Saturday, 25 May 2024
ภาคอีสาน

‘ชาติพัฒนากล้า’ ร่วมหารือนักธุรกิจรุ่นใหม่ ชู ‘โคราชโนมิกส์’ หวังยกระดับโคราชและภาคอีสานสู่ระเบียงเศรษฐกิจ

(28 เม.ย. 66) นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรคชาติพัฒนากล้า (ชพก.) พร้อมด้วย นายเทวัญ ลิปตพัลลภ ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 เบอร์ 5 พรรคชาติพัฒนากล้า ได้พบปะกับกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ของโคราช เพื่อนำเสนอนโยบายของพรรคชาติพัฒนากล้า ‘งานดี มีเงิน ของไม่แพง’ โดยเฉพาะของจังหวัดนครราชสีมา มีนโยบาย ‘โคราชโนมิกส์’ ซึ่งเป็นนโยบายเฉพาะในการพัฒนาโคราชและภาคอีสาน เอาเศรษฐกิจยุคทองกลับมา ประกอบด้วยนโยบาย 5 ด้าน คือ

1.) นโยบายการสร้างภาคอีสานให้เป็นระเบียงเศรษฐกิจใหม่ของโคราช
2.) นโยบายการสร้างระบบคมนาคมที่เข้มแข็งและทันสมัย
3.) นโยบายการสร้างให้โคราชอีสานเป็นดินแดนแห่งเมืองท่องเที่ยวที่เป็นอินเตอร์
4.) นโยบายโคราชอีสานเป็นเมืองผลิตอาหารให้กับโลก
5.) นโยบายการแก้ไขปัญหาที่พี่น้องประชาชนประสบมาก ๆ คือ น้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำประปาไม่เพียงพอ หรือนโยบายโคราชเมืองน้ำไม่ท่วม น้ำไม่แล้ง ประปาเพียงพอ

‘เพื่อไทย’ เตรียมเดินสายปราศรัยภาคอีสาน 2 วัน 4 จังหวัด มุ่งทำคะแนนโค้งสุดท้าย แม้โพลสำรวจจะการันตีความนิยม

(28 เม.ย. 66) ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผอ.ครอบครัวเพื่อไทย แถลงถึงการลงพื้นที่ภาคอีสานของพรรคเพื่อไทย ในวันที่ 29-30 เม.ย.นี้ ว่า นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย รวมทั้งแกนนำพรรคเพื่อไทย จะลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ, สุรินทร์, มหาสารคาม และบุรีรัมย์

โดยจะเริ่มเวทีปราศรัยที่ อ.กันทรลักษ์ และ อ.เมือง จากนั้นไปที่ อ.อุทุมพรพิสัย เสร็จจาก จ.ศรีสะเกษ 3 เวทีในช่วงบ่าย ในช่วงเย็นจะไปเปิดเวทีปราศรัยที่ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ จากนั้นวันที่ 30 เม.ย.จะเริ่มเปิดเวทีปราศรัยที่ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม จากนั้นไปต่อที่ อ.ละหานทราย และ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์

‘เทวัญ’ ลุยฝนช่วย ‘วิว เยาวภา’ หาเสียงที่ตลาดเช้าโคราช ชู ‘โคราชโนมิกส์’ แก้ปัญหาปากท้อง-พัฒนาอีสานสู่ระเบียง ศก.

(30 เม.ย. 66) ที่จังหวัดนครราชสีมา นายเทวัญ ลิปตพัลลภ เลขาธิการพรรคชาติพัฒนากล้า ในฐานะผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 พรรคชาติพัฒนากล้า เบอร์ 5 จังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย น.ส.เยาวภา บุรพลชัย หรือ ‘วิว’ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคชาติพัฒนากล้า ลงพื้นที่หาเสียงพร้อมเดินตลาดทักทายพี่น้องประชาชนที่ตลาดสุพัตตราและเดินทักทายพูดคุยกับพี่น้องประชาชน บริเวณชุมชนบ้านหนองปรือ และชุนชนบึงแสนสุข ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พูดคุยสอบถามถึง ปัญหาปากท้อง และการค้าขายในชุมชนในตลาด

พร้อมนำเสนอนโยบาย งานดี มีเงิน ของไม่แพง ค่าน้ำมัน ค่าไฟต้องถูกลง รื้อโครงสร้างพลังงาน ลดค่าการกลั่น หั่นค่า FT เร่งช่วยปัญหาปากท้องประชาชน และนำเสนอนโยบายสำหรับคนโคราชโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเดียวที่มีนโยบายแก้ปัญหา และพัฒนาเมืองโคราช สำหรับคนโคราช โดยเฉพาะ ด้วยนโยบาย ‘โคราชโนมิกส์’ คือ

