Saturday, 19 April 2025
เครื่องราชอิสริยาภรณ์

“นายกฯ” นำ 9 รมต. รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย พร้อมครม.รับพระราชทานพระพลังแผ่นดิน “อิทธิพล”พร้อมสืบสาน รักษาต่อยอด การปฏิบัติราชการเพื่อบ้านเมือง

ผู้สื่อข่าวรายวานจากทำเนียบรัฐบาล ว่า ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อเวลา 08.15 น. ที่ห้องสีงาช้าง ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นำคณะรัฐมนตรี ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2564 ร่วมพิธีหน้า พระบรมมาฉายาลักษ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ได้แก่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 

ชั้นมหาวชิรมงกุฎ ได้แก่ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ขณะที่ชั้น  ประถมาภรณ์ช้างเผือก ได้แก่ นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นางสาวมนัญญาไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางกนกวรรณ วิลาวรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

โดยนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก และได้รับพระราชทานพระพลังแผ่นดิน เพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับคณะรัฐมนตรี พร้อมกันนี้จะน้อมนำพระบรมราชโองการ ในการสืบสาน รักษาต่อยอด การปฏิบัติราชการ เพื่อบ้านเมืองต่อไป 

‘บิ๊กแก้ว’ รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย

พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) ได้เดินทางไปราชการ ณ ประเทศมาเลเซีย เพื่อรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น Honorary Award of the Malaysian Armed Forces Order for Valour – Gallant Commander of Malaysian Armed Forces, First Degree จากสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่เชิดชูเกียรติระดับที่ 1 โดยจะมอบให้กับผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการเหล่าทัพ ของกองทัพมาเลเซีย 

รวมทั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการเหล่าทัพมิตรประเทศ โดยครั้งนี้มีผู้บัญชาการทหารสูงสุด จากประเทศบรูไน อินโดนีเซีย ซาอุดิอาระเบีย และผู้บัญชาการทหารบกฟิลิปปินส์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นนี้ด้วย 

จากนั้นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้เข้าร่วมงานพระราชทานเลี้ยงรับรองอาหารกลางวัน ณ ห้องจัดเลี้ยง พระราชวัง Istana Negara ซึ่งเป็นงานเลี้ยงรับรองที่สมเด็จพระราชาธิบดี พระราชทานเลี้ยงให้แก่ราชอาคันตุกะ และข้าราชการประเทศมาเลเซีย

ซึ่งการเดินทางเยือนประเทศมาเลเซีย นอกจากจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์และเสริมสร้างความร่วมมือทางทหารแล้ว ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของกองทัพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อความร่วมมือระหว่างกันต่อไปในอนาคต 

รวมทั้งการที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นับเป็นเกียรติอันสูงสุดซึ่งเป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์อันดีของทั้งสองประเทศที่มีมาอย่างยาวนาน

‘กัมพล ตันสัจจา’ ประธานสวนนงนุช รับเครื่องราชฯ ฐานะผู้ทำประโยชน์อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

‘กัมพล ตันสัจจา’ ประธานสวนนงนุช รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นจตุตถดิเรกคุณาภรณ์ ฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ ให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

(16 มี.ค. 66) ที่ ห้องประชุมจรุวัสตร์ ชั้น 10 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ นายกัมพล ตันสัจจา ประธานบริษัทนงนุช วิลเลจ จำกัด เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชั้นจตุตถดิเรกคุณาภรณ์ ผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

‘BLACKPINK’ รับพระราชทานเครื่องราชฯ จากคิงชาลส์ที่ 3 ในฐานะทูตสิ่งแวดล้อม COP 26 ที่ทำให้เยาวชนตระหนักถึง

(23 พ.ย.66) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงเปิดพระราชวังบักกิงแฮม ณ กรุงลอนดอน เพื่อจัดงานเลี้ยงต้อนรับการมาเยือนอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดี ยุน ซอก-ยอล และภริยา คิม กอน-ฮี พร้อมกับแขกพิเศษอย่างศิลปินเกิร์ลกรุ๊ปชื่อดังระดับโลกอย่าง 4 สาว วง 'BLACKPINK' เนื่องในโอกาสกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ทั้งนี้ 4 สาว 'BLACKPINK' ที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานเลี้ยงระดับ State Banquet นี้ ยังได้รับพระราชดำรัสชื่นชมจากคิงส์ชาร์ลส์อีกด้วย

