Tuesday, 14 May 2024
อลงกรณ์พลบุตร

‘อลงกรณ์’ ชู 12 แนวทางปฏิรูป ศก.ไทยตอบโจทย์อนาคต ภายใต้ยุทธศาสตร์ ‘สร้างเงิน - สร้างคน - สร้างชาติ’

(23 มี.ค.66) นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคฯ และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์กล่าวถึงความเห็น และข้อเสนอแนะของภาคเอกชน ที่มีต่อความคาดหวังในนโยบายของพรรคการเมือง ว่า พรรคประชาธิปัตย์เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนรวมทั้งมุมมองวิสัยทัศน์ของภาคเอกชนล่าสุดเกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตย การพัฒนาประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของพรรคประชาธิปัตย์บนหลักการ 3 ประการคือ อุดมการณ์ประชาธิปไตย นโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยม และแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

“พรรคประชาธิปัตย์เข้าใจในความคาดหวังของภาคเอกชนที่มีต่อนโยบายของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งครั้งนี้ซึ่งในส่วนพรรคประชาธิปัตย์มีแนวทางนโยบายอย่างน้อย 12 ประการ เสมือนคานงัดในการสร้างจุดเปลี่ยนประเทศไทย สู่ ‘ก้าวใหม่ ไทยแลนด์’ โดยพร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคเอกชน ได้แก่

1. การพัฒนาการเมือง โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย
2. การขจัดคอร์รัปชั่น โดยการสร้างระบบธรรมาภิบาล
3. การส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เสรี และเป็นธรรม ลดการผูกขาดทางเศรษฐกิจ และพลังงาน
4. การปฏิรูประบบราชการโดยลดอำนาจรัฐ ลดขนาดภาครัฐ 
-มุ่งกระจายอำนาจและทรัพยากรสู่ท้องถิ่นและชุมชน (Community Empowerment) 
-การเพิ่มบทบาทภาคเอกชนและชุมชนท้องถิ่นทางเศรษฐกิจ
-การพัฒนาเมือง และชนบท

5. การปฏิรูปภาคเกษตร ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม 
-การส่งเสริมเกษตรปลอดภัยและ เกษตรอินทรีย์ 
-การยกระดับเกษตรรายย่อยเป็น  เกษตรแปลงใหญ่ 
-การพัฒนาระบบสหกรณ์ 
-การส่งเสริมสตาร์ทอัพเกษตร และ เอสเอ็มอี.เกษตร 
-การส่งเสริมอาหารแห่งอนาคต
-และการทำตลาดเชิงรุก ทั้งออนไลน์และออฟไลน์

6. การพัฒนาโลจิสติกส์ เชื่อมไทย-เชื่อมโลก 
-การเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศ

7. การสร้างฐานการผลิต การแปรรูปการตลาด และกระจายการลงทุนสู่ทุกภูมิภาค
-ภายใต้ฐานใหม่ 18 กลุ่มจังหวัดโดยเฉพาะคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเกษตร (Agroindustry)

8. การสร้างคนและการ Reskill-Upskill ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน
-โดยเฉพาะอุตสาหกรรมใหม่ (12  S-Curves)
-การส่งเสริมMSMEและStartup ด้วยกองทุนเอสเอ็มอี.
-และการทำงานแบบสร้างสรรค์

9. สร้างระบบธนาคาร และระบบ การเงินของเศรษฐกิจฐานรากด้วย
-ธนาคารหมู่บ้าน 
-ธนาคารชุมชน 80,000 หมู่บ้าน  และชุมชน 77 จังหวัด 
-รวมทั้งส่งเสริมธนาคารเพื่อการลงทุนและเวนเจอร์แคปิตอล

10. ขับเคลื่อนภาคการผลิต (Real  Sector) ภาคบริการภาคการท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมและซอล์ฟพาวเวอร์ (Soft Power)

11. การปฏิรูปการบริการภาครัฐ
-โดยปรับปรุง และยกเลิกกฎหมาย กฎระเบียบ ที่เป็นอุปสรรค และภาระทางการค้าธุรกิจและการบริการประชาชน

12. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าการลงทุนเสรี (FTA) และกลยุทธ์มินิ เอฟทีเอ. (Mini FTA) ที่มีอยู่เดิมและข้อตกลงใหม่
-ปูทางสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการของไทยในเวทีแข่งขันระหว่างประเทศ
-พร้อมกับการใช้กองทุน เอฟที เอ.รองรับผลกระทบทุกด้าน

'อลงกรณ์' ปักธง 10 นโยบาย ยกระดับเกษตรกรรมไทย ใต้ยุทธศาสตร์ 'เกษตรปลอดภัย - มั่นคง - ยั่งยืน'

(2 พ.ค.66) นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรค ในฐานะทีมเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ เข้าร่วมการดีเบตในหัวข้อ “พรรคการเมืองกับนโยบายเกษตรกรรมยั่งยืนและปัญหาความมั่นคงทางอาหาร” ที่อาคารชีววิถี จัดโดยภาคีเครือข่ายสมาคมสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรอินทรีย์ ไบโอไทย มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ 

โดยกล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งเป้าหมายของนโยบายเกษตรทันสมัยสู่ครัวไทยครัวโลก
1. ประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารท็อปเทนของโลกอย่างมีความรับผิดชอบต่อเกษตรกรและผู้บริโภค
2. เพิ่ม GDP เกษตรเป็น 10%
3. เพิ่มรายได้เกษตรกร 100%

