Sunday, 20 April 2025
อาชญากรรมข้ามชาติ

“บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล แถลงข่าวอาชญากรรมข้ามชาติ – ค้ามนุษย์ และฟอกเงิน

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร./รอง ผอ.ศพดส.ตร.แถลงข่าวอาชญากรรมข้ามชาติ และค้ามนุษย์ ทลายเครือข่ายค้ามนุษย์ , องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และฟอกเงิน ณ ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร

สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2564 เวลาประมาณ 14.40 น. เจ้าพนักงานตำรวจ สภ.บ้านมาบอำมฤต จังหวัดชุมพร  ได้ร่วมกันจับกุมตัวนายเขมทัต ผาลี อายุ 36 ปี พร้อมด้วยคนต่างด้าวสัญชาติ เมียนมา (โรฮิงญา) ซึ่งโดยสารมากับรถตู้คันที่นายเขมทัตฯ ขับมา จำนวน 5 คน โดยกล่าวหาว่า ช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวซึ่งหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายพ้นจากการจับกุม และต่อมาเวลา 16.30 น. ของวันเดียวกัน เจ้าพนักงานตำรวจ ฯ ได้ร่วมกัน จับกุมตัว นายชัยชาญ ไม่ยาก อายุ 41 ปี  และ นางสาวจุลลา บรรเทา อายุ 26 ปี พร้อมด้วยคนต่างด้าวสัญชาติ เมียนมา (โรฮิงญา) ซึ่งโดยสารมากับรถตู้ที่นายชัยชาญฯ ขับมา จำนวน 6 คน โดยกล่าวหาว่า ช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวซึ่งหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายพ้นจากการจับกุมและในวันเดียวกัน เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 เวลาประมาณ 19.30 น. เจ้าพนักงานตำรวจ สภ.เขานิพันธ์ ได้ร่วมกันจับกุมตัว Mr.Man Jo Min หรือนายฮู เซ็น อายุ 48 ปี สัญชาติ เมียนมา และชู อาลิน อายุ 18 ปี สัญชาติ เมียนมา

โดยกล่าวหา รู้ว่าคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย ให้เข้าพักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม และได้ทำการตรวจค้นบ้านเลขที่ 59/7 ม.5 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตรวจพบคนต่างด้าวสัญชาติ เมียนมา (โรฮิงญา) หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย จำนวน 3 คน ในบ้านดังกล่าวซึ่งเป็นลักษณะกักขังตัวไว้ ซึ่งทั้ง 3 คดีดังกล่าว ตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร ได้ทำการคัดแยกเหยื่อผู้เสียหายจากขบวนการค้ามนุษย์ และมีความเห็นว่าคดีดังกล่าวทั้ง 3 เรื่องนั้น เข้าข่ายกระทำความผิดฐาน ค้ามนุษย์

ตำรวจภูธรภาค 8 โดย พล.ต.ท.อำพล  บัวรับพร ผบช.ภ.8 ได้ออกคำสั่ง ภ.8 ที่ 390/2564 ลง 29 ตุลาคม 2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนขยายผลความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 โดยมอบหมายให้ พล.ต.ต.วันไชย  เอกพรพิชญ์ รอง ผบช.ภ.๘ เป็นหัวหน้าพนักงานสืบสวน และจากการสืบสวนแสวงหาข้อเท็จจริงทราบว่า ทั้ง 3 คดีมีความเกี่ยวข้องกันมีผู้ร่วมกระทำผิดเป็นกระบวนการมีความสัมพันธ์กันเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และฟอกเงิน มีการกระทำผิดโดยแบ่งหน้าที่กันทำเริ่มจากจัดหาคนจากประเทศเมียนมาร์ ส่งเข้ามาในประเทศไทยช่องทางธรรมชาติที่บริเวณ อ.แม่สอด จว.ตาก แล้วมีกลุ่มคนที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว รับตัวเดินทางมาพักตามจุดต่าง ๆ ในประเทศไทย ที่กลุ่มผู้กระทำผิดได้เตรียมไว้ เช่น จังหวัดปทุมธานี กรุงเทพมหานคร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา นราธิวาส จนถึงประเทศมาเลเซีย มีการกักขังขู่เข็ญ ขูดรีด เพื่อเรียกเงินจากเหยื่อ และญาติการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามกฎหมายจึงได้ร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับผู้ต้องหาเพิ่มเติมอีก 4 คดี เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2564