33 ผลงานในภาคอีสาน ช่วง 8 ปี 'รัฐบาล'

ตลอดหลายปีมานี้เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ ขึ้นถ้วนทั่วทุกภาคของไทย โดยหนึ่งในภูมิภาคที่บังเกิดผลงานอันเป็นรูปธรรมและเอื้อประโยชน์มากมายนั้น คือ 'ภาคอีสาน' ผ่านหลากหลายโครงการ ที่จะขอยกตัวอย่างมาให้เห็นคร่าว ๆ ดังนี้...

1. โครงการคนละครึ่ง
2. บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
3. มารดาประชารัฐ
4. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ  
5. โครงการเราเที่ยวด้วยกัน
6. โครงการชิมช้อปใช้

7. พัฒนาสนามบินในอีสาน เช่น สนามบินอุบลราชธานี และสนามบินขอนแก่น
8. บริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ตามโครงการเพิ่มน้ำต้นทุนโครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชี
9. โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธรใหญ่ที่สุดในโลก ที่ จ.อุบลราชธานี
10. ต่อรางสร้างรถไฟฟ้า 9 สาย และโครงการรถไฟทางคู่ อ.หัวหิน, จ.ขอนแก่น, จ.สระบุรี และ จ.ลพบุรี
11. สร้างทางหลวงหมายเลข 12 จ.กาฬสินธุ์ เชื่อมไปประเทศลาว 
12. สร้างอุโมงค์ทางลอดยาวที่สุดในภาคอีสานที่ จ.อุดรธานี

13. สร้างมอเตอร์เวย์สายใหม่ บางปะอิน-นครราชสีมา
14. โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศไทย ที่ จ.นครราชสีมา
15. รถไฟความเร็วสูงไทย - จีน / กรุงเทพฯ – หนองคาย
16. กระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทย - ซาอุดีอาระเบียที่ห่างเหินไป 32 ปีให้กลับฟื้นคืนดังเดิม แรงงานไทยจากภาคอีสานสามารถเดินทางไปทำงานที่ซาอุดีอาระเบียได้สะดวก
17. แก้ไขปัญหาการขายหวยเกินราคา
18. แก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน

เวลาเปลี่ยน เมืองไทยเปลี่ยน: พัฒนาถนน 348 ตาพระยา - โนนดินแดง

พัฒนาถนน 348 ตาพระยา - โนนดินแดง ผ่านช่องตะโภ เชื่อมโยงเส้นทางสำคัญระหว่างภาคตะวันออก - อีสาน คู่ขนานกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งรูปแบบทางยกระดับและลอดใต้ผืนป่า เพื่อเปิดทางให้สัตว์ข้าม ไม่กีดขวางเส้นทางเดินของสัตว์ ยกระดับคุณภาพชีวิต ทั้งคนและสัตว์

เวลาเปลี่ยน เมืองไทยเปลี่ยน: สถานีรถไฟศรีสะเกษ

อีสานใต้สุดอลังการ!! ‘สถานีรถไฟศรีสะเกษ’ มิติใหม่แห่งการเดินทาง ได้แรงบันดาลใจจาก ‘ปราสาทสระกำแพงใหญ่’ สามารถรองรับรถไฟลอยฟ้าผ่ากลางเมือง ภายใต้โครงการรถไฟทางคู่ จิระ-อุบลราชธานี อนาคตการเดินทางของชาวอีสานใต้จะเปลี่ยนไป

 

‘เศรษฐา’ นำคณะลุยขอนแก่น สักการะศาลหลักเมืองเป็นสิริมงคล ชาวอีสานแห่ต้อนรับ ตะโกน “นายกฯ เศรษฐา พาไปเป็นเศรษฐี”

(8 ก.ย. 66) ที่จ.ขอนแก่น นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง พร้อมด้วยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกฯ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ นายไชยา พรหมา รมช.เกษตรและสหกรณ์ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.วัฒนธรรม นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รมช.มหาดไทย ลงพื้นที่พบปะชาวขอนแก่น โดยมี สส.ขอนแก่น และอดีต สส.ขอนแก่น ได้แก่ นายภาควัต ศรีสุรพล นายสิงหภณ ดีนาง นายสุรพจน์ เตาะเจริญสุข น.ส.วิภาณี ภูคำวงศ์ นายวันนิวัติ สมบูรณ์ นายชัชวาล พรอมรธรรม น.ส.รัมภามาศ ทีฆธนานนท์ นายจตุพร เจริญเชื้อ และนางมุกดา พงษ์สมบัติ รวมทั้งนายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าฯ ขอนแก่น ให้การต้อนรับ

