Tuesday, 22 April 2025
รัฐบาลลุงตู่

ผลักดันจนสำเร็จ!! เปิดเนื้อหา ฟื้นสัมพันธ์ ไทย-ซาอุฯ สู่ผลงานชิ้นโบว์แดง ‘รัฐบาลลุงตู่’ 

หลังพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เสร็จสิ้นการเดินทางเยือนประเทศซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกันให้กลับมาเป็นปกติอีกครั้ง หลังความสัมพันธ์ตกต่ำมาตลอด 32 ปีที่ผ่านมา 

การเดินทางไปเยือนซาอุดีอาระเบียในครั้งนี้ นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศแล้วผ่านพิธีการต้อนรับอย่างสมเกียรติ ในขณะเดียวกันยังมีการเจรจาในแบบทวิภาคีอีกหลายเรื่อง

แน่นอนว่า การเดินทางไปเยือนซาอุดีอาระเบียของ พล.อ.ประยุทธ์ ในครั้งนี้ ย่อมถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เป็นการเปิดประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์หน้าใหม่ระหว่างสองประเทศในรอบกว่า 30 ปี ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับกันว่า นี่คือ ผลงานชิ้นโบว์แดงของรัฐบาล ภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ อย่างปฏิเสธไม่ได้ 

การไปเยือนซาอุดีอาระเบียในครั้งนี้ มีรายละเอียดที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ สรุปไว้น่าสนใจหลายอย่าง ลองไปดูว่ามีอะไรบ้าง เหตุใดจึงสร้างอิมแพค ทั้งในไทยและทั่วโลก ต่างจับตามอง

1.) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยได้เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 มกราคม 2565 ตามคำเชิญของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด (His Royal Highness Prince Mohammad bin Salman bin Abdulaziz Al Saud) มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

2.) มกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียทรงให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย และทั้งสองฝ่ายได้ประชุมหารืออย่างเป็นทางการ โดยทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันความตั้งใจร่วมกันในการสะสางประเด็นที่คั่งค้างทั้งหมดระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบียและปรับความสัมพันธ์ระหว่างสองราชอาณาจักรให้เป็นปกติ ทั้งสองฝ่ายยังได้ย้ำความสำคัญของการส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรของสองราชอาณาจักรและการเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยย้ำว่า ไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับความสัมพันธ์ฉันมิตรกับซาอุดีอาระเบีย และแสดงความเสียใจยิ่งต่อโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นที่ประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2532-2533 (ค.ศ. 1989-1990)

นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยยืนยันว่า ไทยได้พยายามอย่างที่สุดแล้วในการสะสางกรณีต่างๆ และหากมีหลักฐานใหม่เกี่ยวกับเรื่องเหล่านั้น ก็พร้อมที่จะนำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยพิจารณา นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยยังได้ยืนยันความมุ่งมั่นของไทยในการให้ความคุ้มครองที่เหมาะสมแก่บุคคลในคณะผู้แทนของสถานเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียที่กรุงเทพฯ ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ปี ค.ศ. 1961 ทั้งสองฝ่ายยังได้ยืนยันความมุ่งมั่นในการดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อดูแลความปลอดภัยของคนชาติของกันและกันในแต่ละประเทศ

3.) ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคและระหว่างประเทศต่างๆ และได้หารือถึงแนวทางในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีในทุกสาขา ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องที่จะเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์และการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนของแต่ละฝ่ายเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ทวิภาคีเพื่อประโยชน์ร่วมกันของราชอาณาจักรทั้งสอง

4.) โดยคำนึงถึงจิตวิญญาณของความร่วมมือและความตั้งใจร่วมกันเพื่อฟื้นฟูมิตรภาพและความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างสองราชอาณาจักรและประชาชน ภายใต้การนำและพระราชวิสัยทัศน์อันเข้มแข็งของผู้พิทักษ์ สองมหามัสยิดอันศักดิ์สิทธิ์ สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด (His Majesty King Salman bin Abdulaziz Al Saud) และมกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และวิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันให้ปรับความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันให้เป็นปกติอย่างสมบูรณ์ ความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์นี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากความพยายามในหลายระดับของทั้งสองฝ่ายที่มีมาอย่างยาวนานเพื่อฟื้นฟูความไว้เนื้อเชื่อใจและความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกัน

5.) ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกับขั้นตอนสำคัญต่างๆ ที่จะดำเนินการเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ทวิภาคี ซึ่งรวมถึงการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำเมืองหลวงของทั้งสองประเทศในอนาคตอันใกล้ และการจัดตั้งกลไกการปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคี การติดต่อประสานงานอย่างเต็มที่จะเริ่มต้นขึ้นในช่วงหลายเดือนข้างหน้าเพื่อหารือความร่วมมือทวิภาคีในสาขายุทธศาสตร์ที่สำคัญ

6.) ทั้งสองฝ่ายได้หารือแนวทางในการส่งเสริมและเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างสองราชอาณาจักรโดยการแสวงหาโอกาสในด้านการลงทุนและอื่นๆ ในบริบทของวิสัยทัศน์ ค.ศ. 2030 ของซาอุดีอาระเบียและวาระการพัฒนาแห่งชาติของไทย กล่าวคือ นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio - Circular - Green Economy) ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องที่จะแสวงหาความร่วมมือในสาขาใหม่ๆ อาทิ พลังงานทดแทน สิ่งแวดล้อม การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนา และความมั่นคงทางไซเบอร์ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เน้นย้ำความสำคัญของการส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชน ซึ่งจะเป็นรากฐานสำหรับความสัมพันธ์ที่กำลังเติบโตระหว่างทั้งสองราชอาณาจักร รวมทั้งการส่งเสริมการสนทนาแลกเปลี่ยนระหว่างศาสนาและพหุวัฒนธรรม

'พล.ท.นันทเดช'​ เตือน!! ปัญหาธรรมดาที่รัฐมักปล่อย สะท้อนผ่าน​ ' ความพ่ายแพ้'​ เลือกตั้งซ่อมหลักสี่แล้ว

พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ศรภ. โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์ ระบุว่า... 

รัฐบาลได้รับการสั่งสอนเป็นครั้งที่​ 3

ประสิทธิภาพของรัฐบาล ในการตอบสนอง
ความสุขให้กับประชาชนนั้น แม้ว่ารัฐบาลจะขับเคลื่อนประเทศได้ดีขนาดไหนก็ตาม เช่น สร้างรถไฟฟ้า 10 สาย / ต่อสู้ชนะโรคโควิด / การจัดนิคมอุตสาหกรรม ฯลฯ

แต่ความสุข ของคนไทยส่วนใหญ่ ซึ่งอยู่ในมือของคนชั้นกลางนั้น... 

ด้านหนึ่งก็ชื่นชมต่องานที่รัฐบาลทำขึ้นมา 
อีกด้านหนึ่งก็ต้องการความสงบของบ้านเมือง รวมทั้งความทัดเทียมทางกฎหมาย 

ดังนั้นรัฐบาล​ ซึ่งทำงานแทบตาย ก็จะสะดุดขาตัวเองเป็นระยะๆ จากปัญหาธรรมดาๆ​ ที่น่าจะแก้ไขได้ง่ายๆ 

ถ้าเอาใจใส่ซะหน่อย อย่าไปคิดว่าประชาชน
จะลืมอะไรง่ายๆ พวกเขาไม่ลืม เพียงแต่จริงๆ แล้วพวกเค้าก็ยังต้องการรัฐบาลอยู่

จึงอยากขอเตือนรัฐบาลให้ระวังเรื่องแบบนี้หน่อยครับ

เรื่องแบบไหนล่ะ ก็เรื่องที่แก้ได้ง่ายๆ​ นะซิครับ

1.) การดำเนินคดีต่อตำรวจขับรถจักรยานยนต์หรูชนหมอต่ายจนเสียชีวิต​ ซึ่งดูกระบวนการจัดการช้าไม่ทันใจประชาชน

2.) สินค้าราคาแพง ทั้งๆ ที่มีเหตุการณ์เตือนมาแล้วเป็นระยะๆ​ แล้ว​

3.) การบุกรุกพื้นที่ป่า ของครอบครัว คุณธนาธร ซึ่งเรื่องไปค้างอยู่ที่กรมที่ดิน มาปีหนึ่งแล้ว