จากนั้นตำรวจภูธรภาค 8 ได้มีคำสั่ง ภ.8 ที่ 413/2564 ลง 14 พ.ย.64 เรื่องแต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน (คดี สภ.บ้านมาบอำมฤต ) และ คำสั่ง ภ.8 ที่ 426/2564 ลง 25 พ.ย.64 เรื่องแต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน (คดี สภ.เขานิพันธ์) โดยมี พล.ต.ต.วันไชย  เอกพรพิชญ์ รอง ผบช.ภ.๘ เป็นหัวหน้าคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ซึ่งจากการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน คณะพนักงานสอบสวนได้ทำการขออนุมัติศาลให้ออกหมายจับผู้ต้องหาทั้งสิ้นรวม 4 คดี 14 คน 24 หมายจับ ดังนี้  สภ.บ้านมาบอำมฤต 3 คดีข้อหา ร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และค้ามนุษย์ฯ จำนวน  2 คดี คือคดีอาญาที่ 415/2564 (4 หมายจับ) ,416/2564 (4 หมายจับ) และ ข้อหา ฟอกเงิน คดีอาญาที่417/2564 (13 หมายจับ) สภ.เขานิพันธ์ 1 คดี ข้อหา ร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และค้ามนุษย์คดีอาญาที่  371/2564 จำนวน 3 หมายจับ

ต่อมาวันที่ 6 ธันวาคม 2564 พล.ต.ต.นภันต์วุฒิ เลี่ยมสงวน ผบก.สส.ภ.8 หัวหน้าฝ่ายสืบสวน พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ศพดส.ตร. และ ศพดส.ภ.๘ ได้ร่วมกันปิดล้อมตรวจค้นเป้าหมายเพื่อจับกุมตัวผู้ต้องหาในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ อ.แม่สอด จว.ตาก, อ.สุไหง-โกลก จว.นราธิวาส, อ.พระแสง จว.สุราษฎร์ธานี,อ.กะทู้ จว.ภูเก็ต และพื้นที่อื่น ๆ จนสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้จำนวน 7 คน ดังนี้

 

‘สตม.’ บุกทลาย!! 'ปาร์ตี้ผิวสี' ย่านรามคำแหง ลักลอบมั่วสุมยันหว่างร่วมครึ่งร้อย!! หวั่นแพร่เชื้อโอไมครอน

ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการควบคุมกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักอาศัย หรือเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์  แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร มอบหมายให้ สตม.ดำเนินการตรวจสอบชาวต่างชาติที่มีหมายจับตำรวจสากล หรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน หรือเป็นลักษณะการกระทำผิดเข้าข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดย พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ ผบช.สตม. พร้อมด้วย พล.ต.ต.อาชยน  ไกรทอง รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ปิติ  นิธินนทเศรษฐ์  ผบก.ตม.1, และ พ.ต.อ.ระพีพัฒน์ อุตสาหะ ผกก.สส.บก.ตม.1 พร้อมชุดปฏิบัติการสืบสวนฯ ร่วมแถลงข่าวการจับกุมคนร้าย ดังนี้ 

สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองกำกับการสืบสวน กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ได้ทราบข้อมูลจากแหล่งข่าวว่าที่ร้านนครบาร์บางกอก ในย่านรามคำแหงจะมีการลักลอบจัดปาร์ตี้สังสรรค์ และจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับกลุ่มลูกค้า โดยมีกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติผิวสี และมีหญิงไทยร่วมด้วย ซึ่งมักมีการนัดรวมตัวเพื่อมั่วสุมดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ร้านดังกล่าวเป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมจึงได้มีการประชุม วางแผนในการเข้าปิดล้อมตรวจสอบร้านดังกล่าว

ต่อมาในวันที่ 13 ธันวาคม 2564 เวลาประมาณ 01.45 น. สตม. โดย กก.สส.บก.ตม.1 ได้สนธิกำลังกับ กก.2 บก.ปส.1 และ สน.หัวหมาก เข้าปิดล้อมตรวจค้นร้านนครบาร์บางกอก ที่เกิดเหตุ พบสภาพภายในร้านมีลักษณะเป็นตู้คอนเทนเนอร์ ตกแต่งภายในโดยมีโต๊ะพูล รวมทั้งมีการจัดโต๊ะเก้าอี้สำหรับนั่งรับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  มีลูกค้าทั้งคนไทย และคนต่างชาติ กำลังใช้บริการอยู่จำนวนหลายสิบราย

