Saturday, 19 April 2025
อัษฎางค์ยมนาค

'อัษฎางค์' แนะ!! คนไทยปล่อยวางกระแสโฆษณา Apple เชื่อ!! ดูถูกหรือไม่? คนทั้งโลกรู้จักไทยวันนี้ดีพออยู่แล้ว

(1 ส.ค. 67) อัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

โฆษณาของ Apple อีกสักที

ผมอยู่เมืองนอกมานานมากพอสมควร ไอ้เรื่องฝรั่งที่มีมุมมอง ความรู้หรือทัศนคติแบบดูถูก เหยียดหยามหรือแค่เข้าใจผิด เกิดขึ้นอยู่เสมอ

แต่เวลาที่ถูกฝรั่งเข้าใจผิด หรือดูถูก เหยียดหยามก็ตาม ไม่เคยทำให้ผมโกรธจนตัวเนื้อสั่น แต่ผมกลับมีความรู้สึกเดียวคือ ไอ้ฝรั่งคนนี้ ‘กระจอก โคตรบ้านนอก ไดโนเสาร์’

เพราะอะไรถึงคิดแบบนั้น?

ก็เพราะคนเขารู้จักเมืองไทยกันทั้งโลกแล้ว แกมาจากหลังเขาลูกไหนถึงไม่รู้ว่าเมืองไทยเป็นยังไง Google Internet ใช้เป็นรึเปล่า ทำไมถึงคิดว่าเมืองไทยเป็นอย่างนั้น

คือแทนที่จะโกรธจนตัวสั่นที่ถูกฝรั่งดูถูก ผมดูถูกมันกลับไปแล้วในทันที เพราะฉะนั้น สบายตัว

ใครพูดอะไรออกมา ย่อมบ่งบอกตัวตนของเขา ‘คนโง่ก็พูดอะไรโง่ ๆ ออกมา’ เราจะต้องไปเต้นแร้งเต้นกาทำไม

Apple ทำโฆษณาแบบนี้ออกมา ก็บ่งบอกตัวของ Apple เอง บ่งบอกความเป็นอเมริกันชนของตนเอง และจะโดนฝรั่งชาติอื่น ๆ หัวเราะเยาะไปเอง

แต่ผมว่า มันคงไม่ถึงกับต้องโยน iPhone iPad Apple Watch ทิ้งแล้วแห่กันย้ายค่ายกระมัง

คือผมไม่รู้สึกอะไรเลยถ้าใครจะโกรธ Apple หรือใครจะเลิกใช้ จะย้ายค่าย อันนั้นมันเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน ซึ่งทำได้อยู่แล้ว และผมเคารพการตัดสินใจส่วนตัวของแต่ละคน

แต่คงไม่ต้องถึงขั้นออกมารณรงค์ ชักชวนหรือแห่กันแบน 

ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ ตามความคิดเห็นหรือความรู้สึกของแต่ละคน

อย่างไรก็ตาม การที่มีกระแสไม่พอใจในเมืองไทยหนัก ๆ แบบนี้ ผมว่าก็ดีเหมือนกัน เพราะเป็นเสียงสะท้อนที่ดังกลับไปถึง Apple และชาวอเมริกัน (บางคน) ที่เข้าใจอะไรผิด ๆ คิดว่าตัวเองนำสมัยและเป็นเจ้าโลกอยู่ฝ่ายเดียว และให้ชาวโลกได้รู้ถึงความกระจอก กับความรู้ที่ล้าสมัย และความเป็นฝรั่งบ้านนอก เป็นกบในกระลาอเมริโกย ที่ไม่เคยออกมาดูโลกว่า เขาไปกันถึงไหนแล้ว

สรุป ความเห็นและคำวิพากษ์วิจารณ์ของผมคือ…

1. ผมเห็นด้วยกับกระแสความไม่พอใจ ที่จะดังสะท้อนไปถึง Apple และชายอเมริกัน (บางคน) 

2. ผมเคารพในความคิดเห็นของแต่ละคนต่อ Apple หลังจากชมโฆษณาชิ้นนี้ 

3. แต่ไม่เห็นด้วยกับการตีโพยตีพายอะไรกันจนมากมาย โดยเฉพาะเรื่อง 'กระแสแห่ตามกัน'

เพราะไอ้กระแสแห่ตามกันนี้มันอันตราย เหมือนที่เกิดขึ้นกับเรื่องการบ้านการเมืองของไทย ที่ชอบใครเกลียดใครก็แห่ตามกันจนไม่ลืมหูลืมตา แล้วมันเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เพราะมันบ่งบอกว่าคนไทยหลอกง่าย การจะหลอกหรือจะสร้างกระแสให้ชอบหรือเกลียดใครหรืออะไรก็ทำได้ไม่ยาก เพราะถ้าจุดกระแสอะไรที่ขึ้นมาได้ คนไทยก็มักแห่ตามกัน

