Sunday, 20 April 2025
ภาพยนตร์

ไทยเนื้อหอม!! โกยรายได้จากกองถ่ายต่างประเทศ หลักพันล้าน! | TIME TO KNOW EP.11

ทุบสถิติปี 2565! ไทยโกยรายได้หลักพันล้าน จากกองถ่ายทำของต่างชาติ

ที่ได้เดินทางเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทยกว่าร้อยกว่าเรื่อง

รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปรับชมกันได้เลย...

 

วันนี้ได้รับเกียรติจาก 'คุณนริศโรจน์ เฟื่องระบิล'

ประธานคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ คณะที่ 2 

 

ดำเนินรายการโดย วสันต์ มนต์ประเสริฐ Content Manager THE STATES TIMES 

 

รับชม TIME TO KNOW ตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyLeCUW3J3YQWxrNs4ZAeXBp

 

🎥 ช่องทางรับชม

Facebook: THE STATES TIMES PODCAST

YouTube: THE STATES TIMES PODCAST

TikTok: THE STATES TIMES PODCAST

'บิ๊กตู่' ปลื้ม!! ต่างชาตินิยมยกกองถ่ายหนังในไทย ดันอุตฯ หนังไทยโต โกยรายได้กว่า 9 ล้านพันบาท

(13 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบและยินดีที่ ประเทศไทยเป็นสถานที่ยอดนิยมที่ต่างประเทศมักเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ ทำให้สถานที่สวยงามของไทยเป็นที่รู้จัก เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ รวมทั้งยังมีส่วนในการกระจายรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว และกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศไปในโอกาสเดียวกันด้วย

นายอนุชา กล่าวว่า จากรายงานของกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพบว่า ในปี 2565 มีการถ่ายทำภาพยนต์ต่างประเทศในประเทศไทยถึง 348 เรื่อง โดยเดือนกันยายน และพฤศจิกายน 2565 มีการถ่ายทำสูงสุดที่ 42 เรื่อง ในขณะที่ล่าสุด เดือนมกราคม 2566 มีการถ่ายทำไปแล้วถึง 34 เรื่อง สร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 298.11 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2566)

นายอนุชา กล่าวว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย ภาครัฐยังได้ให้การสนับสนุนเป็นสิทธิประโยชน์ในรูปแบบการคืนเงิน (Cash Rebate) ตามมติ ครม. (7 ก.พ. 2566) ร้อยละ 20-30 เป็นระยะเวลา 2 ปี สิทธิประโยชน์หลักอยู่ที่ร้อยละ 20 เมื่อมีการลงทุนในประเทศไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ส่วนสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมรวมแล้วไม่เกินร้อยละ 10 

นายอนุชา กล่าวว่า ยังมีการปรับเพิ่มการคืนเงินจากเดิม 75 ล้านบาท/เรื่อง เป็น 150 ล้านบาท/เรื่อง จะทำให้เพดานเงินลงทุนสร้างภาพยนต์ต่อเรื่องเพิ่มเป็น 750 ล้านบาท จากเดิม 375 ล้านบาท เพื่อเป็นการรับกับแนวโน้มที่คณะถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศที่เข้ามาในไทยเป็นผู้สร้างรายใหญ่ เงินทุนสูง โดยเฉพาะภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! เทศกาลภาพยนตร์ไทย-มาเลเซีย 2023 คึกคัก พร้อมดันกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางด้านภาพยนตร์ของอาเซียน

(17 ก.ค. 66) สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มุ่งผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ ใช้มิติวัฒนธรรมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ และสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย โดยรับทราบผลสำเร็จของงานเทศกาลภาพยนตร์ไทยในมาเลเซียประจำปี 2566 ภายใต้ธีม ‘Bridging Thainess to International Audience’ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่  13 - 16 กรกฎาคม 2566 ที่โรงภาพยนตร์ GSC Mid Vally โดยมีแขกผู้มีเกียรติจากกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย กระทรวงการท่องเที่ยว ศิลปะและวัฒนธรรมมาเลเซีย คณะกรรมการพัฒนาภาพยนตร์แห่งมาเลเซีย (FINAS) คณะทูตานุทูตต่างประเทศ พร้อมทั้งสื่อมวลชนมาเลเซีย นักเรียน นักศึกษามาเลเซียและไทย คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำในมาเลเซีย และแฟนคลับชาวไทยและมาเลเซีย เข้าร่วมกันอย่างคึกคัก