จากการตรวจสอบเอกสารหนังสือเดินทางของกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติทั้งหมดในร้าน พบเป็นบุคคลต่างด้าวผิวสีจากประเทศในแถบแอฟริกาเช่น ไนจีเรีย คองโก แคเมอรูน เป็นต้น โดยในจำนวนบุคคลต่างด้าวทั้งหมดนี้ เจ้าหน้าที่พบว่ามีบุคคลต่างด้าวที่ไม่มีหนังสือเดินทาง หรือมีหนังสือเดินทางที่ไม่มีรอยตราประทับจากช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมือง เป็นจำนวนถึง 15 ราย ในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมจึงได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อบุคคลต่างด้าวในจำนวนนี้ว่า “เป็นบุคคลต่างด้าวเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย และไม่ผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย” นอกจากนี้ในที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจยังพบนางสาวดา (นามสมมุติ) อายุ 41 ปี สัญชาติไทย แสดงตนเป็นเจ้าของและผู้ดูแลร้าน โดยอ้างกับเจ้าหน้าที่ว่าได้มีการเช่าช่วงจากเจ้าของร้านเดิม ซึ่งร้านดังกล่าวนี้เคยเปิดเป็นร้านจำหน่ายสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง แต่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคระบาดโควิด-19 จนต้องปิดตัวไป     

โดยหลังจากทำการเช่าช่วงร้านดังกล่าว นางสาวดาได้ลักลอบใช้ร้านดังกล่าวเป็นที่นัดรวมตัวมั่วสุมของกลุ่มคนต่างชาติผิวสีเรื่อยมาเป็นเวลากว่า 1 เดือน โดยจะใช้แผ่นเมทัลชีทปิดช่องแสงโดยรอบจนทึบและปิดเสียงดนตรี เพื่อปิดบังอำพรางเจ้าหน้าที่เพื่อให้ยากต่อการตรวจสอบพบ

ซึ่งในส่วนของเจ้าของร้านที่เกิดเหตุนั้น เจ้าหน้าที่ได้จับกุมในข้อหา “จำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยไม่ได้รับอนุญาต และ จำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มโดยร้านไม่ผ่านการประเมินมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยฯ โดยจัดให้มีการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านเกินเวลา อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 47 ข้อ 2 ลงวันที่ 29 พ.ย.64” และควบคุมตัวทั้งนางสาวดาฯ และบุคคลต่างด้าวทั้งหมด ส่งพนักงานสอบสวน สน.หัวหมากดำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

ผบ.ตร.ลุยเอง!! เร่งขยายผล คดีผับจินหลิง มั่นใจ ทุกฝ่ายทำงานไร้ปัญหา เข้าขากันดี

(13 ธ.ค 65) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้สื่อข่าวได้สอบถาม กรณีผับจินหลิง ที่มีการแจ้งข้อกล่าวหากับ รปภ.ว่าจะมีความเห็นต่างระหว่าง พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น.พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผบ.ตร. หรือไม่

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. กล่าวว่า ไม่ได้มีความเห็นแตกต่าง ต้องเข้าใจว่าทุกคนปรารถนาดี นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ก็ปรารถนาดี ทางคณะทำงานที่มี พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. เป็นหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน และมี พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. เป็นหัวหน้ากำกับดูแลและรายงานผม ส่วนสาเหตุที่แจ้งข้อหาหัวหน้า รปภ. เปิดสถานบริการ เป็นเจ้าของกิจการ จริง ๆ แล้วในวันนั้น ที่ ผบช.น.เข้าไปตอนแรก ส่วนใหญ่จะพบคนจีนแต่มีหัวหน้า รปภ.มาแสดงตนว่าเป็นผู้ดูแลสถานที่นี้ จึงต้องมีการแจ้งข้อหาเปิดสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อน ต่อมามีการประกันตัวในชั้นศาล

ภายหลังจากการสอบสวนและมีพยานหลักฐาน พบว่าไม่ใช่ผู้ดูแลที่แท้จริง เมื่อสอบลึกไปก็ทราบว่าใครเป็นเจ้าของตัวจริง ซึ่งจะมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง ไม่ได้มีเจตนาที่จะจับแพะ เพียงแต่เป็นเรื่องของข้อเท็จจริงแต่ละขณะไม่เหมือนกัน ต้องมองภาพก่อนว่าคดีจินหลิงเกิดเหตุในพื้นที่นครบาล ทางพล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น ได้เข้าไปด้วยตัวเอง ผมได้ยกระดับให้ท่านเป็นหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน ส่วนคดีที่เกี่ยวเนื่องกับกลุ่มทุนจีนสีเทาที่มีการไปตรวจค้นนอกพื้นที่นครบาล หรือในพื้นที่นครบาล ส่วนหนึ่งจะมีทางพล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผบ.ตร. รับผิดชอบงานป้องกันปราบปราม ไปช่วยขยายผลกับทาง สอท. ส่วนภาพรวมในการสืบสวนในที่ต่าง ๆ มีทาง พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เป็นผู้ควบคุม นำจิ๊กซอว์มารวมกัน ส่วนไหนที่เป็นคดีเกี่ยวเนื่องกับคดีจินหลิงก็จะเป็นทาง ผบช.น. หากเกี่ยวเนื่องกับคดีอื่นต่าง ๆ อาจจะมีการเพิ่มเติมในคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนต่อไป

