Tuesday, 22 April 2025
พล.ต.อ.พัชรวาท

“พล.ต.อ.พัชรวาท” รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการ ”แก้มลิงทุ่งหิน” กว่า 2,000 ไร่ เร่งขับเคลื่อนโครงการเพื่อพี่น้องชาวสมุทรสงคราม

พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการโครงการแก้มลิง “ทุ่งหิน” ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โดยมี นายศิริศักดิ์ ศิริมังคะลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม พร้อมด้วย นายกุศล โชติรัตน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พล.ต.ท.อภิรัต นิยมการ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นายสุวิทย์ พันธ์เสงี่ยม อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นายสราวุธ สากล ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค2 

ดร.ยงยุทธ สุวรรณบุตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะผู้ผลักดันโครงการ “แก้มลิงทุ่งหิน” นางอรัญญา สุวรรณบุตร นายกเทศมนตรีตำบลแพรกษา นายวีระพันธ์ ดีอ่อน ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เขตตรวจราชการที่4 นายกรกฎ วงษ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม พล.ต.ต.สมภพ คูหาวิชานันท์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสงคราม นายอรรถพันธุ์ สงวนเสริมศรี ปลัดจังหวัดสมุทรสงคราม นางสาวประภารัตน์ นาคผจญ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสมุทรสงคราม ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ

โดยนาย ศิริศักดิ์ ศิริมังคะลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า โครงการแก้มลิงทุ่งหิน ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม บนพื้นที่โครงการ 2623 ไร่เศษ มีสภาพเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ มีน้ำทะเลหนุนสูงเกิดปัญหาน้ำเอ่อลันเข้าท่วมพื้นที่ประมง่ และที่อยู่อาศัยของประชาชนบ่อยครั้ง อีกทั้งจังหวัดสมุทรสงครามไม่มี
แหล่งเก็บกักน้ำจืดขนาดใหญ่ โครงการแก้มลิงทุ่งหิน จึงเป็นโครงการสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยในช่วงฤดูน้ำหลาก 

และเป็นแหล่งเก็บกักน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ให้ประชาชนในจังหวัดสมุทรสงครามได้ โดยที่ผ่านมาพื้นที่ดังกล่าว ได้มีการประกาศเป็นที่หวงห้าม เมื่อปี พ.ศ. 2470 ต่อมาในปี พ.ศ. 2510
ได้มีการรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงพื้นที่สาธารณประโยชน์ "ทุ่งหิน" ได้มีราษฎรและนายทุนเข้าไปบุกรุกทำกินเต็มพื้นที่ จำนวน 52 ครอบครัว ต่อมาจังหวัดสมุทรสงคราม
ได้พิจารณาเห็นว่า พื้นที่สาธารณประโยชน์ "ทุ่งหิน" ควรที่จะนำมาทำเป็นแก้มลิงขยายผลตามโครงการและเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดแก่พี่น้องประชาชนและจังหวัดสมุทรสงครามต่อไป

โดยทางด้าน พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ในวันนี้รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มีโอกาสเดินทางมาตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการโครงการ “แก้มลิงทุ่งหิน” ถือว่าเป็นโครงการที่สำคัญของจังหวัดสมุทรสงคราม ด้านทรัพยากรน้ำและยังเป็นประโยชน์แก่ประชาชนชาวจังหวัดสมุทรสงครามอีกด้วย อีกทั้งเพื่อรับฟังความคืบหน้าโครงการสำคัญของจังหวัด รวมถึงเปิดโอกาสให้หน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ นำเสนอข้อมูลผลการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนต่อไป 

อย่างไรก็ตาม โครงการแก้มลิงทุ่งหิน ถือเป็นโครงการที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก สืบเนื่องจากที่ผ่านมาทาง ดร.ยงยุทธ สุวรรณบุตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชารัฐ ครั้งที่ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชารัฐ ได้มีการพูดอภิปรายถึงโครงการดังการในที่ประชุมสภาเพื่อขอให้ทางรัฐบาลช่วยเหลือและช่วยอนุมัติงบประมาณเพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนก่อสร้างโครงการ แก้มลิงทุ่งหิน เนื่องจากโครงการดังกล่าวนั้น มีความสำคัญกับพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดสมุทรสงครามเป็นอย่างมาก และยังเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชนในอีกหลายๆ จังหวัด กระทั่งล่าสุดโครงการแก้มลิงทุ่งหินได้ถูกขับเคลื่อนและอยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างโครงการในปัจจุบันคาดว่าโครงการดังกล่าวนี้จะแล้วเสร็จภายในปี 2568-2569 

คิว-ข่าวสมุทรปราการ รายงาน

"ฮือฮา" ชุมพร พบเสือโคร่งหากินข้ามประเทศไทย-เมียนมาร์ พล.ต.อ.พัชรวาทฯ สั่งเร่งสำรวจเพื่อคุ้มครองและอนุรักษ์สายพันธุ์เสือโคร่งอินโดจีน

