Tuesday, 22 April 2025
อดอาหารประท้วง

พับตำราอหิงสาวิธี เมื่อการอดประท้วงจนผ่ายผอม ต้องจำยอมมนุษย์บางจำพวกที่ 'ยิ่งอด - ยิ่งอ้วน'

"การอดอาหารประท้วง (Hunger Strike) เป็นหนึ่งวิถีการต่อสู้ซึ่งไร้ความรุนแรงที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงทางสังคม อีกนัยคือยุทธศาสตร์เคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อทำให้เจ้าหน้าที่หรือผู้มีอำนาจรัฐเกิดความละอาย และเรียกร้องให้สาธารณชนสนใจประเด็นปัญหาหรือความอยุติธรรมอันเกิดขึ้น โดยหวังผลให้สามารถสั่นคลอนรัฐ และผู้มีอำนาจ รวมทั้งปลุกกระแสสังคมได้ ซึ่งปรากฏอยู่ในการต่อสู้ทั้งจากปัจเจกบุคคลและขบวนการเคลื่อนไหวทั่วโลก"

อาจเรียกได้ว่านั่นคือ คำจำกัดความของการอดอาหารประท้วง นิยามโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น

การอดอาหารประท้วง ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในประวัติศาสตร์โลก เกิดขึ้นโดย 'มหาตมะ คานธี' (Mahatma Gandhi) ซึ่งอดอาหารประท้วงตลอดชีวิตรวม 18 ครั้ง เพื่อรณรงค์เคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน และต่อสู้ขอคืนเอกราชของอินเดีย จากอาณานิคมปกครองอังกฤษ ตามแนวทางสันติวิธีที่รู้จักกันดีว่า 'อหิงสา' ซึ่งคานธีอดนานสุด 21 วัน

'อหิงสา' นับเป็นแนวทาง 'ต่อสู้' โดย 'ไม่ต่อสู้' คือ การต่อสู้เยี่ยงอารยชน เป็นการต่อสู้ที่เหนือกว่าการต่อสู้ทั้งปวง ผู้เจริญและฝึกฝนตนเองอย่างเคี่ยวกรำเท่านั้น จึงจะสู้ด้วยวิธีอหิงสานี้ได้

การอดอาหารประท้วงบนบริบทการเมืองไทยที่รับรู้อย่างแพร่หลาย คือ กรณีของ 'เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร' อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส. ตราด - พรรคประชาปัตย์) และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยครั้งแรกคุณฉลาดอดทั้งข้าวและน้ำเพื่อประท้วงรัฐบาล 'พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์' เรื่องทุจริตกักตุนน้ำมันในปี พ.ศ. 2523 ต่อมาได้ประท้วงรัฐบาล 'พลเอก เปรม ติณสูลานนท์' ที่แก้ไขรัฐธรรมนูญให้ข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ (พ.ศ. 2526)

แต่การต่อสู้ซึ่งถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย ของ 'ฉลาด วรฉัตร' คือ การอดอาหารเรียกร้องให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง โดยร่วมขบวนขับไล่ 'พลเอก สุจินดา คราประยูร' จนเกิดเป็นชนวนเหตุการณ์อัปยศของชาติ 'พฤษภาทมิฬ' ในเวลาต่อมา

แม้กระทั่งรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ร.ต.ฉลาด ในวัย 71 ปี ก็ยังออกมาอดอาหารประท้วงที่หน้ารัฐสภา ตั้งแต่ค่ำวันดังกล่าว เพื่อต่อต้านกฎอัยการศึก และการทำรัฐประหารของกองทัพ โดยประทังชีวิตเพียงน้ำเปล่าและน้ำผึ้งอยู่นาน 45 วัน เจ้าของฉายา 'จอมอด' จำต้องยุติการประท้วงลง เนื่องจากปัญหาสุขภาพ

ข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ปกติร่างกายของคนทั่วไปจะทนต่อภาวะขาดอาหารได้ 30 - 60 วัน อาจทำให้น้ำหนักตัวลดลงร้อยละ 30 ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล ยิ่งอายุน้อยความแข็งแรงของร่างกายจะมีมากกว่าคนอายุ 40 ปี ขึ้นไป นอกจากนี้ ร่างกายคนปกติทั่วไปจะทนต่อภาวะขาดน้ำได้เพียง 3 - 7 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์