ผบ.ตร.ต้อนรับทูตตำรวจจีนประจำประเทศไทย เข้าพบเพื่อแสดงความยินดี พร้อมหารือความร่วมมือ ยกระดับมาตรการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ คอลเซ็นเตอร์ คดีออนไลน์ และการดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยวทุกมิติตามนโยบายรัฐบาล

วันนี้ (19 ต.ค.66) เวลา 10.00 น. พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. ให้การต้อนรับ พล.ต.ต.เวิน หย่งกัง ที่ปรึกษาและผู้ช่วยทูตฝ่ายตำรวจ ประจำสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย พร้อมคณะฯ ที่ขอเข้าพบเพื่อแสดงความยินดีในโอกาสได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และหารือมาตรการความร่วมมือป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ การดูแลอำนวยความสะดวกความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวชาวจีนตามนโยบายรัฐบาล โดยมี พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. , พล.ต.ท.อภิชาติ เพชรประสิทธิ์ ผบช.ส. , พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร./โฆษก ตร. ,  พ.ต.อ.เดโช โสสุวรรณากุล รอง ผบก.ศฝร.บช.น. , พ.ต.อ. สุระพันธุ์ ไทยประเสริฐ รอง ผบก.ตท. ให้การต้อนรับ ณ ห้องพรหมนอก ชั้น 2 อาคาร 1 ตร.

ผบ.ตร.ได้ขอบคุณ พล.ต.ต.เวิน หย่งกัง ที่ปรึกษาและผู้ช่วยทูตฝ่ายตำรวจ ประจำสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย และคณะฯ ที่ได้เข้าพบแสดงความยินดีในโอกาสได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ ได้หารือกับผู้ช่วยทูตฝ่ายตำรวจของจีน ในการแสวงหาความร่วมมือ บูรณาการในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ อาชญากรรมออนไลน์ ยาเสพติด ในการร่วมกันป้องกันปราบปรามทุกมิติ นอกจากนี้ ยังมีการหารือยกระดับมาตรการด้านท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนตามนโยบายรัฐบาล ทั้งมิติการช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก การดูแลความปลอดภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทย

ทั้งนี้ การหารือความร่วมมือดังกล่าว เป็นไปตามนโยบาย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ การดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยว รวมทั้งอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ที่นายกรัฐมนตรี เพิ่งได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านสื่อสารมวลชนและสารสนเทศระหว่างกรมประชาสัมพันธ์กับกลุ่มสื่อแห่งชาติจีน (CMG)ไปเมื่อวานนี้”

นายกรัฐมนตรีสั่งการเร่งด่วนศูนย์ไซเบอร์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติแก๊งคอลเซ็นเตอร์ตามแนวชายแดนไทย

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.) เร่งปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ตั้งอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดน เข้ามาหลอกลวง สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนคนไทย ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร./ผอ.ศปอส.ตร. มอบหมายให้ พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร./รอง ผอ.ศปอส.ตร. เปิดยุทธการ “ระเบิดสะพานโจร” โดยปฏิบัติการร่วมกับสำนักงาน กสทช. , ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เครือข่าย AIS  DTAC TRUE  NT และหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ โดยให้ตัดสัญญาณโทรศัพท์ และอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้อง ของไทยทั้งหมดที่คนร้ายลักลอบนำมาใช้ในการเข้ามาหลอกลวง ที่คนร้ายลักลอบลักลอบนำมาใช้ในการเข้ามาหลอกลวง อย่างเด็ดขาด  

พล.ต.ท.ธัชชัย ฯ กล่าวว่า จะเริ่มกดปุ่มปฏิบัติการแรก 'ระเบิดสะพานโจร' ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งคนร้ายได้มีฐานปฏิบัติการในเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ บริเวณโดยรอบคิงส์โรมัน ประเทศลาว โดยปัจจุบัน คิงส์โรมันเป็นสถานบันเทิงครบวงจรพร้อมมีสนามบินรองรับนักท่องเที่ยวจากไทย ลาว และเมียนมา ซึ่งปฏิบัติการดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อสุจริตชนตามแนวชายแดนไทย นอกจากนี้ จะมีการขยายผลจับกุมดำเนินคดีกับผู้ให้บริการที่ผิดกฎหมาย เช่น ตู้ซิมที่ช่วยเหลือกลุ่มคนร้ายในการลงทะเบียนซิมมาหลอกลวงประชาชน รวมทั้งจัดการกับกลุ่มคนร้ายที่เป็นชาวต่างชาติและคนไทยที่ร่วมกันมาหลอกลวงทำร้ายคนไทยด้วยกันให้ถึงที่สุด

