Tuesday, 22 April 2025
เขื่อน

‘แพรรี่’ ฟาด!! คนต่อต้าน ‘พระเขื่อน’ ปมกล่าวหาเป็น ‘บัณเฑาะก์’ ลั่น!! เป็นการบวชที่มีพระวินัยรองรับ ย้ำ!! ไม่ใช่เรื่องของชาวเน็ต

(5 ก.ค. 66) ก่อนหน้านี้มีประเด็นดรามา ‘เขื่อน KOTIC’ หรือเขื่อน ภัทรดนัย บวชเข้าสู่ร่มกาสาวพักตร์ หลายคนได้ตั้งคำถามว่า พระเขื่อนบวชได้หรือ โยงดรามาบัณเฑาะก์ ซึ่งคำว่า บัณเฑาะก์ หรือบุรุษลักเพศ หมายถึง คนเพศบกพร่อง ซึ่งคนเพศบกพร่อง ในที่นี้หมายถึง คนที่มีความเบี่ยงเบนโดยกำเนิด คือ เขามีใจเป็นหญิงจนไม่สามารถข่มความเป็นหญิงนั้นได้เลย หรือคนแปลงเพศ หรือมีหน้าอกเหมือนสตรีแล้วนั่นเอง เทียบกับขันทีในยุคก่อน หรือมีเพศสองอย่างในคนเดียว

เดือดร้อนไปถึงพระผู้ใหญ่ที่ต้องออกมาชี้แจง ประเด็นนี้ว่า “แต่ถ้าหากบุคคลที่ต้องการบวชนั้น เป็น บุรุษเพศสมบูรณ์ หรือ บ่งว่าเป็นบุรุษ ก็สามารถบวชได้ ไม่ได้เกิดปัญหาแต่อย่างใด”

ต่อมาเมื่อวานนี้ (4 ก.ค. 66) แพรรี่ หรือไพรวัลย์ วรรณบุตร อดีตพระที่ผ่านกระแสโซเชียลมามาก ได้ออกมาโพสต์ฟาดประเด็นดังกล่าวผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า

“มึงจะไปต่อต้านเขาทำไมคะ ในเมื่อเขาบวชภายใต้กฎเกณฑ์ที่พระวินัยให้การรับรอง เขาไม่ได้บวชภายใต้ความเห็นชอบจากชาวเน็ตอย่างมึงนะคะ

สงสัยอะไรก็ศึกษาเลยค่ะ ดิฉันเคยพูดไปหลายทีแล้วว่า เรื่องบัณเฑาะก์เนี่ย ท่านมีอธิบายไว้ชัดเลย ในคัมภีร์สมันตปาสาทิกา (คัมภีร์อธิบายพระวินัย) 

ซึ่งในคัมภีร์สมันตปาสาทิกา ระบุไว้ชัดว่า ในบัณเฑาะก์ 5 ประเภทนั้น บัณเฑาะก์ที่ห้ามการอุปสมบทอย่างเด็ดขาด มีแค่ 2 ประเภทเท่านั้น คือ 1.) บุคคลที่ถูกตอนอวัยวะเพศไปแล้ว (ปัจจุบันอาจหมายถึงคนที่แปลงเพศด้วย) กับ 2.) บุคคลผู้มีความบกพร่องทางอวัยวะเพศ (ระบุไม่ได้ว่าเป็นเพศไหน)

ถ้าถึงขั้นนี้ยังไม่กระจ่างก็ให้ไปดูในฎีกาวิมติวิโนทนี (คัมภีร์อธิบายความสมันตปาสาทิกาอีกชั้นหนึ่ง) ซึ่งพระฎีกาจารย์ท่านก็เขียนไว้ชัดเช่นกันว่า ที่บอกว่า 2 ประเภทนี้ ไม่ห้ามการบรรพชา นั่นก็คือหมายถึง อนุญาตการอุปสมบท

ศาสนาพุทธในเมืองไทยเป็นเถรวาทนะคะ ดังนั้นหากมีข้อสงสัยใดๆ ในพระธรรมวินัย ข้อสงสัยนั้นๆ ย่อมต้องตรวจสอบด้วยข้ออรรถข้อธรรม ซึ่งมีการอธิบายไว้ชัดในคัมภีร์ชั้นต่างๆ

ที่สำคัญเลย ดิฉันอยากจะบอกให้ทราบว่าการบวชจริงๆนั้น เป็นแต่เพียงขั้นตอนของการรับรองค่ะ มีพระอุปัชฌาย์เป็นผู้นำพาและรับผิดชอบในตัวกุลบุตรต่อหมู่สงฆ์ มีหมู่สงฆ์เป็นสักขีพยานในการรับรู้ถึงการมีอยู่ของภิกษุใหม่