4.) แท็กซี่ราคาโหดที่ภูเก็ต นักท่องเที่ยวเรียก Grab ราคา​ 180 บาท...Grab พอรู้พื้นที่ไม่กล้ามารับ เลยไปเรียกแท็กซี่...แท็กซี่ เรียกราคา 600 บาท ราคามันต่างกันมากก็เลยทะเลาะกัน...แท็กซี่ท้าให้เรียกตำรวจ ตำรวจมาก็ทำอะไรไม่ได้

5.​) ความขัดแย้งในพรรคหลักของรัฐบาล

6.​) เรื่องการลดโทษนักโทษการเมือง ที่ทำการทุจริต

ฯลฯ

‘รัฐบาลลุงตู่’ ผู้พาประเทศไทยฝ่าสารพัดวิกฤต ท่ามกลางเสียงวิพากษ์ ‘8 ปี’ ที่ไทยถดถอย

จากกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน ว่าที่แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย เคยให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ว่า ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยถดถอยในทุกด้าน  

ล่าสุด บัญชี tiktok ‘เรารักลุง’ ได้ทำคลิปตอบโต้คำสัมภาษณ์ดังกล่าวให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่า ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนักธุรกิจใหญ่ที่มองว่า ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทย ภายใต้รัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถือว่า ‘ถดถอย’ 

แต่รู้หรือไม่ว่า ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตอะไรบ้าง?
ย้อนไปแค่ 3 ปีก่อน ที่ประเทศไทยต้องต่อสู้กับวิกฤตโควิด – 19 ที่ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจ การค้า และระบบสาธารณสุขของประเทศ ไม่เพียงเท่านั้นยังซ้ำด้วยวิกฤตด้านพลังงาน จากผลพวงสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ทำให้ราคาพลังงานถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเผชิญกับสารพัดวิกฤต แต่ประเทศไทย ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ สามารถนำพาประเทศฝ่าวิกฤตครั้งใหญ่มาได้อย่างรวดเร็ว เป็นที่ยอมรับขององค์กรระดับโลกอย่าง ธนาคารโลก ที่ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจไทยภายหลังวิกฤตโควิด สามารถฟื้นตัวได้เร็วเกินคาด โดยจะกลับมาสู่ระดับก่อนที่เกิดโควิด – 19 ภายในปี 2566 และมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกัน ผู้อำนวยการ องค์การอนามัยโลก (WHO)  ได้ออกมาชื่นชม พลเอกประยุทธ์ และระบบสาธารณสุขของไทย รับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งในแง่ การควบคุมโรค และการรักษาผู้ป่วย

ขณะที่ในมิติด้านเศรษฐกิจ ภายใต้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ มีโครงการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมมากมาย ยกตัวอย่าง เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่จะเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับประเทศและสร้างการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจในอนาคต อีกทั้งยังสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติได้อย่างมหาศาล

ทางด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เป็นอีกหนึ่งผลงานเป็นที่ประจักษ์เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ ทั้งระบบราง เรือ และถนน ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ ในกรุงเทพ โครงการรถไฟความเร็วสูง และโครงการรถไฟทางคู่ 8 เส้นทาง ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงการเดินทาง การขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เฉิดฉายในเวทีโลก!! สรุปสุดยอดภารกิจระดับนานาชาติ ใต้ปีก 'รัฐบาลประยุทธ์' เจริญสัมพันธ์ราบรื่น สานเศรษฐกิจยั่งยืน พาไทยฟื้นสถานะสุดแกร่ง

ต้องยอมรับว่า ช่วงสมัยรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในซีซัน 2 ระหว่างปี 2562 ถึงปัจจุบันนั้น...ประเทศไทย ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมประชุมและเป็นแขกสำคัญของนานาประเทศ ในการผูกเชื่อมสัมพันธ์ การพูดคุยเจรจาด้านเศรษฐกิจ และการหารือวาระสำคัญระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุกงานที่ร่วม ล้วนแล้วแต่ได้รับผลตอบรับ และสานต่อพันธกิจของชาติได้อย่างน่าชื่นชม

โอกาสนี้ THE STATES TIMES เลยขอเปิดไทม์ไลน์ 17 ภารกิจงานประชุมใหญ่ระดับนานาชาติ และการเยือนต่างประเทศของรัฐบาลไทย ภายใต้ 'พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ให้คนไทยทุกคนได้ย้อนรำลึกไปด้วยกัน เริ่มด้วย...