รรท.รอง ผบ.ตร. แสวงหาความร่วมมือปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ผ่านเวทีการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ มุ่งแก้ไขความเดือดร้อน สร้างความสงบสุขอย่างยั่งยืน

พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย ผบ.ตร.รรท.รอง ผบ.ตร.(มค) เปิดเผยว่า ตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายใต้การนำของ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. ที่มุ่งให้ความสำคัญในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทุกประเภท ซึ่งทวีความรุนแรง เป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน และก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นอันมาก สมควรที่จะแสวงหาความร่วมมือและร่วมบูรณาการปฏิบัติกับหน่วยงานความมั่นคงของประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียน ในระดับพหุภาคีและระดับสากล

จึงได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย ผบ.ตร.รรท.รอง ผบ.ตร.(มค) ในฐานะหัวหน้าเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติประเทศไทย เป็นรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทย พร้อมคณะ ประกอบด้วย พล.ต.ท.อภิชาติ สุริบุญญา ผบช.กมค., พล.ต.ต.เขมรินทร์ หัสศิริ ที่ปรึกษา ศพดส.ตร., พล.ต.ต.ฐิตวัฒน์ สุริยฉาย รอง จตร., พ.ต.อ.หฤษฎ์ เอกอุรุ รอง ผบก.ตม.3 และ พ.ต.อ.ณรงค์ เทศวิบูลย์ รอง ผบก.ปคม. พร้อมผู้แทน ยธ., กต., ป.ป.ส. และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เดินทางไปร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 18 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (The 18th ASEAN Ministerial Meeting on Transnational Crimes and Its Related Meetings) (AMMTC) ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 - 29 สิงหาคม 2567 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ร่วมกับผู้แทนจากชาติสมาชิก 10 ประเทศ พร้อมประเทศคู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และติมอร์-เลสเต โดยมี พล.อ.วิไล หล้าคำฟอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ให้การต้อนรับ

พล.ต.ท.ประจวบฯ กล่าวว่า ความร่วมมือของ AMMTC เป็นไปตามอนุสัญญาอาเซียนด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก แผนงานอาเซียนด้านการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติและด้านความร่วมมือการตรวจคนเข้าเมืองและงานกงสุล โดยมี SOMTC และ อธิบดีกรมตรวจคนเข้าเมืองและหัวหน้าฝ่ายกงสุลกระทรวงการต่างประเทศ เป็นกลไกสนับสนุน โดยการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ จะทำหน้าที่เป็นกลไกระดับสูงสุดที่กำหนดนโยบายความร่วมมือและการดำเนินการเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งการบริหารจัดการชายแดนในภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนสนับสนุนความร่วมมือและการประสานงานภายในอาเซียนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติในปัจจุบันและที่เกิดขึ้นใหม่ แลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประเทศคู่เจรจา และหน่วยงานภายนอกอาเซียน โดยประเทศไทยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำในการป้องกันปราบปรามการลักลอบค้ายาเสพติด และการลักลอบค้าไม้และสัตว์ป่า ผลการประชุมหารือเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
 
พล.ต.ท.ประจวบฯ เข้าร่วมประชุมทวิภาคี กับประเทศเกาหลีใต้ ร่วมกับ นาย โน มัน ซก อัยการสูงสุด สำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมองค์กร สำนักงานอัยการสูงสุด สาธารณรัฐเกาหลี เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และสานต่อความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงานที่ดำเนินมายาวนาน รวมทั้งหารือกรณีความร่วมมือทางอาญา และการลักลอบค้ายาเสพติด ตลอดจนประสานความร่วมมือ ในการเร่งรัดติดตามจับกุม ในกรณีหากมีผู้ต้องหาชาวเกาหลีใต้ก่อเหตุในประเทศไทย มาดำเนินคดี   

สำหรับความร่วมมือแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ได้ประชุมทวิภาคีกับประเทศกัมพูชา และ ประเทศลาว ร่วมกับ นาย ซาร์ โสขะ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกัมพูชา และ พล.อ.วิไล หล้าคำฟอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ สปป.ลาว ทั้ง 2 ประเทศยินดีที่จะเพิ่มการปราบปรามอาชญากรรมข้ามพรมแดน ควบคุมและปกป้องพื้นที่ชายแดน เพิ่มความเข้มงวดตรวจตราด่านเข้า-ออก ปิดกั้น เส้นทางข้ามชายแดนขององค์กรอาชญากรรม แลกเปลี่ยนข่าวกรอง ส่งต่อข้อมูลแผนประทุษกรรมของคนร้าย เร่งปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ ระดมกวาดล้างบุคคลหลบหนีเข้าเมือง กรณีชาวไทยเป็นเหยื่อ ให้เร่งรัดช่วยเหลือ สืบสวนดำเนินคดีกับนายทุนต่างชาติ และร่วมมือจับกุมอาชญากรที่หลบหนีเข้าประเทศเพื่อส่งกลับประเทศที่ร้องขอ
 
