Sunday, 4 May 2025
หัวเว่ย

นายกฯ ปลื้ม!! หารือผู้ก่อตั้ง 'หัวเว่ย' ร่วมมือพัฒนานวัตกรรมเพื่อคนไทย

25 พ.ย. 64 ที่ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี (PMOC) ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายเหริน เจิ้งเฟย (Mr. Ren Zhengfei) ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด ได้เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล ซึ่งนายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวสรุปสาระสำคัญของการหารือว่า

นายกรัฐมนตรียินดีที่ได้พบหารือกับนายเหริน เจิ้งเฟย ชื่นชมการดำเนินกิจการของบริษัทหัวเว่ยฯ ผู้ผลิตและผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารชั้นนำของโลก ขอบคุณบริษัทฯ ที่ได้สนับสนุนรัฐบาลในการรับมือสถานการณ์โควิด-19 ทั้งการบริจาคหน้ากากอนามัยและการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี ขอบคุณความร่วมมือที่มีให้รัฐบาลไทย และขอบคุณที่เลือกทีมงานที่มีศักยภาพและความพร้อมมาประจำการที่ประเทศไทย ซึ่งมีส่วนสำคัญในการร่วมงานกับรัฐบาลไทยเสมอมา 

นายธนกร กล่าวว่า ด้านนายเหรินฯ กล่าวยินดีที่ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี แม้ว่าจะเป็นการพบกันผ่านระบบออนไลน์ เชื่อมั่นในความตั้งใจจริงของนายกรัฐมนตรีในการบริหารประเทศซึ่งไทยสามารถบริหารสถานการณ์ให้ดีขึ้นจนประกาศการเปิดประเทศ ขอบคุณสำหรับความร่วมมือที่รัฐบาลไทยมีให้หัวเว่ยตลอดมา ทั้งนี้หัวเว่ยต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทยอย่างแท้จริง 

'Spark Ignite 2022 - Thailand Startup Competition' เร่งการเติบโตสตาร์ตอัปในไทย ทะยานไกลสู่ระดับสากล

เมื่อ 1 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ร่วมมือกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า (depa) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ เอ็นไอเอ (NIA) บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) บริษัท ทัสพาร์ค ดับบลิวเอชเอ และ บริษัท แสนรู้ จำกัด เปิดโครงการการแข่งขัน 'Spark Ignite 2022 - Thailand Startup Competition' ประจำปี พ.ศ. 2565 

งานนี้มีเป้าหมาย เพื่อช่วยสนับสนุนและเร่งยกระดับสตาร์ตอัปไทย สร้างนวัตกรรมชั้นยอดสู่ตลาดโลก ด้วยการเป็นพาร์ตเนอร์สำคัญที่สร้างแรงขับเคลื่อนสำคัญให้แก่กลุ่มสตาร์ตอัปรุ่นใหม่ของไทย เร่งสร้างอีโคซิสเต็มอย่างเต็มรูปแบบเพื่อสตาร์ตอัปไทย ด้วยการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีไอซีทีชั้นนำ แหล่งเงินทุน และองค์ความรู้ในการทำธุรกิจจากหัวเว่ย เพื่อส่งเสริมสตาร์ตอัปให้เติบโตและประสบความสำเร็จในระดับโลก ผลักดันประเทศไทยขึ้นเป็นดิจิทัลฮับแห่งอาเซียน

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส (MDES) ได้กล่าวถึงความร่วมมือในการเปิดการแข่งขัน 'Spark Ignite 2022 - Thailand Startup Competition' ว่า ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เร่งเดินหน้าตามแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะเห็นได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและ Data Economy ของประเทศไทยมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในด้านสำคัญ ๆ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานทางด้านโทรคมนาคมเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการส่งเสริมระบบนิเวศดิจิทัลร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ หุ้นส่วนทางอุตสาหกรรม ธุรกิจสตาร์ตอัป ตลอดจนผู้พัฒนาสินค้าและบริการด้านดิจิทัลของไทย สำหรับการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสําหรับกลไกขับเคลื่อนสำคัญ เพื่อรองรับอนาคตดิจิทัลของประเทศไทย

