Friday, 3 May 2024
พูดแล้วทำ

‘บี พุทธิพงษ์’ ชูนโยบาย ‘ภูมิใจกรุงเทพ’ เน้น ‘ลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้-พัฒนาคุณภาพชีวิต’

วันนี้ (11 ม.ค. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของบรรดานักการเมืองที่ทยอยเข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทยในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ โดยวันนี้มีการเปิดตัว นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะเข้ามาร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ในฐานะเลขาธิการพรรคให้การต้อนรับ

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เปิดตัวนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ เข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย เพื่อมาดูแลกทม. นายอนุทิน กล่าวว่า ยินดีต้อนรับสู่บ้านหลังนี้โดยเฉพาะ นายพุทธิพงษ์ ซึ่งถือว่าความสัมพันธ์กับตนมีตั้งแต่รุ่นพ่อแม่มาถึงรุ่นลูก และนายพุทธิพงษ์ทุ่มเท มีความสามารถ ความตั้งใจรับใช้บ้านเมือง ซึ่งตรงกับความตั้งใจของพรรคภูมิใจไทย เพราะเป็นตัวแทนของพรรคภูมิใจไทย เติมเต็มพรรคภูมิใจไทยให้เป็นพรรคการเมืองของประเทศ

จากนั้น นายพุทธิพงษ์ได้นำเสนอนโยบายว่า “ในฐานะพรรคการเมืองที่เป็นพรรคการเมืองหลักของประเทศ ขอนําเสนอนโยบายที่เร่งฟื้นตัวความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนกรุงเทพฯ ที่ถือได้ว่าหากกรุงเทพฯ ฟื้นตัวก็จะสามารถส่งผลไปยังทั้งประเทศ กรุงเทพฯ เปรียบเสมือนหัวใจหลักของประเทศไทย พรรคภูมิใจไทย พวกเราขอดูแลคนกรุงเทพฯ ทุกวัน ทุกเวลา และครอบคลุมทุกวัย มาร่วมกันทํา เพื่อให้คนกรุงเทพฯ ภูมิใจ…ภูมิใจกรุงเทพ” โดยนโยบายที่นำเสนอ ได้แก่

เพิ่มรายได้ การหารายได้เพิ่มได้ 3 กะ : เปิดพื้นที่ใหม่ ๆ ส่งเสริมกิจกรรมใหม่ ๆ เพราะวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ หมุนตลอด 24 ชม. เปิดพื้นที่การค้าขาย ที่ขายได้ตลอดวัน เน้นการสร้างงาน กระจายรายได้ เพิ่มกิจกรรมที่สามารถรองรับ นักท่องเที่ยวตลอด 24 ชม. คล้ายตลาดนัด ที่ได้รับความนิยมที่ประเทศไต้หวัน หรือ ประเทศเกาหลี และต้องจัดระบบดูแล ความปลอดภัยทั้งแสงสว่าง กล้องวงจรปิด รวมทั้งระบบการขนส่งเพื่อรองรับ คนทํางานช่วง กลางคืน

พันธบัตรรัฐบาล (Thai Power Bond) พันธบัตรรัฐบาลที่ประชาชนมีสิทธิซื้อก่อน นิติบุคคล หรือสถาบันการเงินต่างประเทศ เป็นการส่งเสริมการออมและ ประกันเงินฝาก สามารถเพิ่มรายได้จากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และเพิ่มความมั่นคงในการออมเงิน และเศรษฐกิจของประเทศ

ลดรายจ่าย ทั้งนี้ พักหนี้ 3 ปี หยุดต้น ปลอดดอก : ไม่เกินคนละ 1 ล้านบาท หากเปรียบเทียบกับ เงินกู้นอกระบบที่คิดร้อยละ 3 ต่อเดือน ถือได้ว่า สามารถช่วยผู้กู้ประหยัดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยตรงนี้ ได้ถึงเดือนละ 30,000 บาทต่อเดือน

One day Pass Ticket ตั๋ววัน : ค่าเดินทางที่เป็นต้นทุนของการดําเนินชีวิต หากเราสามารถล็อกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไม่ให้แพงเกินไป รถ เรือ เริ่มต้น 15 บาท ตลอดวันไม่เกิน 50 บาท รถไฟฟ้า เริ่ม 15 บาท ตลอดสายไม่เกิน 40 บาท

เครื่องกองน้ำดื่มชุมชน : น้ำดื่มเป็นต้นทุนที่สูงประชาชนต้องนําเงินส่วนหนึ่ง เพื่อมาชื้อน้ำดื่ม จ่ายเงินเพื่อเติมเงิน เพื่อกรองนํ้าไปใช้ ส่วนนี้จะต้องไม่เป็นภาระของประชาชนในทุกชุมชนอีกต่อไป รวมถึง ติดโชลาร์ รูฟ ฟรี ทุกครัวเรือน เพื่อเป็นการลดภาระค่าไฟของประชาชน