พล.ต.ท.ประจวบฯ รรท.รอง ผบ.ตร.กล่าวทิ้งท้ายว่า ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะร่วมมือกับทุกประเทศสมาชิก ตลอดจนหน่วยงานความมั่นคงทั้งในและระหว่างภูมิภาค ที่จะส่งเสริมความร่วมมือทั้งในระดับพหุภาคีและระดับสากล เคียงข้างและร่วมมือกันป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติและปัญหาความมั่นคงทุกประเภท นำไปสู่ความสำเร็จในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ทุกประเภทในภาพรวม เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนมีความปลอดภัย มีสันติภาพและความมั่นคงอย่างยั่งยืน 

เมียนมาโบ้ยความผิด 'ชาติเพื่อนบ้าน' ปราบแก๊งสแกมเมอร์ไม่ได้ ทำชายแดนรุนแรงขึ้น

(22 ม.ค.68) สำนักข่าว Irrawaddy รายงานว่า ภายใต้แรงกดดันจากจีนที่ต้องการให้เมียนมาดำเนินการปราบปรามปัญหาแก๊งหลอกลวงออนไลน์ตามแนวชายแดน รัฐบาลทหารเมียนมาได้กล่าวหาว่าเป็นความผิดของประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธ ที่ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้สำเร็จ

รัฐบาลทหารเมียนมาออกแถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ระบุว่า ศูนย์ปฏิบัติการหลอกลวงออนไลน์ที่ตั้งอยู่ตามแนวชายแดนได้รับการสนับสนุนด้านไฟฟ้าและอินเทอร์เน็ตจากประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมทั้งกล่าวว่า มีองค์กรอาชญากรรมที่ดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งยังได้รับอาวุธ กระสุน และวัสดุก่อสร้างจากประเทศเพื่อนบ้าน ถึงแม้จะไม่ได้ระบุชื่อประเทศโดยตรง แต่มีการคาดการณ์ว่าเป็นประเทศไทย

รัฐบาลเมียนมาขอความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้าน ในแถลงการณ์ รัฐบาลทหารเมียนมาอ้างว่า แก๊งหลอกลวงตามแนวชายแดนดำเนินการโดยชาวต่างชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจำเป็นต้องมีความร่วมมือร่วมกันในการปราบปรามการหลอกลวงออนไลน์ โดยระบุว่า ที่ผ่านมารัฐบาลเมียนมาได้จับกุมชาวต่างชาติ 55,711 ราย ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ฐานเกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงออนไลน์และได้ส่งตัวกลับประเทศต้นทางแล้ว

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลทหารเมียนมายอมรับว่าไม่สามารถควบคุมพื้นที่ที่แก๊งเหล่านั้นตั้งอยู่ได้ เนื่องจากสถานการณ์ไม่มั่นคง พร้อมกล่าวหากลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธต่างๆ ว่าพัวพันกับปฏิบัติการของแก๊งเหล่านั้น

อย่างไรก็ตาม ในแถลงการณ์ดังกล่าวไม่ได้มีการกล่าวถึงนายซอ ชิต ทู หัวหน้ากองกำลังพิทักษ์ชายแดนรัฐกะเหรี่ยง (BGF) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทหารเมียนมาและได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่รับหน้าที่ดูแลบ่อนพนันและแก๊งฉ้อโกงออนไลน์ในเมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา โดยได้รับการคุ้มครองจากรัฐบาลเมียนมา และหลายประเทศ เช่น อังกฤษ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อนายซอ

ในขณะที่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติเมียนมา (NUG) สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) และกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยแห่งสหพันธรัฐ ซึ่งเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหาร ได้ออกแถลงการณ์ร่วมกัน โดยระบุว่า กองกำลัง BGF ที่สนับสนุนรัฐบาลทหาร รวมถึงกลุ่มพันธมิตรติดอาวุธเป็นผู้รักษาความปลอดภัยให้แก่แก๊งหลอกลวงออนไลน์บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา และได้ประกาศความตั้งใจที่จะดำเนินการป้องกันไม่ให้เมียนมากลายเป็นศูนย์กลางของการฉ้อโกงออนไลน์ที่ส่งผลกระทบทั่วโลก พร้อมเรียกร้องให้ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน อินเดีย บังกลาเทศ ลาว และไทย ร่วมมือในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ

ที่เมืองเมียวดี ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าชายแดนสำคัญระหว่างเมียนมาและไทย ถูกขนานนามว่าเป็นแหล่งรวมของแก๊งหลอกลวงออนไลน์ที่ดำเนินการโดยกลุ่มอาชญากรรมชาวจีน โดยมีจุดสำคัญในเมืองชเวก๊กโก่และ KK Park ซึ่งเป็นศูนย์รวมของอาชญากรรมข้ามชาติ ทั้งการหลอกลวงออนไลน์และการค้ามนุษย์ รวมถึงการบังคับใช้แรงงานและการทรมาน

ตั้งแต่เกิดการรัฐประหารในปี 2021 ศูนย์หลอกลวงออนไลน์ตามแนวชายแดนได้ผุดขึ้นมากมาย โดยหลายกลุ่มย้ายฐานจากรัฐฉานตอนเหนือมายังเมียวดี หลังจากที่รัฐบาลจีนและรัฐบาลทหารเมียนมาได้บุกปราบปรามแก๊งอาชญากรเหล่านี้

ชื่อของเมืองเมียวดีได้รับความสนใจอีกครั้งในเดือนที่ผ่านมา หลังจากมีรายงานของกรณีซิงซิง ดาราจีนที่ถูกล่อลวงมายังประเทศไทยก่อนถูกแก๊งค้ามนุษย์ข้ามชายแดนหลอกไปบังคับใช้แรงงานในศูนย์หลอกลวงออนไลน์ เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบให้นักท่องเที่ยวชาวจีนยกเลิกการจองทัวร์นมายังประเทศไทย และสถานทูตจีนได้ออกประกาศเตือนการเดินทาง ขณะที่หวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีนได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมมือในการปราบปรามการฉ้อโกงข้ามชายแดน

ก่อนหน้านี้  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและการสื่อสารของรัฐบาลทหารเมียนมา นายเมีย ทุน อู ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีดิจิทัลอาเซียนในกรุงเทพฯ และให้คำมั่นที่จะร่วมมือกับสมาชิกอาเซียนในการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชาติอย่างเต็มที่

ตำรวจภูธรภาค 2 ทลายออฟฟิศออนไลน์เถื่อน จับกุมชาวจีน 12 ราย เร่งขยายผลเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานนี้ (7 ก.พ.68) เวลา 08.30 น. ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท. ยิ่งยศ เทพจำนงค์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 (ผบช.ภ.2) ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.ธวัชเกียรติ จินดาควรสนอง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี (ผบก.ภ.จว.ชลบุรี) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรบางละมุง นำหมายค้นเข้าตรวจสอบอาคารแห่งหนึ่งในพื้นที่ ตำบลหนองปลาไหล อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี หลังได้รับเบาะแสจากประชาชนว่ามีการลักลอบดำเนินกิจกรรมออนไลน์ต้องสงสัย จากการตรวจค้น พบชาวจีนจำนวน 12 ราย ซึ่งในจำนวนนี้ 2 รายอยู่ในประเทศไทยเกินกำหนด (Overstay) นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังตรวจพบอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมออนไลน์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์เปิดใช้งานอยู่ 10 เครื่อง โทรศัพท์เคลื่อนที่ 61 เครื่อง จากการตรวจสอบเบื้องต้น สันนิษฐานว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าวอาจมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับธุรกิจเงินกู้ออนไลน์ ที่ให้บริการแก่ลูกค้าชาวจีน ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่าง ขยายผลการสอบสวน เพื่อเชื่อมโยงไปยังเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการตามกฎหมายอย่างถึงที่สุด และบันทึกข้อมูลเป็นบุคคลต้องห้ามหรือลงแบล็กลิสต์ (Blacklist) เพื่อสกัดกั้นบุคคลไม่พึงประสงค์เข้าสู่ประเทศไทย  

ตำรวจภูธรภาค 2 จะไม่ยอมให้มิจฉาชีพข้ามชาติ หรือกลุ่มอาชญากรใด ๆ ใช้พื้นที่ตำรวจภูธรภาค 2 เป็นแหล่งซ่องสุมหรือก่ออาชญากรรมอย่างเด็ดขาด เราจะเดินหน้ากวาดล้างเครือข่ายมิจฉาชีพให้สิ้นซาก ใช้มาตรการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น ทุกคนที่คิดละเมิดกฎหมายต้องได้รับโทษ ไม่มีข้อยกเว้น ไม่มีที่ยืนในสังคม!  ขอเตือนทุกกลุ่มอาชญากร อย่าคิดว่าจะรอดพ้นจากเงื้อมมือกฎหมาย! ตำรวจภูธรภาค 2 พร้อมเดินหน้ากวาดล้างทุกเครือข่ายอาชญากรรม ไม่ว่าจะเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ อาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือกลุ่มผู้กระทำผิดในทุกรูปแบบ เราจะลุยเต็มกำลัง ไม่มีละเว้น!

