Tuesday, 22 April 2025
มรดกทางวัฒนธรรม

แสง สี เสียง จัดเต็ม ชวนคนไทยเที่ยว ‘เทศกาลดอกลำดวนบาน’ หนุนการท่องเที่ยว-ชมประเพณีสี่เผ่า ‘ไทศรีสะเกษ’

ชวนคนไทย เที่ยว เทศกาลดอกลำดวนบานฯ ศรีสะเกษ ททท. ส่งเสริมการท่องเที่ยว ชมอัตลักษณ์ วิถีชีวิต ศิลปะ วัฒนธรรม 4 เผ่าไท  

(11 มี.ค.66) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอเชิญชวนประชาชน ร่วมงานเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ประจำปี 2566 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-12 มี.ค. 2566 ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ โดยเทศกาลดอกลำดวนบานฯ เป็นการแสดงอัตลักษณ์ วิถีชีวิต ศิลปะ วัฒนธรรม ของชาว จ.ศรีสะเกษ ที่มีความหลากหลายของ 4 เผ่า ไทศรีสะเกษ ได้แก่ กูย เขมร ลาว เยอ อยู่ร่วมกันมานับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ เพื่อคงความเป็นเอกลักษณ์ รักษามรดกทางวัฒนธรรม รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันเทศกาลดอกลำดวนบานฯ ได้รับการบรรจุเป็นหนึ่งกิจกรรมโดดเด่นในปฏิทินที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) แนะนำให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติไปเยี่ยมชมด้วย

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า เทศกาลดอกลำดวนบานฯ มีกิจกรรมทั้งภาคกลางวันและภาคกลางคืน โดยกิจกรรมช่วงกลางวัน มีการแสดงรากวัฒนธรรม อาทิ บ้านจำลองของ 4 เผ่า ไทศรีสะเกษ (กูย เขมร ลาว เยอ) การแสดงที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ พิธีกรรมประเพณี และวิถีชีวิตของชุมชน ที่มีความงานและเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละชนเผ่า พร้อมอาหารพื้นบ้านของแแต่ละชนเผ่า  มีการจัดจำหน่ายสินค้าโอทอป (OTOP) อาหาร เครื่องดื่ม สมุนไพร ผ้าทอเบญจศรี ของใช้ เครื่องประดับ เป็นต้น กิจกรรมภาคกลางคืน ชมการแสดง เเสงสี เสียง "อารยธรรมแห่งศรัทธา มนตราศรีพฤเธศวร" ตอน รอยบรรพชน ซึ่งเป็นชุดการแสดงที่มีความยิ่งใหญ่ ใช้นักแสดงร่วมกว่า 400 คน

‘ยูเนสโก’ มอบประกาศนียบัตร ‘ประเพณีสงกรานต์’ ของไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติอย่างเป็นทางการ

เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 67 นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ตามที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ‘ยูเนสโก’ ประกาศขึ้นทะเบียน ‘สงกรานต์ในประเทศไทย’ เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ไปเมื่อเดือนธันวาคม 2566 ที่ผ่านมานั้น ขณะนี้ ยูเนสโกได้มอบประกาศนียบัตร (Certificate) เพื่อรับรองประกาศขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการให้แก่ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนี้ สวธ.เตรียมการขับเคลื่อนกิจกรรมสงกรานต์ในประเทศไทยไปพร้อมกัน

“สงกรานต์เป็นประเพณีปีใหม่ไทยที่เฉลิมฉลองในช่วงกลางเดือนเมษายนของทุกภูมิภาคในประเทศไทย ซึ่งได้รับการถือปฏิบัติและสืบทอดอย่างยาวนาน ประเพณีอันงดงามและมีความหมายสะท้อนให้เห็นถึงความกตัญญูของคนไทยที่มีต่อบรรพบุรุษ ความเอื้ออาทรและความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ประเพณีสงกรานต์ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ตักบาตร สรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์ รดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้เคารพนับถือ จัดขบวนแห่ของชุมชนที่แสดงถึงตำนานสงกรานต์ จัดละครพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ การละเล่น และการแสดงต่างๆ เป็นต้น

“การได้รับประกาศขึ้นทะเบียนครั้งนี้นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งโดย ในปี 2567 จะมีจัดกิจกรรมอย่างยิ่งใหญ่ เป็นงานมหาสงกรานต์ คงเนื้อหาในการเผยแพร่สาระคุณค่า สร้างการรับรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และให้ตระหนักถึงความสำคัญตามขนบประเพณีของชุมชนท้องถิ่นต่างๆ โดยเตรียมจัดโครงการ ‘World Songkran Festival : ประเพณีสงกรานต์ไทย หมุดหมายนักท่องเที่ยวทั่วโลก’ ดำเนินงานผ่านเครือข่ายวัฒนธรรม 76 จังหวัดทั่วประเทศ และ 50 เขต ในกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1-21 เมษายน 2567” นายโกวิทกล่าว