ลดภาษี 2 ทาง ผู้ให้/ผู้รับ : วัยทํางานต้องไม่เสียภาษีซ้ำซ้อน (ใช้ VAT เพื่อหักภาษีส่วนบุคคล สูงสุด 150,000 บาท/ปี) วัยทํางานที่ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนจะต้องหมดไป และจะได้นําเงินส่วนนี้ไปใช้จ่ายส่วนอื่น ในการสร้างเนื้อสร้างตัว

วัยเกษียณที่ยังคงทํางาน จะมีนโยบายในการ ปรับเพดานภาษีเงินได้ เงินส่วนนี้ต้องเสีย น้อยที่สุด เพื่อนําเงินส่วนต่างมาเป็นเงินออม เก็บไว้ใช้จ่ายดูแลตัวเอง

ให้โอกาส โดยให้ชีวิตคืนสู่ครอบครัว : รักษาฟรีมะเร็ง เคยมีคําพูดใครในบ้านเป็นมะเร็ง ถือได้ว่าเป็นทุกข์ทั้งบ้าน ต่อไปนี้การรักษามะเร็ง จะฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อแบ่งเบาทุกข์ของทุกคน ในครอบครัว

ฟอกไตฟรี เช่นเดียวกันภาวะคนป่วยโรคไต ถือได้ว่าเป็นภาระที่หนักต่อครอบครัวที่ต้องดูแล ต่อไปนี้นโยบายฟอกไตฟรีจะมีขึ้น เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของทุกคน

ผู้สูงอายุ วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ/ไข้หวัดใหญ่ โควิด ฟรี-ฉีดถึงบ้าน เพื่อเป็นการบริการให้กับ ผู้สูงวัย ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ที่มีปัญหาในการ ออกมารับวัคซีน ถือเป็นการกระจายให้คนกรุงเทพฯ ได้รับการบริการทางสาธารณสุขได้ครอบคลุมขึ้น ไม่เฉพาะกับคนเท่านั้น

‘บี พุทธ์พงษ์’ เผยเหตุผลหลักร่วมทัพภูมิใจไทย เพราะมีนโยบายปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

“พรรคภูมิใจไทยยืนยันนโยบายปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมมายืนตรงนี้เพราะเรื่องนี้เป็นอันดับหนึ่ง” 

อุดมการณ์สำคัญที่สุด

'ภูมิใจไทย' เสนอนโยบาย 'ภูมิใจกรุงเทพ 24/7' ยึดหลัก 'เพิ่มรายได้-ลดรายจ่าย-ให้โอกาส'

(14 ม.ค. 66) หลังจาก บี พุทธิพงศ์ ปุณณกันต์ ประกาศเข้าร่วมทัพภูมิใจไทย และได้มีงานเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 66 ที่ผ่านมา ในวันเดียวกันก็ยังได้ประกาศนโยบายขับเคลื่อนกรุงเทพมหานคร ภายใต้ชื่อ 'ภูมิใจกรุงเทพ' โดยยึดหลักการ 'เพิ่มรายได้-ลดรายจ่าย-ให้โอกาส' พร้อมแสดงจุดยืนขอรับใช้พี่น้องประชาชนกรุงเทพฯ ตลอด 24 ชม. 

สำหรับนโยบาย 'ภูมิใจกรุงเทพ' มีรายละเอียดดังนี้

>> เพิ่มรายได้ <<

-การหารายได้เพิ่มได้ 3 กะ เปิดพื้นที่ใหม่ๆ ส่งเสริมกิจกรรมใหม่ๆ เพราะวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ หมุนตลอด 24 ชม. เปิดพื้นที่การค้าขาย ที่ขายได้ตลอดวัน เน้นการสร้างงาน กระจายรายได้ เพิ่มกิจกรรมที่สามารกรองรับนักท่องเที่ยวตลอด 24 ชม. คล้ายตลาดนัด ที่ได้รับความนิยมที่ประเทศไต้หวัน หรือประเทศเกาหลี และเราต้องจัดระบบดูแลความปลอดภัยทั้งแสงสว่าง กล้องวงจรปิด รวมทั้งระบบการขนส่งเพื่อรองรับ คนทำงานช่วงกลางคืน

-พันธบัตรรัฐบาล (Thai Power Bond) พันธบัตรรัฐบาลที่ประชาชนมีสิทธิซื้อก่อนนิติบุคคล หรือสถาบันการเงินต่างประเทศ เป็นการส่งเสริมการออม และ ประกันเงินฝาก สามารถเพิ่มรายได้จากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และเพิ่มความมั่นคงในการออมเงิน และเศรษฐกิจของประเทศ

>> ลดรายจ่าย <<

-พักหนี้ 3 ปี หยุดต้น ปลอดดอก ไม่เกินคนละ 1 ล้านบาท หากเปรียบเทียบกับเงินกู้นอกระบบที่คิดร้อยละ 3 ต่อเดือน ถือได้ว่า สามารถช่วยผู้กู้ประหยัดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยตรงนี้ได้ถึง 30,000 บาทต่อเดือน