การบวชไม่ใช่เรื่องของชาวเน็ตนะคะ พักก่อน ศาสนาให้พื้นที่กับผู้คนในการฝึกหัดขัดเกลาอุปนิสัยค่ะ บัณฑิตไม่ติเตียนใครอย่างปราศจากปัญญานะคะ

ภิกษุดีเลวไม่ได้วัดกันที่ว่าก่อนบวชมีพฤติกรรมอย่างไรค่ะ แต่วัดกันที่ว่าบวชแล้วครองตนอย่างไรต่างหาก

ปาราชิกข้อแรกมาจากพระผู้ชายนะคะ ไม่ได้มาจากพระบัณเฑาะก์ ฝากไว้ให้คิด แต่ถ้าจะไม่คิดก็แล้วแต่ จบ”

กฟผ. ยืนยันเขื่อนใหญ่ทั่วประเทศปลอดภัยจากแผ่นดินไหว มีเทคโนโลยี ICOLD ตรวจสอบล้ำสมัย เฝ้าระวังพฤติกรรมเขื่อนแบบเรียลไทม์

(18 เม.ย. 68) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยืนยันเขื่อนขนาดใหญ่ภายใต้การดูแลมีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยสูงสุด โดยได้รับการออกแบบให้รองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว พร้อมดำเนินการเฝ้าระวังและตรวจสอบพฤติกรรมเขื่อนตามมาตรฐานสากลอย่างเคร่งครัด ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนได้ผ่านแอปพลิเคชัน 'EGAT ONE'

นายชวลิต กันคำ ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน กฟผ. เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในประเทศเมียนมา และส่งผลกระทบต่ออาคารบ้านเรือนในหลายจังหวัดของไทย ทำให้ประชาชนบางส่วนเกิดความกังวลต่อความมั่นคงของเขื่อนขนาดใหญ่ในประเทศ ซึ่ง กฟผ. ขอยืนยันว่าเขื่อนทุกแห่งได้รับการออกแบบให้รองรับแผ่นดินไหวไว้ล่วงหน้าแล้ว อีกทั้งมีระบบเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และติดตามพฤติกรรมเขื่อนด้วยเครื่องมือวัดเฉพาะทางตามมาตรฐานสากลขององค์การเขื่อนใหญ่ระหว่างประเทศ (ICOLD)

จากการตรวจวัดของเครื่องมือวัดอัตราเร่งพบว่า เขื่อนขนาดใหญ่ของ กฟผ. ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้ โดยมีค่าที่ตรวจวัดได้อยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับค่าที่ออกแบบไว้ ตัวอย่างเช่น

เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ (ห่างศูนย์กลางแผ่นดินไหว 546.36 กม.) ตรวจวัดได้ 0.00074g 

เขื่อนภูมิพล จ.ตาก (ห่าง 482.82 กม.) ตรวจวัดได้ 0.00457g 

เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี (ห่าง 820 กม.) ตรวจวัดได้ 0.00473g 

เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี (ห่าง 809.8 กม.) ตรวจวัดได้ 0.02590g

ในขณะที่เขื่อนทุกแห่งของ กฟผ. ได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับแผ่นดินไหวที่มีอัตราเร่งถึง 0.1–0.2g ซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าที่เกิดขึ้นจริงหลายเท่า

ด้านมาตรการดูแลความปลอดภัย เขื่อนและอ่างเก็บน้ำของ กฟผ. ได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างเข้มงวดใน 3 ระดับ ได้แก่

ตรวจสอบแบบประจำ – ดำเนินการทุกสัปดาห์ โดยเจ้าหน้าที่เฉพาะทางติดตามข้อมูลจากเครื่องมือ

ตรวจวัด ตรวจสอบแบบเป็นทางการ – ทุก 2 ปี โดยคณะกรรมการประเมินความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อน 

ตรวจสอบกรณีพิเศษ – เมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ เช่น แผ่นดินไหวรุนแรง น้ำหลาก หรือฝนตกหนัก

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านความปลอดภัยได้อย่างรวดเร็ว กฟผ. ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน EGAT ONE รองรับทั้งระบบ iOS และ Android สำหรับติดตามสถานการณ์น้ำ ข้อมูลเขื่อน และการแจ้งเตือนต่าง ๆ โดยตรงจาก กฟผ. ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top