ซึ่งนอกจากจะเป็นการส่งเสริมมิตรภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแล้ว ในเชิงสังคมและวัฒนธรรม ยังเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และความร่วมมือในอนาคตระหว่างอุตสาหกรรมภาพยนตร์และบันเทิงของทั้งสองประเทศ เปิดโอกาสทางด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาความสำเร็จของประเทศไทยสามารถดึงดูดคณะถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศเข้ามาถ่ายทำในไทย ทำให้สถิติ 7 ปี (2559 - 2565) สร้างรายได้เข้าประเทศแล้วกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท 

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ครม.พล.อ.ประยุทธ์ได้เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยเพิ่มเติมเพื่อดึงดูดคณะถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ  ทำให้มั่นใจว่าจะผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางด้านภาพยนตร์ของอาเซียนได้ตามเป้าหมาย

สำหรับการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์ไทยในมาเลเซีย ประจำปี 2566 ภายใต้ธีม ‘เชื่อมความเป็นไทยสู่สากล’ นำภาพยนตร์ไทย 5 เรื่องจากเครือภาพยนตร์ไทยที่มีชื่อเสียงมาฉายสู่สายตามิตรชาวมาเลเซีย ได้แก่ แอน (Faces of Anne) เทอมสองสยองขวัญ (Haunted Universities 2nd Semester) บุพเพสันนิวาส 2 (Love Destiny the Movie) Fast & Feel Love เร็วโหด..เหมือนโกรธเธอ และหนังรักคลาสสิคตลอดกาล Friend Zone ระวัง...สิ้นสุดทางเพื่อน โดยจัดฉายในโรงภาพยนตร์ในเครือ Golden Screen Cinemas (GSC) 4 แห่งใน กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองปูตราจายา และรัฐสลังงอร์ ได้แก่ GSC Mid Valley GSC 1 Utama GSC MyTown และ GSC IOI City Mall โดย ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

‘แม่ณุน’ หนังผีตำนานกัมพูชา เตรียมลงโรงฉายไทยปีหน้า พล็อต ‘ยืดแขน-ห้อยหัว-รอคนรัก’ ทำคนไทยแอบเอ๊ะสุดๆ

(20 ธ.ค.66) เรียกเสียงฮือฮาจากโลกโซเชียลเป็นอย่างมาก เมื่อทาง Major Group ออกมาโพสต์โปรโมทภาพยนตร์ใหม่จากประเทศกัมพูชา เรื่อง ‘แม่ณุน’ ตำนานสุดสยองขวัญที่สร้างปรากฏการณ์เป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดตลอดกาลมาแล้วทั่วประเทศในกัมพูชา พร้อมเข้าฉาย 29 กุมภาพันธ์ 2024

โดยภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นตำนานสยองขวัญที่เล่าขานนับร้อยปีของประเทศกัมพูชา เกี่ยวกับหญิงสาวคนหนึ่งที่คนรักของเธอต้องไปทำภารกิจต่างแดนขณะที่เธอตั้งท้อง

เธอเฝ้ารอคอยคนรักด้วยความหวัง ทว่าก็เกิดเรื่องเลวร้ายขึ้น เพราะเธอสิ้นใจขณะคลอดลูก กลายเป็นผีตายทั้งกลม หลอนทั้งหมู่บ้าน สามารถยืดแขนยาว และห้อยหัวลงมาจากหลังคาได้