จึงได้กำหนด 10 นโยบายเกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรสุขภาพ และความมั่นคงทางอาหารเชิงปริมาณและคุณภาพภายใต้ยุทธศาสตร์ '3 เอส' (3 S : safety security sustainability) เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคง เกษตรยั่งยืนตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนฐานเทคโนโลยี ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาไทย

1. ส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน ขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์ 2 ล้านไร่ เดินหน้าเกษตรคาร์บอนต่ำลดโลกร้อน
2. เติมทุนเกษตรอินทรีย์แปลงใหญ่ 3 ล้าน ส่งเสริมสนับสนุนสภาเกษตรอินทรีย์ PGS แห่งประเทศไทยเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ออร์แกนิกและกสิกรรมธรรมชาติ
3. เพิ่มปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ 5 ล้านตัน จัดตั้งศูนย์บริการปุ๋ย-น้ำชุมชนทุกตำบล
4. ตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรนวัตกรรม เครื่องจักรกล (AIM C:Agritech Innovation Machine Center) Application Agrimap ส่งเสริมการวิจัยพัฒนานวัตกรรมชีวภัณฑ์ เกษตรอัจฉริยะ เกษตรอินทรีย์ อบรมบ่มเพาะและถ่ายทอด พัฒนาเกษตรกร-สหกรณ์และสถาบันเกษตรกร
5. คุ้มครองสิทธิเกษตรกร พันธ์ุพืชพันธ์ุสัตว์และความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity ) โดยเฉพาะในส่วนเกี่ยวข้องกับ FTA ที่จะเจรจาและข้อตกลงอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งปัจจุบันและอนาคตเช่น UPOV-CPTPP และ FTA EU /UAE EFTA
6. เร่งสนับสนุนการขับเคลื่อนกลไกเกษตรกรรมยั่งยืนระดับชาติ คณะกรรมการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง คณะกรรมการเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล คณะกรรมการเกษตรกรรมยั่งยืนระดับพื้นที่ 77 จังหวัด
7. สนับสนุนความมั่นคงทางอาหารทั้งเชิงปริมาณ คุณภาพ และโภชนาการที่ดี
8. ส่งเสริมอาหารแห่งอนาคต เช่น โปรตีนทางเลือกใหม่ได้แก่โปรตีนจากพืช โปรตีนจากแมลงสาหร่าย ผำ แหนแดง อาหารฮาลาล
9. ส่งเสริมเกษตรปลอดภัย เกษตรสุขภาพ ลดใช้ปุ๋ยเคมีและสารพิษอันตราย 
10. สร้างกลไกใหม่ ขยายความร่วมมือภาคีเครือข่ายระหว่างภาคเอกชน ภาคเกษตรกรและภาควิชาการ และภาครัฐเพิ่มบทบาทด้านเกษตรกรรมยั่งยืนของ 'มกอช.' 'อย.' และกรมพัฒนาที่ดิน กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมข้าว กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นต้น

‘อลงกรณ์’ ชู 10 นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมประมงครบวงจร ภายใต้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสีฟ้า หวังดันไทย สู่ ‘ผู้นำด้านประมง’

(5 พ.ค. 66) นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเพชรบุรี เขต 1 ในฐานะทีมเศรษฐกิจกล่าวในเวทีดีเบต ‘อนาคตประมงไทยหลัง
การเลือกตั้ง’ เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 66 ที่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ThaiPBS) ว่า พรรคประชาธิปัตย์เชื่อมั่นในศักยภาพประมงไทยโดยยกระดับนโยบายประมงเป็นวาระเร่งด่วนแห่งชาติ บนแนวทางการพัฒนาประมงอย่างยั่งยืน สู่เป้าหมายประเทศผู้นำประมงโลกภายใต้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสีฟ้า (Blue Economy) สร้างมูลค่า 6 แสนล้าน สร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ 5 แนวทาง ได้แก่

1. เร่งรัดพัฒนาอุตสาหกรรมประมง กระจายการลงทุน 18 กลุ่มจังหวัด 
2. สร้างฐานใหม่ เขตเศรษฐกิจพิเศษประมง อ่าวตัว ก., อันดามัน, อ่าวไทย, 4 จังหวัดใต้สุด และทุกภาค 
3. ส่งเสริมการลงทุนประมงไทยในต่างประเทศ 
4. ฟื้นฟูพัฒนาประมงสู่ศักยภาพใหม่ ทั้งประมงนอกน่านน้ำ ประมงพาณิชย์ ประมงพื้นบ้าน อุตสาหกรรมกุ้งไทย และประมงเพาะเลี้ยงรวมถึงอุตสาหกรรมประมงแห่งอนาคต เช่น อุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง อาหารแห่งอนาคต (สาหร่าย โปรตีนทางเลือกใหม่) ประมงอินทรีย์ ประมงมูลค่าสูง (เวชสำอาง วิตามิน ยา อาหารเสริม) และประมงท่องเที่ยว
5. เดินหน้าการทูตเศรษฐกิจเชิงรุก

'อลงกรณ์' เรียกร้องพรรคการเมืองและสว.เคารพเสียงประชาชนหนุน 'ก้าวไกล' ตั้งรัฐบาล พิธาเป็นนายกฯ

นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรัฐมนตรี อดีต ส.ส.และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เขียนเฟสบุ๊คส่วนตัวแสดงความคิดเห็นสนับสนุนพรรคก้าวไกลให้จัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศหลังทราบผลการเลือกตั้งวันนี้(15 พ.ค.)โดยเขียนไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

“ควรเคารพเสียงประชาชน
ให้”ก้าวไกล”ตั้งรัฐบาลปฏิรูปประเทศ”