อธิบดี สวธ.กล่าวต่อว่า โอกาสนี้ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนไทย ชาวต่างชาติ ร่วมสืบสาน รักษา ต่อยอดมรดกภูมิปัญญาประเพณีสงกรานต์อันทรงคุณค่าของไทยให้เกิดการสืบทอดอย่างยั่งยืน และใช้เป็นพลัง Soft power ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นภาคเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ดึงเม็ดเงินเข้าประเทศต่อไป

‘ยูเนสโก’ ขึ้นทะเบียน ‘ต้มยำกุ้ง’ เป็นมรดกวัฒนธรรมฯ นับเป็นรายการที่ 5 ของไทย ที่ได้รับการรับรอง

ข่าวดีของประเทศไทย!! ‘ต้มยำกุ้ง’ ถูกประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมฯ จากยูเนสโก เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา นับเป็นรายการที่ 5 ของไทย ที่ได้รับการรับรองต่อจาก โขน, นวดไทย, โนราห์, และ ประเพณีสงกรานต์

(4 ธ.ค. 67) เวลา 02.00 น. เวลาในประเทศไทยที่ กรุงอะซุนซิออง สาธารณรัฐปารากวัย องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้มีการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนการรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 (The 19th Session of the Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) โดยที่ประชุมได้ประกาศขึ้นทะเบียน ‘ต้มยำกุ้ง’ เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (The Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ในการประชุมฯ

โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความยินดีผ่านระบบวีดิทัศน์ ว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติในโอกาสพิเศษนี้ ในนามของรัฐบาลไทยและคนไทยทั้งประเทศ ขอขอบคุณสาธารณรัฐปารากวัยสำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ในครั้งนี้ รวมถึงคณะกรรมการฯ ที่ได้ขึ้นทะเบียนให้ 'ต้มยำกุ้ง' เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ 

ทั้งนี้การขึ้นทะเบียน 'ต้มยำกุ้ง' ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 ในการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยต้มยำกุ้งของไทย เป็นเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ มีต้นกำเนิดจากภูมิปัญญาและวิถีปฏิบัติอันประณีตของชุมชนริมน้ำในภาคกลางของไทย สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นในทุกระดับของสังคม ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัว ชุมชน โรงเรียน และร้านอาหาร จนกลายมาเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ต้มยำกุ้งจึงเป็นเครื่องยืนยันอย่างดีถึงมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Soft Power ไทย โดยอาหารไทยจานนี้ยังสะท้อนถึงความเข้าใจในการใช้ชีวิตอย่างสอดคล้องร่วมกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้งอีกด้วย ทั้งการใช้สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ การเพาะเลี้ยงกุ้งน้ำจืด การอนุรักษ์น้ำ ดิน และอากาศ การคัดเลือกและเตรียมวัตถุดิบอย่างพิถีพิถัน และท้ายสุดคือศิลปะการปรุงอาหารไทยที่ผสมผสานรสชาติ และคุณค่าทางโภชนาการอย่างลงตัว

นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า ความรู้และแนวปฏิบัติเหล่านี้ไม่เพียงช่วยสร้างความมั่นคงด้านอาหาร สุขภาพและความอยู่ดีกินดีของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และความสมานฉันท์ในสังคมอีกด้วย ประเทศไทยจึงมุ่งมั่นในการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage – ICH) ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติอย่างเต็มที่ และพร้อมร่วมมือกับทุกประเทศเพื่อรักษา (safeguard) ICH ในฐานะทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืนในทั้ง 3 ด้าน - เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้เชิญชวน ลิ้มลองต้มยำกุ้ง ที่ร้านอาหารไทยทั่วโลก หรือค้นหาสูตรอาหารออนไลน์เพื่อทดลองทำต้มยำกุ้งเองที่บ้าน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางอันแสนอร่อยและเต็มไปด้วยรสชาตินี้ด้วยกัน

