Tuesday, 29 April 2025
เด็กจบใหม่

‘บริษัทเอกชนจีน’ กว่า 10,000 ราย จับมือ ‘สถาบันศึกษาจีน’  เพื่อช่วย ‘เด็กจบใหม่’ หางานทำ ชี้ จะจัดกิจกรรมรับสมัครงานกว่า 100 เมือง

(30 เม.ย.66) สำนักงานข่าวซินหัวรายงานว่า กลุ่มผู้ประกอบการเอกชนจีนมากกว่า 10,000 ราย ได้ร่วมมือกับกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ดำเนินโครงการส่งเสริมการจ้างงานที่จะช่วยเหลือเหล่าบัณฑิตจบใหม่หางานทำ

รายงานระบุว่าโครงการข้างต้นจะจัดกลุ่มผู้ประกอบการดำเนินกิจกรรมรับสมัครงานแบบพิเศษในกว่า 100 เมืองที่มีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่หนาแน่น โดยมีกำหนดดำเนินโครงการจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม

‘สภาพัฒน์ฯ’ เผย ตลาดแรงงานของไทยกำลังเผชิญวิกฤต ส่งสัญญาณเตือน!! เด็กจบ ป.ตรี ‘ว่างงานพุ่ง-ได้เงินเดือนต่ำ’

‘สภาพัฒน์ฯ’ เปิดข้อมูลปัญหาของตลาดแรงงานของไทย แจ้งสัญญาณเตือน เด็กจบปริญญาตรี ว่างงานเพียบ ได้เงินเดือนต่ำ และแถมต้องทำงานต่ำกว่าระดับมากขึ้น

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานข้อมูลปัญหาของตลาดแรงงานของไทย และ การว่างงาน พบว่า แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลง และตลาดแรงงานของไทยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ยังพบปัญหาคุณภาพของแรงงานและความไม่สอดคล้องของตลาดแรงงาน (Labor mismatching) ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดในการยกระดับการผลิตของไทยในอนาคต

ข้อมูลความต้องการแรงงานล่าสุด
จากข้อมูลการสำรวจความต้องการแรงงานจากโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในช่วงปี 2561 - 2565 พบว่าความต้องการแรงงานรวมเพิ่มขึ้นจาก 95,566 คนในปี 2561 เป็น 168,992 คนในปี 2565 แต่เมื่อพิจารณาสัดส่วนความต้องการแรงงานที่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไปนั้น ลดลงจาก 30.1% ของความต้องการแรงงานรวม ในปี 2561 เหลือเพียง 17.2% ในปี 2565 เท่านั้น

ส่วนสัดส่วนความต้องการแรงงานในการศึกษาระดับ ปวช. - ปวส. ลดลงเล็กน้อยจาก 23.7% ในปี 2561 เป็น 22.5% ในปี 2565 ขณะที่สัดส่วนความต้องการแรงงานที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 เพิ่มขึ้นจาก 41.1% ในปี 2561 เป็น 57.3% ในปี 2565 

อีกทั้งเมื่อพิจารณาเฉพาะความต้องการแรงงานเพียงสองระดับการศึกษา คือ ปริญญาตรีขึ้นไปและระดับ ปวช. และ ปวส. พบว่า สัดส่วนเฉลี่ยของความต้องการแรงงานที่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไปลดลง โดยเฉลี่ยในช่วงปี 2561 - 2565 อยู่ที่ 45.6% ขณะที่สัดส่วนเฉลี่ยของความต้องการแรงงานที่มีการศึกษาในระดับ ปวช. และ ปวส. กลับเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยปี 2561 - 2565 อยู่ที่ 54.4%

เปิดความต้องการแรงงานของบริษัท EEC
เมื่อพิจารณาข้อมูลความต้องการแรงงานของบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพื้นที่ EEC ในปี 2565 จำแนกตามการศึกษา จำนวน 419 โครงการ ซึ่งมีความต้องการแรงงานรวม 52,322 คนนั้น พบว่า ระดับการศึกษาที่มีความต้องการมากที่สุด มีดังนี้

- ความต้องการแรงงานระดับ ป.6 ถึง ม.6 มีสัดส่วนถึง 59.1%
- ความต้องการแรงงานระดับ ปวช. - ปวส. อยู่ที่ 25.2%
- ความต้องการแรงงานระดับปริญญาตรีขึ้นไปอยู่ที่ 14.7% เท่านั้น

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ระดับการศึกษาที่มีความต้องการ มากที่สุด มีดังนี้