ประเทศไทยถึงจุดเปลี่ยนสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
เมื่อประชาชนกว่า14ล้านคนเลือกพรรคก้าวไกลเป็นอันดับ1ของประเทศทั้งส.ส.แบบเขตเลือกตั้งและส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ด้วยความเชื่อมั่นว่า พรรคก้าวไกลจะสร้างการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศสู่อนาคตที่ดีกว่าปัจจุบัน

ผมเชื่อว่า นักการเมืองทุกคนไม่ว่าสังกัดพรรคใด คงยอมรับว่า พรรคก้าวไกลเป็นพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งด้วยวิสัยทัศน์ นโยบายและความเป็นผู้นำของคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล โดยไม่มีการซื้อเสียง เป็นชัยชนะที่ขาวสะอาด

ผมหวังว่า ทุกพรรคการเมืองและสมาชิกวุฒิสภาจะเคารพเสียงของประชาชน และเปิดโอกาสให้พรรคก้าวไกลสามารถจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศและคุณพิธาได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 นำประเทศก้าวข้ามความล้าหลังความยากจนและความแตกแยกขัดแย้ง เดินหน้าปฏิรูปประเทศสร้างศักยภาพใหม่ประเทศไทยให้สำเร็จ และสร้างประชาธิปไตยโดยประชาชนของประชาชนเพื่อประชาชนในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข.

อลงกรณ์ พลบุตร
15 พ.ค. 2566

‘อลงกรณ์’ เรียกร้องทุกฝ่ายเคารพเสียงประชาชน หนุน ‘ก้าวไกล’ ตั้งรัฐบาล ดัน ‘พิธา’ เป็นนายกฯ

(15 พ.ค. 66) นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรัฐมนตรี อดีต ส.ส. และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เขียนเฟซบุ๊กส่วนตัวแสดงความคิดเห็นสนับสนุนพรรคก้าวไกลให้จัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศหลังทราบผลการเลือกตั้ง โดยเขียนไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

“ควรเคารพเสียงประชาชน
ให้ ‘ก้าวไกล’ ตั้งรัฐบาลปฏิรูปประเทศ”

ประเทศไทยถึงจุดเปลี่ยนสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เมื่อประชาชนกว่า 14 ล้านคนเลือกพรรคก้าวไกลเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ทั้ง ส.ส.แบบเขตเลือกตั้ง และส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ด้วยความเชื่อมั่นว่า พรรคก้าวไกลจะสร้างการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศสู่อนาคตที่ดีกว่าปัจจุบัน

ผมเชื่อว่า นักการเมืองทุกคนไม่ว่าสังกัดพรรคใด คงยอมรับว่า พรรคก้าวไกลเป็นพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งด้วยวิสัยทัศน์ นโยบายและความเป็นผู้นำของคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล โดยไม่มีการซื้อเสียง เป็นชัยชนะที่ขาวสะอาด

ผมหวังว่า ทุกพรรคการเมืองและสมาชิกวุฒิสภาจะเคารพเสียงของประชาชน และเปิดโอกาสให้พรรคก้าวไกลสามารถจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศและคุณพิธาได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 นำประเทศก้าวข้ามความล้าหลังความยากจนและความแตกแยกขัดแย้ง เดินหน้าปฏิรูปประเทศสร้างศักยภาพใหม่ประเทศไทยให้สำเร็จ และสร้างประชาธิปไตยโดยประชาชนของประชาชนเพื่อประชาชนในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

อลงกรณ์ พลบุตร
15 พ.ค. 2566

‘อลงกรณ์’ นำทีมไทยเยือนจีน ขยายส่งออก กุ้งและผลไม้ พร้อมสำรวจท่าเรือจ้านเจียง เปิดเส้นทางขนส่งสินค้าไปจีน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์เปิดเผยวันนี้ว่าได้นำคณะผู้แทนไทยประกอบด้วยนายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ นายกฤษ อุตตมะเวทิน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายปรัตถกร แท่นมณี กงสุล (ฝ่ายเกษตร) ประจําสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว นายกลศ หิรัญบูรณะ นายกสมาคมและคณะที่ปรึกษาสมาคมการค้าเพื่อความยั่งยืนของเกษตรกร (Commercial Association for Sustainability of Agriculture: CASA)เดินทางเยือนเมืองจ้านเจียงซึ่งเป็นเมืองท่าใหญ่ใต้สุดของมณฑลกวางตุ้งโดยเข้าเยี่ยมชมท่าเรือจ้านเจียงและประชุมหารือกับผู้บริหารของท่าเรือจ้านเจียงเกี่ยวกับการเปิดเส้นทางการขนส่งทางเรือจากไทยมายังท่าเรือจ้านเจียงและยังได้สำรวจตลาดสินค้าเกษตรเชียงหนานเสียซานซึ่งเป็นสาขาของตลาดเชียงหนาน-กวางโจวเป็นตลาดค้าขายผลไม้ใหญ่ที่สุดในจีน

นายอลงกรณ์กล่าวว่า การเปิดเมืองท่าค้าขายให้มากที่สุดเป็นการสร้างโอกาสการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย ท่าเรือจ้านเจียงจึงเป็นอีกทางเลือกของการขนส่งสินค้าทางเรือตอนใต้สุด
ของมลฑลกวางตุ้งโดยใช้เวลาขนส่งจากแหลมฉบังไปท่าเรือจ้านเจียงไม่เกิน3วันรวมทั้งเป็นการรองรับการส่งออกทุเรียนและผลไม้อื่นๆกรณีที่เกิดปัญหาติดขัดบริเวณด่านทางบกเช่นด่านโหย่วอี้กวน ตงชิงและโมฮ่านที่อยู่พรมแดนเวียดนาม-จีนและลาว-จีนเช่นกรณีโควิดหรือกรณีช่วงพีคของผลไม้ไทยและเวียดนามออกพร้อมกัน ยิ่งกว่านั้นยังสามารถส่งออกสินค้าเกษตรอื่นๆรวมทั้งสินค้าของไทยทุกประเภท ประการสำคัญคือ เมืองจ้านเจียงเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมกุ้งของจีนทำให้มีโอกาสที่ไทยจะส่งออกกุ้งมาจ้านเจียงเพิ่มขึ้น