'บิ๊กป้อม' ขอบคุณ 'หัวเว่ย' หนุนดิจิทัลไทยก้าวหน้า สู่ไทยแลนด์ 4.0 พร้อมปูทางผู้นำ 5G ของภูมิภาค

พล.อ.ประวิตร ปาฐกถาเปิดงานยิ่งใหญ่ 'Global Mobile Broadband Forum 2022' ครั้งที่ 13 หนุนความร่วมมือ 'ไทย-หัวเว่ย' พลิกโฉม สู่ ไทยแลนด์ 4.0 มุ่งก้าวเป็นผู้นำ 5G ของภูมิภาค 

(26 ต.ค. 65) พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษกรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธาน เปิดงานประชุมสัมมนา และนิทรรศการ Global Mobile Broadband Forum 2022 ครั้งที่ 13 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กทม. ห้องบอลรูม 1-4 

จากนโยบายของรัฐบาลไทย ที่กำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุค ไทยแลนด์ 4.0 โดยสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และต่อยอดโครงสร้างพื้นฐาน 5G ให้ทุกภาคส่วนเข้าถึงการใช้ประโยชน์ สร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมดิจิทัล เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ดึงดูดการลงทุน พร้อมหนุนขึ้นเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G ของภูมิภาค ซึ่งบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และเครือข่ายพันธมิตร (GSMA) ได้ขานรับนโยบายของรัฐบาลไทย เพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย ในอนาคต

การจัดงานในครั้งนี้ บริษัท หัวเว่ยฯ ได้ร่วมกับองค์กรกำกับดูแลมาตรฐานผู้ให้บริการการสื่อสาร (GSMA) และ GTI ซึ่งเป็นองค์กรพันธมิตรทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม โดยร่วมกันจัดงานขึ้นเป็นประจำทุกปี และครั้งนี้จัดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก จึงถือเป็นโอกาสสำคัญที่ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ทางอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม และเทคโนโลยี นวัตกรรมดิจิทัล ให้สามารถเชื่อมต่อองค์ความรู้ และเทคโนโลยีร่วมกัน เพื่อยกระดับภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

เปิดมุมมอง ‘นักธุรกิจจีน’ ยึดปรัชญา ซื่อสัตย์-ร่วมมือ มอง เทคโนโลยีเอไอ-หุ่นยนต์ กำลังเข้ามามีอิทธิพล เปลี่ยนชีวิตและธุรกิจ

เปิดมุมมอง “นักธุรกิจจีน” ผู้บริหารจากหลากหลายบริษัทชั้นนำร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ภูมิปัญญา แนวความคิดการทำธุรกิจ ในหัวข้อเสวนา “แนวความคิดและภูมิปัญญาการดำเนินธุรกิจของนักธุรกิจชาวจีน” ภายในงาน ประชุมนักธุรกิจชาวจีนโลก (World Chinese Entrepreneurs Convention - WCEC) ครั้งที่ 16 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
คว้าโอกาสทอง ‘อาเซียน’

เกา เฉวียน ชิ่ง ประธานหอการค้าสิงคโปร์-จีน กล่าวว่า แนวการทำธุรกิจที่ดีต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ให้ความสำคัญกับคุณค่าของคน ภายใต้แนวคิดที่สอดคล้องไปกับปรัชญา ตำราพิชัยสงครามของจีน ที่ให้ความสำคัญกับการฝึกฝน ความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อประเทศชาติ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กล้าคิด มีความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์ ตอบแทนสังคม เพื่อทำให้สังคมโดยรวมมีความสงบสุข

เช่นที่สิงคโปร์ที่วันนี้กลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาจากความซื่อสัตย์ การสร้างความไว้วางใจต่อลูกค้า คู่ค้า การตอบแทนสังคม รวมถึงความจงรักภักดีต่อประเทศชาติ โดยแนวคิดดังกล่าวจะมีการสืบทอดและส่งต่อไปสู่คนรุ่นหลังต่อๆ ไป
“หากเรามีการสืบสานแนวคิดและยึดถือหลักการเช่นนี้ต่อไปจะสามารถเติบโตและคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ในอีกทางหนึ่งไม่ใช่แค่เพื่อธุรกิจ แต่เป็นรากฐานของการสร้างชาติและทำให้งานต่างๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์ เชื่อว่าภูมิปัญญาที่ถูกต้องจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่ช่วยสร้างความสำเร็จ ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา”