- ความต้องการแรงงานระดับ ป. 6 ถึง ม.6 มีสัดส่วน 63.9 และ 63.2% ตามลำดับ
- ความต้องการแรงงาน ระดับ ปวช. - ปวส. อยู่ที่ 22.5% และ 23.6% ตามลำดับ
- ความต้องการแรงงานระดับปริญญาตรีขึ้นไปอยู่ที่ 13.5% และ 12.9% ตามลำดับ

โดยอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีความต้องการแรงงานระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสัดส่วนที่สูง ได้แก่ อุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร ส่วนอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีความต้องการแรงงานระดับ ปวช. และ ปวส. ในสัดส่วนที่สูง ได้แก่ อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ

อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณากำลังแรงงาน โดยอ้างอิงจากจำนวนนักเรียน นักศึกษาที่อยู่ในภาคอุดมศึกษา (ระดับปริญญาตรีขึ้นไป) พบว่า ในปี 2564 มีจำนวนนักศึกษา ในระดับอุดมศึกษารวม 1,902,692 คน แม้จะลดลงจากจำนวน 2,171,663 ในปี 2561 แต่ยังสูงกว่าเมื่อเทียบกับนักเรียนที่อยู่ในระดับ ปวช. และ ปวส. ในปี 2564 ที่มีจำนวน 374,962 คน

ดังนั้น จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อน ให้เห็นถึงสถานการณ์ตลาดแรงงานที่เผชิญกับปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างกำลังแรงงานที่ผลิตออกมา (ด้าน Supply) และความต้องการของตลาด (ด้าน Demand) นั่นคือ มีแรงงานจบใหม่ที่เข้าสู่ตลาดที่จบอุดมศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสัดส่วนสูงมาก

ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลให้แรงงานในระดับปริญญาตรีต้องทำงานต่ำกว่าระดับมากขึ้น และสัดส่วนผู้ว่างงานในระดับปริญญาตรีจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะกลายเป็นข้อจำกัดของตลาดแรงงานไทยในระยะต่อไป

‘สื่อเกาหลีใต้’ เผย!! ตัวเลขการเข้าสู่ตลาดงานของคนรุ่นใหม่ น่าห่วง เกือบครึ่ง 'ลาออก' เพราะชั่วโมงการทำงานนานไป และรู้สึกค่าจ้างต่ำ

เมื่อวานนี้ (16 ก.ค. 67) สำนักข่าวซินหัว รายงานอ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้ที่เปิดเผยว่า เด็กจบใหม่ชาวเกาหลีใต้ใช้เวลาหางานแรกนานเกือบหนึ่งปี ซึ่งเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับภาวะตลาดแรงงานที่ถดถอยลงสำหรับคนรุ่นใหม่

สำนักงานฯ ระบุว่าคนรุ่นใหม่อายุ 15-29 ปี ใช้เวลาเฉลี่ย 11.5 เดือนเพื่อให้ได้งานที่ได้รับค่าจ้างก้อนแรกหลังจบการศึกษาในเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้น 1.1 เดือนจากปีก่อนหน้า โดยถือเป็นระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดตั้งแต่เริ่มรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในปี 2006 ซึ่งบ่งชี้ว่าสถานการณ์การจ้างงานคนรุ่นใหม่ย่ำแย่ลง

ในจำนวนกลุ่มคนรุ่นใหม่ข้างต้น พบว่าร้อยละ 47.7 ใช้เวลาหางานแรกไม่ถึงสามเดือน ขณะร้อยละ 30 ใช้เวลานานกว่าหนึ่งปี

จำนวนพนักงานรุ่นใหม่ลดลง 173,000 คนจากปีก่อนหน้า เหลือ 3,832,000 คนในเดือนพฤษภาคม ขณะอัตราการจ้างงานลดลง 0.7 จุดเหลือร้อยละ 46.9 ส่วนจำนวนเด็กรุ่นใหม่ว่างงานเพิ่มขึ้น 28,000 คนเป็น 276,000 คน และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น 0.9 จุด เป็นร้อยละ 6.7

คนรุ่นใหม่ประมาณร้อยละ 66.8 ออกจากงานที่ได้รับค่าจ้างก้อนแรกหลังจากทำงานในตำแหน่งนั้นเฉลี่ย 1 ปีกับ 2.8 เดือน

ในกลุ่มคนที่ลาออกจากงานแรก ร้อยละ 45.5 เผยว่าพวกเขาลาออกเนื่องจากสภาพการทำงานไม่เป็นที่พอใจ เช่น ชั่วโมงการทำงานยาวนานและค่าจ้างต่ำ รองลงมาร้อยละ 15.6 เผยว่าหมดสัญญาว่าจ้างงานชั่วคราว และร้อยละ 15.3 อ้างเหตุผลส่วนตัว เช่น การแต่งงาน เลี้ยงดูลูก และสุขภาพ

ถึงกับไปไม่เป็น!! ผู้สัมภาษณ์งาน อึ้ง!! คำถามจากเด็กจบใหม่ "ถ้าผ่านงาน 2 เดือน ปรับเป็น 15,000 ขอมาทำเดือนที่ 3 เลยได้มั้ย?"

