Monday, 28 April 2025
หอสมุดแห่งชาติ

‘พี่กลาง’ มาเฉลยให้ฟัง  ถึงระบบสมอง ของมนุษย์ เชื่อหรือไม่ ที่แท้ ‘ผ้าเน่า’ ไม่เคยหายไปไหน แต่ย้ายไปอยู่ในหัวของเรา

เมื่อวานนี้ (16 มี.ค.67) ผู้เล่นTikTok ที่ชื่อว่า “d_klang พี่กลาง หอสมุดแห่งชาติ” ได้โพสต์คลิป เล่าถึงระบบสมองของมนุษย์ โดยมีใจความว่า ...

ทำไมเด็กต้องติดผ้าเน่า เห็นเก่ายังไงก็รัก ห้ามเอาไปซัก ด้วยนะ แล้วมันก็ไม่ได้เป็นแค่เฉพาะเด็กไทยเท่านั้น เด็กทั่วโลกก็ติดกันหมด แสดงว่าอันนี้ไม่ใช่วัฒนธรรมของชาติเราแต่มนุษย์เรา โดนวิวัฒนาการมาให้ติดของเน่าอย่างนั้นหรือ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น 

ที่มันเป็นอย่างนี้ ก็เพราะว่า คนเราตอนเด็กๆ ดูแลตัวเองไม่ได้ แต่พอโตขึ้นมา ต้องดูแลตัวเองให้ได้ ดูแลตัวเองไม่ได้ทำอย่างไร ก็ต้องอยู่กับพ่อแม่ จะได้มีบ้านอยู่ จะได้มีของกิน

แล้วเพื่อให้โตขึ้นไปแล้วสามารถอยู่ให้ได้ด้วยตัวเองได้เนี่ย ธรรมชาติก็ได้สร้างอีกสิ่งอย่างหนึ่งให้กับสิ่งมีชีวิตที่เป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกตัว นั่นก็คือการเล่น หมา แมว ช้างลิง เสือ ตอนเด็กๆมันก็เล่นหมด เพราะการเล่นมันก็คือการสำรวจโลกกว้าง อารมณ์เหมือนตอนเราเล่นทำกับข้าว เล่นกันเป็นผัวเมีย กันในวัยเด็ก อย่างนั้นแหละ 

ที่นี้เนี่ย การเล่นแบบสำรวจโลกกว้าง กับการอยู่กับพ่อแม่เนี่ย มันจะตรงข้ามกัน คือการเล่นสำรวจโลกกว้างอย่างเดียวเลยเนี่ย เราก็จะไม่มีอะไรกิน แต่ถ้าเราไป อยู่กับพ่อแม่อย่างเดียว โตขึ้นเราก็จะทำอะไรเองไม่เป็น ธรรมชาติก็เลยจัด Balance 2 สิ่งนี้ให้ เกิดเป็นความคิดระบบฐานที่มั่นขึ้นมานั่นก็คือพ่อแม่ เอาไว้สร้างความอุ่นใจ สร้างความมั่นใจ ถ้ารู้สึกว่ามั่นใจ มั่นคงแล้ว ก็ออกมาสำรวจโลก แต่ถ้ารู้สึกว่าแบตหมด ก็กลับมาที่ ฐานที่มั่นนั้น มันก็จะเป็นแบบนี้

รู้สึกไหมว่า มันขัดกับความเชื่อแบบโบราณ ที่ว่า เลี้ยงลูกดีเกิน เอาใจใส่ลูกมากเกิน ลูกจะทำอะไรไม่เป็น จริงๆแล้วมันตรงกันข้าม การเลี้ยงเขาดีๆทำให้เขารู้สึกมีความปลอดภัยแล้วเขาก็จะออกไปท่องโลกกว้าง ได้ดีมากขึ้น การเลี้ยงลูกแบบปล่อยปละละเลยนี่แหละทำให้รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย เมื่อลูกรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย ส่งผลถึงการออกไปเล่นของเขา ส่งผลถึงอนาคตของเขา จริงๆเรื่องนี้ก็อธิบายเป็นพฤติกรรมได้เมื่อเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ บางคนโตไปชอบบังคับแฟน ชอบทำร้ายแฟน แต่บางคนเป็นคนที่นิสัยใจดี มีเมตตา