1. การประชุมระดับประเทศ ณ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 21-27 กันยายน 2562

2. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ณ สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ 24-27 พฤศจิกายน 2562

3. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 36 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563 ทางออนไลน์

4. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 เมื่อวันที่ 12-15 พฤศจิกายน 2563 ทางออนไลน์

5. การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 ทางออนไลน์

6. การประชุม ACMECS ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 ทางออนไลน์

7. การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ทางออนไลน์

8. ประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 ทางออนไลน์

9. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และ 39 เมื่อวันที่ 26-28 ตุลาคม 2564 ทางออนไลน์

10. การประชุม COP26 เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2564 

11. การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 28 เมื่อวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2564 ทางออนไลน์

12. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ เดินทางเยือน ซาอุฯ เมื่อวันที่ 25-26 มกราคม 2565 เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปีของรัฐบาลไทย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกัน

13. ประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐอเมริกา สมัยพิเศษ ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11-15 พฤษภาคม 2565

14. การประชุม Nikkei Forum ครั้งที่ 27 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2565)

15. การประชุมเอเปค ณ ประเทศไทย ครั้งยิ่งใหญ่ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2565

16. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา เมื่อวันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2565

17. การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโรป สมัยพิเศษ ณ ประเทศเบลเยียม (12-15 ธันวาคม 2565)

เรียกได้ว่า ทุกภารกิจด้านการต่างประเทศของไทย ภายใต้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ระหว่างปี 2562-ปัจจุบันนั้น ได้สร้างผลลัพธ์อันดีต่อประเทศไทยสามารถลุล่วงภารกิจหลากมิติ ทั้งด้านความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า ความมั่นคง วิชาการ สังคม สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ ระหว่างไทยกับนานาชาติได้อย่างน่าชื่นชม

‘ชัยวุฒิ’ ชมรัฐบาลลุงตู่ หลังความสามารถด้านดิจิทัลไทยพุ่ง 5 อันดับ พร้อมให้กำลังใจรัฐบาลปัจจุบันสานต่อให้ดียิ่งขึ้น

จากผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศโดย World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2566 ที่เพิ่งประกาศออกมาล่าสุด ผลปรากฏว่า ปีนี้ไทยมีอันดับดีขึ้น 5 อันดับมาอยู่ในอันดับที่ 35 จาก 64 เขตเศรษฐกิจ โดยปรับตัวดีขึ้นทั้ง 3 ด้าน

ด้านเทคโนโลยี (Technology) เป็นปัจจัยที่มีอันดับดีที่สุด โดยอยู่ในอันดับที่ 15 ดีขึ้นกว่าปี 2565 ถึง 5 อันดับ ในขณะที่ด้านความรู้ (Knowledge) และด้านความพร้อมสำหรับอนาคต (Future Readiness) มีอันดับดีขึ้น 4 และ 7 อันดับ ตามลำดับ แม้ว่าจะยังคงอยู่ในอันดับที่ไม่สูงนัก คือ อันดับที่ 41 และ 42 ตามลำดับ แต่ก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โพสต์เฟซบุ๊ก โดยระบุว่า รู้สึกภาคภูมิใจที่ IMD เผยอันดับขีดความสามารถการแข่งขันไทย ปี 66 ไต่ขึ้น 3 อันดับ พบปัจจัยบวกทุกด้าน เศรษฐกิจ ประสิทธิภาพภาครัฐและภาคธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีเป็นบวก เป็นข่าวดีและความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคนครับขอบคุณรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ผลักดันโครงการสำคัญมากมายและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ขับเคลื่อนประเทศของเรามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยปีนี้ ขยับดีขึ้นครับต้องขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมแรงร่วมใจ ทุ่มเทกำลังช่วยกันทำงานอย่างหนัก 

