Tuesday, 22 April 2025
ฟาวิพิราเวียร์

'หมอมนูญ' ชี้ยา 'โมลนูพิราเวียร์' ตัวเปลี่ยนเกม ช่วยโควิดในไทย 'ลดป่วยหนัก-เสียชีวิต'

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ว่า

เปรียบเทียบประสิทธิภาพยาเม็ดฟาวิพิราเวียร์กับยาโมลนูพิราเวียร์

ยาฟาวิพิราเวียร์มีประสิทธิภาพช่วยให้อาการดีขึ้น ลดความรุนแรงของโรค ลดจำนวนไวรัสในร่างกาย ลดการใช้ออกซิเจนได้ แต่ช่วยได้น้อยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และยาฟาวิพิราเวียร์ไม่ช่วยลดการเสียชีวิตในคนไข้โรคโควิด-19

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่คิดค้นยาฟาวิพิราเวียร์ รวมทั้งหลายประเทศไม่รับรองให้ใช้ยาตัวนี้ในการรักษาโรคโควิด ด้วยเหตุผลให้ยากับไม่ให้ยา ผลการรักษาต่างกันน้อยมาก และยังได้ผลข้างเคียงจากยา

‘ศรีสุวรรณ’ ยื่นฟ้อง ‘อนุทิน-ผู้บริหาร สธ.’ ปมซื้อ ‘ฟาวิพิราเวียร์’ เพิ่มไม่หยุด ชี้มีข้อพิรุธ

วันที่ 18 มี.ค. 65 เวลา 10.00 น. นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมาศาลปกครองกลาง เพื่อยื่นฟ้อง รมว.กระทรวงสาธารณสุข, ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, อธิบดีกรมการแพทย์ และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ฐานใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบในการผลักดันการจัดซื้อจัดหายาฟาวิพิราเวียร์เพิ่มไม่หยุดหย่อน ทั้งๆ ที่ยาดังกล่าวประเทศผู้ผลิตยังไม่อนุมัติให้ใช้ยาดังกล่าว เพราะอาจไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการจัดหาเวชภัณฑ์ยาและขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข เสนอ โดยมีสาระสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงรายการจัดซื้อเวชภัณฑ์ยาจากยา Molnupiravir (โมลนูพิราเวียร์) ตามโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ฯ 50,000 โดส เป็นยา Favipiravir-ฟาวิพิราเวียร์ จำนวน 17,065,457 เม็ด โดยก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุขมีคำสั่งให้ซื้อยาฟาวิพิราเวียร์ ในเดือนสิงหาคม-กันยายน 2564 แล้วจำนวน 254 ล้านเม็ด และเดือนตุลาคม-ธันวาคม เดือนละ 100 ล้านเม็ด รวม 300 ล้านเม็ด ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 4-6 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว

"นายกฯ"หนุน วิจัย-พัฒนายาและเวชภัณฑ์ ให้เข้าถึงง่าย ด้านสธ.ยัน “ฟาวิพิราเวียร์” มีประสิทธิภาพรักษาผู้ป่วยโควิด -19 

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ย้ำให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด – 19 เน้นคำนึงถึงทุกปัจจัยอย่างครอบคลุม ทั้งประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ความสามารถในการจัดหาเวชภัณฑ์ การจัดระบบบริการรองรับผู้ป่วยให้สามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ ในคราวการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. ยังกำชับให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามประสิทธิภาพเวชภัณฑ์ ทั้งวัคซีนและยารักษา โดยเฉพาะให้สำรวจงานวิจัยและการพัฒนา เพื่อนำมาขึ้นทะเบียน สำหรับประชาชนได้ใช้เพิ่มเติม เพี่อส่งเสริมระบบสาธารณสุขไทยมีความเข้มแข็ง พร้อมรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ป่วยโควิด – 19 ด้วย

