Monday, 21 April 2025
ศาสตร์พระราชา

ห้องเรียนใหญ่ที่สุดในโลกของในหลวง ร.9 แหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต 4,800 แห่งทั่วประเทศ

อย่างที่ทราบกันดีว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า อากาศ โลกร้อน และพลังงานทดแทน นับเป็นปัญหาใหญ่ของโลกในปัจจุบัน ซึ่งหลายๆ ประเทศ และหลายหน่วยงาน ต่างรณรงค์ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนตระหนัก และร่วมกันแก้ปัญหา

ทั้งนี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งส่งผลสะท้อนกลับมายังความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน อาทิ ปัญหาโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นการตระหนักรู้และจัดการดูแลเพื่อรักษาธรรมชาติไม่ให้ถูกทำลาย และสร้างสมดุลเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของทุกคน ที่จะต้องมีส่วนร่วมในการหันมาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่สืบต่อไป การเปลี่ยนแนวคิดและสร้างวิถีชีวิตแห่งความยั่งยืนจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องดำเนินการไปพร้อมๆ กัน

ที่ผ่านมา บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกับศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และมูลนิธิธรรมดี จัดทำโครงการ ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา โดยได้คัดเลือกครูอาจารย์จากทั่วประเทศมาร่วมกิจกรรม ซึ่งจัดไปแล้ว 15 ครั้ง 

สำหรับ ครั้งที่ 15 จัดขึ้น ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี โดยในครั้งนี้เป็นการรณรงค์สร้างจิตสำนึกการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ปรับวิถีชีวิตสู่สมดุลด้วยนวัตกรรมศาสตร์พระราชา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาป่าไม้อเนกประสงค์ มุ่งหมายศึกษารูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมควบคู่ไปกับการปลูกป่า เพื่อฟื้นฟูสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรและปลูกป่า จัดสรรที่ทำกินให้กับราษฎร ที่ได้เข้ามาบุกรุกทำกินอยู่แต่เดิมให้ได้เข้าอยู่อาศัย และให้ความรู้กับราษฎร ให้ทำการเกษตรอย่างถูกวิธี รวมทั้งให้มีส่วนร่วมในการปลูกป่า ดูแลรักษาป่า ตลอดจนให้ได้รับประโยชน์จากผลผลิตของป่า เพื่อที่ราษฎรจะได้ไม่บุกรุกทำลายป่าอีกต่อไป เป็นการดูแลทรัพยากรที่สำคัญ ทั้งคนและสิ่งแวดล้อม

ศูนย์นี้เคยประสบกับปัญหาพื้นที่ป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดการบำรุงรักษา ทำให้ธรรมชาติขาดความสมดุล เกิดความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล มีปริมาณฝนลดลง และเมื่อเวลามีฝนตกฝนจะตกหนัก เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการชะล้างพังทลาย หน้าดินถูกกัดเซาะเป็นร่องลึก เนื่องจากไม่มีพืชคลุมดินเป็นสิ่งกีดขวางการไหลบ่าของน้ำ  

“หญ้าแฝก” จึงเป็นพืชที่เหมาะสมในการนำมาปลูกเพื่อพัฒนาพื้นดินบริเวณนี้ เพื่อการใช้ประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ ชะลอและเก็บกักน้ำให้ดินชุ่มชื่น ตลอดจนการดูแลสิ่งแวดล้อมในด้านการช่วยบำบัดน้ำเสียได้อีกด้วย ซึ่งคณะครูอาจารย์ก็ได้ร่วมลงมือทำกิจกรรมปลูกหญ้าแฝก เพื่อเป็นการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์การอนุรักษ์ธรรมชาติด้วยการลงมือปฏิบัติจริง