-One day Pass Ticket ตั๋ววัน ค่าเดินทางที่เป็นต้นทุนของการดำเนินชีวิต หากเราสามารถล็อกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไม่ให้แพงเกินไป

◇รถ เรือ เริ่มต้น 15 บาท ตลอดวัน ไม่เกิน 50 บาท

◇รถไฟฟ้า เริ่ม 15 บาท ตลอดสายไม่เกิน 40 บาท

-เครื่องกรองน้ำดื่มทุกชุมชน น้ำดื่มเป็นต้นทุนที่สูงประชาชนส่วนหนึ่งเพื่อมาซื้อน้ำดื่ม จ่ายเงินเพื่อเติมเงิน เพื่อกรองน้ำไปใช้ ส่วนนี้จะต้องไม่เป็นภาระของประชาชนในทุกขุมชนอีกต่อไป

-ค่าไฟที่เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ภูมิใจไทย จะนำนโยบาย ติดโซลาร์ รูฟ ฟรี ทุกครัวเรือน เพื่อให้ประชาชนสามารถนำส่วนนี้มาเป็นการลดภาระของค่าไฟ

-ลดภาษี 2 ทาง ผู้ให้/ผู้รับ

◇ วัยทำงานต้องไม่เสียภาษีซ้ำซ้อน (ใช้ VAT เพื่อหักภาษีส่วนบุคคลสูงสุด 150,000 บาท/ปี) วัยทำงานที่ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนจะต้องหมดไป และจะได้นำเงินส่วนนี้ไปใช้จ่ายส่วนอื่นในการสร้างเนื้อสร้างตัว

◇ วัยเกษียณที่ยังคงทำงานจะต้องมีนโยบายในการปรับเพดานภาษีเงินได้ เงินส่วนนี้ต้องเสียน้อยที่สุด เพื่อนำเงินส่วนต่างมาเป็นเงินออมเก็บไว้ใช้จ่ายดูแลตัวเอง

'ภูมิใจไทย' เปิดฉาก!! ขอ ส.ส.เมืองหลวงไว้เป็นฐานเสียง เปลี่ยนภาพลักษณ์พรรค ไม่ถูกมองว่าเป็นพรรคภูธร

ขณะที่ระหว่างกำลังรอการโปรดเกล้าฯ ร่างพ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส.ฯ และร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมืองฯ ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ในส่วนของการเตรียมการเลือกตั้ง พบว่าสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่รับผิดชอบภารกิจควบคุมดูแลการเลือกตั้ง ได้มีการเตรียมพร้อมเพื่อเตรียมรับกับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นตลอดเวลา

อย่างเรื่องของ การแบ่งเขตเลือกตั้ง พบว่า หลังสำนักงาน กกต.ได้รับข้อมูลฐานจำนวนประชากรประเทศไทย ที่เป็นข้อมูลล่าสุดสิ้นสุดเมื่อ 31 ธ.ค. 2565 เมื่อต้นปีที่ผ่านมา จากกระทรวงมหาดไทย ทำให้ขณะนี้ฝ่าย กกต.เริ่มขยับเตรียมพร้อมสำหรับการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส.ทั้ง 400 เขต ที่จะต้องมีเขตเลือกตั้งเพิ่มขึ้นจากตอนเลือกตั้งปี 2562 ขึ้นมา 50 เขต โดย กกต.ได้นำฐานข้อมูลดังกล่าวมาเตรียมแบ่งเขตเลือกตั้งและประกาศการแบ่งเขตอย่างเป็นทางการออกมา ซึ่งกระบวนการดังกล่าว กกต.จะทำได้ต้องรอให้มีการประกาศใช้กฎหมายทั้งสองฉบับข้างต้นเสียก่อน

อย่างไรก็ตาม สำหรับ กรุงเทพมหานคร ที่จะมี ส.ส.เขตเพิ่มขึ้นจากตอนเลือกตั้งปี 2562 เพิ่มมา 3 เก้าอี้ รวมเป็น 33 เก้าอี้ จากเดิม 30 ที่นั่ง ก็เป็นเรื่องน่าสนใจว่าจะทำให้การแบ่งเขตของ กกต.จะออกมาอย่างไร จะส่งผลต่อการได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในสนามเลือกตั้งเมืองหลวงนี้หรือไม่?