ที่น่าสนใจคืออันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทยดีขึ้นถึง 5 อันดับ World Digital Competitiveness Ranking ปรับดีขึ้นจาก 40 ในปีที่ผ่านมา เป็นลำดับ 35 ในปีนี้ ทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สิ่งที่กระทรวงดีอีเอสได้ทุ่มเทกันไปนั้นไม่สูญเปล่า และเชื่อว่า อันดับของประเทศไทยจะดีขึ้นในปีต่อ ๆ ไป เพราะเราได้มีการวางรากฐานด้านดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่องและเริ่มปรากฎผลลัพธ์ออกมาให้เห็นแล้วครับ

“ผมขอเป็นกำลังใจให้กับผู้บริหารกระทรวงดีอีเอสเเละรัฐบาล ชุดปัจจุบัน รวมถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้บรรลุเป้าหมายการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลให้เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ดีขึ้นทุก ๆ ปีครับ”

‘หมาแก่’ วิจารณ์ยับ ‘รัฐบาลลุงตู่’ บริหารไม่เป็น ซัด ประเทศเสียเวลาเกือบ 10 ปี โดยที่ไม่ได้อะไรเลย

เมื่อวันที่ (3 มี.ค. 68) นายดนัย เอกมหาสวัสดิ์ หรือ 'หมาแก่' พิธีกรชื่อดัง รายการเจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลนด์ กล่าวถึงการบริหารงานของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า จะให้ตนเองยอมรับการบริหารงานของรัฐบาลลุงตู่ เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ เพราะทำให้ประเทศไทยเสียเวลาไปตั้งเกือบๆ 10 ปี โดยที่ไม่ได้อะไรกลับมาเลย เป็นเพียงแค่การปะผุชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ไม่ได้อะไรจริง ๆ 

อย่างแรก 9 ปีกว่าของลุงตู่ ในช่วงครึ่งแรก 4 ปีกว่า เป็นช่วงที่ลุงตู่มีอำนาจเต็ม มีมาตรา 44 ในมือ จะทําอะไรก็ได้ ทําอะไรก็ไม่ผิด จัดการได้ทุกปัญหา แม้สั่งในเรื่องที่ผิด ๆ ก็มีมาตรา 44 คุ้มครอง ถึงจะรู้ว่าผิด รู้ว่าประเทศเสียหาย ก็ทำได้หมด โดยไม่มีความผิดเพราะมีมาตรา 44 เป็นเกราะคุ้มครอง

นายดนัย ยังกล่าวต่อไปว่า ประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือ ถ้ามีอำนาจพาวเวอร์ ฟูลขนาดนั้น ถ้ามีความจริงใจ และบริหารเป็น สิ่งที่ควรทำ คือ จะต้องแตะไปที่ปัญหาในเชิงโครงสร้าง เชิงระบบของประเทศ ซึ่งควรจะทำอะไรได้ตั้งมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ปฏิรูปตํารวจ เมื่อครั้งตอนที่ทํารัฐประหารเมื่อปี 57 โดยอ้างว่า การเมืองเสื่อมโทรม จะต้องมีการปฏิรูปการเมือง แต่ถ้าจะปฏิรูปการเมืองก็ต้องใช้คนที่ไม่ใช่คนการเมือง ถ้าใช้คนการเมืองมาปฏิรูปการเมือง สุดท้ายมันก็ไปไหนไม่ได้ ดังนั้นคณะรัฐประหาร คสช. ต้องเข้ามาปฏิรูปการเมืองเอง

ทั้งนี้ แค่ช่วง 4 ปีแรกในอํานาจของของ คสช. ของลุงตู่ ซึ่งมีอำนาจเต็ม และมีมาตรา 44 ในมือ ลองย้อนไปดูว่า ในช่วงนั้นทําอะไรบ้างกับการปฏิรูปการเมือง หลังจากนั้นพอเข้ามาปีที่ 5 ปีที่ 6 เมื่ออํานาจมันหอมหวาน อยากจะอยู่ต่อ อยากจะมีอํานาจอีก ภายใต้วลีเท่ ๆ “อยู่เพื่อสานงานต่อ” และได้อยู่ต่ออีก 4 ปี ถามว่า ปฏิรูปการเมืองถึงไหน? 