“เมืองจ้านเจียงมีความพร้อมทางด้านระบบห่วงโซ่ความเย็น(Cold chain system) ห้องเย็นอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำและตลาดในมณฑลกวางตุ้ง และมณฑลภาคจะวันตก 13 มณฑล เช่น เสฉวน กุ้ยโจว มหานครฉงชิง ฯลฯ.จะเป็นอีกเส้นทางการขนส่งทางน้ำนอกเหนือจากท่าเรือในเขตปกครองตนเองกว่างสีจ้วง”นายอลงกรณ์กล่าว

สำหรับท่าเรือจ้านเจียง (Zhanjiang Port)
เป็นท่าเรือน้ำลึกทางตอนใต้ที่สําคัญของจีน เปิดให้บริการตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ปี 2499 มีท่าเทียบเรือ และจุดจอดเรือ 162 แห่ง ซึ่งมีศักยภาพสามารถรองรับปริมาณสินค้าได้รวม 346.93 ล้านตัน โดยเป็นศักยภาพ ที่สามารถรองรับตู้คอนเทนเนอร์รวม 800,00 ตู้ TEU/น้ำหนักรวม 9.6 ล้านตัน รองรับการขนถ่ายรถยนต์ 6.275 ล้านคัน/น้ำหนักรวม 124.5 ล้านตัน ผู้โดยสาร 31.78 ล้านคน มีแนวเดินเรือน้ำลึกที่สุดทางภาคใต้ ของจีนรองรับเรือระวาง 400,000 ตันได้ ปัจจุบันมีเส้นทางเดินเรือขนส่งตู้คอนเทเนอร์ 23 เส้นทาง เป็นเส้นทางระหว่างประเทศ 10 เส้นทาง และเส้นทางในประเทศ 13 เส้นทาง รวมถึงเปิดให้บริการการเชื่อมต่อ การขนส่งทางรถไฟเชื่อมกับทางเรือ จํานวน 22 เส้นทาง ในจีน เชื่อมโยงไปมณฑลยูนนาน กุ้ยโจว และหูหนาน เป็นต้น

บริษัทท่าเรือจ้านเจียง กรุ๊ป จํากัด (Zhanjiang Port (Group) Co., Ltd.) รับผิดชอบบริหารพื้นที่ เขตท่าเรือ 4 เขต ได้แก่ เขตท่าเรือเสียซาน เป๋าหม่าน เตี้ยวซุ่นต่าว และตงไหต่าว โดยมีท่าเทียบเรือและจุดเทียบเรือ รวม 36 แห่ง ประกอบด้วย ท่าเทียบเรือบรรทุกน้ำมันดิบ 300,000 ตัน ท่าเทียบเรือแร่เหล็ก 250,000 ตัน ท่าเทียบเรือถ่านหิน 150,000 ตัน ท่าเทียบเรือระวาง 150,000 ตัน และท่าเทียบเรือตู้คอนเทเนเนอร์ระวาง 150,000 ตัน ในปี 2565 เขตท่าเรือในการบริหารของบริษัทฯ มีการขนถ่ายสินค้ารวม 101.39 ล้านตัน โดยเป็น การขนถ่ายตู้คอนเทเนอร์รวม 1.301 ล้านตู้ TEU เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ส่วนตลาดค้าส่งผักผลไม้เจียงหนานเสียซาน เป็นตลาดค้าผักและผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันตก ของมณฑลกวางตุ้ง เป็นสาขาของตชาดเชียงหนานกวางโจวมีพื้นที่กว่า 150,000 ตร.ม. เปิดให้บริการในปี 2559

ตลาดค้าส่งผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเสียซาน
ตลาดค้าส่งผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเสียซาน (Xiashan Sea Food Wholesale Market) เป็นตลาดค้าผลิตภัณฑ์สัตว์ น้ำที่ใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันตกของมณฑลกวางตุ้ง ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเป๋าหม่าน เขตเสียซาน มีพื้นที่ก่อสร้างรวม 408,473 ตร.ม. เป็นศูนย์กลางค้าขายผลิตภัณฑ์กุ้งลําดับต้น ๆ ของโลก (พื้นที่สําหรับ ตลาดซื้อขายกุ้งประมาณ 50,000 ตร.ม.) มีความจุของโกดังห้องเย็นรวม 100,000 ตัน (ห้องละ 5,000 ตัน จํานวน 20 ห้อง) มีโรงงานผลิตน้ำแข็ง 300 ตัน โรงเก็บน้ําแข็ง 1,500 ตัน และมีส่วนของโรงงานแปรรูปกุ้งด้วย เริ่มเปิดดําเนินการเมื่อปี 2555 
สินค้าที่นํามาจําหน่ายในตลาดส่วนใหญ่เป็นกุ้งขาววานาไมสดแช่เย็น มีผู้ประกอบการกุ้ง ในตลาดประมาณ 70-80 ราย การซื้อขายจะคึกคักในช่วงเวลา 18.00-21.00 น.

“หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของเมืองจ้านเจียงมีความประสงค์ที่จะผลักดันให้มีการนําเข้า ผลไม้ไทยผ่านท่าเรือจ้านเจียง เนื่องจากเห็นว่าเมืองจ้านเจียงมีการผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ห่วงโซ่ความเย็นสามารถรองรับและกระจายสินค้าสดได้ดีขึ้นกว่าในอดีต กอรปกับระยะเวลาในการเดินเรือไม่นาน และสามารถกระจายผลไม้ไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของจีนได้โดยสะดวกโดยเฉพาะทางตะวันตกของมณฑลกวางตุ้ง”

นายอลงกรณ์ พลบุตร รักษาการรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เปิดเผยว่าวันนี้ว่าได้ตัดสินใจลงสมัครเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในการประชุมใหญ่พรรควันที่ 9 กรกฎาคมนี้

นายอลงกรณ์กล่าวย้ำว่า วันนี้พรรคประชาธิปัตย์ต้องการก้าวใหม่ของตัวเองและโอกาสใหม่จากประชาชนด้วยการแสดงออกถึงภาวะผู้นำที่เข้มแข็งและกล้าหาญบนจุดยืนประชาธิปไตยที่ชัดเจนนำประเทศออกจากกับดักความขัดแย้งและวงจรอุบาทว์ด้วยหลักนิติรัฐและธรรมาภิบาลสู่เอกภาพและศักยภาพใหม่ของประเทศเพื่ออนาคตที่ดีกว่าของทุกคน โลกเปลี่ยนเร็วและแข่งขันแรงทั้งการเมือง เศรษฐกิจและเทคโนโลยี ประเทศไทยต้องมีพรรคการเมืองที่ทันสมัยก้าวหน้าทันโลกทันเกมและก้าวใหม่ประชาธิปัตย์คือคำตอบ”

“ผมเชื่อมั่นว่า ด้วยวิสัยทัศน์ความรู้และอุดมการณ์ที่มั่นคงกับพรรคประชาธิปัตย์ตลอด 30 ปีรวมทั้งประสบการณ์เป็นรองหัวหน้าพรรค4สมัยเป็น ส.ส.6สมัยและเป็นรัฐมนตรีมาแล้วจะสามารถนำพรรคสู่ก้าวใหม่ด้วยการปฏิรูปพรรคเป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชนด้วยแนวทางเสรีนิยมก้าวหน้าภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หากได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกพรรคและส.ส.ของพรรคเลือกเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนที่ 9” นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด

นายอลงกรณ์ พลบุตร เมื่อครั้งเป็น ส.ส. และรองหัวหน้าพรรคเคยเสนอให้ปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ในปี 2556 และเคยลงสมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแข่งขันในระบบไพรมารี่ในปี 2561แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง.

ประวัติและผลงาน
นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 4 สมัยและอดีต ส.ส. เพชรบุรีและ ส.ส. บัญชีรายชื่อ6สมัย 
.
>จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงจากหลายประเทศเช่นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ปอร์ตุเกส ฯลฯ 
>เป็น ส.ส.สมัยแรกในปี 2535
>เป็นเลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรและเลขานุการนายกรัฐมนตรี(ชวน หลีกภัย) ปี 2539-2544
>ได้รับฉายา”มิสเตอร์เอทานอล” ปี 2543-2544 ในฐานะประธานโครงการเอทานอลทำให้มีน้ำมันแก๊ซโซฮอลล์จำหน่ายทั่วประเทศ
>เป็น”ดาวเด่นแห่งปีของรัฐสภา”ปี 2546จากผลงานการปราบปรามคอรัปชั่น
>ได้รับรางวัล”คนดีสังคมไทย”และรางวัล”บุคคลดีเด่นประจำปี 2548-2549”
>เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และทำหน้าที่รมต.เศรษฐกิจอาเซียน ปี 2551-2554
>ได้รับการโหวตให้เป็นรัฐมนตรีที่มีผลงานดีเด่น2ปีซ้อน ปี 2552-2553
>เป็นรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ปี 2558-2560
>เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ที่ประชุมการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ของสหประชาชาติ (UN-GFHS) ปี2660-2561
>เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ.กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(2562-2566)
>เป็นผู้บรรยายพิเศษปริญญาเอก ปริญญาโทและปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง
>เป็นผู้บรรยายพิเศษหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงภาครัฐและเอกชนเช่น บยส. นธป.วตท. Tepcot สวปอ. นบส. วกส. วพน. วิทยาการตำรวจ สถาบันพระปกเกล้า  ฯลฯ
>มีผลงานเขียนหนังสือ 4 เล่มด้านต่างประเทศ วิทยาศาสตร์และการเมือง
 

เปิดประวัติ ความเป็นมา ‘อลงกรณ์ พลบุตร’ ผู้ผลักดันการปฏิรูป เข้มแข็งและกล้าหาญ บนจุดยืนประชาธิปไตยที่ชัดเจน

“อลงกรณ์”คือใคร เคยทำอะไร เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำการฟื้นฟูพรรคประชาธิปัตย์ สถาบันการเมืองเก่าแก่ที่สุดของประเทศในยามที่พรรคตกต่ำถดถอยได้หรือไม่

เขาเป็นคนหนึ่งที่ผลักดันการ

ปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์และการปฏิรูปประเทศมาโดยตลอด คราวนี้ประกาศลงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นคนแรก

ลองมาดูประวัติและผลงานโดยสังเขป ของนายอลงกรณ์ พลบุตร

เขามีความเป็นมาอย่างไรและทำอะไรมาบ้าง

>จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

>ได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงจากหลายประเทศเช่นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ปอร์ตุเกส ฯลฯ

>เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นเลขาธิการสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยคนแรกและกรรมการสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย(ปี2524-2528)เป็น1ในแกนนำต่อสู้เพื่อเสรีภาพปลดโซ่ตรวน ปร.42

>เคยเป็นหุ้นส่วนเจ้าของและผู้บริหารบริษัทนำเข้าส่งออก บริษัทคอมพิวเตอร์ บริษัทโฆษณา-สื่อมวลชน บริษัทเหมือนแร่ กิจการร้านอาหาร

>เป็น ส.ส.สมัยแรกในปี 2535และเคยเป็นกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการงบประมาณ กรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรหลายคณะเช่นการท่องเที่ยว,การพาณิชย์,การทหารฯลฯ

>เป็นเลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรและเลขานุการนายกรัฐมนตรี(ชวน หลีกภัย) ปี 2539-2544

>ได้รับฉายา”มิสเตอร์เอทานอล”

ปี 2543-2544 ในฐานะประธานโครงการเอทานอลทำให้มีน้ำมันแก๊ซโซฮอลล์จำหน่ายทั่วประเทศ

>เป็น”ดาวเด่นแห่งปีของรัฐสภา”ปี 2546จากผลงานการปราบปรามคอรัปชั่น

>ได้รับรางวัล”คนดีสังคมไทย”และรางวัล”บุคคลดีเด่นประจำปี 2548-2549”และคนดีศรีเมืองเพชร”ปี2565

>เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และทำหน้าที่รมต.เศรษฐกิจอาเซียน ปี 2551-2554

>ได้รับการโหวตให้เป็นรัฐมนตรีที่มีผลงานดีเด่น2ปีซ้อน ปี 2552-2553

>ได้รับการคัดเลือกจากนิตยสารอังกฤษ”Intellectual Property Magazine ให้เป็น1ใน50ผู้ทรงอิทธิพลของโลกด้านการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา

>เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเคยเป็นเลขาธิการสภาพรรคการเมืองเสรีนิยมและประชาธิปไตยแห่งเอเชีย(CALD)

>เป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรรัฐสภาแห่งเอเชีย-แปซิฟิก(APPF:ASIA-Pacific Parliamentary Forum)

>เป็นประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติ

>เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติและรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ปี 2558-2560

>เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ที่ประชุมการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ของสหประชาชาติ (UN-GFHS) ปี2660-2561

>สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยประกาศเกียรติคุณให้เป็น ”บุคลากรผู้ทรงคุณค่าต่อขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทย “ปี 2563

>เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานคณะกรรมการกว่า10คณะเช่นประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ.กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0 และประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(AIC:Agritech and Innovation Center) ระหว่างปี2562-2566

>เป็นประธานมูลนิธิWorkdview Climate Foundation (2565-ปัจจุบัน)

>เป็นผู้ก่อตั้ง-ประธานและประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย

>เป็นหุ้นส่วนเจ้าของ-ผู้บริหารหลายบริษัทด้านการเกษตร รีสอร์ท และพัฒนาที่ดิน

>เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคม(Social Enterprise)ชื่อRFC(Read For Change)

> เป็นอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 4 สมัยและอดีตส.ส.เพชรบุรีและส.ส.บัญชีรายชื่อ6สมัย

>เป็นอดีตประธานสาขาพรรคประชาธิปัตย์เพชรบุรี(สาขาพรรคดีเด่น)

> เป็นคนที่อยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่ปี2534เพียงพรรคเดียว ไม่เคยสังกัดกลุ่มใดในพรรคจนได้รับการเรียกขานว่า”รองฯ.อิสระ”และ ไม่เคยย้ายพรรค

>เป็นผู้บรรยายพิเศษปริญญาเอก ปริญญาโทและปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง

>เป็นผู้บรรยายพิเศษหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงภาครัฐและเอกชนเช่น บยส. นธป.วตท. Tepcot สวปอ. นบส. วกส. วพน. วิทยาการตำรวจ สถาบันพระปกเกล้า ฯลฯหัวข้อหลัก การปฏิรูปประเทศไทย และอนาคตเศรษฐกิจดิจิตอล(The Future of Digital Economy)ฯลฯ.

>มีผลงานเขียนหนังสือ(pocketbook)4เล่มด้านต่างประเทศ วิทยาศาสตร์และการเมือง

“อลงกรณ์”กล่าวตอนหนึ่งในคำแถลงเปิดตัวลงสมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ว่า

“วันนี้พรรคประชาธิปัตย์ต้องการก้าวใหม่ของตัวเองและโอกาสใหม่จากประชาชนด้วยการแสดงออกถึงภาวะผู้นำที่เข้มแข็งและกล้าหาญบนจุดยืนประชาธิปไตยที่ชัดเจนเพื่อนำประเทศออกจากกับดักความขัดแย้งและวงจรอุบาทว์ด้วยหลักนิติรัฐและธรรมาภิบาลสู่เอกภาพและศักยภาพใหม่ของประเทศเพื่ออนาคตที่ดีกว่าของทุกคน โลกเปลี่ยนเร็วและแข่งขันแรงทั้งการเมือง เศรษฐกิจและเทคโนโลยี ประเทศไทยต้องมีพรรคการเมืองที่ทันสมัยก้าวหน้าทันโลกทันเกมและก้าวใหม่ประชาธิปัตย์คือคำตอบ”

เขาจะขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนที่9ได้หรือไม่ วันที่ 9 กรกฎาคมนี้ คนประชาธิปัตย์จะเป็นผู้ให้คำตอบ

เกาะติดวงในสถานการณ์เลือกตั้ง 'หัวเรือใหม่ ปชป.' 'เสียงใน-นอกพรรค' ฟันธง!! 'อลงกรณ์' ตัวเต็ง!!