เมื่อตัวอย่างภาพยนตร์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ก็กลายเป็นไวรัลในโลกโซเชียลทันที ชาวเน็ตไทยแห่เข้ามาแสดงความคิดเห็นกันสนั่น ทั้งยังมีการเปรียบเทียบหนังเขมร ‘แม่ณุน’ กับหนังไทยที่กลายเป็นตำนานตลอดกาลอย่าง ‘แม่นาก พระโขนง’

โดยชาวเน็ตไทยตั้งข้อสังเกตว่า ตัวพล็อตเรื่องของหนังมีความคล้ายกัน ทั้งช่วงเวลาเป็นแนวย้อนยุค โบราณ ใช้ชีวิตริมคลอง พระเอกและนางเอก กำลังจะมีลูกด้วยกัน แต่ก็ต้องแยกจากกันเนื่องจากฝ่ายชายต้องห่างไกลบ้าน

จากนั้นฝ่ายหญิงก็คลอดลูกไม่สำเร็จ จนทำให้เสียชีวิต กลายเป็นผีตายทั้งกลม ที่เฝ้ารอการกลับมาของคนรัก อีกทั้งเมื่อกลายเป็นผี ก็สามารถยืดแขนได้อีก ซึ่งเป็นภาพจำของ ‘ผีแม่นาก’ ที่คนไทยคุ้นเคยกันกับฉากเก็บมะนาว

กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ความคิดเห็นจากโลกโซเชียล อาทิ

- เพื่อนแม่นากรึป่าว
- พล็อตใหม่ล้ำ ๆ ไม่ซ้ำใคร
- แม่นากมิติใหม่
- นี่คือตำนานจริง ๆ ใช่ไหม
- ชื่อคล้าย ๆ กันนะ 5555555

อย่างไรก็ดี อย่าเพิ่งตัดสินจากตัวอย่างหนังเพียงอย่างเดียว สำหรับใครที่อยากพิสูจน์ว่าตำนานรักข้ามมิติของ ประเทศกัมพูชา และ ประเทศไทย จะมีความเหมือนหรือความต่างอย่างไร คงต้องไปพิสูจน์เองในโรงภาพยนตร์

‘โลเคชันไทย’ สุดฮอต!! ตปท.ยกกองมาถ่ายหนัง-โฆษณา-รายการเพียบ ปี 66 ถ่ายไป 466 เรื่องจาก 40 ประเทศทั่วโลก โกยรายได้ 6.6 พันล้าน!!

เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 67 น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมกับข้อความ #NewRecord โดยแชร์ข้อมูลเรื่องสถิติการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2566 มีคณะถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศเดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย จำนวน 466 เรื่อง จาก 40 ประเทศทั่วโลก คาดการณ์รายได้จำนวนกว่า 6,600 ล้านบาท ถือเป็นสถิติจำนวนรายได้สูงสุดนับแต่มีการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย โดยข้อมูลดังกล่าว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566

จากสถิติปี พ.ศ. 2566 คณะถ่ายทำภาพยนตร์จาก ‘สหรัฐอเมริกา’ เข้ามาลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยมากที่สุด มีเงินลงทุนกว่า 3,184 ล้านบาท จากจำนวนภาพยนตร์ 34 เรื่อง ตามมาด้วยคณะถ่ายทำจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มีเงินลงทุนกว่า 707 ล้านบาท ตามด้วยประเทศนจีน, เยอรมนี และเกาหลีใต้ ตามลำดับ

1.) กองถ่ายโฆษณาถ่ายทำมากที่สุด จำนวน 203 เรื่อง รายได้จำนวน 955.03 ล้านบาท

2.) สารคดี จำนวน จำนวน 81 เรื่อง รายได้จำนวน 56.90 ล้านบาท

3.) รายการโทรทัศน์ จำนวน 58 เรื่อง รายได้จำนวน 172.46 ล้านบาท

4.) ภาพยนตร์เรื่องยาว จำนวน 35 เรื่อง รายได้จำนวน 1,256.74 ล้านบาท

5.) มิวสิควิดีโอ จำนวน 34 เรื่อง รายได้จำนวน 105.99 ล้านบาท

6.) รายการเรียลลิตี้ จำนวน 30 เรื่อง รายได้จำนวน 668.76 ล้านบาท

7.) ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ (ซีรีส์) จำนวน 17 เรื่อง รายได้จำนวน 3,365.00 ล้านบาท