“4 - 5 ปี ผ่านไป อยากจะอยู่ต่อ สุดท้ายก็ไปผสมพันธุ์กับนักการเมืองที่ตัวเองประณาม ก็ใช้นักการเมืองอาชีพ นักเลือกตั้งอาชีพ มาช่วยเป็นนั่งร้านทางการเมือง สร้างพรรคการเมืองให้กับลุงตู่ แล้วแบบนี้มันจะไปรูปอย่างไรละ”

นายดนัย ยังย้ำด้วยว่า หากมองในแง่ตัวบุคคล ในความเป็นตัวตนของลุงตู่ ก็นับว่าเป็นผู้สูงวัยที่น่ารัก แต่ในเชิงหลักการมองภาพรวมและมองไปที่ประเทศ เป็นเรื่องที่ตนยอมรับไม่ได้ และยืนยันว่า ในช่วง 9  - 10 ปี ที่อยู่ภายใต้อํานาจของลุงตู่ ประเทศไม่ได้อะไรเลย โดยเฉพาะในช่วง 4-5 ปีแรกที่มีอำนาจในมือ ก็ไม่ได้แก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างของประเทศเลย สิ่งที่เห็นคือ การสร้างกลุ่มทุนผูกขาดกลุ่มใหม่ ๆ เท่านั้น  และ 4 ปีต่อมา อยากอยู่ต่อก็ไปใช้บริการนักเลือกตั้งอาชีพที่ตนเองเคยประณาม พร้อมทั้งอ้างความชอบธรรมในการทํารัฐประหาร สุดท้ายก็ไปผสมพันธุ์กับคนพวกนั้น สิ่งที่ควรทำอย่างการปฏิรูปตำรวจ ก็ไม่ทำ มิหนำซ้ำยังมีส่วนทำให้ตํารวจแย่กว่าเดิมอีก เช่นนี้แล้วจะให้ยอมรับได้อย่างไร 

และเมื่อพิจารณาถึงมิติของการแก้ปัญหาและการจัดการทางด้านเศรษฐกิจ ตลอดระยะเวลา 9 - 10 ปีที่ผ่านมา บริบริบทของโลกเปลี่ยนไปเยอะ ทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียนด้วยกันและในระดับเอเชีย รวมทั้งในระดับสังคมโลกที่เป็นภาพใหญ่ ๆ จะเห็นได้ว่า ประเทศไทย ไม่ได้ปรับตัวตามบริบทของโลก ที่ถ้ามันเปลี่ยน และไม่ได้ตระหนักว่าเราจะต้องปรับตาม แม้จะรู้สึกว่า จะอยู่อย่างเดิมไม่ได้ แต่ก็ทําไม่เป็น โดยเฉพาะในเชิงของการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจมีหรือไม่ และอย่ามาอ้างว่าได้ทำยุทธศาสตร์ 20 ปี แผนแม่บทแห่งชาติ 20 ปี ไปแล้ว เพราะสิ่งที่นำมากล่าวอ้างนั้น ล้วนแต่ทําโดยข้าราชการแก่ ๆ ทั้งนั้น โดยมีนักธุรกิจระดับแถวด้านหน้าของประเทศที่เขาก็คล้อยตามอยู่แล้ว ไปร่วมเขียนแผนประเทศ 20 ปี แล้วจะได้อะไรขึ้นมา

“ทศวรรษที่สูญหาย” วาทกรรมที่กำลังถูกรื้อฟื้น ‘ชาวเน็ต’ ตั้งข้อสังเกตขบวนการดิสเครดิต ‘ลุงตู่’ กำลังเร่งทำงาน

ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘LVanicha Liz’ ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีที่มีสื่อมวลชนหลายคนออกมาวิจารณ์การทำงานของรัฐบาล ภายใต้การบริหารของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าเป็นช่วงที่ประเทศไทยขาดการพัฒนา โดยใช้วาทกรรมว่า ทศวรรษที่สูญหาย โดยระบุว่า #ปรากฏการณ์รื้อฟื้นทศวรรษที่สูญหาย !?

