Wednesday, 23 April 2025
เรียนต่อจีน

สำรวจรายชื่อมหาวิทยาลัยจีน ที่ถูกมะกันหมายหัว เพราะกลัวกระทบต่อความมั่นคงของชาติสหรัฐฯ

ไม่นานมานี้ เพจ 'สะใภ้จีนbyฮูหยินปักกิ่ง' ได้แจ้งข่าวกรณีที่หลายสถาบันการศึกษาในจีนถูกหมายหัวจากสหรัฐฯ และทำให้นักเรียนสัญชาติจีนจะถูกกีดกันในการเข้าเรียนที่สหรัฐฯ โดยระบุว่า...

นักเรียนสัญชาติจีนถูกกีดกันด้านการศึกษาในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะการเรียนต่อทางด้าน 'ป.โท-ป.เอก' หลังจากจบการศึกษา ป.ตรี จากมหาวิทยาลัยเหล่านี้ในจีน 

โดยสหรัฐฯ จะไม่ออกวีซ่าให้ หรือไม่ก็ถ้ามีวีซ่า แต่อาจโดนเพ่งเล็งตอนเข้า ตม.ที่ USA

ลูกใครเด็กจีน ก็คิดดี ๆ ว่าอยากให้ลูกมีสัญชาติอะไร เพราะสัญชาติมีผลต่อการเรียนต่อของลูกในอนาคต

สำหรับรายชื่อสถาบันการศึกษาจากจีนที่ถูกกีดกันจากสหรัฐฯ ประกอบไปด้วย....

1. สถาบันเทคโนโลยีปักกิ่ง
2. มหาวิทยาลัยการบินและอวกาศปักกิ่ง
3. มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหนานจิง
4. มหาวิทยาลัยการบินและอวกาศนานกิง
5. สถาบันเทคโนโลยีฮาร์บิน
6. มหาวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ฮาร์บิน
7. มหาวิทยาลัยสารพัดช่างนอร์ธเวสเทิร์น

แดนมังกรต้อนรับนศ.ต่างชาติแล้ว 195 ประเทศ เร่งขยายหลักสูตรรองรับ ดึงนร.อเมริกัน 50,000 คน

เมื่อวานนี้ (14 พ.ย.67)  เฉินต้าลี่ เจ้าหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการของจีน เปิดเผยว่า การศึกษาของจีนได้รับความสนใจจากนักเรียนนักศึกษาต่างชาติในระดับที่สูงขึ้น

เฉินระบุว่า จีนได้ลงนามข้อตกลงรับรองปริญญาบัตรและประกาศนียบัตรร่วมกับ 60 ประเทศและภูมิภาค และขณะนี้มีนักเรียนนักศึกษาจากกว่า 195 ประเทศและภูมิภาคเดินทางมาศึกษาต่อในจีน

จีนยังได้จัดตั้งหลู่ปาน เวิร์กชอป (Luban Workshop) มากกว่า 30 แห่งในเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา เพื่อจัดฝึกอบรมวิชาชีพให้กับประชาชนกว่า 31,000 คน

ในส่วนของแผนการทางการศึกษา เฉินกล่าวว่า จีนกำลังดำเนินโครงการเชิญชวนวัยรุ่นชาวอเมริกัน 50,000 คน เดินทางมาจีนในช่วงเวลา 5 ปี ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนและการเรียนรู้

นอกจากนี้ จีนยังมีแผนที่จะรับนักเรียนนักศึกษาชาวฝรั่งเศสมากกว่า 10,000 คน ภายในระยะเวลา 3 ปี และเพิ่มจำนวนการแลกเปลี่ยนเยาวชนจากยุโรปไปยังจีนเป็นเท่าตัว

ทำไมเด็กจีนถึงครองเวทีโลก เมื่อวินัยเหล็กสร้างความสำเร็จระดับโลก

(8 ม.ค. 68) สมภพ พอดี แห่งเฟซบุ๊ก Sompob Pordi ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวพูดถึงความสำเร็จของระบบการศึกษาจีน ความว่า ปัจจุบันชาวโลกที่เป็นปกติต่างยอมรับว่า จีนเป็นหนึ่งในชาติที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก แม้ว่าจะมีคนบางส่วนเยาะเย้ยและวิพากษ์วิจารณ์ว่าการศึกษาของจีนเน้นการท่องจำ ไม่ได้ส่งเสริมพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ และมุ่งปลูกฝังการเชื่อฟังคำสั่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่พบในสังคมเผด็จการ  

