Tuesday, 22 April 2025
วันมหิดล

'วันมหิดล' 24 กันยายน น้อมรำลึกพระกรุณาธิคุณ พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ประกาศให้วัน ที่ 24 กันยายน ของทุกปีเป็น “วันมหิดล” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เป็นต้นมา เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์) พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย พระองค์ฯ ได้วางรากฐาน เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่โรงเรียนแพทย์  และพัฒนาการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและทำให้การสาธารณสุขไทย ได้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ

นับตั้งแต่เป็นเจ้าฟ้าฯ จนประชวร และสิ้นพระชนม์ในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472  ทำให้ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และบรรดาศิษย์เก่า ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้ร่วมใจกันสร้างพระราชาอนุสาวรีย์ขึ้น ณ ใจกลางโรงพยาบาลศิริราช

24 กันยายน ‘วันมหิดล’ วันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย

24 กันยายน พ.ศ. 2472 เป็นวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย จึงถือเอาวันนี้เป็นวัน ‘มหิดล’ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์ฯ

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระราชโอรส-พระราชธิดาด้วยกัน 3 พระองค์ ดังนี้ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร  และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย”

ช่อง 3 นำนักแสดงร่วมงานแถลงข่าว “24 กันยายน “วันมหิดล” ศิลปินรวมใจช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาส รพ.ศิริราช” น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย” และร่วมกัน “ให้” ชีวิตใหม่แก่ผู้ด้อยโอกาส รพ.ศิริราช

ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ในฐานะรองประธานกรรมการจัดงานหารายได้  และประธานกรรมการฝ่ายจัดรายการโทรทัศน์ประจำปี 2566   เป็นประธานเปิดงานแถลงข่าว “24 กันยายน “วันมหิดล” ศิลปินรวมใจช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาส รพ.ศิริราช” ร่วมกับ ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ในฐานะประธานกรรมการขอรับบริจาคเนื่องในวันมหิดล รศ. พญ.นันทกร ทองแตง รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและองค์กรสัมพันธ์ ในฐานะคณะกรรมการจัดงานหารายได้เนื่องในวันมหิดล คุณลาวัลย์ กันชาติ ประธานกรรมการ บริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด คุณบงกช อักษรดี ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตรายการ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก คุณชาคริต ดิเรกวัฒนชัย รองกรรมการผู้อำนวยการสำนักกิจการและสื่อสารองค์กร บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) คุณวรวรรณ ติณสูลานนท์ ผู้จัดการบริหารประชาสัมพันธ์ สำนักกิจการและสื่อสารองค์กร บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด พร้อมสองนักแสดงจากช่อง 3 พทริเซีย-ธัญชนก กู๊ด จากละคร เกมรักทรยศและน้ำหวาน-ภูริต า สุปินชุมภู จากละคร สืบลับหมอระบาด  คุณสมพันธ์ จารุมิลินท รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทรู วิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด คุณณฐนนท์ ดนัยพิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายออกอากาศ บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด(มหาชน)  คุณพลพล พลกองเส็ง ผู้แทนจากบริษัท จีเอ็มเอ็ม  แกรมมี่ จำกัด  (มหาชน) คุณรงวไล หมื่นสวัสดิ์ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมงาน

วันที่ 24 กันยายนของทุกปี ถือเป็นวันมหิดล และเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หรือพระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย โดยตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญา และพระราชทานพระราชทรัพย์ ในการวางรากฐานพัฒนาการแพทย์และสาธารณสุขไทยให้เจริญก้าวหน้า เพื่อให้พสกนิกรไทยได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง โดยไม่เลือกยากดีมีจน ทรงอุทิศพระองค์เป็นแบบอย่างในการ “ให้” อย่างแท้จริง

ในทุกปีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ถือวันมหิดลเป็นประเพณีปฏิบัติในการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาศิริราชให้เจริญก้าวหน้ามาถึงปัจจุบัน พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมเป็นผู้ให้ ด้วยการบริจาคเงินตามรอยพระบาทช่วยผู้ป่วยด้อยโอกาส รพ.ศิริราช โดยคณะฯ ได้รับพระกรุณาธิคุณจากศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเป็นประธานจัดงานหารายได้ เนื่องในวันมหิดลเสมอมา นับเป็นพระกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้แก่คณะกรรมการจัดงาน และผู้ป่วยของ รพ.ศิริราช