หลังพบว่า หลายพรรคการเมืองต่างก็หมายมั่นปั้นมือจะคว้าชัยชนะในสนามเลือกตั้ง กทม.ให้ได้ ทั้งพรรคปีกฝ่ายรัฐบาล-ฝ่ายค้าน และพรรคตั้งใหม่

อย่างหนึ่งในพรรคที่ก็ต้องการมี ส.ส.เขต กทม.ในการเลือกตั้งครั้งนี้ให้ได้ นั่นก็คือ พรรคภูมิใจไทย ที่ชูสโลแกนการหาเสียงในพื้นที่ กทม.ไว้ว่า ภูมิใจกรุงเทพฯ 24/7

ที่หมายถึงการสื่อกับคน กทม.ว่า ภูมิใจไทยขออาสาทำงานเพื่อคน กทม. 24 ชั่วโมง 7 วัน สำหรับคน กทม.ทุกกลุ่ม

ส่วนว่าแคมเปญดังกล่าวจะซื้อใจคน กทม.จนทำให้ภูมิใจไทยสามารถปักธง มี ส.ส.เขต กทม.ที่มาจากการเลือกตั้งได้หรือไม่ ต้องดูกระแสตอบรับจากคน กทม.ว่าคิดอย่างไรกับนโยบายที่ภูมิใจไทยนำมาเสนอ รวมถึงต้องดูตัวผู้สมัคร ส.ส.เขต กทม.ของภูมิใจไทยทั้ง 33 เขตว่า สู้กับพรรคการเมืองอื่นมีลุ้นหรือไม่ อีกทั้งต้องดูกระแสพรรคใน กทม.เมื่อเข้าสู่การหาเสียงเลือกตั้งเต็มตัวว่า กระแสภูมิใจไทยใน กทม.เป็นอย่างไร ทั้งหมดคือองค์ประกอบสำคัญที่จะมีผลอย่างมากแน่นอน สำหรับภูมิใจไทย ในการหวังปักธง ส.ส.เขต กทม.ให้ได้

หลังก่อนหน้านี้ ภูมิใจไทย ในตอนเลือกตั้งเมื่อปี 2554 และตอน 2562 กระแสพรรค-ตัวผู้สมัคร ส.ส.เขต เป็นรอง หลายพรรคการเมืองที่ขับเคี่ยวสู้กันดุเดือดใน กทม.อยู่หลายขุม จนทำให้พรรคภูมิใจไทยไม่มีลุ้นในการเลือกตั้งสองครั้งข้างต้นตั้งแต่ลงสนามเลยด้วยซ้ำ แต่เลือกตั้งที่จะมีขึ้น แกนนำภูมิใจไทย ทั้งอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค ครูใหญ่ เนวิน ชิดชอบ หมายมั่นปั้นมืออย่างมากว่ารอบนี้พรรคต้องปักธงใน กทม.ให้ได้

หลังได้ พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อดีต รมว.ดีอีเอส อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. และอดีตรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่รับผิดชอบพื้นที่กทม. ให้พลังประชารัฐรอบที่แล้ว มาเป็นกัปตันทีม พาภูมิใจไทยเข้าสู่สนามเลือกตั้ง กทม. ที่รู้กันดีว่าเป็น สนามปราบเซียน คาดเดาได้ยากว่าผลเลือกตั้งจะออกมาแบบไหน อีกทั้งเป็นสนามเลือกตั้ง ที่ กระแส ทั้งกระแสพรรค กระแสผู้สมัคร มีส่วนสำคัญอย่างมาก ต่อการชี้ขาดผล แพ้-ชนะ  

กระนั้น แม้จะเป็นงานยาก แต่ทั้งอนุทินและเนวินรู้ดีว่า ในเป้าหมายการเมืองของภูมิใจไทยที่ต้องการดีดตัวขึ้นไปจากพรรคขนาดกลาง พรรคร่วมรัฐบาล ขึ้นมาเป็นพรรคขนาดใหญ่ พรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลให้ได้ หลังภูมิใจไทยเติบใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ มันจำเป็นมาก ที่ ภูมิใจไทยต้องมี ส.ส.เมืองหลวง ของพรรคที่มาจากการเลือกตั้งให้ได้

เพราะแม้ตอนนี้ ภูมิใจไทย จะมี ส.ส.เขต กทม.อยู่สองคนคือ โชติพิพัฒน์ เตชะโสภณมณี กับมณฑล โพธิ์คาย แต่ทั้งสองคนเป็นส.ส.เขต กทม.อนาคตใหม่ ที่เข้ามาภูมิใจไทยหลังอนาคตใหม่โดนยุบพรรค ทำให้ยังไม่ถือว่า ภูมิใจไทยมี ส.ส.เขต กทม.ของตัวเองแต่อย่างใด

มันจึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่ภูมิใจไทยต้องการให้พรรคมี ส.ส.กรุงเทพมหานคร ยิ่ง กทม.มี ส.ส.มากถึง 33 คน ถือเป็นเค้กก้อนใหญ่ทางการเมือง ที่หากพรรคไหนมี ส.ส.กทม. ก็จะเป็นผลดีในระยะยาว ถ้ามี ส.ส.เมืองหลวงไว้เป็นฐานเสียง และทำให้ภาพลักษณ์พรรคไม่ถูกมองว่าเป็นพรรคภูธร