ในยุคทองของการเติบโต ภูมิภาคอาเซียน ทุกภาคส่วนควรให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์ไว้วางใจ จับมือไปด้วยกันเพื่อเสริมจุดแข็ง แบ่งปันและคว้าโอกาสทองของการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค

นอกจากนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจต้องมีความจงรักภักดีต่อประเทศชาติ ส่งเสริมให้ทุกกลุ่มทุกประเทศมีการพัฒนาที่สอดคล้องกันไป ลดความเหลื่อมล้ำ ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อสร้างความเสมอภาค สร้างความปรองดอง ส่งเสริมให้นักธุรกิจจีนทั่วโลกร่วมมือกัน
สุดท้าย เสริมสร้างจิตวิญญาณในการสร้างนวัตกรรม เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านภูมิอากาศ ลดการใช้พลังงาน เดินหน้าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้เป้าหมายที่มีความชัดเจนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวอย่างเป็นรูปธรรมผลักดัน ‘แพทย์แผนจีน’ สู่สากล
หลี ฉู่ หยวน ประธานกรรมการ บริษัท กว่างโจวฟาร์มาซูติคอลกรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า จีนและไทยเป็นสองประเทศที่มีมิตรภาพที่ลึกซึ้งต่อกันมาอย่างยาวนาน

สำหรับจีน ไทยนับเป็นเพื่อนร่วมชะตาเดียวกัน ซึ่งที่ผ่านมามีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและสานสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมาโดยตลอด กว่างโจวฟาร์มาซูติคอลเองให้ความสำคัญอย่างมากกับตลาดไทย และขณะนี้มีหลายผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามาทำตลาด
อย่างไรก็ดี จากไม่กี่ปีที่ผ่านมาที่ต่างต้องรับมือกับการแพร่ระบาดโควิด ทำให้ทุกฝ่ายมีการร่วมมือกัน นอกจากด้านการแพทย์ให้ความสำคัญกับปรัชญาการใช้ชีวิต เรื่องการมีชีวิตที่ยืนยาว มีคุณภาพ และมีความสุข

นอกจากนี้ บริษัทได้มีการเผยแพร่การแพทย์แผนจีน ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมแพทย์แผนปัจจุบัน โดยพยายามส่งเสริมให้เป็นสากลมากขึ้น ผ่านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญระดับสูงมากกว่า 100 คน

มากกว่านั้น มีการสร้างการรับรู้ให้ตลาด โดยการสร้างศูนย์การเผยแพร่วัฒนธรรมในต่างประเทศ ทั้งมีการผลักดันโมเดลการรักษาสุขภาพรูปแบบใหม่ๆ เพื่อทำให้แพทย์แผนจีนกลายเป็นเทรนด์ระดับสากล

‘หัวเว่ย’ มุ่งสร้างคุณค่า ‘ธุรกิจ-สังคม’
เจย์ เฉิน ซีอีโอ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ยุทธศาสตร์สำหรับการรับมือความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น คือความถูกต้องและความชอบธรรม เพื่อรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม

ด้วยหลักการนี้ ควรสะท้อนไปในทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การวิจัย ค้นคว้า การผลิต การขาย บริการหลังการขาย เช่นที่หัวเว่ย ทุกธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ต้องเคารพกฎหมายของประเทศจีนและกฎหมายในประเทศที่ทำธุรกิจนั้น ๆ

นอกจากนี้ ให้ความสำคัญกับค่านิยมร่วม เพื่อตอบแทนสังคม การสร้างคุณค่าทั้งเชิงธุรกิจและสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ไม่ใช่แค่การทำรายได้ แต่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมโดยภาพรวมด้วยเทคโนโลยีไอซีที

หัวเว่ยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยมากว่า 30 ปี ที่ผ่านมามีความร่วมมือกับหลายภาคส่วนในหลากหลายมิติ ใช้เทคโนโลยีไอซีทีเพื่อสร้างโอกาส การจ้างงาน และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ

โดยมีมุมมองว่า ไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ มีข้อได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ แนวทางการทำงานให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่มีความถูกต้อง ชอบธรรม เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ สภาพภูมิอากาศ และตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะเดียวกันเห็นถึงความสำคัญกับการมีส่วนร่วมด้านการพัฒนาบุคคลากร สตาร์ตอัป ผลักดันการพัฒนาเชิงดิจิทัล
ก้าวสู่ยุคใหม่ ‘รถยนต์ไฟฟ้า’