8.) ละครโทรทัศน์/รายการละเอียดอ่อน/อื่น ๆ จำนวน 8 เรื่อง รายได้จำนวน 21.90 ล้านบาท

58 จังหวัด ที่มีกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศเข้าไปถ่ายทำ โดย 10 อันดับจังหวัดที่มีคณะถ่ายทำเดินทางเข้าไปถ่ายทำในพื้นที่มากที่สุด ได้แก่

1.) กรุงเทพมหานคร จำนวน 282 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร สถานีรถไฟหัวลำโพง ตึกคิง พาวเวอร์ มหานคร เป็นต้น

2.) จังหวัดชลบุรี จำนวน 77 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ ถนนเลียบชายหาดพัทยา เกาะล้าน เกาะสีชัง เป็นต้น

3.) จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 60 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ เมืองโบราณ The Studio Park ท่าเรือศุภนาวา เป็นต้น

4.) จังหวัดปทุมธานี จำนวน 52 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ ACTS Studio มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นต้น

5.) จังหวัดภูเก็ต จำนวน 47 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ หาดพาราไดซ์ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี เป็นต้น

6.) จังหวัดนนทบุรี จำนวน 41 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ อิมแพคอารีน่า ถนนบอนด์สตรีท เมืองทองธานี เป็นต้น

7.) จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 39 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ หมู่บ้านแม่กำปอง ปางช้างแม่สา อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เป็นต้น

8.) จังหวัดนครปฐม จำนวน 27 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ ตลาดน้ำดอนหวาย มูวีโอ้ ทาวน์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เป็นต้น

9.) จังหวัดกระบี่ จำนวน 26 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ หาดพระนาง หาดต้นไทร อ่าวไร่เล เป็นต้น

10.) จังหวัดราชบุรี จำนวน 25 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ ตลาดน้ำดำเนินสะดวก อุทยานเขาหินงู วัดเขาช่องพราน เป็นต้น

บ็อกซ์ออฟฟิศของจีน ยอดพุ่ง!! กวาดรายได้ 1 หมื่นล้านหยวน หลังหยุดยาวเดือน ก.พ. ช่วยปลุกอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฟื้นตัว

(24 ก.พ. 67) สำนักข่าวซินหัว, ปักกิ่ง รายงานข่าวว่า รายได้จากการจำหน่ายบัตรเข้าชมภาพยนตร์ (Box Office) ของจีน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์สูงเกินหลัก 1 หมื่นล้านหยวน (ราว 5 หมื่นล้านบาท) แล้ว

รายงานระบุว่า ช่วงหยุดยาวเทศกาลตรุษจีน (10-17 ก.พ.) มีส่วนสร้างรายได้ดังกล่าวกว่า 8 พันล้านหยวน (ราว 4 หมื่นล้านบาท) ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์

ข้อมูลจากเมาเหยียน (Maoyan) และบีคอน (Beacon) 2 แพลตฟอร์มภาพยนตร์ เผยว่า รายได้ดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์สูงถึง 1.018 หมื่นล้านหยวน (ราว 5.09 หมื่นล้านบาท)

ทั้งนี้ รายได้จากการจำหน่ายบัตรเข้าชมภาพยนตร์ของจีน เมื่อวันศุกร์ที่ 23 ก.พ.ที่ผ่านมา อยู่ที่ 243 ล้านหยวน (ราว 1.21 พันล้านบาท)

นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก 'Fuangrabil Narisroj'

เมื่อวานนี้ (17 เม.ย. 67) นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก 'Fuangrabil Narisroj' ว่า…

"ขอเล่าในฐานะที่อยู่คณะกก.Film Board ซึ่งดูแลหนังต่างประเทศที่เข้ามาถ่ายทำในไทย

"คือมีกฎอันนึง เราจะให้เขาเลี่ยง ไม่ให้ถ่ายติดภาพพระบรมฉายาลักษณ์ เพราะไม่ต้องการให้เกิดประเด็นที่อาจทำให้กระทบสถาบันในทางตรงหรือทางอ้อมในภายหลังได้ ซึ่งคิดว่าหนังไทยก็คงหลักการคล้ายกัน

"ดูหนังเอาสาระดีกว่าครับ!"