(18 ก.ค. 67) จากผู้ใช้เฟซบุ๊ก 'SharePoint Khungkamano' ได้โพสต์ถามชาวเน็ต ว่าควรตอบคำถามเด็กจบใหม่ที่มาสัมภาษณ์งานอย่างไร เมื่อเจอบทสนทนาเช่นนี้ ว่า...

"คำถามสุดท้ายของการสัมภาษณ์พนักงานใหม่ น้องตั้งคำถามว่า ผ่านทดลองงานจ่ายเงินยังไงคะพี่ ผมบอกไปว่า เดือนแรก 12,000 ผ่านงาน 2 เดือน ปรับเป็น 15,000 น้องถามต่อว่า "นู๋ขอมาทำงาน เดือนที่ 3 เลยได้มั้ยคะพี่ หมื่นสองนู๋ไม่เอา" ตอบน้องไงดี?"

ภายหลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ ก็มีเสียงสะท้อนจากโลกโซเชียล ดังนี้...

- "โอเคผ่านค่ะ ผ่านประตูออกไปเลยนะคะน้อง ขอบคุณมากค่ะ คนต่อไป เด็กปัจจุบันเขาชอบตอบตรง ๆ ไม่ต้องอ้อมค่ะ"

- "ถ้ามีน้องมาบอกว่า ทดลองงานก่อน ทำไม่ได้ หรือไม่ดี ไม่เอาตังค์ ผมจะรับทันทีเลย 555"

- "ที่เคยโทรสัมภาษณ์เบื้องต้นตำแหน่ง Sale Engineer จบใหม่ไม่มีประสบการณ์ น้องบอกถ้าได้ไม่ถึง 25,000 ก็ไม่เสียเวลาคุย เอิ่มมม…น้องคะงานขายเขามีคอมมิสชัน เพราะฉะนั้นบริษัทส่วนใหญ่จะไม่ตั้งเงินเดือนสูงแต่จะมี Allowance ต่าง ๆ เข้ามาให้ ขอผ่านไปคุยกับคนทัศนคติดี ๆ พร้อมเรียนรู้งานดีกว่า"

- "ว่าไปแล้วเด็กเดี๋ยวนี้ โดนปลูกฝังค่านิยมแบบนี้เกือบทั้งหมด ... ที่บริษัทก็มีครับ ไม่มีประสบการณ์ เพิ่งจบ ภาษาอังกฤษไม่ได้ วิชาการก็น้อยมาก แต่ถามหาเงินเดือนสูงไว้ก่อน"

- "ก็ถ้าน้องคิดว่าน้องเหาะได้ บันไดขั้นที่ 1 ที่ 2 ไม่ต้องเหยียบก็ลองดู แล้วจะรู้ว่า บันไดขั้นที่ 3 ไม่มีอยู่จริง"

- "จ้างคนพม่ามาเลย ส่วนน้องเขาก็ร้องเพลงรอต่อไป"

- "รออีกไม่นานคงไม่มีเคสแบบนี้แล้วค่ะ ผู้ประกอบการหันไปใช้ AI กับหุ่นยนต์หมดแล้ว"

- "อีกมุม น้องเขาอาจมี Mindset (ความคิด) จากรัฐบาลบอกแรงงานขั้นต่ำ ป.ตรี 15.000 บาท จึงอยากได้ตามที่น้องเคยได้ยิน แต่น้องพูดไม่เป็น ทำให้น้องไม่น่าได้งานทำ"

- "น้องอาจจะไม่ได้ทั้ง 12000 กับ 15000 นะ"

ขณะที่เพจ ''สานต่อเจตนารมณ์ อาจารย์สมเกียรติ โอสถสภา' ก็ได้ให้มุมมองกับเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน ว่า...

"ใครบอกเด็กไทยไม่ฉลาดเพราะได้คะแนนข้อสอบสากลน้อยกว่าเด็กชาติอื่น ไม่จริงนะครับ เด็กไทยฉลาดมาก แต่เป็นความฉลาดแบบไทย ๆ กันไง แถวนี้เราลูกหลานศรีธนญไชยกันทั้งนั้นแหละ"


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top