พ.ต.อ.พันศักดิ์ สมันตรัฐ ผอ.ศูนย์ฯ กล่าวว่า “นอกเหนือจากการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว การดูแลประชาชนในพื้นที่ก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน ดังนั้น ความรู้ด้านการตลาดก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชาวบ้าน” ซึ่งได้ยกตัวอย่างการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านเพาะปลูก อาทิ การแปรรูปน้ำอ้อย จากเดิมที่การขายเป็นลำอ้อย ให้ปรับมาขายเป็นแก้ว ที่ได้ราคามากกว่า หรือการเพาะปลูกอย่างไร เพื่อให้ได้ผลผลิตเก็บเกี่ยวออกมาขายได้ทุกวัน อย่างเช่นการปลูกผักบุ้งที่มีการวางแผนการปลูกอย่างเป็นระบบ เป็นต้น

“หลักการที่สำคัญในการบริหารจัดการและการดูแลชาวบ้านเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและอยู่อย่างมีความสุข คือการร้อยเรียงเรื่อง การบูรณาการด้านวิชาการ โดยมีภูมิปัญญาท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่” ให้สอดคล้องไปด้วยกัน ผอ.ศูนย์สรุป

การทำกิจกรรมที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้ ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด และประธานมูลนิธิธรรมดี ให้ความเห็นอย่างน่าสนใจว่า “ที่ศูนย์นี้ ถือเป็นห้องเรียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยพื้นที่กว่า 20,000 ไร่ ที่เป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติ ป่าชายหาด และป่าชายเลน เป็นสมบัติของโลกใบนี้ที่เราควรต้องช่วยกันดูแลรักษาฟื้นฟูอนุรักษ์ธรรมชาติ ทั้งดิน น้ำ ลม ไฟ ช่วยให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดี การพยายามออกจากห้องเรียนสี่เหลี่ยมจะช่วยให้เราได้เข้าถึงธรรมชาติและสามารถเรียนรู้จากธรรมชาติได้ทุกเรื่อง ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของการเกษตรเท่านั้น แต่ยังบูรณาการไปถึงเรื่องเศรษฐกิจ การตลาด เชื่อมโยงไปถึงอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงการท่องเที่ยว ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องที่ได้อีกด้วย”

จากใจ 'กอยยิมสามกีบชังชาติ' เคยโจมตี 'พ่อหลวง ร.9' หันมาศึกษา 'ศาสตร์พระราชา' จนปรับใช้กับชีวิตได้จริง

'ดร.สุวินัย' เปิดคำสารภาพของอดีต 'กอยยิมสามกีบชังชาติ' เคยเชื่อบทความต่างประเทศที่โจมตีพ่อหลวง ร.9 เรียนเรื่องระบบการเงินโลก เพื่อจะได้รวย ๆ เริ่มเข้าใจความน่ากลัว จึงมาศึกษาศาสตร์พระราชา ได้เข้าใจสิ่งที่พ่อหลวงสร้างทางรอดไว้ให้คนไทย สามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ๆ

ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง 'คำสารภาพของอดีตกอยยิมชังชาติคนหนึ่ง' เนื้อหา ว่า...

ในฐานะที่เราเคยเป็นกอยยิมชังชาติ เชื่อบทความต่างประเทศที่โจมตีพ่อหลวง ร.9 มาก่อน

หลุดพ้นมาได้ เพราะกุศโลบายอยากรวย เราเลยไปเรียนเรื่องระบบการเงินโลก ...

อยากรวย อยากเทรดเก่ง อยากลงทุนเก่ง เลยตั้งใจเรียน ...

กลายเป็นว่าของเข้า !

เราเริ่มเข้าใจระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยหนี้ (Debt Based Economy)

เราเริ่มเข้าใจความน่ากลัวและความทรงพลังของมัน

เราเริ่มเข้าใจว่ามีกลุ่มคนที่ควบคุมระบบนี้อยู่ และใช้มันเพื่อสร้าง 'ทาสระบบหนี้' (Debt Slave)

พอเข้าใจแล้วเราจึงมาศึกษาศาสตร์พระราชาอย่างตั้งใจจริง (เพื่อให้ครอบครัวเรารอด)

โดยเอาความรู้ฟากระบบทุนนิยมที่เราศึกษามาเป็นที่ตั้ง
 

พระปัญญาวชิรโมลี แนะจัดการน้ำท่วม-แล้ง สร้าง ‘หลุมขนมครก’ กักเก็บน้ำไม่ ไม่ต้องพึ่งพาเขื่อน

เมื่อวันที่ (29 ก.ย. 65) พระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ได้โพสข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "พระปัญญาวชิรโมลี นพพร" ถึงแนวทางการบริหารจัดการน้ำ ว่า ...