‘ชาวเน็ต’ ข้องใจ!! ‘ซีรีส์เกาหลี’ ถ่ายที่ไทย มักย้อมภาพ ‘สีเหลือง’ แถมเป็นโทนสีที่เห็นได้บ่อย ในฉากที่สื่อถึงประเทศด้อยพัฒนา

(5 มิ.ย.67) ในเชิงจิตวิทยา ‘สี’ มีผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์ โดยแต่ละโทนสี หรือกลุ่มสี สามารถสื่อสารอารมณ์ ความรู้สึกที่แตกต่างกัน

ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่าการถ่ายทำซีรีส์หรือภาพยนตร์ มักจะมีการย้อมสีของภาพ (Color grading) เพื่อช่วยปรับปรุง แก้ไข และเติมชีวิตชีวาให้กับเรื่องราวที่ต้องการถ่ายทอดให้ผู้ชมรับรู้

โดยมีการย้อมภาพเป็น ‘สีเหลือง’ ซึ่งสีโทนเหลือง มักจะถูกใช้เพื่อบ่งบอกถึงอารมณ์ความรู้สึก ‘คลั่ง-เจ็บป่วย-วังเวง’ และเป็นโทนสีที่มักจะเห็นในฉากที่สื่อถึงประเทศด้อยพัฒนา

อย่างไรก็ตาม ได้มีชาวเน็ตคนหนึ่งจุดประเด็นว่า… “ทุกเรื่องที่มาถ่ายที่ไทยเองติดเหลืองตลอดฟีลบ้านป่าเมืองเถื่อนสุด ๆ มีคิงเดอะแลนด์เรื่องเดียวที่มี กทท. สนับสนุนเลยออกมาดี ส่วนเรื่องอื่นถ้ามาถ่ายเองสีนี้หมดจะว่าเป็นโทนสีทั้งเรื่องก็ไม่ใช่ด้วยเพราะพอซีนถ่ายในประเทศตัวเองก็สีปกติ อิเกานี้มันจริง ๆ”

“แค่หงุดหงิดเพราะมันออกแนว Racist มากกว่า ปัญหาในสังคมไทยคิดว่าเนื้อเรื่องมันก็สามารถสื่อออกมาได้โดยไม่ต้องย้อมเหลืองได้

เราไม่มีความรู้เรื่องฟิล์มอะไรนะ แค่หงุดหงิดเพราะอุตสาหกรรมบันเทิงที่เป็นหน้าเป็นตาให้ประเทศมัน ตัวจุดกระแสกับตลาดแรกก็ SEA เงินก็จะเอาเหยียดก็จะเหยียด”

ทั้งนี้ ก็มีคนที่ไม่เห็นด้วยและไม่คิดว่าโดนเหยียดออกมาโต้ว่า ก็เป็นแค่การแต่งสีภาพเมืองร้อน ทุกประเทศก็มีทั้งด้านที่ดีและไม่ดี แค่ต้องยอมรับความจริง

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ซีรีส์เกาหลีแทรกประเด็นเกี่ยวกับประเทศไทยในเชิงลบ ไม่นานมานี้ในซีรีส์เรื่อง Big Mouth มีฉากที่พูดว่า “พอคลอดไซโคพาธอย่างเอ็งแล้ว แม่เอ็งกินอะไร ต้มยำกุ้งเหรอหรือซุปเลือดวัว”

'นักวิชาการ' แซะ!! แอนิเมชัน 2475 ไม่กล้าฉายโรงแบบหนังทอน ด้านคนในวงการเข้ามาชี้แนะ เข้าโรงต้องใช้เงินหลัก 1-2 ล้าน