ใกล้วันเลือกตั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ในวันที่ 9 กรกฎาคมเข้ามาทุกที

โดยในวันนั้น ถือเป็นการเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนที่ 9 ในห้วงเวลาที่พรรคประชาธิปัตย์อยู่ในภาวะถดถอยภายใต้มรสุมทางการเมืองทั้งภายในพรรคและภายนอกพรรค

จากการติดตามและประเมินสถานการณ์ล่าสุดจากทีมข่าว THE STATES TIMES พบว่ามีความเคลื่อนไหวในกลุ่มสาขาพรรค และตัวแทนพรรคจากภาคอีสาน / ภาคเหนือ / ภาคกลาง / ภาคใต้ และกทม. รวมไปถึงอดีตผู้บริหารท้องถิ่น / อดีตผู้สมัคร ส.ส. / อดีต ส.ส. / อดีตผู้บริหารพรรค และอดีตรัฐมนตรีของประชาธิปัตย์จำนวนไม่น้อยที่สนับสนุน 'นายอลงกรณ์ พลบุตร' เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่

มูลเหตุสำคัญเนื่องมาจาก ผู้เกี่ยวข้องมีมติเห็นพ้องว่านายอลงกรณ์ เป็นคนที่ซื่อสัตย์กับพรรค ไม่เคยย้ายพรรค มีอุดมการณ์ มีวิสัยทัศน์ทันสมัย เป็นคนกล้าคิดกล้าทำ มีภาวะผู้นำสูงและทุ่มเททำงานให้พรรคตลอดมา แถมยังมีประสบการณ์เคยเป็นประธานสาขาพรรค เป็นส.ส.ทั้งแบบเขตเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อและเป็นรัฐมนตรี 

เรียกว่ามีผลงานเป็นรูปธรรม อีกทั้งไม่มีประวัติด่างพร้อยเรื่องทุจริต สมาชิกพรรคก็เข้าถึงง่าย ไม่ถือตัว มีมนุษย์สัมพันธ์ดี 

ยิ่งไปกว่านั้นที่ถือเป็นประการสำคัญคือ นายอลงกรณ์ไม่สังกัดกลุ่มใดในพรรค แต่สามารถทำงานร่วมกับอดีตหัวหน้าพรรคทั้งนายหัวชวน, บัญญัติ, อภิสิทธิ์ และจุรินทร์ รวมทั้งนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รักษาการเลขาธิการพรรค

องค์ประกอบเหล่านี้ จึงทำให้เชื่อว่าจะสามารถประสานกลุ่มต่างๆ สร้างเอกภาพและความสามัคคีในพรรคประชาธิปัตย์ได้มากกว่าทุกคนในพรรค และข่าววงในก็ยังบอกอีก ว่านายอลงกรณ์เป็นคนมีพรรคพวกมากเป็นที่ยอมรับจากคนในวงการต่างๆ และพรรคการเมืองอื่นๆ 

ทั้งนี้เมื่อ THE STATES TIMES ได้สอบถามไปยังแกนนำกลุ่มตัวแทนพรรคว่าจะมีความเคลื่อนไหวใดก่อนการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคบ้างหรือไม่? ก็ได้คำตอบว่า ทาง ปชป.จะมีการนัดประชุมตัวแทนพรรคในแต่ละภาคในวันที่ 8 กรกฎาคม ที่โรงแรมมิราเคิลเพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนนายอลงกรณ์เป็นหัวหน้าพรรค ภายใต้ความเห็นร่วมกันว่า พรรคอยู่ในวิกฤติต้องได้ผู้นำที่มีประสบการณ์และมีภาวะผู้นำสูงจึงจะฟื้นฟูพรรคได้สำเร็จ และเมื่อประชาธิปัตย์กลับมาเข้มแข็งแล้ว จึงจะเปลี่ยนมือให้กับคนรุ่นใหม่ๆ แต่ยังไม่ใช่เวลานี้ 

"วันนี้โจทย์ในพรรคยากและหนักเกินกว่ามือใหม่จะรับมือได้ การคิดแค่เอาคนรุ่นใหม่ขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรค โดยหวังว่าจะเปลี่ยนภาพลักษณ์พรรคได้ทันที คงไม่ใช่ อย่าคิดเลียนแบบพรรคก้าวไกล พรรคเรามีปัญหามากกว่าแค่เปลี่ยนภาพลักษณ์ แต่มีปัญหาเรื่องจุดยืนเรื่องเอกภาพในพรรค เรื่องการบริหารจัดการและเราอยู่ในจุดต่ำสุด เหมือนอยู่ในมรสุมต้องมีกัปตันที่เก่งกล้าและมีประสบการณ์" กลุ่มตัวแทนพรรคท่านหนึ่งให้ความเห็น

นอกจากนี้จากการติดตามความเห็นของโลกโซเชียลจากกลุ่มคนภายในวงการต่างๆ ทั้งภาครัฐภาคเอกชนภาควิชาการและพรรคการเมืองต่างๆภายนอก ผู้บริหารภาคเอกชนคนหนึ่งบอกว่า...