ล่าสุดอินสตาแกรมของสำนักพระราชวังสหราชอาณาจักร เผยแพร่คลิปทั้งสี่สาวได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ MBE-Member of the Most Excellent Order of the British Empire ในฐานะทูตสิ่งแวดล้อม COP 26 จากสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และทรงมีพระราชปฏิสันถารกับทั้ง 4 สาวอย่างเป็นกันเอง โดยตรัสว่า “เราหวังว่าเราจะได้ชมการแสดงสดของพวกคุณบ้างในบางโอกาส”

โดยพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ชื่นชมทั้ง 4 สาวเนื่องจากเป็นเหมือนตัวแทนที่จะทำให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และยินดีที่จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยรักษาความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมไปสู่สายตาผู้ฟังทั่วโลก และชื่นชมที่พวกเขาจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ เช่นเดียวกับการเป็นซูเปอร์สตาร์ระดับโลก

สำนักพระราชวังอังกฤษ ระบุว่า สมาชิกวง 'BLACKPINK' ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช ในบทบาทของผู้สนับสนุน COP26 สำหรับการประชุมสุดยอดสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติที่จัดขึ้นที่เมืองกลาสโกว์ในปี 2021

‘สีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว’ เข้าร่วมพิธีมอบ ‘เครื่องราชอิสริยาภรณ์’ ในฐานะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ ‘ญี่ปุ่น-ไทย’

เมื่อไม่นานมานี้ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ‘The Order of the Rising Sun, Gold and Silver Star’ สำหรับชาวต่างชาติประจำฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2567 ได้เข้าร่วมพิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่จัดขึ้น ณ พระราชวังอิมพีเรียล โดยมีนายกรัฐมนตรีคิชิดะเป็นผู้มอบ

โดยนายสีหศักดิ์ ได้รับเครื่องราชฯ  ‘The Order of the Rising Sun, Gold and Silver Star’ จากผลสำเร็จในประเทศไทย ในฐานะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์และมิตรภาพอันดีระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกระชับสายสัมพันธ์แห่งมิตรภาพระหว่างญี่ปุ่นและไทย โดยผ่านประสบการณ์ใน การปฏิบัติงานในสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ถึง 2 ครั้ง ยิ่งไปกว่านั้นในฐานะผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ มีผลสำเร็จและบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างญี่ปุ่น-ไทย นอกจากนี้ ในฐานะที่ปรึกษาพิเศษของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการลงทุนและกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย

‘ราชกิจจานุเบกษา’ เผยแพร่พระบรมราชโองการ ประกาศโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ‘มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก-มหาวชิรมงกุฎ’ แก่ ‘นายกรัฐมนตรี’

เมื่อวานนี้ (20 ก.ค.67) ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ความว่า ...

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่ง ช้างเผือก ชั้น มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น มหาวชิรมงกุฎ แก่ นายเศรษฐา ทวีสิน

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗

ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เป็นปีที่ ๙ ในรัชกาลปัจจุบัน

‘นิด้าโพล’ เผยผลสำรวจ คนส่วนใหญ่ ไม่เคยตรวจสอบ ‘คำนำหน้าชื่อ’ แต่ให้เกียรติ ยกย่อง!! เป็นบุคคลพิเศษ ให้ความเคารพ เชื่อถือ 

(21 ก.ค.67) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “คำนำหน้านามนั้น สำคัญไฉน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาคระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับคำนำหน้านาม การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนถึงการให้ความสำคัญเมื่อเห็นชื่อบุคคลที่มีคำนำหน้านาม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.15 ระบุว่า ค่อนข้างให้ความสำคัญ รองลงมา ร้อยละ 28.56 ระบุว่า ไม่ค่อยให้ความสำคัญ ร้อยละ 26.18 ระบุว่า ไม่ให้ความสำคัญเลย และร้อยละ 15.11 ระบุว่า ให้ความสำคัญมาก