ฟัง อวิ่นโจว ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โฮซอน นิว เอนเนอร์ยี่ ออโต้โมบิล จำกัด กล่าวว่า การเดินหน้าสู่ยุคแห่งรถยนต์พลังงานใหม่ ต้องมีการผสมผสานของพลังงานไฟฟ้า การเชื่อมต่อเครือข่าย และความอัจฉริยะ

โดยขณะนี้ นับว่ามีการเติบโตที่มากขึ้นและต่อเนื่อง โดยต่อไปจะไม่ใช่แค่รถยนต์ แต่เป็นอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ผสมผสานอินเทอร์เน็ต ภายใต้การผสมผสานของเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา
“การเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัลและความอัจฉริยะ คือการผสมผสานและรวบรวมของทั้งพลังงาน พลังงานใหม่ การเดินทาง และเทคโนโลยี คาดว่าช่วงปี 2035-2045 จะเป็นการพัฒนาในช่วงหลัง ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นว่ามีสาธารณูปโภคพื้นฐาน ระบบนิเวศรวมถึงโมเดลธุรกิจที่สมบูรณ์มากขึ้น”

เขากล่าวว่า เส้นทางนี้มีความกว้างอย่างมากและมีเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน ทั้งผู้ผลิต ลูกค้า นักลงทุน เป็นการยกระดับครั้งสำคัญที่ต้องมีการทำงานร่วมกัน เพื่อรวบรวมข้อมูล ประมวลผล มีการใช้เอไอมาควบคุม การเชื่อมต่อ ยกระดับความปลอดภัย การเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ฯลฯ ส่วนของบริษัทเองเบื้องต้นปีนี้บริษัทคาดว่าจะสามารถสร้างยอดขายในไทยได้ประมาณ 1.5 หมื่นคัน

 ‘เอไอ’ เปลี่ยนโฉมธุรกิจ-ชีวิต
หยวน ฮุย ประธานกรรมการ เสี่ยว อ้าย คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า วันนี้เทคโนโลยีเอไอรวมถึงหุ่นยนต์ กำลังเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากกับการทำงานและการใช้ชีวิตของมนุษย์
ทั้งนี้ นับเป็นโอกาสของธุรกิจในแทบทุกอุตสาหกรรมที่จะนำมาปรับใช้ เพื่อพัฒนายกระดับการบริการ โดยที่ได้เห็นแล้วมีทั้งด้านการเงิน อสังหาริมทรัพย์ เฮลธ์แคร์ การดูแลสุขภาพ การนำข้อมูลมาใช้ให้เป็นประโยชน์ การออกแบบ สร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ พัฒนาประสบการณ์ผู้บริโภค รวมถึงการผสมผสานเมตาเวิร์สกับโลกความเป็นจริง

จากประสบการณ์ วันนี้ได้เห็นว่าธุรกิจต่างต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งด้านความขัดแย้งระหว่างภูมิภาค อีกทางหนึ่งเทคโนโลยีเป็นอีกหนึ่งในความท้าทายที่ต่างต้องเผชิญ
ในภาวะที่เศรษฐกิจอยู่ช่วงขาลงและความท้าทายจำนวนมากดังกล่าว แนวคิดที่สำคัญของนักธุรกิจชาวจีนคือ การสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับทั้งตนเอง ครอบครัว สังคม เพื่อผลักดันให้เกิดอนาคตที่สดใสร่วมกัน

‘หัวเว่ย’ เดินหน้ารุดอุตสาหกรรม ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ ในจีน อาศัย ‘เทคโนโลยี’ ที่เชี่ยวชาญเป็นจุดขายร่วมธุรกิจ

(29 พ.ย.66) ‘หัวเว่ย’ บริษัทโทรคมนาคมและสมาร์ตโฟนยักษ์ใหญ่สัญชาติจีน กำลังขยายการจำหน่ายเทคโนโลยีหัวเว่ยในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า และย้ำว่าบริษัทไม่ได้ผลิตรถยนต์ แต่ขายส่วนประกอบด้านเทคโนโลยี เช่น ระบบปฏิบัติการ Harmony OS และผลิตภัณฑ์ช่วยเหลือผู้ขับขี่ หรือการทำงานร่วมกับผู้ผลิตรถยนต์เพื่อสร้างแบรนด์อีวีใหม่ ๆ

