Monday, 21 April 2025
เทคโนโลยีดิจิทัล

สพฐ.เร่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รองรับองค์กรราชการ 4.0

เมื่อวันที่ 22-24 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมเดอะ พาลาสโซ รัชดา กรุงเทพมหานคร  นายนิพนธ์ ก้องเวหา
ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาโครงการพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมี นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผอ.สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ. รายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดพัฒนาในครั้งนี้ 

นายนิพนธ์ ก้องเวหา กล่าวว่า “สพฐ. มีภาระกิจด้านการสนับสนุนส่งเสริมการบริหารจัดการด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสนับสนุนความสามารถของครูและผู้เรียนในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน จึงได้จัดตั้งกลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกแห่ง เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการ ดำเนินการด้านการใช้เทคโนโลยีในสถานศึกษาที่ประกอบด้วย งานพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศงานระบบคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร งานการส่งเสริมการจัดการศึกษาทางไกล งานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Smart OBEC”

“จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 ที่ผ่านมาส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนเปลี่ยนไป มีการใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยการจัดการเรียนการสอน และเห็นว่ามีโรงเรียนในสังกัด สพฐ.ที่จัดการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยใช้องค์ประกอบด้านเทคโนโลยีทั้งสิ้น

ซึ่งจะเห็นว่าเทคโนโลยีดิจิทัลมีอิทธิพลมากด้านการเรียนการสอน สพฐ.โดยสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวและเพื่อเป็นการพบปะชี้แจง แลกเปลี่ยนสถานการณ์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ให้กับบุคลากรของกลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยตรง  เพื่อขับเคลื่อน ชี้แจงงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน/สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้เกิดแนว ทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีการรวมกลุ่มการประสานงาน มีเครือข่ายความร่วมมือบุคลากรปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลระหว่างสำนักงาน” นายนิพนธ์ กล่าว

กลุ่ม ปตท. ดันเทคโนโลยีดิจิทัล หนุน ศก.สร้างสรรค์ ช่วยขับเคลื่อนเสน่ห์ Soft Power ไทยสู่เวทีสากล

กลุ่ม ปตท. ร่วมขับเคลื่อน Soft Power ไทย ดันเทคโนโลยีดิจิทัลหนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พร้อมส่งออกคอนเทนต์ไทยคุณภาพสู่เวทีสากล จับมือพันธมิตรต่อยอดต้นทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย สนับสนุน ‘ระบบนิเวศสร้างสรรค์’ ผ่านอุตสาหกรรมคอนเทนต์ มุ่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ได้มาตรฐานสากล รองรับการผลิตคอนเทนต์ไทยสู่ตลาดโลก เพื่อพัฒนารายได้และคุณภาพชีวิตคนไทย ยกระดับเศรษฐกิจประเทศให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน

เมื่อวันที่ 3 ก.พ.66 นายเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ซอฟท์พาวเวอร์ (Soft Power) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญในการแพร่ขยายอิทธิพลทางค่านิยม หรือ วัฒนธรรม ที่นานาประเทศผลักดันให้เป็นกลยุทธ์ในการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) 

ปตท. เล็งเห็นถึงโอกาสของการต่อยอดแนวคิดดังกล่าว เพื่อรุกเข้าสู่ธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงานให้พร้อมรับการแข่งขันบนเวทีโลก ด้วยวิสัยทัศน์ “Powering Life with Future Energy and Beyond” จึงจัดตั้งโครงการ Soft Power for Better Thailand ขึ้น เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยยกระดับการพัฒนาซอฟท์พาวเวอร์ไทย หรือ 'เสน่ห์ไทย' ที่เกิดจากวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีปฏิบัติอันเป็นภูมิปัญญาของประเทศไทย ที่อยู่ในความสนใจของชาวต่างชาติ ซึ่งนอกจากจะเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้กลับเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจที่จะสามารถดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนเพื่อขยายฐานอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Industry) ในประเทศไทย ที่จะช่วยสนับสนุนนโยบายภาครัฐในการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย หลังสถานการณ์โรคติดเชื้อ COVID-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกได้อีกทางหนึ่งด้วย 

“ปตท. จับมือพันธมิตรภาคส่วนต่างๆ ทั้งจาก บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) บริษัทในกลุ่ม ปตท. ที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านซอฟท์พาวเวอร์ ผ่านการนำเทคโนโลยีมาช่วยยกระดับการสร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ภายใต้แนวคิด TECH CREATE FUN คือ การนำเทคโนโลยี (TECH) เช่น Virtual Reality, Augmented Reality, Drone และ Metaverse เป็นต้น มาเสริมศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงาน (CREATE) เช่น ภาพยนตร์ ดิจิทัลคอนเทนต์ หรือ งานศิลปะ เพื่อให้ทั้งผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้ชมได้สัมผัสประสบการณ์ที่ดีขึ้น (FUN) รวมไปถึงยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ในการจัดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาซอฟท์พาวเวอร์ไทย ด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมคอนเทนต์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งการพัฒนาทักษะบุคลากร การสนับสนุนด้านทรัพยากรและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยมียุทธศาสตร์สำคัญในการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่...

1. สร้างคอนเทนต์ไทยสู่สากล ผ่านโครงการ Content Lab โดยร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) จัดโปรแกรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับผลิตภาพยนตร์ ซีรีส์ งานโฆษณา งานอีเวนต์ และเกม ให้กับนักเรียน นักศึกษา นักสร้างอนิเมชั่น และบุคคลทั่วไปที่สนใจ เพื่อต่อยอดการสร้างสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) สำหรับการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ทันสมัยเทียบเท่ามาตรฐานระดับสากล รวมถึงได้รับประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีการถ่ายทำชั้นนำของประเทศไทย โดยจะมีกิจกรรม Open House โครงการในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้

2. สร้างบุคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผ่านโครงการ TGIF - Technology is Fun โดยนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการยกระดับซอฟท์พาวเวอร์ จัดแสดงที่มหาวิทยาลัย 11 แห่งทั่วประเทศ ในช่วงเดือนมีนาคม - กันยายน 2566 เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา ได้มีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย สร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่จะสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นซอฟท์พาวเวอร์ของประเทศได้ในเชิงพาณิชย์ 

และ 3. จัดแสดงศักยภาพซอฟท์พาวเวอร์ด้านศิลปะไทย ผ่านนิทรรศการ “Locating the Locals: A Virtual Exhibition by PTT” โดยคัดเลือกผลงานบางส่วนจากการจัดประกวดศิลปกรรม ปตท. ที่เคยได้รับรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 นำออกจัดแสดงอีกครั้ง โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ชมบนพื้นที่จัดแสดงศิลปะแบบเสมือนจริง (Virtual Art Gallery) ซึ่งนอกจากการจัดแสดงครั้งแรก ณ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ เมื่อช่วงปลายปี 2565 ที่ได้การตอบรับเป็นอย่างดีแล้ว นิทรรศการนี้จะมีการจัดแสดงขึ้นอีกในงาน Bangkok Design Week 2023 ณ River City Bangkok ระหว่างวันที่ 4 - 12 กุมภาพันธ์ 2566 และ Isan Creative Festival 2023 ณ จ.ขอนแก่น ระหว่างวันที่ 1 - 9 เมษายน 2566 ซึ่งผู้สนใจยังสามารถชมนิทรรศการในโลกเสมือนที่ virtualspacebyptt.com ได้อีกด้วย”


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top