มหัศจรรย์ของศาสตร์พระราชา

น้ำท่วมไม่ใช่ไสยศาสตร์

“เศรษฐา” ควง “ไชยา” ระดมทุกฝูงบินฝนหลวงดับฝุ่น PM2.5 ด้วย “ศาสตร์พระราชา“บันดาลฝนทั่วไทย

"เศรษฐา ทวีสิน“ นายกรัฐมนตรี ควง ไชยา พรหมา รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดปฏิบัติการฝนหลวง พื้นที่ภาคเหนือประจำปี 2567 สั่งระดมทุกฝูงบินน้อมนำศาสตร์พระราชาบันดาลฝนทั่วไทย ดับฝุ่น PM 2.5 พร้อมขอความร่วมมือประชาชนงดเผาเพื่อรักษาสภาพอากาศที่ดีในประเทศไทย

วันที่ 11 มกราคม 2567  ที่บริเวณท่าอากาศยานทหารกองบิน 41 อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เป็นประธานในพิธีเปิดปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อบรรเทาปัญหาหมอกควัน ไฟป่า และฝุ่นละออง PM 2.5 บริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ประจำปี 2567 มี นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ในฐานะดูแลกรมฝนหลวง) นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพิธี โดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผวจ.เชียงใหม่ กล่าวให้การต้อนรับ และรายงานแผนการรับมือกับสภาพอากาศพื้นที่ภาคเหนือ ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน ที่ประสบปัญหาหมอกควัน ไฟป่า และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน 

นายไชยา พรหมา รมช.เกษตรฯ กล่าวว่า ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทั่วไทยยังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะในทางภาคเหนือ 15 จังหวัด ที่จะมีปัญหาการเกิดไฟป่าที่เกิดจากธรรมชาติและจากการเผาโดยฝีมือมนุษย์ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ทุกปีจะเกิดปัญหาหมอกควัน ไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จึงได้เตรียมมาตรการรับมือสภาพอากาศพื้นที่ภาคเหนือระดมทุกฝูงบินทั่วประเทศเข้าติดตามและเฝ้าระวังพร้อมกับการปฏิบัติการ และที่ผ่านมากรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้จัดหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว จ.เชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2567 เป็นต้นไป ช่วยเหลือพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน 15 จังหวัด ที่ยังมีหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว จ.ระยอง และหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2566 เป็นต้นมา ช่วยเหลือพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

นอกจากนี้ ยังมีแผนการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ประจำปี 2567 จำนวน 14 หน่วยปฏิบัติการทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2567 เป็นต้นไป เพื่อปฏิบัติการฝนหลวงในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้พื้นที่ป่าไม้บรรเทาและป้องกันการเกิดไฟป่า ปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 การเติมน้ำต้นทุนให้กับอ่างเก็บน้ำ บรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง สำหรับในพื้นที่ภาคเหนือ ได้กำหนดให้ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.เชียงใหม่ ภายใต้การบูรณาการร่วมกันระหว่าง จ.เชียงใหม่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ซึ่งจะใช้เครื่องบินของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ขนาดใหญ่ จำนวน 2 ลำ เครื่องบินขนาดกลาง จำนวน 4 ลำ พร้อมติดตั้งอุปกรณ์พ่นละอองน้ำสู่ชั้นบรรยากาศ เครื่องบินขนาดเล็ก จำนวน 4 ลำ และเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 1 ลำ พร้อมชุดกระเช้าตักและโปรยน้ำดับไฟป่า โดยมีแผนดำเนินงานและปฏิบัติการหลักคือ ปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อให้มีฝนตกในพื้นที่ที่เชื่อว่าจะสามารถบรรเทาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนได้และยังเป็นการสานต่อพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือประชาชนจากภัยพิบัติทางธรรมชาติด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top