เวลา 08.15 น. นายกฯ และคณะ ได้เดินทางมาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ศาลหลักเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีกลุ่มชาวอีสาน 20 จังหวัดมารอต้อนรับ โดยได้ผูกผ้าขาวม้าและมอบพวงมาลัยให้กับนายกฯ พร้อมส่งเสียงตะโกนว่า “นายกฯ เศรษฐา พาไปเป็นเศรษฐี” ทั้งนี้ นายกฯ เดินทางมาด้วยรถยนต์โตโยต้าอัลพาร์ดสีดำ ทะเบียน กล 5558 อุดรธานี

นายเศรษฐาและคณะ ได้เดินทางมารับประทานอาหารเช้าที่ร้านเอมโอช ซึ่งเป็นร้านไข่กระทะชื่อดังใน จ.ขอนแก่น

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคบริการ ในพื้นที่อีสานพุ่ง อานิสงส์จากรัฐ-เอกชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อเนื่อง

จากบทความก่อนหน้านี้ ที่กล่าวถึง ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจกระทรวงการคลัง ได้ให้ความเห็นไว้ว่า "ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนสิงหาคม 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากเกิดจากปัจจัยสนับสนุนในภาคบริการเป็นสำคัญ” 

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคเกษตร อยู่ที่ระดับ 76.4 
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 75.9 
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 83.5 
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการจ้างงาน อยู่ที่ระดับ 74.5
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการลงทุน อยู่ที่ระดับ 74.8

แน่นอนว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้น สาเหตุสำคัญมาจากความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในภาคบริการ เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในหลายจังหวัดของพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ธุรกิจหลักที่จะได้รับอานิสงจากความเชื่อมั่นนี้ คงไม่พ้นกลุ่มธุรกิจโรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร ที่เริ่มฟื้นตัวหลังสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ซึ่งจากข้อมูลกองสถิติเศรษฐกิจ (สศ.) มีจำนวนของสถานประกอบการที่พักแรม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4,977 แห่ง น่าจะช่วยให้การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจของธุรกิจภาคบริการ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

รวมถึงการได้รัฐบาลใหม่ มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ข้าราชการระดับสูง ของกระทรวงต่าง ๆ พร้อมประกาศนโยบายสำคัญ ‘พักชำระหนี้เกษตรกร 3 ปี’ ย่อมส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ การอุปโภค บริโภค การจับจ่ายใช้สอย ที่จะถูกกระตุ้นมากยิ่งขึ้น และปฏิเสธไม่ได้เลยว่า พื้นที่ที่ได้รับอานิสงจากโครงการนี้ค่อนข้างมาก ย่อมเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีผู้ประกอบอาชีพเกษตรกร เป็นจำนวนมาก
แต่ก็ยังมีความกังวล ต่อการเกิดหนี้สาธารณะ ที่อาจเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีการอนุมัติแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 เฉพาะในส่วนที่ ครม. ได้มีมติอนุมัติแล้ว ประกอบด้วย 

แผนการก่อหนี้ใหม่ วงเงินรวม 194,434.53 ล้านบาท 
แผนการบริหารหนี้เดิม วงเงินรวม 1,621,135.22 ล้านบาท
แผนการชำระหนี้ วงเงินรวม 390,538.63 ล้านบาท

ซึ่งแน่นอนว่า การดำเนินโครงการ พักชำระหนี้เกษตรกร 3 ปี ย่อมจะต้องตั้งงบประมาณ เพื่อชดเชยดอกเบี้ยให้กับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เจ้าภาพหลักของโครงการ

บทความหน้า กับมุมมองเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ว่ามีธุรกิจอะไรที่น่าสนใจ ประเด็นสำคัญจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ จะส่งผลอย่างไร กับ พื้นที่นี้ รอติดตามมุมมอง จาก ‘The PALM - คนตัวเล็ก’ กันนะครับ

'กูรูอีสาน' โชว์ภาพรวม ศก.ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 'เกษตรฯ-การลงทุน-นวัตกรรม' เฟื่องฟูไม่แพ้ถิ่นใด

จากรายการ THE TOMORROW ออกอากาศทางสถานีวิทยุ ส.ทร. FM93.0 MHz และสื่อออนไลน์ ในเครือ THE STATES TIMES เมื่อวันที่ 11 พ.ย.66 ได้พูดคุยกับ คุณสุรวัช อริยฐากูร ผู้จัดการศูนย์ธุรกิจสินเชื่อ ธ.ก.ส. และที่ปรึกษาองค์กรภาคเอกชน ถึงประเด็น 'ภาพรวมของเศรษฐกิจในภาคอีสานในปัจจุบัน' โดยมีเนื้อหาดังนี้...