เมื่อวานนี้ (9 มิ.ย. 67) เฟซบุ๊ก ‘สุรพศ ทวีศักดิ์’ นักวิชาการด้านปรัชญา คอลัมนิสต์ผู้ใช้นามแฝงว่า ‘นักปรัชญาชายขอบ’ โพสต์ข้อความพาดพิงถึงภาพยนตร์เรื่อง ‘2475 Dawn of Revolution’ หลังจากภาพยนตร์เรื่อง ‘Breaking The Cycle’ ซึ่งเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และพรรคอนาคตใหม่ เข้าโรงไม่นาน ระบุว่า…

"ทำไม 2475 Dawn of Revolution ไม่กล้าฉายในโรงภาพยนตร์เหมือน Breaking The Cycle เรื่องแรกกลัวคนไม่ยืน? เรื่องหลังคนนั่งแน่ๆ"

ปรากฏว่ามีผู้ใช้นามว่า ‘ศุภวัฒน์ หงษา’ นักเขียนบท ผู้กำกับละครเวที ซีรีส์ ภาพยนตร์ โฆษณา โพสต์ข้อความระบุว่า…

"การนำหนังเข้าฉายโรงฯ (โรงภาพยนตร์) ต้องใช้เงิน 1-2 ล้านบาท เป็นประกันว่าทางโรงฯ จะไม่ขาดทุนในกรณีหนังไม่มีคนดูครับ ไม่ใช่ทำหนังเสร็จแล้วเอาเข้าโรงฉายแบ่งเงินกับโรงฯ ได้เลย ซึ่งตรงนี้ชัดเจนว่าทีม 2475 เขาทำงานแบบออร์แกนิกไม่มีทุนใหญ่หนุนหลัง มีเพียงงบผลิตแบบกระท่อนกระแท่น ไม่มีงบโปรโมตหรืองบที่จะนำหนังเข้าโรง ตรงกันข้าม Breaking the Cycle ได้โรงฯ จำนวนมากก็เพราะมีทุนมากไปจ่าย ทำให้โรงหนังมั่นใจว่ายังไงฉายแล้วเขาก็ไม่เจ๊ง (เพราะได้ตังค์แล้ว) ซึ่งยิ่งพอส่องดูผู้ชมในแต่ละรอบในโรงต่าง ๆ ก็พบว่ายังมีจำนวนน้อยมาก ๆ ประมาณ 2-5 คนต่อรอบ ก็ยิ่งชัดเจนว่าหนังได้โรงจำนวนมากเพราะมีการจ่ายเงินครับผม"

เมื่อมีกลุ่มผู้สนับสนุนนายสุรพศถามว่า "ได้ตามข่าวจริง ๆ รึเปล่าเนี่ย" นายศุภวัฒน์ ตอบว่า "ตามสิครับ ทราบดีว่าค่ายไหนจัดจำหน่าย แล้วมันผิดจากที่ผมอธิบายยังไงว่าหนังมีทุนในการนำเข้าโรง ต่างจากแอนิเมชัน 2475 ที่ไม่มี ซึ่งเป็นคำตอบต่อสิ่งที่คุณสุรพศตั้งคำถามนี่ครับ"

เมื่อมีกลุ่มผู้สนับสนุนนายสุรพศถามว่า "1. ไม่น่าจะจริงตามที่บอกนะ บริษัทที่ทำอนิเมะดูมีทุนอยู่นะครับ มีการเตรียมการและมีการวางแผน 2. เรื่องรับรองว่าไม่เจ๊งเพราะเอาเงินมาอุดก่อน อันนี้ก็ดูจะไม่จริง เพราะตอนแรกเขาตกลงฉายไม่กี่โรงครับ จนเมื่อวันก่อนเพิ่งจะเพิ่มเป็นทั่วประเทศ จนเอาหนังไปฉายไม่ทัน ดรามาไปดูแต่ไม่มีหนังดู (เกิดปัญหาเทคนิค)"