ตั้งแต่ปี 2015 นครเซี่ยงไฮ้ได้เข้าร่วมการสอบวัดผล PISA ที่จัดโดยกลุ่มประเทศ OECD แม้ว่าบางคนจะมองว่าไม่มีประโยชน์ คะแนนเฉลี่ยของเซี่ยงไฮ้ในสามวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน ครองอันดับ 1 ถึง 3 ติดต่อกันในช่วงสี่ปีแรก (จีนหยุดเข้าร่วมตั้งแต่ปี 2019 เนื่องจากโควิด)  

ค่านิยมแบบขงจื้อที่ให้ความสำคัญกับการศึกษามีบทบาทสำคัญต่อความทุ่มเทของนักเรียนและครอบครัวชาวจีน พวกเขามุ่งมั่นที่จะเรียนรู้เพื่อความเป็นเลิศทางการศึกษา นอกจากนี้ ระบบการศึกษาของจีนยังเน้นสร้างพื้นฐานความรู้ที่แข็งแกร่งในทุกระดับชั้น โดยไม่เน้นการแสดงความคิดเห็นที่ขาดความรู้ เมื่อผู้เรียนมีพื้นฐานความรู้ที่เพียงพอแล้ว พวกเขาสามารถนำไปประยุกต์ใช้และต่อยอดเพื่อสร้างความรู้ใหม่  

ทิม คุก ซีอีโอของแอปเปิล เคยกล่าวว่า จีนดึงดูดบริษัทผู้ผลิตสินค้าไอทีเพราะมีช่างฝีมือและวิศวกรชั้นนำจำนวนมาก หากจัดประชุมวิศวกรด้านเครื่องมือในสหรัฐ ห้องประชุมห้องเดียวก็เพียงพอ แต่ถ้าทำในจีนต้องใช้สนามกีฬาขนาดใหญ่ อีลอน มัสก์ ซีอีโอของเทสล่าและสเปซเอ็กซ์ ยืนยันว่าเป็นความจริง  

เมื่อปีที่แล้ว ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ ซิริล รามาโฟซา เยี่ยมชมโรงงานของ BYD ซึ่งเป็นผู้นำด้านรถไฟฟ้าของจีน โดยมีวิศวกรมากถึงหนึ่งแสนคนทำงานอยู่ เขายิ่งประทับใจเมื่อทราบว่า BYD วางแผนเพิ่มจำนวนวิศวกรเป็นสองเท่าในสิบปีข้างหน้า  

จีนผลิตบัณฑิตระดับมหาวิทยาลัยกว่า 10 ล้านคนต่อปี โดยหนึ่งในสี่เป็นวิศวกรในหลากหลายสาขา การเข้ามหาวิทยาลัยในจีนต้องผ่านการสอบเกาเข่า ซึ่งเป็นการสอบที่เข้มข้นที่สุดในโลก จัดขึ้นในเดือนกรกฎาคมของทุกปี โดยทุกสิ่งในจีนจะหยุดชั่วคราวเพื่อให้เด็กนักเรียนกว่า 10 ล้านคนสอบอย่างไม่มีสิ่งรบกวน  

หมายเหตุ:  โรงเรียนจีนมีเครื่องแบบนักเรียน,โรงเรียนจีนกำหนดทรงผมนักเรียน, โรงเรียนจีนมีการบ้าน, โรงเรียนจีนมีการสอบวัดผล หากสอบไม่ผ่านต้องเรียนซ้ำชั้น  และไม่เคยมีคนจีนที่ต้องทุรนทุรายเพราะเครื่องแบบนักเรียน ทรงผมนักเรียน การบ้าน หรือการสอบวัดผล  

บทความนี้แปลและเรียบเรียงจาก "What makes Chinese students so successful by international standards?" โดย **The Straits Times** ของสิงคโปร์ วันที่ 21 ตุลาคม 2024  

หากไม่พอใจกับความสำเร็จของจีน อย่าบอกผม ติดต่อคนเขียนบทความนี้โดยตรงคือ **Peter Yongqi Gu** (ศาสตราจารย์ด้านภาษาที่มหาวิทยาลัยวิคตอเรีย นิวซีแลนด์) และ **Stephen Dobson** (ศาสตราจารย์และคณบดีคณะศิลปศาสตร์และการศึกษาที่มหาวิทยาลัย CQ ออสเตรเลีย) 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top