หากพูดถึงอีสาน สิ่งที่เราจะนึกถึง คือ วิถีชีวิตของคนถิ่นที่มีการดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย ซึ่งส่งผลต่อภาพเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ความหวือหวา โดยคนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นหลัก เช่น การปลูกข้าว ปลูกยางพารา ปลูกมันสำปะหลัง ฯลฯ ทำให้เศรษฐกิจในภาคอีสานต้องพึ่งพาด้านเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก 

อย่างไรก็ตาม การเติบโตและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาคอีสาน ก็ยังมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง อย่างในภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตชัด จะประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมแป้งมัน, มันสำปะหลัง 

ขณะที่ภาคเกษตรกรรมที่โดดเด่น คือ การเพาะปลูกข้าว ที่มีการส่งออกเพิ่มมากขึ้น รวมถึงอุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆ 

ในด้านการปศุสัตว์ที่หล่อเลี้ยงภูมิภาคนี้ ก็จะเป็นหมวดของการขยายฟาร์มเลี้ยงสุกร เลี้ยงไก่ เป็นต้น 

ทั้งนี้ ถ้าจัดลำดับสัดส่วนสินค้าที่เป็นยุทธศาสตร์หลักๆ ของภาคอีสาน ได้แก่ ข้าว, มันสำปะหลัง, ยางพารา และข้าวโพด ถือเป็นพระเอก ส่วนปศุสัตว์ที่มีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว ก็จะเป็นการทำฟาร์มสุกรขุน 

นอกจากนี้อุตสาหกรรมโคนมก็ถือว่าเป็นสิ่งได้รับความนิยม โดยมีกลุ่มเกษตรกรการเกษตร คอยส่งเสริมให้กับเกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้ออยู่แล้วหันมาเลี้ยงโคนม หลังจากแถบวังน้ำเขียวเริ่มเข้ามาซื้อน้ำนมดิบมากขึ้น 

ส่วนธุรกิจใหม่ที่น่าสนใจในภาคอีสานอีกด้านหนึ่ง คือ ธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) เนื่องจากภาคอีสาน มีพื้นที่ทำการเกษตรจำนวนมาก อีกยังเป็นพื้นที่ที่มีความเข้มของแสงสูงเหมาะสมกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งปัจจุบัน บีโอไอ ได้มีนโยบายสนับสนุนกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จึงทำให้เกิดโซลาร์ฟาร์มขายคืนพลังงานให้กับการไฟฟ้า กลายเป็นธุรกิจใหม่พลังงานสะอาดตาม BCG โมเดลในผืนถิ่นนี้

ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภาคอีสานก็มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยสอดคล้องกับลูกหลานคนอีสานที่ย้ายถิ่นฐานกลับมาอยู่ใกล้ครอบครัว ทำให้บ้านจัดสรรได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในอำเภอรองในจังหวัดใหญ่ๆ เนื่องจากเมืองเริ่มขยายตัว

ส่วนภาพรวมการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ ใน 6 เดือนแรกของปี 2566 (มกราคม-มิถุนายน) ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 8 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ยโสธร, ศรีสะเกษ, อำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นอยู่ในความรับผิดชอบของ 'บีโอไอโคราช' นั้น พบว่า มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน จำนวน 38 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 36 และมีมูลค่าเงินลงทุน 15,063 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 373

เห็นภาพรวมเศรษฐกิจคร่าวๆ ในดินแดนแห่งนี้ ที่อาจจะยังไม่ถึงขั้นลงรายละเอียดเชิงลึกเป็นรายจังหวัดไปแล้ว ก็ต้องยอมรับว่า การให้ความสำคัญในอีสานของภาครัฐในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ช่วยทลายภาพอีสานแล้ง แล้วทดแทนด้วยความเจริญผนวกกับโอกาสที่เริ่มค่อยๆ เติมเข้ามามากขึ้นได้พอสมควรเลยจริง ๆ...


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top