แน่นอนว่า การขึ้นทะเบียนต้มยำกุ้งในครั้งนี้ทำให้ประเทศไทยได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น ในฐานะประเทศที่มากด้วยประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีและอาหารที่มีทั้งสตรีทฟู้ด อาหารนานาชนิดที่ขึ้นชื่อจนทำให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาประเทศไทย หรือแม้แต่คนในต่างประเทศที่มีร้านอาหารไทยอยู่ในเมนูอันดับแรก ๆ ที่มักจะสั่งก็คือต้มยำกุ้งของไทย ซึ่งถือเป็นการสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เมดอินไทยแลนด์ได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทย มีรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติจากยูเนสโกมาแล้ว 4 รายการ คือ  โขน/ นวดไทย/ โนราห์ และ ประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทย โดย ต้มยำกุ้ง ถือเป็นรายการที่ 5 ของไทย ที่ได้รับการรับรอง

นอกจากนี้ ยังมีประกาศขึ้นทะเบียน ‘ชุดเคบาย่า’ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งเป็นรายการที่เสนอร่วม 5 ประเทศ คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย

‘ยูเนสโก’ ขึ้นทะเบียน ‘ผ้ากรอม้า’ ของกัมพูชา เป็น ‘มรดกทางวัฒนธรรม’ เผย!! ใช้งานได้หลายรูปแบบ ‘พันคอ-โพกศีรษะ-ใช้เป็นเปลให้ทารก’

เมื่อวานนี้ (4 ธ.ค. 67) ‘World Forum ข่าวสารต่างประเทศ’ ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ ‘ผ้ากรอม้า’ โดยมีใจความว่า ...

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2024 ยูเนสโกขึ้นทะเบียน ‘ผ้ากรอม้า’ เป็น ‘มรดกทางวัฒนธรรม’ ตามที่กัมพูชายื่น 

ผ้ากรอมา (Krama) คือ ‘ผ้าพันคอทอมือ’ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศกัมพูชา ผ้ากรอม้า เป็นเครื่องแต่งกายดั้งเดิมของกัมพูชา สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้พันคอ โพกศีรษะ ต่างผ้าเช็ดหน้า เคียนเอว ห่มคลุมกันแดดฝน หรือใช้เป็นเปลสำหรับทารก

📈🍲 สวธ. เดินหน้าสนับสนุนและขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย “รสชาติ...ที่หายไป The Lost Taste” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ 🥗🥘

🗓️ วันพุธที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
🕰️ เวลา ๑๓.๐๐ น.
📍 ณ ห้องศรีวราแกรนด์บอลรูม
ชั้น ๒ โรงแรมทาวน์ อิน ทาวน์ เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร

🎀 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการการชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best
Local Food) “รสชาติ...ที่หายไป The Lost Taste” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ โดยมี นางสาวพลอย ธนิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (ผู้แทนปลัดกระทรวงวัฒนธรรม) นายวิเชียร สุขสร้อย เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม) คณะผู้บริหาร ข้าราชการจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ กว่า ๓๐๐ คน เข้าร่วมพิธี

🎙️✨ นางสาวสุดาวรรณฯ กล่าวว่า “อาหาร” เป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่สะท้อนแนวคิด (concept) วิถีชีวิต(lifestyle) ประวัติศาสตร์ (history) ภูมิปัญญา (remedy) ตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบ การประกอบอาหาร การปรุงรสอาหาร วิธีการรับประทาน ข้อกำหนดและข้อห้ามเกี่ยวกับอาหารที่แตกต่างกันไปตามเชื้อชาติ สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม รวมถึงการปฏิสัมพันธ์ (interaction) กับต่างประเทศ

🍛✨ นางสาวสุดาวรรณฯ กล่าวอีกว่า ปี ๒๕๖๘ นี้ เป็นปีที่ ๓ ในการขับเคลื่อนการยกระดับอาหารถิ่นอย่างต่อเนื่อง นับเป็นนโยบายที่สำคัญของกระทรวงวัฒนธรรม และนอกเหนือจากการค้นหาเมนูอาหาร “รสชาติ...ที่หายไป” แล้ว ยังมุ่งพัฒนาเมนูอาหารถิ่นสู่การจัดสำรับเครื่องดื่มพื้นบ้าน (assortment of traditional cuisine and beverages) ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เกิดการอนุรักษ์และเผยแพร่องค์ความรู้และภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอาหารของประเทศ ตลอดจนการนำเสนอเมนูอาหารที่สร้างสรรค์สู่สากล

📝👥 สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๖ - ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ ณ ห้องศรีวราแกรนด์บอลรูม ชั้น ๒ โรงแรมทาวน์ อิน ทาวน์ เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร โดยการประชุมดังกล่าว กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้ร่วมบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน อาทิ กรมการแพทย์แผนไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง (strengthening) ให้กับชุมชน มุ่งสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) อย่างมีส่วนร่วมทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ อันจะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ (Thailand Creative Culture Agency : THACCA) ได้อย่างมีศักยภาพ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top