โดยเมื่อวานนี้ (28 พ.ย.) หัวเว่ยยืนยันว่า บริษัททำงานร่วมกับผู้ผลิตรถยนต์ในท้องถิ่นเพื่อผลิตรถยนต์รุ่นใหม่อย่างน้อย 4 รายในจีน หลังมีข่าวว่าหัวเว่ยร่วมทุนกับฉางอัน ออโตโมบิลเพื่อผลิตเทคโนโลยีสำหรับรถยนต์

หัวเว่ยยังทำงานร่วมกับ Chery เพื่อผลิตเทคฯยานยนต์ให้กับแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้า Luxeed ที่เปิดตัวซีดาน S7 เมื่อวานนี้ (28 พ.ย.) รวมถึง BAIC Motor และ JAC Motor ซึ่ง BAIC เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ Arcfox ใช้เทคโนโลยีของหัวเว่ยเรียบร้อยแล้ว แต่ JAC ยังไม่ตอบคำขอแสดงความเห็น

‘ทู เล่อ’ ผู้ก่อตั้งซิโน ออโต้ อินไซด์ บริษัทที่ปรึกษาในปักกิ่ง เผยว่า ผู้ผลิตรถยนต์จีนที่ผลิตภัณฑ์ยังขาดเทคโนโลยีสำคัญ พึงพอใจที่จะใช้เทคฯ ของหัวเว่ยมากกว่าที่อื่น แต่ยังเร็วเกินไปที่จะทราบว่าโซลูชันของหัวเว่ยดีกว่าคู่แข่งอย่างไร และหัวเว่ยก็เหมือนบริษัทเทคฯ อื่น ๆ ที่เห็นโอกาสในตลาดยานยนต์อีวีและลงมือทำทุกอย่างเต็มที่

ด้าน ‘เทนเซ็นต์’ ที่บริหารจัดการแอปพลิเคชันวีแชท วางแผนเปิดตัวรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 และประกาศเมื่อปลายเดือน ต.ค. ว่าบริษัทมีระบบปฏิบัติการเป็นของตนเองแล้ว เรียกว่า HyperOS

>> ธุรกิจอีกส่วนหนึ่งของหัวเว่ย

หลังสหรัฐขึ้นบัญชีดำหัวเว่ย และห้ามให้บริษัทซื้อซัพพลายเออร์จากสหรัฐ รวมถึงใบอนุญาตเข้าถึงกูเกิลเวอร์ชันล่าสุดของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ หัวเว่ยจึงสร้างระบบปฏิบัติการ Harmony OS ขึ้นมาแทน

ช่วงครึ่งแรกของปีนี้ หัวเว่ยมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าเทคโนโลยี 103,500 ล้านหยวน ขณะที่โซลูชันยานยนต์อัจฉริยะ รวมถึงเทคโนโลยีเพื่อยานยนต์พลังงานใหม่ (NEV) มีรายได้ 1,000 ล้านหยวน

‘ริชาร์ด ยู’ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจเกี่ยวกับรถยนต์และสินค้าอุปโภคบริโภค เผยแนวทางการร่วมงานกับผู้ผลิตรถยนต์ไว้ 3 แนวทาง ได้แก่

1.บริษัทปฏิบัติตนเป็นซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนประกอบ
2.บริษัทจำหน่ายชุดผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีรถยนต์ที่เรียกว่า ‘Huawei Inside’ ขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์ออกแบบยานยนต์เอง
3.บริษัทควบคุมการออกแบบ Huawei Inside ส่วนใหญ่ รวมถึงการจำหน่าย และการทำการตลาด ขณะที่ผู้ผลิตยานยนต์ผลิตรถยนต์เอง

'หัวเว่ย' เปิดตัวระบบปฏิบัติการใหม่ HarmonyOS Next เตรียมโบกมือลาซอฟต์แวร์ระบบ Android อย่างถาวร