ตำรวจภูธรภาค 2 ขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน หากพบเบาะแสเกี่ยวกับอาชญากรรม หรือบุคคลต้องสงสัย แจ้งข้อมูลได้ทันทีที่สถานีตำรวจใกล้บ้าน หรือโทรแจ้งสายด่วน 191 และ 1599 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ข้อมูลของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับ และเราจะจัดการกับอาชญากรให้ถึงที่สุด!

นายกรัฐมนตรีมอบนโยบายพร้อมทั้งกล่าวขอบคุณในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการสัมมนาข้าราชการตำรวจผู้บริหาร ระดับผู้บัญชาการหรือเทียบเท่า และผู้บังคับการหรือเทียบเท่า

(19 ก.พ.68) เวลา 15.00 น. น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบนโยบาย เรื่อง “นโยบายรัฐบาลในการจัดการปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติยุค Digital Disruption” แก่ข้าราชการตำรวจระดับผู้บริหารทั่วประเทศ ในโครงการสัมมนาผู้บริหาร ระดับผู้บัญชาการหรือเทียบเท่า และผู้บังคับการหรือเทียบเท่า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมรามา การ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตทุ่งสองห้อง กรุงเทพมหานคร โดยมี พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ , รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ , จเรตำรวจแห่งชาติ , ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และข้าราชการตำรวจที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 337 คน แบ่งเป็นระดับผู้บัญชาการหรือเทียบเท่า จำนวน 44 คน และระดับผู้บังคับการหรือเทียบเท่า จำนวน 293 คน ให้การต้อนรับและรับมอบนโยบาย

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอขอบคุณข้าราชการตำรวจทั่วประเทศในการปฏิบัติหน้าที่ปราบปรามอาชญากรรมในทุกมิติ ขอให้ตำรวจทั่วประเทศรับมือและปราบปรามอาชญากรรมอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ คือเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด และอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยรัฐบาลพร้อมที่จะสนับสนุนสำนักงานตำรวจแห่งชาติในทุกด้าน โอกาสนี้ขอมอบนโยบาย 3 เรื่อง ได้แก่

1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ แสวงหาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงผลักดันการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน เช่น มาตรการยึดทรัพย์ผู้กระทำความผิดโดยเฉพาะสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ

2. การแสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศและองค์กรภูมิภาค โดยใช้ช่องทางต่างๆ เช่น Interpol, Europol, ASEANAPOL รวมถึงความสัมพันธ์แบบทวิภาคี

3. สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องดำเนินการทางวินัยและอาญาแก่ข้าราชการตำรวจที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมอย่างเด็ดขาด เพื่อยกระดับมาตรการการลงโทษ และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี

ทั้งนี้ โครงการสัมมนาผู้บริหารระดับผู้บัญชาการหรือเทียบเท่า และผู้บังคับการหรือเทียบเท่า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 21 กุมภาพันธ์ 2568 โดย พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานเปิดโครงการ ซึ่งได้กล่าวแก่ข้าราชการตำรวจที่ร่วมโครงการ ว่า โครงการนี้เป็นเจตนารมณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีกองบัญชาการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ สิ่งที่อยากเน้นย้ำคือ mindset ทัศนคติของตำรวจที่จะใช้อำนาจตามกฎหมายที่ถูกที่ควร ซึ่งด้วยความเป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วย ย่อมต้องไม่ปล่อยปละละเลยในการปฏิรูปตัวเองก่อน จากนั้นนำสิ่งที่ได้จากการสัมมนาลงไปมอบต่อ และกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อทำให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นที่ยอมรับของประชาชน ย้ำว่าตำรวจทำดีต้องชื่นชม ตำรวจที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ทำผิดกฎหมาย รับผลประโยชน์โดยมิชอบ นำมาซึ่งความเสื่อมเสียของหน่วยงาน ไม่ใช่เรื่องที่ต้องปกป้อง แต่ต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาด

นอกจากนี้ ขอให้ตำรวจทุกนายต้องพิทักษ์ปกป้องสถาบัน และพิทักษ์ปกป้องประชาชน นำมาซึ่งสันติและความสงบเรียบร้อย ซึ่งเป็นหัวใจของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์อย่างแท้จริง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top