ทั้งหมดจึงทำให้ภูมิใจไทยพร้อมสู้เต็มที่ เพื่อทำให้พรรคมี ส.ส.กทม.รอบนี้

ยิ่งเมื่อภูมิใจไทยได้อดีต ส.ส.กทม. จากทั้งพลังประชารัฐและเพื่อไทยหลายคนเข้ามา เสริมทีม อาทิ จากพลังประชารัฐ จักรพันธ์ พรนิมิตร - กษิดิ์เดช ชุติมันต์ - พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ - ภาดา วรกานนท์ - กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา และจากเพื่อไทยคือ ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ซึ่งทางการเมือง อดีต ส.ส.รอบล่าสุด ย่อมถือว่าเป็นระดับเกรดเอ มันก็ยิ่งทำให้พรรคมั่นใจมากขึ้น 

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายนี้ของภูมิใจไทยก็ไม่ง่าย เพราะ 33 เก้าอี้ในสนาม กทม. มันทำให้หลายพรรคใส่กันเต็มที่ ทำให้การแข่งขันจึงมีสูง สู้กันดุเดือดเลือดพล่าน

‘ภูมิใจไทย’ ชูนโยบาย รักษามะเร็งฟรี แบ่งเบาทุกข์ของทุกคนในครอบครัว

(18 ม.ค. 66) หลังจากที่พรรคภูมิใจเปิดตัวนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ เป็นสมาชิกพรรคไปแล้ว พรรคภูมิใจไทยก็ได้เปิดตัวนโยบาย ‘รักษามะเร็งฟรี’ โดยมีจุดประสงค์เพื่อแบ่งเบาความทุกข์ของคนครอบครัว โดยระบุว่า

โรคมะเร็งถือเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตของคนไทยมากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง ที่น่ากลัวไปกว่านั้นยังพบว่า มะเร็งมีโอกาสเกิดขึ้นกับคนอายุน้อยลงมากขึ้นอีกด้วย

แน่นอนว่าโรคร้ายนี้ไม่มีใครอยากเป็น และไม่มีใครอยากให้โรคนี้เกิดขึ้นกับคนที่เรารัก เพราะเมื่อเป็นแล้วไม่ใช่แค่ตัวผู้ป่วยเท่านั้นที่ทุกข์ใจ แต่ทำให้ทุกข์ใจทั้งบ้าน นอกจากในส่วนของอาการป่วยแล้ว บางบ้านยังต้องมาทุกข์ใจกับค่าใช้จ่ายในการรักษา จนถึงกู้หนี้ยืมสินมารักษาคนที่เรารัก ถือเป็นความทุกข์หลายต่อ

พูดแล้วทำ!! 'พุทธิพงษ์' ชู นโยบาย 24 ชั่วโมง 7 วัน ดูแลคนกรุงเต็มที่ ยัน!! 'ภท.' พร้อม 'เพิ่มรายได้-ลดรายจ่าย-ให้โอกาส'

(21 ม.ค.66) นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ แกนนำทีม 'ภูมิใจไทย ภูมิใจกรุงเทพฯ' พรรคภูมิใจไทย เปิดนโยบายดูแลคนกรุงเทพฯ ทุกวัน ทุกเวลา และครอบคลุมทุกวัย เพื่อให้คนกรุงเทพฯ ภูมิใจ ด้วยนโยบาย 24 ชั่วโมง 7 วัน หรือ 'ภูมิใจกรุงเทพฯ 24/7' เพื่อแก้ไขปัญหาให้คนกรุงเทพฯ ตอกย้ำแนวทาง 'ภูมิใจไทย พูดแล้วทำ' โดยยึดหลักการ 'เพิ่มรายได้-ลดรายจ่าย-ให้โอกาส"

ล่าสุดวันนี้ พบว่ามีการติดป้ายนโยบาย 'ภูมิใจกรุงเทพฯ 24/7' ตามจุดต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพมหานครแล้ว เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์เปิดนโยบายทีมภูมิใจไทย ภูมิใจกรุงเทพฯ ควบคู่กับป้ายแนะนำตัวว่าที่ผู้สมัครส.ส.ของพรรคภูมิใจไทยแต่ละเขตด้วย 

*** ทั้งนี้ นโยบาย 'เพิ่มรายได้' ประกอบไปด้วย...

การหารายได้เพิ่มได้ 3 กะ เปิดพื้นที่ใหม่ๆ ส่งเสริมกิจกรรมใหม่ๆ เพราะวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ หมุนตลอด 24 ชม. เปิดพื้นที่การค้าขาย ที่ขายได้ตลอดวัน เน้นการสร้างงาน กระจายรายได้ เพิ่มกิจกรรมที่สามารกรองรับนักท่องเที่ยวตลอด 24 ชม. คล้ายตลาดนัด ที่ได้รับความนิยมที่ประเทศไต้หวัน หรือประเทศเกาหลี และเราต้องจัดระบบดูแลความปลอดภัยทั้งแสงสว่าง กล้องวงจรปิด รวมทั้งระบบการขนส่งเพื่อรองรับ คนทำงานช่วงกลางคืน

>> พันธบัตรรัฐบาล (Thai Power Bond)