คำว่า “ทศวรรษที่สูญหาย” ได้ยินบ่อยทั้งช่วงก่อนและหลังเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา โดยกลุ่มการเมืองฝั่งตรงข้ามรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้อ้างถึง บ้างก็ใช้คำว่า 8 ปี 9 ปี 10 ปี เพื่อจะสื่อว่า รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ไร้ผลงาน สร้างความเสียหาย ฯลฯ

บุคคลที่ศึกษามาดี รวมทั้งผู้ไม่ดำรงอยู่ในความอคติ ก็น่าจะทราบดีว่าความจริงเป็นตรงกันข้าม รวมทั้งทางด้านการใช้ตัวชี้วัดสากล ผู้เขียนก็ได้นำเสนอข้อพิสูจน์จำนวนไม่น้อยที่แสดงถึงผลงานรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ทั้งที่ชนะรัฐบาลก่อนหน้าและที่เหนือกว่ารัฐบาลปัจจุบัน 

แต่ขณะนี้ดูเหมือนจะเกิด #ปรากฏการณ์รื้อฟื้นทศวรรษที่สูญหาย ขึ้นมาอีก ในท่วงทำนองคล้ายจะลาก รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ (คสช.) + รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ (เลือกตั้ง) มารับผิดชอบปัญหาของรัฐบาลปัจจุบัน

โดยเมื่อช่วงต้นเดือน มี.ค. ๒๕๖๘ มีการเผยแพร่คลิปรายการ นายดนัย เอกมหาสวัสดิ์ หรือ 'หมาแก่' แสดงความเห็นว่า จะให้ผมยอมรับรัฐบาลลุงตู่ ผมรับไม่ได้ “ประเทศไทยเสียเวลาไปเกือบ 10 ปีกับลุงตู่โดยที่ไม่ได้อะไรกลับมาเลย ได้แค่การปะผุชั่วครั้งชั่วคราว …”
https://www.tiktok.com/@miss.../video/7477480842311372050

วันที่ 12 มี.ค. 2568 คลิปรายการฟังหูไว้หู นาทีที่ 13.48 นายวีระ ธีรภัทร กล่าวว่ามีปัญหามากมายในขณะนี้ หนี้สาธารณะ หนี้ครัวเรือน การขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำ การแข่งขันสู้ประเทศอื่นไม่ได้ ภาคการผลิตเทคโนโลยีไม่ทันเขา “ส่วนหนึ่งอาจต้องโทษ รบ.ประยุทธ์” ว่าปิดประตูไป 9 ปี ไม่มีทางไปเจรจาการค้า เรื่องการส่งออกเป็นตัวที่จะผลักดันเศรษฐกิจ เราเหลืออันเดียว-ท่องเที่ยว ที่เหลือไม่เห็นเลย
https://youtu.be/OI77d-T5XVE?si=Fa0xw3Ylj7gSoGJU

วันที่ 15 มี.ค. 2568 FB Thanong Fanclub โพสต์ว่า จีดีพีไทยตกต่ำ เศรษฐกิจฮ่วยสะท้อนอะไร “มันสะท้อนว่า 8 ปีของลุงตู่ไม่ได้วางรากฐานอะไรให้เศรษฐกิจไทยมีความก้าวหน้า หรือมีการเจริญเติบโต มีแต่สร้างหนี้ ...”https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1205569974270985&id=100044539804977&mibextid=Nif5oz

ปรากฏการณ์ข้างต้นคล้ายจะสะท้อนความคาดหมายไปยังการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ว่าน่าจะเกิดขี้นในเวลาอีกไม่นาน และด้วยเหตุผลดังกล่าว ดูประหนึ่งว่าฝ่ายที่ไม่อยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ กลับมาบริหารก็พากันเร่งสร้างความรู้สึกไม่ยอมรับขึ้นในหมู่ประชาชน หรือไม่

แต่หากการสร้างความรู้สึกไม่ยอมรับ พล.อ.ประยุทธ์ ตั้งอยู่บนข้ออ้างที่ไม่เป็นความจริง มันมิเป็นการกล่าวเท็จบิดเบือนต่อประชาชน อันจะทำให้เกิดผลเสียหายต่อประเทศชาติหรือ