นายธนกร กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันว่าประสิทธิภาพของยาฟาวิพิราเวียร์ ที่ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยา(อย.)ในการรักษาไข้หวัดใหญ่ พบว่าผู้ป่วยหลายรายมีอาการดีขึ้น มีผลการรักษาที่ดี ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาและควบคุมป้องกันโรคจึงพิจารณาให้นำยาฟาวิพิราเวียร์มาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด – 19  ประกอบกับไทยเองสามารถจัดหายาฟาวิพิราเวียร์จำนวนมากได้ในราคาที่ไม่แพง
ยืนยันว่าไม่มีการนำยาที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือเป็นอันตรายมาใช้ในการรักษาผู้ป่วย 

'หมอเก่ง' จี้ 'อนุทิน' ศึกษาข้อมูลใหม่ นำเข้ายาสู้โควิดที่ได้ผล อย่าเสียดายงบประมาณ มุ่งรักษาชีวิตประชาชนไว้ก่อน

21 มี.ค. 65 นายแพทย์วาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวแสดงความเห็นกรณีที่ในวงการแพทย์ทางวิชาการ มีการถกเถียงถึงประสิทธิภาพของ 'ยาฟาวิพิราเวียร์' ที่ใช้ในการรักษาต้านโรคโควิด-19 

"จากกรณีที่มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางถึงประสิทธิภาพของยาฟาวิพิราเวียร์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า สรุปแล้วยาฟาวิพิราเวียร์นั้นมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะใช้รักษาต้านโรคโควิด-19 หรือไม่ โดยการถกเถียงนั้นแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายที่หนึ่งอ้างอิงข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ในต่างประเทศ ซึ่งรายงานออกมาอย่างต่อเนื่องว่า ยาฟาวิพิราเวียร์นั้นไม่ค่อยมีประสิทธิภาพต่อการรักษากับโรคโควิด-19 กับฝ่ายที่สอง อ้างอิงข้อมูลจากผลการศึกษาในประเทศ ซึ่งรายงานว่า ยาฟาวิพิราเวียร์นั้นมีประสิทธิภาพสามารถรักษากับโรคโควิด-19 ได้ ในกลุ่มที่อาการไม่รุนแรงจนถึงอาการรุนแรงปานกลาง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทั้งสองฝ่ายโต้แย้งกันโดยอาศัยข้อมูลคนละชุดกัน ดังนั้น การพิจารณาถึงน้ำหนักความน่าเชื่อถือของข้อมูลจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา"

วาโย กล่าวต่อไปว่า เมื่อสืบค้นในฐานข้อมูลทางการแพทย์ระดับสากล พบว่า มีรายงานทางวิชาการหลายฉบับให้ข้อสรุปค่อนข้างตรงกัน ซึ่งได้รายงานอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงล่าสุดในช่วงต้นปี 2565 นี้เอง ร่วมกับรายงานทางวิชาการในระดับที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งอาจถือได้ว่าสูงที่สุด ที่ได้จากการวิเคราะห์อภิมานหรือที่เรียกว่า “Meta Analysis” เผยแพร่เมื่อช่วงปลายปี 2564 โดยได้รายงานว่า “No significant beneficial effect on the mortality among mild to moderate COVID-19 patients” 

"แปลเป็นไทยได้ว่า 'ยาฟาวิพิราเวียร์' ไม่มีประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญต่ออัตราการตายในผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรงไปจนถึงในรายที่มีอาการรุนแรงปานกลาง

"อย่างไรก็ตาม พบว่า มีรายงานบางฉบับรายงานว่า ยาฟาวิพิราเวียร์มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยเมื่อใช้รักษากับโรคโควิด-19 ในหลอดทดลอง อีกทั้งยังพอจะปรากฏรายงานว่ายาฟาวิพิราเวียร์นั้นช่วยให้อาการโดยรวมดีขึ้นได้ ถึงแม้จะไม่ช่วยลดปริมาณไวรัสและอัตราการตายอย่างมีนัยสำคัญก็ตาม โดยฝ่ายที่โต้แย้งข้อมูลดังกล่าว โต้แย้งด้วยข้อมูลจากผลการศึกษาวิจัยในประเทศโดยคณะแพทย์แห่งหนึ่ง ร่วมกับหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุขหลายหน่วยงาน 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top