Tuesday, 22 April 2025
ภาษีเงินได้

‘หนุ่มนักโหราฯ’ ติง!! ระบบภาษีของไทยเรียกเก็บเงินได้น้อยกว่าที่ควร คนจนไม่เข้าเกณฑ์ คนรวยเลี่ยงจ่าย ก็ยากจะพัฒนาประเทศให้เจริญ

เมื่อวานนี้ (14 ส.ค. 66) ผู้ใช้งานติ๊กต็อกชื่อ ‘flukepatsmile’ นักพยากรณ์โหราศาสตร์ไทย ได้เผยแพร่วิดีโอตอบข้อความของผู้ติดตามที่แสดงความคิดเห็นว่า “บ้านเราน่าจะเสียภาษี ภ.ง.ด. ก่อนถึงจะมีสิทธิ์เลือกตั้งนะครับ” โดยระบุว่า 

“ผมว่าหายไปเยอะมาก หรืออาจจะหายไปเกือบครึ่งเลยนะ ประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาจะเก็บภาษีได้ประมาณ 70% ของผู้ที่มีรายได้ต้องเสียภาษี ส่วนประเทศอย่างเราจะเก็บภาษีได้ประมาณ 15-20% ของผู้ที่มีรายได้ต้องเสียภาษี การรีดภาษีทําได้เยอะมาก ยกตัวอย่างเช่น หาบเร่ แผงลอย แม่ค้าตลาดนัด ตรวจบัญชีรายได้ในนิติบุคคล ทุก ๆ คนต้องมีตัวร้านที่ชัดเจนเหมือนในต่างประเทศ รถที่ไม่ผ่านการตรวจ เป็นรถเก่าไม่สามารถต่อภาษีได้ หรือว่าจะเป็นรถกระป๋อง รถสามล้อ ผิดรูปผิดแบบต้องยกเลิกทั้งหมด ต้องผลักดันเพื่อเพิ่มอาชีพให้กับคนไทย ชุมชนแออัดในกรุงเทพทั้งหมดต้องถูกผลักออกจากกรุงเทพ เพื่อความพร้อมต่อการสร้างธุรกิจให้เงินไหลเข้ามา พุทธพาณิชย์ทั้งหมดต้องโดนเก็บภาษี ธรรมกายวัดเดียวมูลค่า 4.4 ล้านล้านบาท ถ้าพุทธพาณิชย์ทั้งประเทศจะเป็นเงินเท่าไรลองคิดดู”

ผู้ใช้ติ๊กต็อกรายนี้ยังกล่าวอีกว่า “ประเทศเรามันก็เป็นประเทศที่เป็นความประนีประนอม เพื่อให้ทุก ๆ คนพออยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข คนจนไม่สามารถตรวจภาษีได้ ส่วนคนรวยบางส่วนเลี่ยงภาษี ความลําบากมันอยู่ที่คนชนชั้นกลางซึ่งเป็น 70% ของประเทศ ข้าราชการ พนักงานบริษัท เงินรายได้โตไม่ทันเงินเฟ้อ แต่เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่ต้องแบกรับภาษีของประเทศ”

“คนที่บอกว่าการเมืองดีแล้วนู่นนี่นั่นจะดี มันก็เหมือนการทําผัดกะเพราครับ คุณมีสูตรที่ดี มันก็เหมือนคุณมีนักการเมืองที่ดี แต่ว่าไก่ก็เหมือนประชากร ถ้าประชากรไม่มีคุณภาพก็คือไก่เสีย เอาไปทําผัดกะเพรา ถามว่าผัดกะเพราที่สูตรดีจะอร่อยได้ยังไงครับ? เริ่มต้นที่ประชากรเริ่มต้นที่ตัวเราครับผม” ผู้ใช้ติ๊กต็อกรายนี้กล่าวทิ้งท้าย

‘พิชัย’ เผย ขอไทยเตรียมความพร้อม 5 ปี ก่อนเข้าร่วม OECD เน้นภาษีเงินได้นิติฯ

(30 ต.ค. 67) นายมาทีอัส คอร์มันน์ เลขาธิการองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD) เข้าพบหารือกับนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก่อนจะเดินทางเข้าพบ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และรมว.คลัง กล่าวภายหลังการหารือว่า จากการหารือประเทศไทยยังมีงานต้องทำอีกหลายอย่างให้เสร็จสิ้นภายในช่วงเวลา 5 ปี ก่อนที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก OECD อย่างเป็นทางการ ทั้งเรื่องกฎหมาย และแนวทางการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ที่จะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD โดยเฉพาะเรื่องของนโยบายทางด้านภาษี 

ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) อยู่ระหว่างการจัดทำมาตรการทางด้านภาษี เพื่อให้สอดคล้องกับกติกาภาษีใหม่ของ OECD ซึ่งได้ประกาศการบรรลุข้อตกลงเรื่องอัตราการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำ (Global Minimum Tax) จากบริษัทข้ามชาติทั่วโลก ในอัตรา 15% ซึ่งคาดว่าอย่างเร็วที่สุดในการประชุมคณะกรรมการบีโอไอ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 นี้ จะมีการหารือถึงมาตรการดังกล่าว

“เรื่องของภาษีเป็นความจำเป็น เพราะไทยจะต้องทำตามกติกาภาษีใหม่ที่ให้เก็บ 15% กับบริษัทขนาดใหญ่ เพราะมาตรการเดิมของบีโอไอ ให้สิทธิประโยชน์ด้านการยกเว้นภาษี แต่ท้ายที่สุดบริษัทเหล่านั้นก็ต้องเสียภาษีต้นทาง ดังนั้นจึงอยากเซตกติกาใหม่กับบีโอไอ เช่น ถ้าลงทุนพัฒนาทักษะคน หรือใช้เทคโนโลยีสีเขียว ก็มีมาตรการออกมาช่วยโดยจะออกมาเป็นกฎหมายที่จ่ออยู่แล้ว เพื่อให้มีผลใช้บังคับได้ในปี 2568” นายพิชัย ระบุ

นายพิชัย กล่าวว่า ในส่วนประเด็นด้านการเติบโต และด้านศักยภาพของเศรษฐกิจไทยนั้น จากการหารือก็เห็นว่าเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลกได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ดังนั้นการฟื้นตัวในระยะต่อไปต้องฟื้นตัวอย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพ ซึ่ง OECD ก็มีตัวอย่างของประเทศพัฒนาแล้ว ที่ประเทศไทยสามารถนำวิธีคิด และวิธีทำงานมาแลกเปลี่ยนกันต่อไป 

“วันนี้จะอยู่แบบเดิมไม่ได้ต้องอยู่แบบประสิทธิภาพ และคุณภาพ ซึ่งวิธีคิด และวิธีทำงานที่สอดคล้องกันของประเทศสมาชิกจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันได้ง่ายขึ้น และเป็นผลดีกับไทยที่มีปัญหาการทำงาน มีปัญหาซ้ำซ้อนเรื่องค่าใช้จ่ายภาครัฐมาก โดยเรื่องทั้งหมดนั้น เรามีงานต้องทำอีกมากตามเป้าหมายการทำงานในช่วง 5 ปีจากนี้” นายพิชัย ระบุ

‘ฮอนด้า’ ชวน!! ลูกค้าเข้าศูนย์บริการ ร่วมมาตรการรัฐ Easy E-Receipt 2.0 รับสิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุด 30,000 บาท

(26 ม.ค. 68) บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศร่วมมาตรการ ‘Easy E-Receipt 2.0’ โดยลูกค้าที่นำรถเข้ารับบริการในศูนย์บริการ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2568 ได้ตามจริงสูงสุด 30,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 - 28 กุมภาพันธ์ 2568 

ทั้งนี้ลูกค้าสามารถตรวจสอบรายละเอียดโชว์รูมและศูนย์บริการฮอนด้าที่เข้าร่วมมาตรการ ‘Easy E-Receipt 2.0’ ได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอนด้า 24 ชั่วโมง  (Honda Call Center)

ทั้งนี้เงื่อนไขสินค้าและงานบริการที่สามารถลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในมาตรการ ‘Easy E-Receipt 2.0’ ได้แก่ 

•งานบริการ รวมถึงอะไหล่และเคมีภัณฑ์ ที่ชำระเงินและใช้บริการในช่วงเวลาของมาตรการ
•งานตรวจเช็กตามระยะทาง งานซ่อมทั่วไป และงานซ่อมตัวถังและสี ประเภทลูกค้าเป็นผู้ชำระเงิน
•งานติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ (Accessories) และ Honda Connect

ทั้งนี้การตรวจเช็คตามระยะทางที่ค่าใช้จ่ายที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขมาตรการ เนื่องจากไม่สามารถระบุได้ว่าลูกค้าจะได้รับการบริการในช่วงเวลาที่โครงการกำหนดหรือไม่ ได้แก่
•โปรแกรมอัลติเมทแคร์ (อัลติเมท 1, 2, 3)
•แพ็กเกจเช็คระยะฮอนด้าเพย์เซฟ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top