กิจกรรมการรับบริจาคเงินพร้อมมอบธงวันมหิดลเป็นที่ระลึก ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ 2503 จนถึงปัจจุบัน ถือเป็นปีที่ 63 โดยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 เป็นต้นมา นักศึกษาวิทยาเขตบางกอกน้อยได้ขอรับบริจาค ตามสถานที่ต่าง ๆ ในปีนี้ คณะฯ กำหนดวันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2566 เป็นวันขอรับบริจาคครั้งใหญ่ ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล และพิเศษสุดกับการเดินสายขอรับบริจาคที่อาคารมาลีนนท์ ร่วมกับศิลปิน นักแสดง ที่กรุณาสละเวลามาช่วยรับบริจาค นำเงินช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาส รพ.ศิริราช โดยผู้มีจิตศรัทธาที่ร่วมบริจาคตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป จะได้รับธงแขวนเป็นที่ระลึกและตั้งแต่ 300 บาทขึ้นไป จะได้รับธงพร้อมเสาเป็นที่ระลึก สำหรับธงในปีนี้จะเป็นรูปสามเหลี่ยมสีแดง เนื่องจากวันที่ 24 กันยายน ตรงกับวันอาทิตย์ พร้อมสกรีนพระรูปสมเด็จพระบรมราชชนกประทับพระเก้าอี้อยู่กลางผืนผ้า และข้อความ “ที่ระลึกวันมหิดล วันที่ ๒๔ กันยายน โรงพยาบาลศิริราช ๒๕๖๖”

อีกหนึ่งกิจกรรม นั่นคือ การจัดรายการพิเศษเนื่องในวันมหิดล ปี 2566 ภายใต้แนวคิดศิริราชกับคุณภาพชีวิตผู้พิการในประเทศไทย เนื่องจากสถานการณ์ของผู้พิการในแต่ละปียังคงมีความน่าเป็นห่วงซึ่งมีมากกว่า 2 ล้านคน แบ่งเป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหวมากถึง 50% หรือประมาณ 1 ล้านคน ต่างรอคอยการเข้าถึงกายอุปกรณ์ที่เหมาะสม แต่ทุกวันนี้โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร มีกำลังการผลิตอุปกรณ์เพียง 4,000 ชิ้นต่อปีเท่านั้น ในการนี้ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานสัมภาษณ์ประเด็น “คุณภาพชีวิตผู้พิการในประเทศไทย” ตลอดจนพระราชทานคำแนะนำการดูแลใจและกายไปยังพสกนิกรที่ในครอบครัวมีผู้พิการหรือทุพพลภาพ นอกจากนี้ ในรายการพิเศษเนื่องในวันมหิดลปีนี้ ยังมีสาระความบันเทิงที่หลากหลายเกี่ยวกับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว อาทิ รายการเจาะใจ ตอนพิเศษ ประเด็น “ศิริราชกับกายอุปกรณ์สำหรับผู้พิการ และผู้มีความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว” ร่วมสัมภาษณ์ ศ. นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล และ รศ. พญ.กุลภา ศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร และ VTR สุด Exclusive ส่งต่อเรื่องราวดีๆ พลิกชีวิตจากผู้ที่มีความบกพร่อง เปลี่ยนสู่ผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์ พร้อมส่งต่อรอยยิ้มอันแสนสุขที่มาจากหัวใจ

นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก อาจารย์ธนธัช จรัสรุ่งโอฬาร รองผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร พาเปิดบ้านเยี่ยมชมภารกิจการผลิตนักกายอุปกรณ์และนวัตกรรรมที่มีส่วนช่วยในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้พิการ โดยผู้ที่มีข้อสงสัยหรือสนใจปรึกษาปัญหาสุขภาพเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ติดต่อได้ที่หมายเลข 02 270 2555 จำนวน 20 คู่สาย และในปีนี้ได้รับเกียรติจากคุณสัญญา คุณากร (ดู๋) พ.ท.หญิง ชลรัศมี งาทวีสุข (ทิพย์) คุณสุวิกรม อัมระนันทน์ (เปอร์) คุณอรชพร ชลาดล (มิ้นท์) และ นศพ.อิทธิพัฒน์ อารยะการกุล (พีท) ร่วมเป็นพิธีกร

สามารถรับชมและร่วมบริจาคผ่านหมายเลข 02 270 2222 จำนวน 60 คู่สาย ในวันเสาร์ที่ 16 กันยายนนี้ เวลา 16.00 – 18.00 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ. 5) และรับชมได้พร้อมกันทางสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี (ช่อง 32) และทางสถานีโทรทัศน์ TNN 2 (True Visions ช่อง 784) ตลอดจนถ่ายทอดสดผ่านทาง Page Facebook sirirajpr, TV5HD Online, TNN2 True Vision784 และช่องทาง Youtube TNN2 True Vision784 รวมถึงรับชมออนไลน์ผ่านทาง TrueID Application TNN2 True Vision784 และ TrueID TV Box TNN2 True Vision784 อีกช่องทาง

นิพนธ์ และ ครอบครัวบุญญามณี รับโล่ประกาศเกียรติคุณ เนื่องในวันมหิดล ประจำปี 2566 ในนามผู้สมทบทุนบริจาคฯและสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ รพ.สงขลานครินทร์(ม.อ.)

วันที่ 22 กันยายน 2566 ที่ห้องประชุมชั้น 14 อาคารเฉลิมพระบารมี โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

นายนิพนธ์ บุญญามณี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยนางกัลยา บุญญามณี ภริยา ร่วมพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้อุปการคุณมูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์(ม.อ.) โดยภายในมีการแสดงวีดิทัศน์ "พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชกรม พระบรมราชชนก" และวีดิทัศน์ "ภารกิจของมูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์" มอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้อุปการคุณมูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เนื่องในวันมหิดล ประจำปี 2566

ทั้งนี้ ครอบครัวบุญญามณี ได้ร่วมสมทบทุนบริจาคร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ในตลอดหลายปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย การบริจาคสมทบทุนก่อสร้างศูนย์ผ่าตัดหัวใจรัฐบุรุษ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สมทบทุนก่อสร้างอาคารเย็นศิระ 3 ที่จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักของผู้ป่วยและญาติที่ขาดแคลนทุนทรัพย์จากต่างจังหวัด ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ตามแนวพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ผ่านมูลนิธิรพ.สงขลานครินทร์ และสมทบทุนโครงการก่อสร้างอาคาร “เกิดมาต้องตอบ แทนบุญคุณแผ่นดิน” ซึ่งจะเปิดเป็นศูนย์บริจาคอวัยวะ 99 ปี รัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 

นอกจากนี้ นายนิพนธ์ บุญญามณี เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงมหาดไทย ได้ประสานขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 604 ล้านบาท ในวงเงินก่อสร้าง 1,499 ล้านบาท ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์ความเป็นเลิศและรองรับโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อีกด้วย 

‘ครอบครัวบุญญามณี’ รับโล่เกียรติคุณ เนื่องในวันมหิดล ปี 66 ในฐานะผู้บริจาคให้คณะแพทยศาสตร์ รพ.สงขลานครินทร์

(22 ก.ย. 66) ที่ห้องประชุมชั้น 14 อาคารเฉลิมพระบารมี โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายนิพนธ์ บุญญามณี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยนางกัลยา บุญญามณี ภริยา ร่วมพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้อุปการคุณมูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (ม.อ.)