'ทนายสิทธิฯ' เผย!! 'เวหา' ทำสถิติอดอาหารได้ 49 วัน  หลังถอดใจประท้วงนิรโทษผู้ต้องขังคดีการเมืองไม่สำเร็จ

(12 ต.ค. 66) เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานความคืบหน้ากรณีนายเวลา แสนชนชนะศึก ผู้ต้องหาในคดีความผิดอาญามาตรา 112 อดอาหารประท้วงระหว่างจำคุกในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ว่า เมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2566 ทนายความเดินทางไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพื่อเข้าเยี่ยม ‘เวลา’ ซึ่งถูกศาลตัดสินจำคุก 3 ปี 18 เดือน ในคดีมาตรา 112 กรณีใช้บัญชีทวิตเตอร์ ‘ฟ้าฝา ver.เกรี้ยวกราด’ โพสต์ข้อความ และศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ประกันตัว

วันที่ทนายความเข้าเยี่ยมเวลานี้ นับเป็นการอดอาหารประท้วงวันที่ 49 ของเขา ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค. 2566 มีจุดประสงค์เพื่อเคียงข้าง ‘วารุณี’ ที่อดอาหารประท้วงก่อนหน้าเขาเพียง 2 วัน และเพื่อยืนหยัดตาม 3 ข้อเรียกร้องของตนเอง ซึ่งได้แก่

1. เรียกร้อง ‘สส.’ เข้ามารับข้อเสนอ ‘ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม’ จากผู้ต้องขังในเรือนจำ 
2. เรียกร้อง ‘คณะรัฐมนตรีชุดใหม่’ ออกมาแถลงความคืบหน้าและความเป็นไปได้ของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมคดีทางการเมือง 
3. เรียกร้อง ‘ศาล’ ให้คืนสิทธิประกันตัวให้ผู้ต้องขังทางการเมืองที่คดียังไม่สิ้นสุดเด็ดขาด และปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมืองที่คดีสิ้นสุดเด็ดขาดแล้ว

ทว่าตลอดการประท้วงของเวลาและวารุณี ไม่มีผู้ต้องขังคดีการเมืองคนใดได้รับสิทธิประกันตัวจากศาลเลย รวมถึงข้อเรียกร้องของพวกเขาก็ไม่ได้มีความคืบหน้า ขณะที่ทั้งสองนั้นได้รับผลข้างเคียงจากการอดอาหารประท้วงและทุกข์ทรมานมากขึ้นเรื่อย ๆ

ตลอดการอดอาหารเกือบ 50 วันที่ผ่านมาของเวลานั้น เขาปฏิเสธอาหารทุกอย่าง โดยประทังชีวิตด้วยการดื่มเพียงน้ำเปล่า นม และน้ำหวาน รวมถึงสารอาหารเหลวที่คล้ายกัน ทำให้ที่ผ่านมาน้ำหนักตัวของเขาลดลงไปกว่า 9 กิโลกรัมแล้ว ปัจจุบันเวลามีร่างกายซูบผอมมาก มีอาการอ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง ปวดท้องมาก และมีภาวะขาดสารอาหาร

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 4 ต.ค. ที่ผ่านมา ทนายความได้ยื่นขอประกันตัวเวหาต่อศาลอาญาเป็นครั้งที่ 3 เสนอหลักทรัพย์เป็นเงิน 200,000 บาท ต่อมา ศาลอาญาส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณาสั่ง จากนั้นในวันที่ 7 ต.ค. ศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง ‘ยกคำร้อง’ ยืนยันไม่ให้ประกันตัวเช่นเดิม โดยอ้างเหตุผลว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 4 ปี มีอัตราโทษสูง เกรงว่าจะหลบหนี และไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม

เมื่อวันนี้เวลาทราบผลของคำสั่งไม่ให้ประกันตัว เขาจึงประกาศเจตจำนง ‘ขอยุติการอดอาหารประท้วง’ รวมทั้งสิ้น 49 วัน เนื่องจากเวหาเห็นว่าร่างกายของตัวเองได้รับผลข้างเคียงจากการอดอาหารเกินขีดจำกัดที่จะรับได้ไหวแล้ว โดยจะขอใช้วิธีอื่นเพื่อต่อสู้เรียกร้อง ‘การนิรโทษกรรม’ ให้กับผู้ต้องขังคดีการเมืองต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top