ลองนำข้ออ้างบางช่วงมาวิเคราะห์ดู: จากที่นายวีระ กล่าวว่า “ส่วนหนึ่งอาจต้องโทษ รบ.ประยุทธ์” ว่าปิดประตูไป 9 ปี ไม่มีทางไปเจรจาการค้า

ถ้าเราย้อนระลึกถึงความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับซาอุดิอาระเบีย ที่พ่วงมาด้วยโอกาสทางการค้าอย่างมหาศาล รวมทั้งการจัดประชุมเอเปคที่ประเทศไทย ที่มีมิตรประเทศมากันมากมาย เปิดทางให้หน่วยงานไทยเจรจาด้วยมากเท่าที่อยากจะทำ

แม้ในสมัย คสช. ก็ปรากฏภาพ พล.อ.ประยุทธ์ จับมือกับท่านสี ท่านปูติน ท่านโมดิ ด้วยความผึ่งผายในบรรยากาศอบอุ่นด้วยสัมพันธไมตรีอันดี 

แล้วยังจะพูดได้หรือว่าปิดประตูไป 9 ปี
นายวีระกล่าวต่อไปถึงเรื่องการส่งออกว่าเป็นตัวที่จะผลักดันเศรษฐกิจ คล้ายจะหมายความว่าปิดประตูไป 9 ปี การส่งออกก็ไม่เกิดด้วย

ผู้เขียนได้ตรวจสอบข้อมูล World Bank พบว่าในยุค คสช. ยอดส่งออกพุ่งขึ้นสูงมากเมื่อเปรียบกับยุค รบ.ยิ่งลักษณ์ (ซึ่งยอดส่งออกของรัฐบาลเธอดูเตาะแตะมากแทบไม่เพิ่มเลย) และหลังวิกฤติโควิด ยอดส่งออกของ รบ.พล.อ.ประยุทธ์ (เลือกตั้ง) ก็พุ่งขึ้นสูงอีกเช่นกัน ในครั้งนี้สูงชันกว่ายุครัฐบาลทักษิณเสียอีก (อ้างอิงภาพเปรียบเทียบผลงานการส่งออก) และยังนำมาซึ่งการได้ดุลการค้าสูงกว่าบรรดารัฐบาลก่อนหน้าในช่วงเท่าที่มีข้อมูลแสดง

น่าจะสรุปได้ว่าทางด้านการส่งออก รบ.พล.อ.ประยุทธ์ ได้วางรากฐานที่ดีไว้ให้กับประเทศแล้ว

นายวีระกล่าวถึงแหล่งรายได้ของประเทศว่า เราเหลืออันเดียว-ท่องเที่ยว ที่เหลือไม่เห็นเลย ผู้เขียนเพิ่งพิสูจน์ไปในโพสต์ก่อนหน้า ว่า 1. อันดับความสามารถในการแข่งขัน Travel & Tourism รบ.คสช. ดีกว่า รบ.ยิ่งลักษณ์ 2. อันดับการขับเคลื่อนการพัฒนา Travel & Tourism รบ.พล.อ.ประยุทธ์ (เลือกตั้ง) ดีกว่า รบ.เศรษฐา-แพทองธาร 3. SET Tourism Index หลังโควิด สูงสุดใน รบ.พล.อ.ประยุทธ์

ทั้งสามข้อน่าจะพิสูจน์แล้วว่าทางด้านการท่องเที่ยว รบ.พล.อ.ประยุทธ์ ก็ได้เปิดโอกาสที่ดีมากไว้ให้ประเทศอีกเช่นกัน ส่วนรัฐบาลปัจจุบันจะมีหรือไม่มีฝีมือรับช่วงต่อ จะต้องฉุดกระชากลากถูให้ รบ.พล.อ.ประยุทธ์ ตามมารับผิดชอบด้วยทำไม ???

โพสต์นี้แม้จะพิสูจน์แย้งเนื้อหาของนายวีระคนเดียว แต่ข้อมูลก็น่าจะเพียงพอสำหรับแย้งเนื้อหาของนาย ‘หมาแก่’ และโพสต์ FB Thanong Fanclub ด้วยเช่นกัน 

“ทศวรรษที่สูญหาย” ถ้าจะมี ก็น่าจะกำลังเริ่มขึ้นมากกว่า


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top