หัวเว่ย เปิดตัวระบบปฏิบัติการใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาเอง HarmonyOS Next ซึ่งทางบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน คาดหมายว่ามันจะช่วยให้พวกเขาตัดขาดจากระบบนิเวศของแอนดรอยด์โดยสิ้นเชิง

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หัวเว่ยแถลงว่ามีแผนเปิดตัวเวอร์ชันสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของแพลตฟอร์ม HarmonyOS Next ในไตรมาสที่สองของปีนี้ ตามด้วยเวอร์ชันเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบในไตรมาส 4 ก้าวย่างนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนอันทะเยอทะยานของหัวเว่ย ที่จะส่งเสริมระบบนิเวศซอฟต์แวร์ของตนเอง

บริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ในเซี่ยงไฮ้ เปิดตัวระบบ Harmony ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเป็นครั้งแรกในปี 2019 และเปิดตัวระบบปฏิบัติการนี้บนสมาร์ทโฟนบางรุ่นของพวกเขาในอีก 1 ปีต่อมา ไม่นานหลังจากสหรัฐฯกำหนดมาตรการคว่ำบาตร ที่เล็งเป้าหมายตัดขาดระบบ Harmony จากการเข้าถึงการสนับสนุนด้านเทคนิคของ Google สำหรับระบบปฏิบัติการ Android

ผลก็คือ ต่างจากเวอร์ชันลูกค้าทั่วไปของ HarmonyOS ก่อนหน้านี้ เวอร์ชันใหม่จะไม่สามารถใช้แอปที่สร้างขึ้นสำหรับ Android บนระบบได้อีกต่อไป

เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว หัวเว่ยสร้างความฮือฮาด้วยการเปิดตัวสมาร์ทโฟนซีรีส์ Mate60 ซึ่งทางบริษัทบอกว่าจะใช้พลังงานจากชุดชิปที่พัฒนาในประเทศ การเปิดตัวดังกล่าวเป็นตัวแทนของการกลับมาอย่างน่าทึ่งของหัวเว่ย ในการหวนคืนสู่ตลาดสมาร์ทโฟนพรีเมียม หลังจากต้องต่อสู้ดิ้นรนมานานหลายปี ภายใต้มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ

ตามรายงานของรอยเตอร์ระบุว่าบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่แห่งนี้ คาดหมายว่าจะมีรายได้ในปี 2023 แตะระดับ 700,000 ล้วนหยวน( 97,300 ล้านดอลลาร์) เติบโตขึ้น 9% เมื่อเทียบเป็นรายปี

‘กัมพูชา’ ลั่น!! หวังจับมือ ‘หัวเว่ย’ บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีน เพื่อกระตุ้นโครงการด้าน ‘การท่องเที่ยวดิจิทัล’ ในประเทศ

เมื่อวานนี้ (6 พ.ค.67) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สก โสเกน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา เผยความคาดหวังว่ากัมพูชาจะได้ดำเนินความร่วมมือกับหัวเว่ย เทคโนโลยี (Huawei Technologies) ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมของจีน เพื่อส่งเสริมโครงการริเริ่มด้านการท่องเที่ยวดิจิทัลของกัมพูชา

โสเกนพบปะกับเถากวงเย่า ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของหัวเว่ย เทคโนโลยี (กัมพูชา) จำกัด และกล่าวถึงวิสัยทัศน์ของเขาในการเสริมสร้างการทำงานระหว่างกระทรวงฯ กับหัวเว่ย โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาโครงการริเริ่มการท่องเที่ยวดิจิทัล

การท่องเที่ยวเป็น 1 ใน 4 ภาคส่วนสำคัญที่สนับสนุนเศรษฐกิจของกัมพูชา โดยรายงานล่าสุดจากกระทรวงฯ เปิดเผยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.58 ล้านคนในไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม) ของปี 2024 เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 จาก 1.29 ล้านคนในช่วงเดียวกันของปี 2023

ทั้งนี้ กัมพูชามีแหล่งมรดกโลก 4 แห่ง ได้แก่ อุทยานโบราณคดีอังกอร์ หรือนครวัดในจังหวัดเสียมราฐ กลุ่มปราสาทสมบูรณ์ไพรคุก ในจังหวัดกำปงธม รวมทั้งปราสาทพระวิหารและโบราณสถานเกาะแกร์ ในจังหวัดพระวิหาร และมีแนวชายหาดยาวราว 450 กิโลเมตร พาดผ่าน 4 จังหวัดทางตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ สีหนุวิลล์ กัมปอต แกบ และเกาะกง