พันธบัตรรัฐบาลที่ประชาชนมีสิทธิซื้อก่อนนิติบุคคล หรือสถาบันการเงินต่างประเทศ เป็นการส่งเสริมการออม และ ประกันเงินฝาก สามารถเพิ่มรายได้จากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และเพิ่มความมั่นคงในการออมเงิน และเศรษฐกิจของประเทศ

*** 'ลดรายจ่าย' ประกอบไปด้วย...

>> พักหนี้ 3 ปี หยุดต้น ปลอดดอก ไม่เกินคนละ 1 ล้านบาท หากเปรียบเทียบกับเงินกู้นอกระบบที่คิดร้อยละ 3 ต่อเดือน ถือได้ว่า สามารถช่วยผู้กู้ประหยัดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยตรงนี้ได้ถึง 30,000 บาทต่อเดือน

>> One day Pass Ticket ตั๋ววัน

ค่าเดินทางที่เป็นต้นทุนของการดำเนินชีวิต หากเราสามารถล็อกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไม่ให้แพงเกินไป

- รถ เรือ เริ่มต้น 15 บาท ตลอดวัน ไม่เกิน 50 บาท

- รถไฟฟ้า เริ่ม 15 บาท ตลอดสายไม่เกิน 40 บาท

>> เครื่องกรองน้ำดื่มทุกชุมชน

น้ำดื่มเป็นต้นทุนที่สูงประชาชนส่วนหนึ่งเพื่อมาซื้อน้ำดื่ม จ่ายเงินเพื่อเติมเงิน เพื่อกรองน้ำไปใช้ ส่วนนี้จะต้องไม่เป็นภาระของประชาชนในทุกขุมชนอีกต่อไป

>> ค่าไฟที่เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ภูมิใจไทย จะนำนโยบาย ติดโซลาร์ รูฟ ฟรี ทุกครัวเรือน เพื่อให้ประชาชนสามารถนำส่วนนี้มาเป็นการลดภาระของค่าไฟ

>> ลดภาษี 2 ทาง ผู้ให้/ผู้รับ

วัยทำงานต้องไม่เสียภาษีซ้ำซ้อน (ใช้ VAT เพื่อหักภาษีส่วนบุคคลสูงสุด 150,000 บาท/ปี) วัยทำงานที่ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนจะต้องหมดไป และจะได้นำเงินส่วนนี้ไปใช้จ่ายส่วนอื่นในการสร้างเนื้อสร้างตัว วัยเกษียณที่ยังคงทำงานจะต้องมีนโยบายในการปรับเพดานภาษีเงินได้ เงินส่วนนี้ต้องเสียน้อยที่สุด เพื่อนำเงินส่วนต่างมาเป็นเงินออมเก็บไว้ใช้จ่ายดูแลตัวเอง

*** 'ให้โอกาส' ประกอบไปด้วย...

>> ให้ชีวิตคืนสู่ครอบครัว…

รักษาฟรีมะเร็ง เคยมีคำพูดใครในบ้านเป็นมะเร็งถือได้ว่าเป็นทุกข์ทั้งบ้าน ต่อไปนี้การรักษามะเร็งจะ 'ฟรี' ไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อแบ่งเบาทุกข์ของทุกคนในครอบครัว ฟอกไตฟรีเช่นเดียวกัน ภาวะคนป่วยโรคไตถือได้ว่าเป็นภาระที่หนักต่อครอบครัวที่ต้องดูแล ต่อไปนี้นโยบายฟอกไตฟรีจะมีขึ้น เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของทุกคน

>> ผู้สูงอายุ วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ/ไข้หวัดใหญ่/โควิด ฟรีฉีดถึงบ้าน เพื่อเป็นการบริการให้กับผู้สูงวัย ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ที่มีปัญหาในการออกมารับวัคซีน ถือเป็นการกระจายให้คนกรุงเทพฯ ได้รับการบริการทางสาธารณสุขได้ครอบคลุมขึ้น ไม่เฉพาะกับคนเท่านั้น สัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รักของทุกคนก็จะได้รับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าฟรีถึงบ้านเช่นกัน ไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือเล็กก็ไม่ลำบากในการขนย้ายออกมารับวัคซีนอีกต่อไป

'เสี่ยหนู' อ้อนคน กทม. ขอเปิดใจให้ 'ภูมิใจไทย' ชี้!! แม้ไม่มีฐานเสียงในเมืองกรุง แต่พร้อมดูแลรับใช้