โดยภายในมีการแสดงวีดิทัศน์ ‘พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชกรม พระบรมราชชนก’ และวีดิทัศน์ ‘ภารกิจของมูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์’ มอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้อุปการคุณมูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เนื่องในวันมหิดล ประจำปี 2566

ทั้งนี้ ครอบครัวบุญญามณี ได้ร่วมสมทบทุนบริจาคร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ในตลอดหลายปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย การบริจาคสมทบทุนก่อสร้างศูนย์ผ่าตัดหัวใจรัฐบุรุษ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สมทบทุนก่อสร้างอาคารเย็นศิระ 3 ที่จัดสร้างขึ้น เพื่อเป็นที่พักของผู้ป่วยและญาติที่ขาดแคลนทุนทรัพย์จากต่างจังหวัด ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ตามแนวพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ผ่านมูลนิธิ รพ.สงขลานครินทร์ และสมทบทุนโครงการก่อสร้างอาคาร ‘เกิดมาต้องตอบ แทนบุญคุณแผ่นดิน’ ซึ่งจะเปิดเป็นศูนย์บริจาคอวัยวะ 99 ปี รัฐบุรุษ ‘พลเอกเปรม ติณสูลานนท์’

นอกจากนี้ นายนิพนธ์ บุญญามณี เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงมหาดไทย ได้ประสานขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 604 ล้านบาท ในวงเงินก่อสร้าง 1,499 ล้านบาท ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์ความเป็นเลิศและรองรับโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์อีกด้วย

24 กันยายน วันมหิดล น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน

24 กันยายน วันมหิดล ‘พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย’ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์)

‘สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก’ ทรงพระราชสมภพวันที่ 1 มกราคม (ตามปฏิทินเก่าคือ ปี พ.ศ. 2434 แต่ตามปฏิทินใหม่คือ ปี พ.ศ. 2435) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีพระเชษฐา และพระเชษฐภคินีที่ประสูติร่วมพระราชมารดา 7 พระองค์

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นพระอัยกาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

พระองค์มีคุณูปการแก่กิจการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของประเทศไทย ประชาชนโดยทั่วไปคุ้นเคยกับพระนามว่า ‘กรมหลวงสงขลานครินทร์’ หรือ ‘พระราชบิดา’ และบางครั้งก็ปรากฏพระนามว่า ‘เจ้าฟ้าทหารเรือ’ และ ‘พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย’ ส่วนชาวต่างประเทศเรียกพระนามว่า ‘เจ้าฟ้ามหิดล’

หลังพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระองค์ทรงพระประชวร ต้องประทับในพระตำหนักวังสระปทุม และสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 เวลา 16.45 น. เมื่อพระชนมายุ 37 พรรษา 8 เดือน 23 วัน

ด้วยความรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ผู้ที่เคยได้รับพระกรุณาในด้านต่าง ๆ จากพระองค์ จึงได้รวบรวมเงินจัดสร้างพระรูปประดิษฐานไว้ ณ โรงพยาบาลศิริราช โดยมอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสร้าง มี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ควบคุม

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงกระทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2493 และ ในวันที่ 24 กันยายนปีเดียวกัน นักศึกษาแพทย์ได้ริเริ่มจัดงานขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ โดยมีพิธีวางพวงมาลา ถวายบังคมพระรูป อ่านคำสดุดีพระเกียรติ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์

ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ประกาศให้วัน ที่ 24 กันยายน ของทุกปีเป็น ‘วันมหิดล’ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เป็นต้นมา เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ในฐานะพระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย

รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายและวางพวงมาลาถวายราชสักการะ เนื่องในวันมหิดล

โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ (รพ.สก.พร.) อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี จัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย และวางพวงมาลาถวายราชสักการะ จอมพลเรือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เนื่องในวันมหิดล 

โดยมีพลเรือตรี กิตตินันท์ งามศิลป์ ผู้อำนวยการ รพ.ฯ เป็นประธานในพิธี ร่วมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ รพ.ฯ และหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมพิธีสงฆ์ และวางพวงมาลาถวายราชสักการะ ณ พระราชานุสาวรีย์ฯ รพ.พระนางเจ้าสิริกิติ์ พร.