สำหรับการให้เกียรติบุคคลที่มีคำนำหน้านามประเภทต่าง ๆ เมื่อพบเจอกัน พบว่า

ผู้มีคำนำหน้านามตามฐานันดรศักดิ์ เช่น หม่อมหลวง หม่อมราชวงศ์ เป็นต้น ตัวอย่าง ร้อยละ 43.28 ระบุว่า ให้เกียรติมาก รองลงมาร้อยละ 36.41 ระบุว่า ค่อนข้างให้เกียรติ ร้อยละ 12.14 ระบุว่า ไม่ค่อยให้เกียรติ ร้อยละ 4.27 ระบุว่า ไม่ให้เกียรติเลย และร้อยละ 3.90 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ

ผู้มีคำนำหน้านามตามวิชาชีพ เช่น นายแพทย์ แพทย์หญิง เป็นต้น ตัวอย่าง ร้อยละ 43.75 ระบุว่า ค่อนข้างให้เกียรติ รองลงมา ร้อยละ 43.05 ระบุว่า ให้เกียรติมาก ร้อยละ 9.01 ระบุว่า ไม่ค่อยให้เกียรติ ร้อยละ 3.66 ระบุว่า ไม่ให้เกียรติเลย และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ

ผู้มีคำนำหน้านามตามตำแหน่งวิชาการ เช่น ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ เป็นต้น ตัวอย่าง ร้อยละ 43.97 ระบุว่า ค่อนข้างให้เกียรติ รองลงมา ร้อยละ 35.27 ระบุว่า ให้เกียรติมาก ร้อยละ 12.37 ระบุว่า ไม่ค่อยให้เกียรติ ร้อยละ 6.10 ระบุว่า ไม่ให้เกียรติเลย และร้อยละ 2.29 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ

ผู้ที่มีคำนำหน้านามตามวุฒิการศึกษา เช่น ดอกเตอร์ เป็นต้น ตัวอย่าง ร้อยละ 41.76 ระบุว่า ค่อนข้างให้เกียรติ รองลงมา ร้อยละ 32.67 ระบุว่า ให้เกียรติมาก ร้อยละ 14.96 ระบุว่า ไม่ค่อยให้เกียรติ ร้อยละ 7.79 ระบุว่า ไม่ให้เกียรติเลย และร้อยละ 2.82 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ

ผู้มีคำนำหน้านามตามยศ เช่น พลเอก พลตำรวจเอก เป็นต้น ตัวอย่าง ร้อยละ 44.12 ระบุว่า ค่อนข้างให้เกียรติ รองลงมา ร้อยละ 29.47 ระบุว่า ให้เกียรติมาก ร้อยละ 17.25 ระบุว่า ไม่ค่อยให้เกียรติ ร้อยละ 7.63 ระบุว่า ไม่ให้เกียรติเลย และร้อยละ 1.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ

ผู้มีคำนำหน้านามสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เช่น คุณหญิง ท่านผู้หญิง เป็นต้น ตัวอย่าง ร้อยละ 39.01 ระบุว่า ค่อนข้างให้เกียรติ รองลงมา ร้อยละ 29.31 ระบุว่า ให้เกียรติมาก ร้อยละ 17.56 ระบุว่า ไม่ค่อยให้เกียรติ ร้อยละ 9.01 ระบุว่า ไม่ให้เกียรติเลย และร้อยละ 5.11 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ

สำหรับการตรวจสอบบุคคลที่มีคำนำหน้านาม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 89.54 ระบุว่า ไม่เคยตรวจสอบใด ๆ เลย ขณะที่ ร้อยละ 10.46 ระบุว่า เคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านาม เมื่อสอบถามตัวอย่างที่เคยตรวจสอบผู้ที่มีคำนำหน้านาม (จำนวน 137 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับประเภทของคำนำหน้านามที่เคยตรวจสอบ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 49.64 ระบุว่า เคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านามตามวุฒิการศึกษา รองลงมา ร้อยละ 46.72 ระบุว่า เคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านามตามยศ ร้อยละ 40.88 ระบุว่า เคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านามตามวิชาชีพ ร้อยละ 40.15 ระบุว่าเคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านามตามตำแหน่งวิชาการ ร้อยละ 16.06 ระบุว่า เคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านามตามฐานันดรศักดิ์ และร้อยละ 11.68 ระบุว่า เคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านามสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ท้ายที่สุดเมื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่ระบุว่าเคยตรวจสอบผู้ที่มีคำนำหน้านาม (จำนวน 137 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับผลการตรวจสอบบุคคลที่มีคำนำหน้านาม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 48.91 ระบุว่า ไม่เคยเจอว่าเป็นการแอบอ้างใช้คำนำหน้านาม รองลงมาร้อยละ 32.85 ระบุว่า เคยเจอว่าเป็นการแอบอ้างใช้คำนำหน้านาม และร้อยละ 18.24 ระบุว่า ตรวจแล้วก็ยังไม่แน่ใจว่าเป็นการแอบอ้างใช้คำนำหน้านามหรือไม่

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.79 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.37 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.94 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.50 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.36 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.14 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 36.18 สถานภาพโสด ร้อยละ 62.14 สมรส และร้อยละ 1.68 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 13.97 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.63 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.09 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 39.77 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 9.54 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 13.66 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 19.54 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.52 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 8.24 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 10.85 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.61 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.58 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 17.71 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 13.05 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.86 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 13.44 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 7.86 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 9.62 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.46 ไม่ระบุรายได้ 

โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ 'โค้ชเช' ผู้ทำคุณประโยชน์ให้ประเทศไทย

(14 ส.ค. 67) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี 2567 เมื่อวันที่ 13 ส.ค.ที่ผ่านมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์

มีทั้งชั้นสายสะพาย และชั้นต่ำกว่าสายสะพาย รวมทั้งสิ้น 2,905 ราย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ประกาศ ณ วันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2567 เป็นปีที่ 9 ในรัชกาลปัจจุบัน

ชั้นสายสะพาย ปฐมดิเรกคุณาภรณ์
- กระทรวงกลาโหม นายสารัชถ์ รัตนาวะดี
- กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในส่วนของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นายชัย โสภณพนิช

ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ตติยดิเรกคุณาภรณ์
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายชัชชัย เช หรือ โค้ชเช ยองซ็อก

‘เบลล่า’ โพสต์ข่าวดี ได้รับพระราชทาน ‘เครื่องราชอิสริยาภรณ์’ เผย!! ถือเป็นเกียรติสูงสุดของชีวิต และวงศ์ตระกูล

(25 ส.ค. 67) เพราะเป็นผู้ให้เสมอมา สำหรับนางเอกชื่อดัง ‘เบลล่า ราณี แคมเปน’ ล่าสุดเจ้าตัวได้โพสต์ข่าวดี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งถือเป็นเกียรติสูงสุดอีกครั้งของชีวิตและวงศ์ตระกูล

นับเป็นเกียรติอันสูงสุดอีกครั้งของชีวิต ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ ขอขอบพระคุณมูลนิธิรามาธิบดีในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำหรับโอกาสในครั้งนี้นะคะ 

จภ. ลำดับที่ 21 นางสาวราณี แคมเปน

ตามที่รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ด้วยความเสียสละของท่านในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ ‘การให้’ ในกิจกรรม ระดมทุนของมูลนิธิรามาธิบดีฯ ตามพันธกิจหลักเพื่อการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลนั้น

มูลนิธิรามาธิบดีฯ ขอแสดงความยินดี ชื่นชม และยกย่องเชิดชูเกียรติท่านในฐานะบุคคล ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านการแพทย์และการสาธารณสุข อันจะนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนของประชาชนทั่วทั้งประเทศ คุณงามความดีในน้ำใจ แห่ง ‘การให้’ ของท่านจะได้รับการจารึกไว้ตราบนานเท่านาน และส่งผลบุญให้ท่านและครอบครัว ประสบแต่ความสุข ความเจริญ ปราศจากสรรพโรคาพาธและอุปัทวันตรายทั้งปวง เจริญด้วยจตุรพิธพรชัย ตลอดกาลนาน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top