(22 ม.ค.66) เวลา 17.30 น. ที่ชุมชนโรงปูน เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ให้สัมภาษณ์ว่า ต้องการมารับใช้พี่น้องประชาชน เป็นรัฐบาลมา 4 ปีแล้วได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ มาทั่วทุกภาคแล้ว และคิดว่าสิ่งที่เราทำมาถ้าเราสามารถนำมาเสริมในพื้นที่ กทม.ได้ก็จะเป็นประโยชน์กับประชาชนมากขึ้น แม้ว่าภท.จะมีฐานส่วนใหญ่อยู่ในต่างจงหวัด แต่คนต่างจังหวัดมาทำงานในกทม.เยอะ เพราะฉะนั้นถ้าเรามีพื้นที่และตัวแทนของเราในกทม. ก็จะได้ร่วมมือกัน โดยที่เรามีผู้แทนฯของประชาชนมาบอกว่าเราจะต้องทำอะไร ประชาชนต้องการอะไร เนื่องจากกทม.เป็นเขตบริหารพิเศษ เราก็ใช้ความสัมพันธ์การพึ่งพาระหว่างหน่วยงาน เช่น ภท. เรามีทั้งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ซึ่งทั้ง 3 กระทรวงนี้ ถ้าเรามาเสริมให้ กทม.ได้มีเครือข่ายเพิ่มอีก 3 กระทรวง คนที่ได้รับประโยชน์คือชาวกทม คนเสียประโยชน์ไม่มี จะเห็นได้ว่าสถานการณ์โควิด เนื่องจากกทม.เป็นพื้นที่ใหญ่มาก แต่สถานพยาบาลมีไม่มาก ถ้าเราไม่ร่วมมือกันเหมือนที่ผ่านมา คนกทม.ก็จะมีอุปสรรคมากในการเข้าถึงระบบสาธารณสุข แต่เมื่อมาร่วมมือกันได้เราก็จัดให้มีโรงพยาบาลสนามรายล้อมพื้นที่กทม.ทำให้ชาวกทม.เข้าถึงระบบสถานพยาบาลของรัฐในส่วนที่พรรคภท.ดูแลได้สะดวก 

“ในพื้นที่กทม.ส่วนใหญ่ที่เราสามารถเติมให้ได้ตามอำนาจ ตามกฎหมายของหน่วยงานที่เรากำกับดูแลอยู่เราก็จะเติมได้เลย ส่วนไหนที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้บริหาร ก็คือกทม. เราก็จะประสานให้ ไม่ใช่มาแย่งกันทำงาน ไม่ใช่มากั๊ก" นายอนุทิน กล่าว

เมื่อถามว่า ผู้สมัครในกทม.จะแตกต่างจากในพื้นที่อื่นอย่างไร เช่น กลยุทธในการหาเสียง นายอนุทิน กล่าวว่า ตนว่าผู้สมัครทั่วประเทศทุกคนสิ่งที่ไม่แตกต่างคือต้องการรับใช้พี่น้องประชาชน ดังนั้นเขาก็ต้องแสดงให้ประชาชนเชื่อมั่นและไว้วางใจ ในกรณีเขตห้วยขวาง นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ว่าที่ผู้สมัคร จะเห็นได้ว่าเวลาอภิปรายในสภาฯ จะอภิปรายสิ่งที่เป็นสาระทั้งนั้นไม่เคยอภิปรายดูถูเหยียดหยามคนอื่น นำทุกข์สุขของประชาชนไปตีแผ่ในสภาฯ ซึ่งการอภิปรายเราก็ฟังตลอด เมื่อมีโอกาสเราก็คุยกัน ท่านเหล่านี้ก็ได้เห็นนโยบายพรรคภท.ได้เห็นผลงานของ ภท. สิ่งที่ภท.ทำมาตลอด 4 ปีซึ่งเป็นที่มาของสโลแกน พูดแล้วทำ ท่านก็คงเห็นว่าคนที่มาจากบ้านนอกแท้ ๆ อย่างภท.เขายังมาทำทุกอย่างอย่างเต็มที่ จึงอยากให้เกิดสิ่งเหล่านี้ในกทม.บ้าง 

‘ลุงหนู’ ปัดตอบ จับมือพรรคเพื่อไทย ชี้!! ทุกอย่างต้องรอดูหลังเลือกตั้ง

(24 ม.ค. 66) เมื่อเวลา 09.25 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงกรณีการลาออกของนายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล จากรมช.คมนาคม ได้แจ้งการลาออกอย่างไร ว่า นายวีรศักดิ์ ลาออกตามขั้นตอน และตอนนี้ก็ยังเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทยอยู่ แต่ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค

ผู้สื่อข่าวถามถึง กระแสข่าวที่นายวีรศักดิ์ จะไปอยู่กับพรรคเพื่อไทย รวมถึง นายอภิชา เลิศพชรกลม ที่มีข่าวว่าจะลาออกไปด้วย นายอนุทินกล่าวว่า ยังไม่ทราบ นายวีรศักดิ์แจ้งเพียงสุขภาพไม่ดี เมื่อท่านตัดสินใจลาออก ก็ต้องให้กำลังใจ ขอให้ไปรักษาตัวให้แข็งแรง 