"นายอลงกรณ์ พลบุตร มีโปรไฟล์ดีมากเป็นคนที่มีจุดยืนประชาธิปไตย มีหลักการ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต มีความคิดก้าวหน้าทันโลกทันเหตุการณ์ มีความเข้าใจด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและการต่างประเทศ มีความสามารถทางการบริหารช่วงที่เป็นรัฐมนตรีและที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ ทำงานร่วมกับภาคเอกชนใกล้ชิดและสร้างผลงานใหม่ๆ ไว้มาก ถือเป็นคนที่เปิดกว้างรับฟังความเห็นมีอัธยาศัยที่ดี เป็นที่ยอมรับในภาคเอกชน เหมือนเอาส่วนผสมของ 'คุณชวน-คุณอภิสิทธิ์-คุณจุรินทร์-คุณสุรินทร์ (พิศสุวรรณ)' มาไว้ในคนๆ เดียว ในฐานะเสียงหนึ่งจากภาคเอกชนก็เชียร์ให้คุณอลงกรณ์ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์"

ก็คงต้องติดตามกันต่อไปว่า นายอลงกรณ์จะก้าวขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ได้หรือไม่ วันที่ 9 กรกฎาคมนี้ รู้กัน!!

‘อลงกรณ์’ เสนอ 5 หลักคิดให้ ส.ว.โหวตนายกฯ หวังทุกฝ่ายยึดสันติวิธี หลีกเลี่ยงวิกฤติการเมือง

(13 ก.ค.66) นายอลงกรณ์ พลบุตร รักษาการรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับการประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี โดยมีข้อความว่า…

บ้านเมืองของเรามาถึงทางแพร่งที่สำคัญในวันนี้ สืบเนื่องจากการเลือกตั้งเมื่อ 2 เดือนที่แล้ว คือการโหวตเลือกแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยโดยรัฐสภา

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกลในฐานะพรรคที่ได้รับเสียงเลือกตั้งอันดับ 1 และรวบรวมเสียงในสภาผู้แทนราษฎรรวมตัวเป็นกลุ่ม 8 พรรคการเมืองมีเสียงรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรจะได้รับเสียงสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศหรือไม่ ขึ้นกับการโหวตของสมาขิกรัฐสภาในวันนี้

สมาชิกรัฐสภา 750 ท่านประกอบด้วย…

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 500 คนและสมาชิกวุฒิสภา 250 คนจะใช้สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง
1.สนับสนุน
2.ไม่สนับสนุน 
3.งดออกเสียง 

ผมเคยให้ความเห็นส่วนตัวว่า ในฐานะเป็นอดีต ส.ส.และสมาชิกรัฐสภา 6 สมัยได้เสนอข้อพิจารณาเป็นหลักยึดหลักคิดในการโหวต…

1. เคารพผลการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งคือ ความต้องการของประชาชน 

2. ยึดหลักการเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร พรรคที่รวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิ์และความชอบธรรมที่จะเป็นรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี

3. การออกเสียงลงมติของสมาชิกรัฐสภาเป็นเอกสิทธิ์

4. สมาชิกรัฐสภาเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย เมื่อปวงชนชาวไทยคือประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยใช้สิทธิในการเลือกตั้งโดยตรงไม่ผ่านระบบผู้แทนปวงชนชาวไทยแล้ว ผู้แทนปวงชนชาวไทยพึงเคารพการตัดสินใจของปวงชนชาวไทย โดยการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยมี 2 กรณีที่ใช้สิทธิอำนาจโดยตรงไม่ผ่านระบบผู้แทนฯ คือ การเลือกตั้ง และการออกเสียงประชามติ

5. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคการเมืองมีระบบพรรคที่ต้องปฏิบัติตามมติ ซึ่งเป็นระบบที่ถือปฏิบัติทุกพรรคการเมือง เช่น พรรคประชาธิปัตย์มีมติงดออกเสียง สมาชิกพรรคและผมต้องถือปฏิบัติในทางเดียวกัน ซึ่งต่างจากสมาชิกวุฒิสภาที่ไม่สังกัดพรรค

ความเห็นของผมอยู่บนหลักการประชาธิปไตย ไม่เกี่ยวกับนายพิธาหรือพรรคก้าวไกล แต่เป็นการสนับสนุนหลักการที่ผมได้กล่าวมาข้างต้น 

ไม่ว่าการโหวตนายกรัฐมนตรีจะปรากฏผลเป็นประการใด ผมยอมรับเพราะผมเชื่อมั่นในระบบรัฐสภาภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เพียงหวังว่า สมาชิกวุฒิสภาผู้ทรงเกียรติและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิมีความรักชาติศาสนากษัตริย์จะตัดสินใจโหวตแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีด้วยความเป็นอิสระไม่อยู่ใต้อาณัติใด ๆ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

ผมเพียงหวังที่จะเห็นการตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งเป็นไปโดยราบรื่นและรวดเร็วตามครรลองประชาธิปไตย

ประเทศของเราอยู่ในภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจและไม่ควรจะเกิดวิกฤติทางการเมืองมาซ้ำเติม

ทุกฝ่ายทั้งในและนอกสภารักประเทศชาติไม่น้อยไม่มากไปกว่ากัน อาจมีความเห็นที่แตกต่างกันแต่ไม่ใช่ความแตกแยก พึงเคารพความแตกต่างอย่างสันติวิธี

ประชาธิปไตยไม่สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยความเกลียดชัง และประเทศไม่สามารถสร้างขึ้นได้บนซากปรักหักพัง 

เรามีบทเรียนของวิกฤติทางการเมืองมาหลายครั้ง สูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อมาหลายครา ขอให้บทเรียนในอดีตเป็นอุทาหรณ์สอนใจเตือนสติทุกท่าน อย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกเลย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top