ผมเชื่อในแนวคิดที่ว่า ‘ถ้าเราเป็นทองแล้วมีคนเห็นเราเป็นอึ เราจะไม่มีวันกลายเป็นอึ แต่จะยังคงเป็นทองตลอดไป’

คนที่เป็นทองก็มักไม่นิยมที่จะเอา ‘พิมเสนไปแลกกับเกลือ’

โฆษณาแบบนี้ ทำให้เราคนไทยและชาวโลกได้ตาสว่างว่า คนอเมริกันหลงตัวเองอยู่ในกะลา และเป็นการเปิดเผยตัวตนออกว่าว่าตัวเองเป็น ‘ไอ้กระจอก โคตรบ้านนอก ไดโนเสาร์’

‘เป็นผู้ที่ครอบครองเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่คนของตนโคตรล้าสมัย’

เห็นด้วยหรือเห็นต่างจากผมก็ไม่มีปัญหาอะไร ผมก็แค่แสดงความคิดเห็นส่วนตัวในบ้านของตัวเอง

'อัษฎางค์' ยก!! ปัญหาด้าน 'ปัญญา' เรื่องใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของเมืองไทย หลัง 'โค้ชการเงินดัง' พลาด!! บอก 'ศาล รธน.' ไม่ได้มาจากประชาชน

เมื่อวานนี้ (8 ส.ค.67) อัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ในหัวข้อ 'ปัญหาใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของเมืองไทยคือ คนไทยจำนวนมากมีปริญญาแต่ไม่มีปัญญา' ระบุว่า...

พอล ภัทรพล โพสต์ข้อความว่า "ที่น่ายุบที่สุด คือองค์กรที่อำนาจมาก แต่ประชาชนไม่ได้เลือก"

อัษฎางค์ ยมนาค จะเอาความรู้สมัยมัธยมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยปี 1 มาทบทวนให้ใหม่อีกครั้ง

'องค์กรที่พอลพูดถึง' ก็คงไม่พ้น 'ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' ที่เพิ่งตัดสินยุบพรรคก้าวไกล

อยากถาม พอล กูรูการเงินคนดังว่า ที่วิจารณ์แบบนั้น รู้หรือไม่ว่า องค์กรที่ว่านั้น ซึ่งหมายถึง 'ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' ประชาชนไม่ได้เลือก แล้วใครเลือก?

สงสัยมาก ๆ ว่า พอล เรียนหนังสือจบมัธยมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยมาได้ยังไง เพราะวิชากฎหมายพื้นฐานต้องเรียนมาแล้วทุกคน

เริ่มต้นพื้นฐานแบบนี้เลยนะ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 200 กำหนดให้ 'ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน ซึ่งทั้ง 9 คนนี้ได้รับการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์'

ถ้าพระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้ง พอลมีปัญหาอะไรหรือเปล่า?

พอล มีปัญหาอะไรกับพระมหากษัตริย์หรือไม่?

หรือพอลเป็นปฏิปักษ์ต่อพระมหากษัตริย์หรือเปล่า?

ที่นี้มาอธิบายแบบรายละเอียดขั้นสูงขึ้นมาอีกนิด เพราะภาษากฎหมายบางที่มัน Complicated

คำว่า 'พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' คือภาษากฎหมาย ที่คนไม่ได้เรียนจบมหาวิทยาลัย หรือบางคนแม้จะจบมหาวิทยาลัย แต่ไม่ได้เรียนนิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์อาจไม่เข้าใจว่า...

*คำว่า 'พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' แต่ความจริงผู้แต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัวจริง 'ไม่ใช่พระมหากษัตริย์'

การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติก็จริง แต่ไม่ทรงมีอำนาจทางการเมืองหรืออำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน อำนาจแท้จริงที่ทรงมีเรียกว่า 'อำนาจทางพิธีการ' เท่านั้น

**ผู้ที่มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัวจริงคือ 'วุฒิสภา'

***โดยผู้ได้รับการคัดเลือกหรือสรรหาให้ดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องได้รับความเห็นชอบจาก 'วุฒิสภา' ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

เมื่อได้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนแล้ว จึงทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย

พระปรมาภิไธย หมายถึง พระนามของพระมหากษัตริย์ราชเจ้า ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ หลังจากที่ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว

ที่นี้เข้าใจคำว่า 'อำนาจทางพิธีการ' ของพระมหากษัตริย์หรือยัง?

การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ว่าจะเป็นประเทศใดในโลก และไม่ว่าจะเรียกชื่อต่างกันอย่างไร ก็มีหลักการเดียวกันทั้งโลก

>> นั่นคือ ผู้เลือกคณะรัฐมนตรี คือ รัฐสภา (วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนฯ)

>> ผู้เลือกศาลหรือตุลาการ คือ รัฐสภา (วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนฯ)

>> ส่วนผู้ที่เลือกผู้แทนราษฎร (สส.) วุฒิสมาชิก (สว.) ซึ่งเป็นสมาชิกของรัฐสภา คือ ประชาชน

ดังนั้นอธิบายวิชากฎหมายเบื้องต้น ซึ่งมีสอนในชั้นมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัยตั้งแต่ชั้นที่ 1 ซ้ำให้พอลได้ทบทวนแล้ว (ไม่รู้ว่าตอนเรียนสอบผ่านหรือเรียนหนังสือจบมาได้ยังไง)

พอล ได้คำตอบแล้วหรือยังว่า 'องค์กร' ที่อำนาจมาก (ซึ่งพอลหมายถึง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ) แต่ 'ประชาชนไม่ได้เลือก' ตามที่พอลบ่นออกมา

ความจริงแล้ว!! ใครเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ?

คำตอบคือ 'วุฒิสมาชิก' เลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยที่ วุฒิสมาชิก (ตามวิธีการสรรหาในปัจจุบัน) ประชาชนเป็นคนเลือกเข้าสภาอีกที

ดังนั้น คำตอบสุดท้ายของสมการนี้คือ 'ประชาชน' ก็เป็นผู้เลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นั่นเอง 

การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ส่วนใหญ่ในโลก ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยโดยตรง แต่เป็นระบบตัวแทน

ระบบตัวแทนก็คือ ประชาชน เลือกผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิก เข้าไปทำงานการเมืองและบริหารราชการแผ่นดินแทนประชาชน

แล้ว…ผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิก ซึ่งทำหน้าที่ในรัฐสภา ก็เป็นผู้เลือกคณะรัฐมนตรีและศาล แทนประชาชน

ดังนั้น คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภาและตุลาการในศาล ซึ่งเป็น 3 องค์กรที่อำนาจมากที่สุด (เนื่องจากเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของปวงชนชาวไทยทุกคน) โดยใช้อำนาจดังกล่าวนั้นแทนประชาชนทุกคน

- เข้าใจหรือยังว่า
- ประชาชนเลือกผู้แทนฯ 
- ผู้แทนฯ เลือกรัฐมนตรีและศาล
- เลือกได้แล้วจึงทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย

*พระมหากษัตริย์มีอำนาจและหน้าที่ เพียงแค่ลงชื่อหรือเซ็นชื่อรับรองเท่านั้น 

**พระมหากษัตริย์ ไม่มีอำนาจเลือกใครมาทำงานการเมืองหรือบริหารราชการแผ่นดินเลย

***ผู้มีอำนาจเลือกใครมาทำงานการเมืองหรือบริหารราชการแผ่นดินคือ ประชาชนอย่างเรา ๆ ทุกคน

สิ่งที่พอล ภัทรพล โพสต์ไว้ว่า "ที่น่ายุบที่สุด คือองค์กรที่อำนาจมาก แต่ประชาชนไม่ได้เลือก"

เป็นคำพูดหรือประโยคของคนที่เหมือนไม่ได้รับการศึกษา หรือเหมือนจบการศึกษามาโดยไม่มีความรู้ใด ๆ ติดตัวมา นอกจากกระดาษหนึ่งใบที่เรียกว่า 'ใบปริญญา' แต่เหมือนว่าอยากจะแสดงความเห็นอย่างคนที่มีการศึกษา 

พอลคิดว่า เราเลือกผู้แทนฯ ให้ไปนั่งพูดในสภาเท่านั้นหรือ? 

ผู้แทนฯ ของเราคือ ผู้มีอำนาจล้นฟ้าเลยนะ เพราะเขาใช้อำนาจอธิปไตยแทนเรา เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน 

"คำว่าบริหารราชการแผ่นดิน ก็รวมถึงการเลือกคนมาทำงานบริหารราชการแผ่นดิน เช่น คณะรัฐมนตรีและศาลด้วยนั่นเอง"

คิดก่อนพูด มีความรู้จริงค่อยแสดงความคิดเห็น

เพราะคำพูดหรือความเห็นใด ๆ ของใคร บ่งบอกภพภูมิของคน ๆ นั้น

คนเป็นกูรูทางการเงิน แต่ไม่รู้เรื่องการเมืองและกฎหมายพื้นฐานเลยไม่ได้นะ เพราะการเงินมีปัจจัยสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับการเมืองและกฎหมาย

พูดแต่เรื่องที่รู้หรือเชี่ยวชาญนะดีแล้ว
แต่อย่าไปพูดเรื่องที่ไม่รู้
เพราะ…ไม่พูด คนก็ไม่รู้ว่า เราโง่ หรือไม่รู้!

กรุณาแสดงความเห็นด้วยข้อเท็จจริงและด้วยความสุภาพ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top