นายศุภวัฒน์ตอบว่า "1. จริงสิครับ ทุกวันนี้เงินก็ยังไม่คุ้มทุน ยังต้องมีการผลิตออกมาเป็นหนังสือขายเพื่อให้ได้ทุนคืน

2. ระบบเอาหนังเข้าโรงไทยเป็นแบบนี้อยู่แล้วครับ จะมาไม่จริงอะไร ในกรณีที่คุณไม่ใช่ค่ายใหญ่ที่การันตีว่าจะมีคนดูอย่าง GDH การจะเอาหนังเข้าโรงต้องมีเงินให้โรงก่อน 1-2 ล้านบาท เพื่อให้โรงยอมฉายให้ ซึ่งถ้าฉายแล้วจู่ ๆ วันแรกได้สักสิบล้านบาทขึ้นไป โรงจะพิจารณาเพิ่มโรง เพิ่มรอบเอง (เพราะเขาอยากได้ส่วนแบ่งเพิ่ม) แต่ถ้าวันแรกไม่ปัง ดูทรงไม่ทำเงิน ไม่คุ้มจะเอาเวลาฉายไปเสี่ยงเขาก็จะค่อย ๆ ทยอยลดรอบลง (เรียกกันว่า 4 วันอันตราย พฤหัสบดี-อาทิตย์) แต่ถ้ามีปรากฏการณ์วันแรกได้เงินไม่เยอะ แล้วจู่ ๆ โรงเพิ่มรอบให้เยอะ ๆ ก็มีเหตุผลเดียวครับ คือเจ้าของหนังจ่ายเงินเพิ่มให้โรง ยิ่งมากโรงเท่าไรก็แพงขึ้นเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าน้อง ผกก.สองคนจ่ายไม่ได้แน่ ค่ายที่จัดจำหน่ายก็ไม่ได้แมสมีเงินมากขนาดนั้น ก็พิจารณาเอาเองครับว่าเงินมาจากไหน

ปล.หนังทุกเรื่องที่ไม่การันตีรายได้ต้องทำแบบนี้หมดนะครับ ไม่มีโรงหนังไหนในไทยรับหนังมาฉายไปก่อนแล้วลุ้นว่าจะได้ตังค์มั้ยครับ ทุกเรื่องต้องจ่ายเงินก่อนหมด ยกเว้นหนังแมสอย่าง GDH หรือหนังมีฐานผู้ชมแบบ พชร์ อานนท์"

ด้านเฟซบุ๊ก ‘2475 Dawn of Revolution’ โพสต์ข้อความระบุว่า "เนื่องจากพวกเราเป็นมือใหม่มากครับ และมีทีมงานน้อย ส่วนใหญ่เป็นคนทำงานทั้งนั้น ไม่มีคอนเน็กชันกับโรงภาพยนตร์ ไม่มีทีมการตลาดเอางานไปขาย สปอนเซอร์ยังไม่มีเลยครับ เลยไม่รู้ว่าต้องทำยังไงบ้าง ดังนั้น ถ้ามีคนช่วยผลักดันก็จะดีมากครับ คงต้องฝากไปถึงผู้บริหาร SF Cinema Major Group ตอนนี้ยอดวิวยูทูบแค่ 1.1 ล้านเท่านั้นครับ ยังเหลือคนอีก 65 ล้าน ที่ยังไม่ได้ดู และเวอร์ชันล่าสุด ปรับปรุงจากในยูทูบ และได้เรตติ้ง ‘ทั่วไป’ แล้วนะครับ”

'พชร์-อานนท์' ปลื้ม!! คนเลือกดูหนังกันเก่งขึ้น ไม่ต้องพึ่ง 'นักวิจารณ์-นักรีวิว' กันอีกต่อไป

เมื่อวานนี้ (22 ก.ย. 67) ผู้กำกับชื่อดัง 'พชร์ อานนท์' ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า...

