Friday, 17 May 2024
หลงกรุง

มาบุญครอง (MBK) ศูนย์การค้าใหญ่ใจกลางปทุมวัน ความเจริญที่ไม่มีวันจางหาย

MBK Center
ชื่อเดิม ศูนย์การค้ามาบุญครอง
อดีตศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เช่าที่จากจุฬา พ.ศ. 2526
เปิดบริการ พ.ศ. 2528

ชื่อมาบุญครอง มาจากนายมา และนางบุญครอง
ชื่อบิดาและมารดาของคุณศุภชัย บุลกุล 
ผู้ก่อตั้งและอดีตเจ้าของศูนย์การค้ามาบุญครอง

กลุ่มบุลกุล เติบโตมาจากธุรกิจการเกษตร โรงสีข้าว และขยายไปหลายธุรกิจ
ทรงอิทธิพลร่วมกับกลุ่มหวั่งหลี และกลุ่มบุลสุข

ในประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งของเศรษฐกิจไทย
การลดค่าเงินบาท พ.ศ. 2527 ในยุคป๋าเปรม
ส่งผลกระทบต่อศูนย์การค้ามาบุญครองใหญ่หลวง

มีการเปลี่ยนกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่
ผู้บริหารชุดใหม่ เก่งมาก 
ปลุกปั้นศูนย์การค้ามาบุญครองเติบโตยิ่งใหญ่

จากต้นทศวรรษ 2530 แข็งแกร่งผ่านปี 2540 สิวๆ
ตรงกับยุคประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า โลกพอดี
ห้างมาบุญครองเป็นห้างขวัญใจนักช็อปนานาชาติ

เป็นห้างในฝันของทุนเล็กรายย่อยรายน้อย
เพราะถูกออกแบบให้เป็นร้านค้าขนาดเล็กจำนวนมากตั้งแต่ต้น
พ.ศ. 2543 เปลี่ยนชื่อเป็น MBK CENTER

รายย่อยหน้าใหม่เข้าไม่ถึงแล้ว
เพราะค่าเช่าค่าที่แพงยิ่งทองคำ

คนในอยากออก (บางส่วน) 
คนนอกอยากเข้ามีมากกว่ามาก

พ.ศ. 2562 ก่อนเกิดโควิดระบาด
โลกเข้าสู่ยุคค้าขายออนไลน์
มีข่าวแปลกที่ไม่เคยปรากฏ แม่ค้ามาบุญครองประท้วงค่าเช่าแพง

พ.ศ. 2563-2564 โควิดระบาด
ประเทศไทยปิดประเทศ
MBK CENTER เจอความท้าทายใหม่ครั้งใหญ่ 

ชีวิตสองขั้วกลางกรุง มุ่งสู่วิถีคนเมืองด้วย 'สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต' ปิดสวิตช์ความวุ่นวายด้วย 'สวนจตุจักร' 

หยินหยาง
ความสงบเยือกเย็นของสวนจตุจักร 
กับ ความวุ่นวายรุ่มร้อนของสถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต


ที่มา : https://www.facebook.com/photo?fbid=533172938166369&set=a.242244413925891


👍 มาหลงกรุงไปด้วยกันได้ที่ : https://thestatestimes.com/tag/หลงกรุง

ก้าวใหม่แห่งความเจริญ ‘ทางด่วนใหม่ พระราม๓-ดาวคะนอง-บางขุนเทียน’ และ ‘สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาคู่ขนานสะพานพระราม ๙’

ทางด่วนท่าเรือ-ดาวคะนอง และ สะพานขึงพระราม ๙
เปิดใช้งาน พ.ศ. ๒๕๓๐

ภาพนี้ กำลังก่อสร้าง ทางด่วนใหม่ พระราม ๓-ดาวคะนอง-บางขุนเทียน และสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่คู่ขนานสะพานขึงพระราม ๙

โครงการนี้ คือโครงการเดียวกันกับที่เราเห็นการก่อสร้างบนเกาะกลางถนนพระราม ๒ ในเวลานี้นั่นเอง

‘สามย่าน’ อดีตวงเวียนเชื่อมความเจริญ ใจกลางมหานคร

สามย่าน ต้นถนนพญาไท 
อดีตเคยเป็นวงเวียน

ถนนพญาไทยในอดีต
คือถนนเจ้าแห่งวงเวียน

มีวงเวียน 5 แห่ง
เริ่มต้นที่วงเวียนสามย่าน วงเวียนปทุมวัน วงเวียนราชเทวี วงเวียนพญาไท และสิ้นสุดที่วงเวียนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

ปัจจุบันคงเหลือเพียงวงเวียนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ


ที่มา : https://www.facebook.com/photo/?fbid=472485114235152&set=a.242244403925892