เนื่องในวันมหิดล ตรงกับวันที่ 24 กันยายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย“ ด้วยพระราชกรณียกิจที่ทรงวางรากฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขของไทย ให้มีเจริญก้าวหน้า และในปีนี้ วันมหิดล 24 กันยายน ประจำปี 2566 เป็น “วันมหิดลและวันประโยชน์ ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”

24 กันยายน วันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันไทย

‘วันมหิดล’ ตรงกับวันที่ 24 กันยายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า ‘พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย’ คณะแพทยศาสตร์สิริราชพยาบาล ได้ขนานนามวันอันเป็นที่ระลึกสำคัญนี้ว่า ‘วันมหิดล’ เพื่อเป็นการถวายสักการะ

‘สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก’ ทรงพระราชสมภพวันที่ 1 มกราคม (ตามปฏิทินเก่าคือ ปี พ.ศ. 2434 แต่ตามปฏิทินใหม่คือ ปี พ.ศ. 2435) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีพระเชษฐา และพระเชษฐภคินีที่ประสูติร่วมพระราชมารดา 7 พระองค์

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ 8) และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) และเป็นพระอัยกาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ 10)

พระองค์มีคุณูปการแก่กิจการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของประเทศไทย ประชาชนโดยทั่วไปคุ้นเคยกับพระนามว่า ‘กรมหลวงสงขลานครินทร์’ หรือ ‘พระราชบิดา’ และบางครั้งก็ปรากฏพระนามว่า ‘เจ้าฟ้าทหารเรือ’ และ ‘พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย’ ส่วนชาวต่างประเทศเรียกพระนามว่า ‘เจ้าฟ้ามหิดล’

หลังพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระองค์ทรงพระประชวร ต้องประทับในพระตำหนักวังสระปทุม และสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 เวลา 16.45 น. เมื่อพระชนมายุ 37 พรรษา 8 เดือน 23 วัน

ด้วยความรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ผู้ที่เคยได้รับพระกรุณาในด้านต่าง ๆ จากพระองค์ จึงได้รวบรวมเงินจัดสร้างพระรูปประดิษฐานไว้ ณ โรงพยาบาลศิริราช โดยมอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสร้าง มี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ควบคุม

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงกระทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2493 และ ในวันที่ 24 กันยายนปีเดียวกัน นักศึกษาแพทย์ได้ริเริ่มจัดงานขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ โดยมีพิธีวางพวงมาลา ถวายบังคมพระรูป อ่านคำสดุดีพระเกียรติ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์

ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ประกาศให้วัน ที่ 24 กันยายน ของทุกปีเป็น ‘วันมหิดล’ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เป็นต้นมา เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ในฐานะพระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย

เชียงใหม่-คณะพยาบาลศาสตร์ มช. ร่วมกิจกรรมวันมหิดล ประจำปี 2567

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานี แก้วธรรมานุกูล คณบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์และนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายบังคมพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในรัชกาลที่ 9 เพื่อน้อมรำลึกและเทิดพระเกียรติในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ ณ ลานพระราชานุสาวรีย์ฯ อาคารสุจิณโณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

หลังจากเสร็จพิธีคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นประธานมอบโล่รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องในวันมหิดล ประจำปี 2567 แด่ รองศาสตราจารย์ ดร.ธนารักษ์ สุวรรณประพิศ (รหัสประจำตัวนักศึกษา 197819) อดีตคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ และ ผู้อำนวยการสำนักงานหอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในพิธีเทิดพระเกียรติสมเด็จพระมหิตลธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในรัชกาลที่ 9  พร้อมกันนี้ได้มอบทุนการศึกษา 'กองทุนหมอเจ้าฟ้า 2' ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ แก่นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเรียนรวม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โดยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดพิธีแสดงความยินดีแด่รองศาสตราจารย์ ดร.ธนารักษ์ สุวรรณประพิศ ในโอกาสที่ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (คณะพยาบาลศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องใน 'วันมหิดล' ประจำปี  2567 โดยมีอดีตคณบดี อาจารย์อาวุโส ตลอดจนผู้แทนหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกคณะฯ เข้าร่วมแสดงความยินดีอย่างอบอุ่น ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคาร 4 คณะพยาบาลศาสตร์ เมื่อวันอังคารที่ 24 กันยายน 2567


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top