‘TSMC’ ผู้ผลิตชิปรายยักษ์ตัดสัมพันธ์ลูกค้า ฝ่าฝืนกฎ หลังพบแอบส่งชิปให้ ‘Huawei’

(25 ต.ค. 67) บริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Co. หรือ TSMC ค้นพบในเดือนนี้ว่าชิปที่ผลิตให้กับลูกค้ารายหนึ่งนั้นไปลงเอยที่ Huawei Technologies ซึ่งอาจเป็นการฝ่าฝืนมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ที่มุ่งหมายจะตัดเส้นทางการผลิตเทคโนโลยีไปยังบริษัทสัญชาติจีน

TSMC ได้ระงับการจัดส่งให้กับลูกค้ารายดังกล่าวในช่วงกลางเดือนตุลาคม หลังจากที่บริษัทได้ตระหนักว่าเซมิคอนดักเตอร์ที่ผลิตขึ้นสำหรับบริษัทดังกล่าวได้เข้าไปอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ Huawei บุคคลผู้มีความรู้โดยตรงในเรื่องนี้กล่าว หลังจากนั้น ผู้ผลิตชิปรายดังกล่าวได้แจ้งให้รัฐบาลสหรัฐฯ และไต้หวันทราบแล้ว และกำลังสืบสวนเรื่องนี้อย่างละเอียดถี่ถ้วนยิ่งขึ้น โดยบุคคลผู้นี้ขอไม่เปิดเผยชื่อเนื่องจากเป็นสถานการณ์ที่ละเอียดอ่อน

ยังไม่ชัดเจนว่าลูกค้าของ TSMC ดำเนินการในนามของ Huawei หรือไม่ หรือบริษัทตั้งอยู่ที่ใด แต่เหตุการณ์นี้ทำให้รายงานที่เผยแพร่ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา รวมทั้งจาก The Information เปิดเผยว่าวอชิงตันได้ติดต่อ TSMC เมื่อไม่นานนี้ว่าบริษัทได้ผลิตชิปให้กับบริษัทจีนที่อยู่ในบัญชีดำหรือไม่

การค้นพบของ TSMC ทำให้เกิดคำถามว่า Huawei ซึ่งถือเป็นความหวังสูงสุดของจีนในการก้าวขึ้นสู่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ได้ชิปขั้นสูงมาได้อย่างไร บริษัทวิจัย TechInsights ค้นพบเมื่อไม่นานนี้ว่าเซิร์ฟเวอร์ปัญญาประดิษฐ์ล่าสุดของ Huawei มีโปรเซสเซอร์ที่ผลิตโดย TSMC ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านการผลิตที่สำคัญที่สุดของ Nvidia

Huawei อยู่ในรายชื่อคว่ำบาตรตั้งแต่ปี 2020 และถูกห้ามทำธุรกิจกับ TSMC และบริษัทผู้ผลิตชิปรายอื่นโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลสหรัฐฯ ในปีที่ผ่านมา Huawei ได้พึ่งพา Semiconductor Manufacturing International Corp. ซึ่งเป็นพันธมิตรในพื้นที่ในการผลิตชิป ซึ่งรวมถึงชิปขนาด 7 นาโนเมตรที่เปิดตัวในเดือนสิงหาคมปีที่แล้วในสมาร์ทโฟนของ Huawei

แต่เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ ได้ตั้งคำถามถึงความสามารถของ SMIC ในการผลิตชิปขนาด 7 นาโนเมตรในปริมาณมาก การที่ Huawei ใช้เอาต์พุตของ TSMC สำหรับชิป AI รุ่นล่าสุดอาจเป็นสัญญาณที่ตอกย้ำเรื่องราวดังกล่าว บริษัทผู้ผลิตชิปสัญชาติไต้หวันได้กล่าวว่าได้หยุดส่งสินค้าทั้งหมดให้กับ Huawei หลังจากวันที่ 15 กันยายน 2020 ซึ่งบริษัทได้ย้ำอีกครั้งเมื่อถูกถามเกี่ยวกับรายงานของ TechInsights