วันที่ 20 มกราคม 2567 นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดเผยว่า นายอาทร กำลังใบ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยาน เสด็จในกรม กรมหลวงชุมพร ด้านทิศเหนือ (ตอนล่าง) จ.ชุมพร ได้รายงานว่าพบการกระจายพื้นที่อยู่อาศัยของเสือโคร่งบริเวณป่าดวงเจริญ ป่าเนินทอง และป่าช่องขมิ้ว หมู่ที่ 4 และ หมุ่ที่ 7 ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ซึ่งเสือโคร่งดังกล่าวมีการกระจายพื้นที่อาศัยหากินระหว่างประเทศไทยและประเทศเมียนมาร์ ซึ่งอาจจะเป็นเสือโคร่ง2สัญชาติ เนื่องจากมีการข้ามไปมาระหว่าง 2ประเทศ โดยการค้นพบดังกล่าวนี้กรมอุทยานแห่งชาติฯได้ร่วมกับมูลนิธิฟรีแลนด์ (Freeland) ทำการสำรวจการกระจายตัวของเสือโคร่งในพื้นที่บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี มูลนิธิฟรีแลนด์ทำการสำรวจบริเวณเทือกเขาตะนาวศรีทั้ง 2 ฝั่ง คือ ฝั่งประเทศไทยและฝั่งประเทศเมียนมาร์ในพื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติหลุนญา ซึ่งการพบครั้งนี้เป็นการค้นพบในฝั่งประเทศไทย ได้ภาพจากการตั้งกล้องในพื้นที่ทั้งหมด24 ตัว โดยพบว่าเป็นเสือโคร่งจำนวน 3 ตัว เนื่องจากลายของเสือโคร่งแตกต่างกัน ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ในพื้นที่ไม่เคยพบเสือโคร่งมาก่อนเนื่องจากไม่มีการสำรวจ แต่เริ่มมีการตั้งกล้องสำรวจเมื่อปี 2562 เป็นต้นมา ในปี 2563 - 2565 ก็เคยพบมาแล้ว ส่วนปี 2566 พบแต่รอยตีน ส่วนการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (SMART PATROL) ที่ผ่านมาก็พบแต่รอยตีน นอกจากนี้บริเวณพื้นที่เขตฯช่วงล่างรอยต่อกับเขตด้านทิศใต้ เคยพบรอยบนต้นไม้

จากกรณีการพบเสือโคร่งหากินระหว่าง 2 ประเทศดังกล่าวข้างต้น อธิบดีกรมอุทยานฯจึงได้รายงานให้พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทราบในเบื้องต้นแล้ว โดยพล.ต.อ. พัชรวาทฯ ได้สั่งการให้กรมอุทยานฯเร่งสำรวจการแพร่กระจายพันธุ์ของเสือโคร่ง ต่อมาอธิบดีกรมอุทยานฯ จึงได้มอบหมายให้ให้สถานีวิจัยสัตว์ป่าคลองแสง เร่งสำรวจพบว่าเป็นเสือโคร่ง จึงได้มีการตั้งกล้องพบภาพ สามารถระบุพิกัดได้ ทั้งนี้จะมอบหมายให้สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าทำการศึกษาว่าเป็นเสือโคร่งที่กระจายตัวหากินระหว่าง 2 ประเทศมาเป็นระยะเวลานานเท่าใด รวมถึงเป็นเสือที่รวมอยู่ในจำนวนเสือของไทยที่ทำการสำรวจมาก่อนหรือไม่ เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลที่เป็นปัจจุบันขึ้น

สำหรับสถานการณ์เสือโคร่งในปัจจุบัน โดยจากการประเมินประชากรเสือโคร่งในธรรมชาติ ในปี 2565 พบเสือโคร่ง จำนวน 148-189 ตัว เพิ่มขึ้นจากสถิติ ปี 2563 ที่สำรวจพบ 130-160 ตัว โดยอาศัยเทคนิคการประเมินเฉพาะทางและการจำแนกลายที่ได้จากกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ ซึ่งติดตั้งไว้มากกว่า 1,200 จุด ในพื้นที่อนุรักษ์ 28 แห่ง จากการศึกษาวิจัยนี้ เรายังพบอีกว่า พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง เป็นพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด คือ 103-131 ตัว ในส่วนของพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์แห่งนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตกตอนเหนือ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ขึ้นไปจนอุทยานแห่งชาติคลองลานอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดตาก สามารถบันทึกภาพเสือโคร่งได้ จำนวน 16 - 21 ตัว ไม่เพียงแต่ภาพของเสือโคร่งเท่านั้น หากแต่ยังบันทึกภาพเหยื่อของเสือโคร่ง เช่น กวางป่า หมูป่า เก้ง วัวแดง เป็นต้น สิ่งนี้เป็นดัชนีวัดความสมบูรณ์ของผืนป่าและความเหมาะสมของการเป็นถิ่นอาศัยของเสือโคร่งได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้รัฐบาลไทยได้ให้ความเห็นชอบในแผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์เสือโคร่ง พ.ศ. 2565 - 2577 โดยตั้งเป้าหมายในการยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองถิ่นอาศัยสำคัญของเสือโคร่ง ได้แก่ ผืนป่าตะวันตก และผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ตลอดจนเร่งฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งและเหยื่อในถิ่นอาศัยเป้าหมาย ได้แก่ ผืนป่าแก่งกระจาน ผืนป่าภูเขียว-น้ำหนาว และผืนป่าคลองแสง-เขาสก ทั้งหมดทั้งมวลนี้เพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเป็นผู้นำในการอนุรักษ์เสือโคร่งในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้ ภายในปี พ.ศ. 2577


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top