👍 มาหลงกรุงไปด้วยกันได้ที่ : https://thestatestimes.com/tag/หลงกรุง

ส่วนผสมที่แตกต่าง...แต่ลงตัว ‘วัดไผ่เงินโชตนาราม - วัดนักบุญยอแซฟ’ ‘วัดพุทธ - วัดคาทอลิก’  ย่านตรอกจันทน์

กรุงเทพมุมนี้แปลกตาดีครับ
แอดถึงกับขยี้ตาก่อนถ่ายภาพ 555

วัดคาทอลิก...
วัดนักบุญยอแซฟ ตรอกจันทน์
และวัดพุทธ... 
วัดไผ่เงินโชตนาราม 

วัดนักบุญยอแซฟ ตรอกจันทน์
ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบทรงไทยประยุกต์

คุณพ่อแปรูดง เจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญ (ค.ศ. 1939-1960 , พ.ศ. 2482-2503) คิดที่จะขยายมิสซังคาทอลิกในกรุงเทพฯ ไปทางใต้ 

ค.ศ. 1951 (พ.ศ.2494) ซื้อที่ดินแปลงใหญ่ในบริเวณใกล้วัดไผ่เงิน
ต่อมามีการสร้างอาคารโรงเรียนหญิง 
เปิดสอนชั้นมัธยม (ร.ร.วาสุเทวี) เมื่อปี ค.ศ. 1953 (พ.ศ. 2496)
สร้างโรงเรียนประถม (ร.ร.เปรมฤดี ศึกษา) 

เสกศิลาฤกษ์สร้างวัด วันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498)
เสกวัดใหม่ถวายแด่ท่านนักบุญยอแซฟ
ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1963 (พ.ศ. 2506)
ตรงกับวันแรงงาน เนื่องจากนักบุญยอแซฟ บิดาของพระเยซู ท่านเป็นช่างไม้ 

หลงรักภูเขาทอง สื่อรักรูปหัวใจจาก 'การไฟฟ้า’ ผ่านมุมมองฟากฝั่ง ‘คลองสาน'

หลงรักภูเขาทอง
ภาพนี้ถ่ายที่คลองสาน
ส่วนหัวใจสีเขียวแดงมาจากตึกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่บางกรวย


ที่มา : https://www.facebook.com/532544466865594/photos/a.532552690198105/4493489827437685/


👍 มาหลงกรุงไปด้วยกันได้ที่ : https://thestatestimes.com/tag/หลงกรุง

‘โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา’ โรงพยาบาลแห่งที่ 2 ของไทย ตั้งตระหง่านย่าน ‘ปากคองสาน’

โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
โรงพยาบาลแห่งที่ 2 ของประเทศไทย
ชาวบ้านเรียกปากคลองสาน 

ตามชื่อที่ตั้งเดิมของโรงพยาบาล
เรียกหลังคาแดง เพราะมีหลังคาสีแดง
และเรียกโรงพยาบาลบ้า เพราะเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางรักษาผู้ป่วยจิตเวช

ขนาบด้วย ถนนสมเด็จเจ้าพระยา (ขวา)
ถนนสายที่ 2 ของธนบุรี

และถนนลาดหญ้า (ซ้าย)
ถนนสายที่ 4 ของธนบุรี

‘ถนนลาดหญ้า’ จากชื่อสมรภูมิ สู่ถนนสายสำคัญ สายที่ 4 ของชาวฝั่งธนบุรี

ถนนลาดหญ้า
ถนนสายที่ 4 ของธนบุรี

ตั้งชื่อตามสมรภูมิลาดหญ้าในสงครามเก้าทัพ
ระหว่างพระเจ้าปดุงแห่งกรุงอังวะ และพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแห่งกรุงเทพมหานคร

เกิดขึ้นหลังสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใหม่แห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพียง 3 ปี
จบด้วยชัยชนะของกรุงเทพมหานคร

‘ถนนสมเด็จเจ้าพระยา’ ถนนสายที่ 2 ของธนบุรี ย่านเก่าผู้ทรงอิทธิพลในแดนสยาม

ถนนสมเด็จเจ้าพระยา
ถนนสายที่ 2 ของธนบุรี

ตั้งชื่อตามสมเด็จเจ้าพระยาสามท่านที่มีบ้านอยู่ย่านนี้
ได้แก่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

‘ซอยพร้อมพงษ์’ สุขุมวิท 39 พิกัดความเจริญ สุดน่าหลงใหล แห่งย่านสุขุมวิท

หลงใหลสุขุมวิท
สุขุมวิท 39 ซอยพร้อมพงษ์

ซอยที่รุ่งโรจน์ที่สุดของสุขุมวิท
ไม่นับ ซอยอโศก และ ซอยทองหล่อ เป็นถนนใหญ่ไปแล้ว


ที่มา :  https://www.facebook.com/532544466865594/photos/a.532552690198105/4420420791411256/


👍 มาหลงกรุงไปด้วยกันได้ที่ : https://thestatestimes.com/tag/หลงกรุง
 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top