ตัวแทนของ TSMC ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้าล่าสุด โฆษกของ Huawei ยังไม่มีความคิดเห็นใดๆ เมื่อได้รับการติดต่อ โฆษกของกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ กล่าวว่าสำนักงานอุตสาหกรรมและความปลอดภัยของหน่วยงาน "รับทราบถึงการรายงานที่กล่าวหาว่าอาจละเมิดการควบคุมการส่งออกของสหรัฐฯ"

"TSMC เป็นบริษัทที่เคารพกฎหมาย และเรามุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามกฎและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงการควบคุมการส่งออกที่เกี่ยวข้อง" บริษัทกล่าวในแถลงการณ์ทางอีเมลเมื่อวันอังคาร "เราได้สื่อสารกับกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ อย่างจริงจังเกี่ยวกับเรื่องในรายงาน เราไม่ทราบว่า TSMC ตกเป็นเป้าหมายของการสอบสวนใดๆ ในขณะนี้"

ในแถลงการณ์แยกกัน Huawei กล่าวเมื่อวันอังคารว่า "ไม่ได้ผลิตชิปใด ๆ ผ่าน TSMC หลังจากนำการแก้ไขที่กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ จัดทำขึ้นใน FDPR ซึ่งกำหนดเป้าหมายไปที่ Huawei ในปี 2020 มาใช้" FDPR อ้างถึงกฎสินค้าโดยตรงจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นข้อจำกัดการค้าของสหรัฐฯ

John Moolenaar สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรจีน กล่าวเมื่อวันพุธว่า รายงานเกี่ยวกับชิปที่ TSMC ผลิตในอุปกรณ์ของ Huawei "แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวอย่างร้ายแรงของนโยบายควบคุมการส่งออกของสหรัฐฯ" เขาเรียกร้องให้ "ทั้ง BIS และ TSMC ตอบกลับทันทีเกี่ยวกับขอบเขตและปริมาณของภัยพิบัติครั้งนี้"

ไต้หวันเคารพมาตรการควบคุมการส่งออกของสหรัฐฯ และจะแจ้งเรื่องนี้ให้ TSMC ทราบโดยสมบูรณ์ J.W. Kuo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจกล่าวกับนักข่าวเมื่อวันพุธ

เจ้าหน้าที่ BIS ได้พบกับผู้บริหารของ TSMC เมื่อกลางเดือนตุลาคมเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานของผู้ผลิตชิป รวมถึงการที่ผู้จัดจำหน่ายบุคคลที่สามอาจให้เทคโนโลยีที่จำกัดการเข้าถึงจีนได้หรือไม่ ตามคำบอกเล่าของบุคคลอีกคนที่คุ้นเคยกับเรื่องนี้ ซึ่งอธิบายว่าการประชุมครั้งนั้นเป็นการร่วมมือกัน ไม่ชัดเจนว่าพวกเขาพูดถึงการค้นพบของลูกค้าหรือไม่

ตัวเร่งความเร็ว AI ซึ่งเป็นชิปที่ใช้ในการพัฒนาโมเดล AI ได้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณค่าในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี

Nvidia ซึ่งตั้งอยู่ในซานตาคลารา รัฐแคลิฟอร์เนีย ใช้ TSMC ในการผลิตเวอร์ชันที่เป็นผู้นำตลาด ซึ่งผลักดันยอดขายและมูลค่าของบริษัทในช่วงสองปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ จำกัดการส่งออกชิป Nvidia ที่ทันสมัยไปยังจีน และ Huawei กำลังเสนอตัวเร่งความเร็วเป็นทางเลือกในประเทศ

910 ของ Huawei ซึ่งเป็นรุ่นก่อน 910B เริ่มผลิตในปี 2019 ก่อนที่ 910B จะออกสู่ตลาด รัฐบาลสหรัฐฯ ขยายมาตรการคว่ำบาตรบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของจีน โดยในช่วงเวลาดังกล่าว Huawei ได้จัดเก็บชิ้นส่วนของ TSMC ไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้บริษัทสามารถใช้ชิป TSMC ขนาด 5 นาโนเมตร ซึ่งล้ำหน้าชิปขนาด 7 นาโนเมตรถึงเจเนอเรชันในแล็ปท็อปที่วางจำหน่ายเมื่อปลายปีที่แล้ว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top