เมื่อถามย้ำว่ากระแสข่าวว่าจะไปพรรคเพื่อไทย จะทำให้พื้นที่นครราชสีมายวบไปหรือไม่ หรือจะให้ใครมาดูแลแทน นายอนุทินกล่าวว่า เมื่อวานบอกไปแล้ว การที่มีส.ส.เข้าหรือออก เป็นเรื่องของความสบายใจ ถือเป็นเรื่องปกติ ถ้าสมมุติว่ามีจากฝั่งภูมิใจไทยไปร่วมกับพรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจก็จะได้เคลียร์ที่ว่าใครเป็นประชาธิปไตย ไม่เป็นประชาธิปไตย และจะได้เลิกคุยเรื่องนี้เพราะเมื่อคนเพื่อไทยมาอยู่กับภูมิใจไทย ตอนนี้ถูกกล่าวหาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ตอนนี้คน ภูมิใจไทยไปเพื่อไทย ถามว่าเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ เพราะในที่สุดก็สรุปได้ว่าทุกอย่างก็เป็นประชาธิปไตย การย้ายเข้าออกพรรคการเมืองในช่วงเลือกตั้ง ถือเป็นเรื่องปกติ

อีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ 'บี พุทธิพงษ์' ตัดสินใจเลือก พรรคภูมิใจไทย เป็นเส้นทางใหม่ทางการเมืองให้กับตน

“เมื่อถึงเวลาต้องตัดสินใจ ส่วนตัวมองว่าพรรคภูมิใจไทย มีจุดเด่นที่แข็งแกร่ง คือ 4 ปีที่ผ่านมา พูดจริงทำจริง หาเสียงเสนอนโยบายอะไรเอาไว้สามารถพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า…ทำได้จริงเสมอ”

‘รักษามะเร็งฟรี’ ประโยชน์ที่ดีต่อคนทั้งชาติ เกมฉีกจาก ‘ภูมิใจไทย’ ในจังหวะนโยบายชู ศก.เดือด

ตามกติกา เหลือเวลาอีกประมาณ 2 เดือน ก็จะหมดวาระของรัฐบาลชุดปัจจุบันแล้ว และหน้าสื่อตอนนี้ ก็เริ่มหันไปสนใจกับนานาพรรคการเมือง ที่ปล่อยก๊อกนโยบายของพรรคตนออกมา ‘ปาดหน้า’ ชิมลาง เรียกคะแนนทิพย์จากประชาชนกันแบบเล่นใหญ่ บ้างชูนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน บ้างเพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการเป็น 700 บาททันทีหากได้เป็นรัฐบาล บ้างปลดล็อกการจ่ายภาษีขั้นต่ำ ฯลฯ

แน่นอนว่า พอปล่อยเป็นนโยบายเชิงหาเสียง ก็ย่อมสัมผัสได้ถึงนานาประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับกันทั้งนั้น แต่จะทำได้จริงหรือไม่ หรือต่อให้ตั้งใจจะทำจริง จะต้องใช้อายุขัยรัฐบาลกี่เดือน กี่ปี ก็ต้องตามดูกัน

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียน มีข้อติดใจเรื่องหนึ่ง คือ นานานโยบายที่ก่อตัวขึ้นในห้วงเวลานี้ ล้วนต่อยอดสถานภาพการเงินแบบเกทับ แต่หลังจากชีวิตผู้คนที่เริ่มหลับนอนในท้องห้องโรงพยาบาลบ้าง ศูนย์พักพิงบ้าง ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา มันก็พลันให้คิดว่า มิมีใครอยากจะถอยนโยบายด้านสุขภาพมาให้ประชาชนได้ฝากผีฝากไข้กันบ้างเลยหรือ

ทั้งที่เรื่องสาธารณสุข หรือเรื่องสุขภาพ มันเป็นเรื่องใกล้ตัว และประชาชนทุกคนหากคิดจะเดินหน้าไปทำมาหากินได้ ก็ต้องมีสุขภาวะที่แข็งแกร่ง แต่ถ้าเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ก็ต้องเสียทั้งเงินและเสียเวลาไม่มากก็น้อย แล้วจะไปต่อยอดชีวิตได้อนาคตได้เยี่ยงไร 

พลันคิดได้เช่นนี้ ก็แอบเซ็ง แต่ก็เอาวะ เพราะแนวนโยบายเปิดปฐพีในช่วงแรก มันก็ต้องยิงกระแสแรง ๆ ไว้แซงพรรคเพื่อนพ้องไว้ก่อน เพียงแต่หลังจากได้เห็นกระแสนโยบายเกทับด้านการเงินแรง ๆ ไปช่วงหนึ่ง ก็ต้องจ้องอ่านอย่างคนสงสัย เมื่อยังมีพรรคที่ชูนโยบายสุขภาพขึ้นแรงดูดี 

นโยบาย ‘รักษามะเร็งฟรี’ ของพรรคภูมิใจไทย เป็นอีกข้อความที่สะกดใจ และรู้สึกว่า ‘หมอหนู’ อยู่สาธารณสุขจนอิน เลยเบนเข็มจากกัญชาเสรี มารักษามะเร็งฟรี หรือเป็นกลยุทธ์แสนครีเอทที่เข้าใจปัจจัยแห่งทุกข์พื้นฐานของประชาชนกันแน่


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top