.com ได้อีกด้วย”

มองมุมใหม่!! 'จีน' ช่วยกระแทกเทรนด์ 'กางเกงช้าง' 'สร้างแบรนด์-เพิ่มมูลค่า' สินค้าไทยในตลาดโลก

(7 เม.ย.67) ศ.ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ กล่าวถึงข้อกังวลในการเข้ามาของทุนจีนในตลาดกางเกงช้างของไทย ทำให้ผลประโยชน์ส่วนหนึ่งไหลไปยังประเทศจีนนั้น 

สถานการณ์นี้ไม่ควรถูกมองเป็นวิกฤต แต่เป็นโอกาส เพราะการผลิตที่เพิ่มขึ้นแสดงถึงความนิยมสูง ควรมุ่งเน้นการสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าเพื่อแยกแยะและยกระดับสินค้าไทยในตลาดโลก กางเกงช้างได้กลายเป็นหนึ่งในไอเท็มแฟชั่นที่สำคัญ โดยเฉพาะในหมู่นักท่องเที่ยวและคนรุ่นใหม่ การผลักดันกางเกงช้างจากของฝากสู่การเป็นแฟชั่นไอคอนเป็นตัวอย่างของการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจสร้างสรรค์

รัฐบาลไทยสามารถใช้กางเกงช้างเป็น Soft Power โดยการนำเสนอในกิจกรรมทูตวัฒนธรรม สนับสนุนช่างฝีมือท้องถิ่น โปรโมทในเหตุการณ์แฟชั่นระดับโลก และใช้พื้นที่ดิจิทัลเล่าเรื่องราวความเป็นมาและความยั่งยืนของกางเกงช้าง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับไทยและสนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่น รวมทั้งการจัดหาเครื่องจักรที่มีคุณภาพสูงเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตและจ้างงานคนในประเทศ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างงานให้กับชุมชน พร้อมขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐและผู้ประกอบการ ต่อยอดให้เกิด Demand เพื่อกำไรเหล่านั้นจะกลับมาช่วยสร้างงานสู่ชุมชน และนักออกแบบรุ่นใหม่

“ในแง่ของวิชาการแล้ว การหวงแหนการผลิตกางเกงลายช้างให้จำกัด จะเป็นเพียงการสร้างองค์ความรู้แต่ไม่เกิดมูลค่าในด้านอุตสาหกรรม เมื่อผลิตได้น้อยจะกลายเป็นของสะสมไม่ใช่การเติบโตอย่างยั่งยืน เมื่อต่างชาติได้ช่วยเรา “กระแทก” เทรนด์ให้กางเกงช้างของไทยเป็นที่โด่งดังแล้ว เรายิ่งต้องคว้าโอกาสนี้เป็นพลังร่วมกันพัฒนาให้เติบโตมั่นคงไปอีก นักออกแบบรุ่นใหม่ควรหันมาต่อยอดตรงนี้ สร้างมูลค่า ในแง่ของลวดลาย identity ให้มีเรื่องราวและช่วยกันทำให้มีความครีเอทีฟมากขึ้นในรูปแบบต่างๆ เพื่อขยายโอกาสและขยายตลาดการใช้สอย ทำให้กางเกงช้างสามารถไปไกลได้อีก” ศ.ดร.พัดชา กล่าว

‘กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม’ จัดนิทรรศการ!! แสดงผลงาน ‘เซรามิกล้านนา’ เพื่อสร้างนักออกแบบรุ่นใหม่ ในกรอบการพัฒนา อุตสาหกรรมสร้างสรรค์

(2 ก.พ. 68) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้เล็งเห็นศักยภาพและโอกาสในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ได้จัดนิทรรศการแสดงผลงานเซรามิก กิจกรรม’ยกระดับอัตลักษณ์เซรามิกล้านนาด้วยทุนทางวัฒนธรรม’ ภายใต้โครงการยกระดับฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ล้านนาสู่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Creative LANNA Forward) เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2568 ณ โรงแรม แอท นิมมาน จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในกรอบการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry) เพื่อสร้างนักออกแบบรุ่นใหม่ (Young & Smart Designer) รองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกอัตลักษณ์ล้านนาให้สามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ เน้นการพัฒนาต่อยอดทางทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกอัตลักษณ์ล้านนาที่มีมูลค่าสูงด้วยความคิดสร้างสรรค์ เผยแพร่ผลงานการออกแบบและสามารถต่อยอดสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) 

โดยผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางได้มอบหมายให้ นายประสิทธิ์ ศรีพรหม อุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน และนายภาสันต์ วิชิตอมรพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กล่าวรายงานในกิจกรรม ภายในงานผู้มีเกียรติทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ นายกษิต พิสิษฐ์กุล กรรมการบริหารและรองเลขาธิการสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน นายจิตรเทพ เนื่องจำนงค์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทซีดีไอพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ดร.สิทธิชัย แดงประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี  (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) นายองอาจ กิตติคุณชัย ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ นายปรกฤษฎิ์ สายหัสดี ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กรรมการเลขาธิการ นายสมิต ทวีเลิศนิธ รองประธาน ฝ่ายอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอื่นๆสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ นายวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง รองประธานฝ่ายนวัตกรรมและไอที สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ นายชัดชาญ เอกชัยพัฒนกุล รองประธาน ฝ่ายเศรษฐกิจและการลงทุน สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ นายปรีชา ศรีมาลา นายกสมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปาง นายปรัชญ์ชา ธณาธิปศิริสกุล อาจารย์ชมรมครูทัศนศิลป์จังหวัดลำปาง และนายณัฐนนท์ ภู่อริยพงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคลำปาง 

ในงานมีกิจการที่เข้าร่วมทั้งหมด 23 กิจการ โดยมีการประกวดนำเสนอยกระดับอัตลักษณ์เซรามิกล้านนาด้วยทุนทางวัฒนธรรม ผู้ได้รางวัลชนะเลิศในการประกวด ได้แก่ เตาหลวงสตูดิโอ เงินรางวัลมูลค่า 5,000 บาท เงินรางวัลรวมทั้งสิ้นมูลค่า 16,000 บาท และการเสวนาในหัวข้อ ‘การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเซรามิกสร้างสรรค์อัตลักษณ์เซรามิกล้านนา’ ตลอดทั้งงานมีการจัดแสดงผลงานอัตลักษณ์เซรามิกล้านนาของกิจการที่เข้าร่วม ทำให้มีคนสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top