พิสูจน์ออกมาแล้วว่าคนสมัยนี้ดูหนังกันเก่งขึ้นคือดูหนังกันตามรสนิยมชมชอบของตัวเองไม่ต้องพึ่งนักวิจารณ์นักรีวิวกันอีกต่อไป 

อยากปรบมือให้กับคนดูหนังไทยหนังไม่ไทยให้ดัง ๆ เงินเรา ชีวิตเรา เราอยากจะใช้จะทำอะไรก็เป็นเรื่องของเรา เพราะจะมีจะจนก็ตัวเรา ไม่ต้องไปพึ่งไปฟังคนรอบข้าง เราทำงานเหนื่อยก็ตัวเรา ไม่มีนักวิจารณ์ นักรีวิวมาช่วย เราทำงานพอเราจะซื้อความสุข เราก็ต้องตัดสินใจด้วยตัวเราเอง 

ที่ออกมาพูดแบบนี้ เพราะเราสังเกตดู หนังที่เข้าฉายในระยะไล่เลี่ยกัน ในช่วงนี้หนังบางเรื่องคนชมกันเยอะมาก เพจรีวิว นักวิจารณ์ทั้งที่เป็นเองและแต่งตั้งตัวเองขึ้นมา ต่างชมกันแทบทุกเพจ เลื่อนไปตรงไหนก็เจอแต่คนชมว่าดีว่าทันสมัยว่าล้ำยุค แต่ตรงข้ามกับรายได้ของหนังที่ชมกันเลย เรียกว่าชมกันจนเลือดตาแทบกระเด็น 

ผิดกับหนังที่ถูกด่าจนลิ้นไก่จะทะลุออกจากคอ อย่างเช่น หนังเรื่องวีไอผี และวีณา หนังนอกสายตา รู้มั้ยหนัง 2 เรื่องนี้ทำเงินไปถึงเกือบ 30 ล้าน 2 เรื่องรวมกัน 

ซึ่งมันพิสูจน์ให้เห็นว่า รสนิยมของคนดูหนังมันไม่เหมือนกัน เราก็ไม่ได้บอกว่าหนัง 2 เรื่องนี้เป็นหนังที่ดี 100% แต่คนเลือกที่จะดูเพราะฉะนั้นอย่าดูถูกรสนิยมคนอื่น เงินก็เงินเขา ชีวิตก็ชีวิตเขา ความคิดก็ความคิดเขา จะไปว่าเขาไม่มีสมองไม่มีรสนิยม ต่ำดูหนังไม่เป็นไม่ได้ สมองคนเราเท่ากันแค่ความชอบมันต่างกันไม่ใช่เรื่องที่ผิด 

ประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะฉะนั้นคิดว่าทุกคนคงเข้าใจคำว่า ประชาธิปไตย กันเป็นอย่างดี ไม่เอาไม่ว่าไม่ด่าไม่บลูลี่คนอื่นถ้าเขาคิดไม่เหมือนเรา และอย่าด่าเราด้วยเพราะเราก็คิดไม่เหมือนคนอื่นเหมือนกัน นาน ๆ อยากจะพูดที โปรดเคารพความคิดความชอบของคนอื่นด้วยแล้วเราจะอยู่กันอย่างมีความสุข จริงมั้ยคนไทย? 

พูดในฐานะผู้กำกับไทยคนนึงที่นั่งดูวงการหนังไทยมายาวนาน และจงโปรดจงรับรู้กันไว้ด้วยว่า ไม่มีนักลงทุนคนไหนที่อยากเอาเงินของตัวเองออกมาลงทุนแล้วเขาก็อยากได้รับผลการตอบแทนที่คุ้มค่า หรือขอทุนคืนก็ยังดีเงินไม่ได้หากันง่าย ๆ นะสมัยนี้ ใครจะบ้าเอามาให้ขยี้ขย้ำ ละเลงกันได้บ่อย ๆ ละจ๊ะ สังคมมันเปลี่ยนไปเร็ว ๆ จริง อย่าเชื่อทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ ถ้าเราไม่ได้สัมผัสหรือรับรู้มันจริง ๆ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top