การที่ลูกนั้นมีฐานที่มั่นอยู่ที่พ่อแม่ มันก็จะมีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่งคือ เด็กๆก็จะสำรวจโลกได้แคบ เมื่อเขาโตขึ้น สมองมีการพัฒนามากขึ้น เขาก็จะย้ายฐานความคิด ฐานที่มั่นออกจากพ่อแม่ไปอยู่กับ อะไรที่มันนิ่มๆเหมือนกับอ้อมกอดของพ่อแม่นั่นก็คือ น้องผ้าเน่านี่เอง เป็นฐานที่มั่นที่สามารถพกพาไปได้ด้วย ทำให้สามารถสำรวจโลกกว้างได้มากขึ้น แล้วพอเมื่อโตขึ้นมาอีก ก็จะย้ายฐานที่มั่นจากไอ้น้องผ้าเน่านี่ มาอยู่ในสมอง แล้วเขาก็จะสามารถเติบโตได้อย่างมีอิสระ

ที่นี้มีอยู่เรื่องนึงน่าสนใจมาก ระบบฐานที่มั่น ไม่เคยออกไปจาก ระบบสมองของพวกเราเลย เวลาที่เรา อกหัก เวลาที่เราสอบตก เวลาที่เราโดนเจ้านายด่า เวลาที่เราโดนไล่ออกจากงาน เราทำอะไร เราโทรหาพ่อแม่ บางคนกลับ ไปต่างจังหวัด หรือไปอยู่ในบ้านที่เราเคยอยู่เมื่อตอนเด็กๆ บางคนก็หยิบรูปของครอบครัว สมัยเก่าๆ ขึ้นมาดูแล้วก็ร้องไห้ นี่แหละ คือระบบฐานที่มั่น มันไม่เคยหาย ไปไหนเลยมันฝังอยู่ในหัวสมองของพวกเราตลอดเวลา

12 ตุลาคม พ.ศ. 2448 ร.5 ทรงประกาศรวมหอพระสมุด พร้อมจัดตั้ง "หอสมุดสำหรับพระนคร" ต้นกำเนิดหอสมุดแห่งชาติ

12 ตุลาคม พ.ศ. 2448 ในหลวง รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศรวมกิจการหอพระสมุดสามแห่ง คือ หอพระมณเฑียรธรรม หอพระสมุดวชิรญาณและหอพุทธศาสนสังคหะ จัดตั้งเป็น "หอสมุดสำหรับพระนคร" พระราชทานให้ปวงชนชาวไทยมีแหล่งศึกษาหาความรู้ ทำให้หอพระสมุดที่เดิมเป็นประโยชน์เฉพาะเจ้านายขุนนาง ได้ใช้ประโยชน์โดยประชาชนทั่วไปด้วย จัดเป็นห้องสมุดสาธารณะแห่งแรกของไทย และเป็นต้นกำเนิดของ "หอสมุดแห่งชาติ" ในปัจจุบัน

โดยพระราชทานนามว่า "หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร" ตั้งอยู่ ณ หอคองคอเดีย ในพระบรมมหาราชวัง (ปัจจุบันคือ ศาลาสหทัยสมาคม) เนื่องจากพระราชประสงค์จะทรงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมชนกนาถ (รัชกาลที่ 4) ครบ 100 ปี 

ประจวบกับประเทศสยามยังไม่มีหอสมุดสำหรับพระนคร จึงทรงอุทิศถวายหอพระสมุดวชิรญาณเป็นหอพระสมุดสำหรับพระนคร พร้อมทั้งขยายกิจการหอพระสมุดวชิรญาณซึ่งแต่เดิมทีเป็นหอพระสมุดสำหรับราชสกุล ให้เป็นหอสมุดสำหรับบริการประชาชนทั่วไป จึงนับเป็นห้องสมุดสาธารณะแห่งแรกของไทย และเป็นต้นกำเนิดของหอสมุดแห่งชาติ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top