Saturday, 19 April 2025
พระราชินี

‘ช่างภาพจิตอาสา’ เผย ในหลวงรับสั่ง ขบวนเสด็จพระราชดำเนิน งานพิธียกฉัตร จ.อุบลราชธานี ไม่ต้องปิดถนน - ร้านค้าเปิดขายได้ตามปกติ

เพจเฟซบุ๊กกรมประชาสัมพันธ์ เขต 2 กรมประชาสัมพันธ์ ได้เผยแพร่เรื่องเล่าจากนายพงศธร โชติมานนท์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ ช่างภาพจิตอาสา งานพิธียกฉัตรฯ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 30 เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ไกด์อุบลว่า บรรยากาศก่อนจะถึงวันสำคัญของชาวอุบลฯ ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงประกอบพิธียกฉัตรขึ้นประดิษฐานเหนือพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง พระประธานพระวิหาร วัดมหาวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 30 เมษายน เต็มไปด้วยข่าวลือว่า บริษัทร้านค้าตามเส้นทางเสด็จฯ จะต้องปิดมิดชิด และมีการปิดถนนตลอดวันด้วย ซึ่งเมื่อถึงวันงานจริง กลับไม่มีประกาศจากหน่วยงานใดๆ ว่าจะต้องปิดร้านค้า หรือจะปิดการจราจรห้วงเวลาใดเลย

โดยนายพงศธร ได้ประจำจุดรับเสด็จฯ สี่แยกกิโลศูนย์ ถนนชยางกูร ได้ความว่า ก่อนถึงวันงาน มีการประชุมช่างภาพจิตอาสาแล้ว ได้รับข้อมูลมาว่า ในหลวงทรงโปรดฯ ไม่ให้ปิดการจราจร รวมทั้งร้านค้าต่างๆ สามารถเปิดกิจการได้ตามปกติ ซึ่งตนคิดว่าจะเป็นไปได้หรือ เพราะเกี่ยวพันกับเรื่องถวายการอารักขาความปลอดภัยด้วย แต่ก็เก็บไว้ในใจ กะว่าถึงวันงานก็จะเห็นเอง

'ในหลวง-พระราชินี' ช่วยเหลือชาวปทุมธานีผู้ประสบอุทกภัย พระราชทานถุงพระราชทานและเครื่องอุปโภคบริโภค

เมื่อวานนี้ (12 ก.ย. 65) พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี ไปประชุมติดตามการแก้ไขสถานการณ์การเกิดอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ณ ห้องประชุมส่วนราชการ อาคารหอประชุม 100 ปี เมืองธัญญบูรี เทศบาลนครรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยมีนายจรูญศักดิ์ สิงหเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรีเทศบาลนครรังสิต และส่วนราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ซึ่งองคมนตรี ได้เชิญพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการป้องกัน แก้ไขการเกิดอุทกภัยและการให้การช่วยเหลือไปกล่าวในที่ประชุม เพื่อให้แต่ละหน่วยงานน้อมนำไปปรับแผนในการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมต่อไป

หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี ร่วมกับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เชิญถุงพระราชทานและเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวนรวม 800 ถุง ไปมอบแก่รองผู้ว่า นายอำเภอธัญบุรี และนายกเทศมนตรีเทศบาลนครรังสิต และราษฎรที่ประสบเหตุอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ณ หอประชุมใหญ่อาคารหอประชุม 100 ปี เมืองธัญญบูรี  อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น และเป็นขวัญกำลังใจ

ในโอกาสนี้ องคมนตรี ได้เชิญพระราชกระแสทรงห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ไปกล่าวให้ราษฎรที่ประสบเหตุอุทกภัย และเจ้าหน้าที่ได้รับทราบ ในการนี้ องคมนตรี ได้ลงพื้นที่เชิญถุงพระราชทานและเครื่องอุปโภคบริโภค ไปมอบแก่ครอบครัวนางยุพดี รัตนสุขสกุล ครอบครัวนางภาณิชา สุวรรณกระจ่าง และครอบครัวนางประภา สุวรรณกระจ่าง จำนวน 3 ครอบครัว ซึ่งเป็นผู้ประสบอุทกภัยอาศัยอยู่บริเวณชุมชนริมเขื่อนสะพานแดง เทศบาลนครรังสิต อำเภอธัญบุรี ต่างปลื้มปีติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณา

ในหลวง-พระราชินี เสด็จออกทรงรับผู้นำเอเปค - คู่สมรส - แขกพิเศษ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

เมื่อวานนี้ (18 พ.ย. 65) เวลา 17.46 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออกพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

ทรงรับพระประมุข ประธานาธิบดี และพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายกรัฐมนตรี ผู้นำเขตเศรษฐกิจสมาชิกหรือผู้แทน และแขกพิเศษ พร้อมด้วยคู่สมรส เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนิน และเดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย.2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร

เอเปค หรือ ‘ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก’ เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน การรวมตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งความร่วมมือด้านวิชาการ และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างสมาชิกภายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2532 มีสมาชิกผู้ร่วมก่อนตั้ง 12 เขตเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศไทยเป็น 1 ในเขตเศรษฐกิจผู้ร่วมก่อตั้งด้วย ต่อมามีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 9 เขตเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 21 เขตเศรษฐกิจ มีประชากรรวมกว่า 2.9 พันล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรโลก มีผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือ GDP รวมกันกว่า 53 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เกินครึ่งของ GDP โลก และมีมูลค่าการค้ารวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าการค้าโลก

การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคครั้งนี้ เป็นการประชุมแบบพบหน้ากันเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี เพื่อร่วมขับเคลื่อนการประชุมเอเปค 2022 ภายใต้หัวข้อหลัก ‘Open. Connect. Balance หรือ เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล’ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อคนไทยและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

โดยประเด็นที่ขับเคลื่อนแบ่งเป็นการเปิดกว้างสู่ทุกโอกาสด้านการค้าและการลงทุน การส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคผ่านมุมมองใหม่ที่ได้เรียนรู้จากสถานการณ์โควิด-19 เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ทุกภาคส่วนในสังคมส่งเสริมความเชื่อมโยงในทุกมิติเพื่อฟื้นฟูการเดินทางระหว่างกันที่สะดวกและปลอดภัย

รวมทั้งเพิ่มความเชื่อมโยงทางดิจิทัลและส่งเสริมการเจริญเติบโตที่เน้นสร้างสมดุลในทุกด้านมากกว่าสร้างกำไร ผ่านการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การสร้างความมั่นคงทางอาหารและการเกษตรเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน

ทั้งนี้ ไทยได้นำโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy Model หรือ BCG มาเป็นแนวคิดหลักเพื่อขับเคลื่อนประเด็นที่จะผลักดันการเป็นเจ้าภาพเอเปค

26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ในหลวง ร. 9 - พระราชินี เสด็จฯ ม.รามคำแหง ทรงเปิด พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

วันนี้ เมื่อ 47 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พร้อมทั้ง พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นแรก ณ บริเวณหน้าสำนักหอสมุดกลางฯ มหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงถือ เอาวันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ 

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานปริญญาบัตรแล้ว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่บัณฑิต
ความตอนหนึ่งว่า... 

พิธีกรดังสวนเดือดเซเลปตระกูลดัง ปั่นกระแสงานระดับโลก  'ในหลวง-พระราชินี' เสด็จฯ ช้า งานเลิกต้องรอขบวนเสด็จฯ

เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 66 ผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก ‘Jo Montanee’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า…

#สงสารในหลวง

มีคนไทยบางประเภทสร้างดรามาใส่พระองค์ท่านอีกแล้วในงานยิ่งใหญ่ระดับ Maestro อย่างท่านสุบิน เมห์ธา มาแสดง

ดรามาในโซเชียลว่าคนดูต้องรอเพราะในหลวงพระราชินีเสด็จช้า พองานเลิกคนก็ต้องรอในฮอลล์ ออกไม่ได้จนกว่าขบวนเสด็จจะพ้นไป 5 กิโล บลาบลาบลา

โชคดีเหลือเกินที่เจ้าของดรามานั้นส่งแมสเสจมาฟ้องคุณวารินทร์ สัจจเดว Nomad Media Thailand ซึ่งคุณวารินทร์ดันอยู่ในงานนั้นจริงๆ!!! (โป๊ะแตก!!)

คุณวีจึงสามารถแก้ข่าวนินทาว่าร้ายทุกเรื่องว่าไม่จริง!
คุณวียังถามเจ้าของแมสเสจ (ซึ่งเป็นตระกูลดัง) เลยว่า “คุณไปงานนั้นด้วยตัวเองหรือ”
เขาบอกว่า “เปล่า ที่บ้านไป”

คุณวี-วารินทร์ทำสีหน้าตอนอ่านแมสเสจออกอากาศได้น่ารักแต่สะใจมากค่ะ!! 😂

ขอขอบพระคุณคุณวารินทร์ และแขกรับเชิญคุณ แพท แสงธรรม มากเหลือเกินที่ปกป้องพระเกียรติในหลวงราชินีของเรานะคะ 🙏🙏 

ขอบคุณขอบคุณขอบคุณ 💙💛🇹🇭

https://youtu.be/f3s0-0HqMvo?si=dtoyOc0YzXDrDzqq 

ทุกท่านไปดูคลิปรายการตอนนี้ได้เลย เริ่มตั้งแต่ต้นคลิป คุณวีเล่าถึงเบื้องหลังงานแสดง เล่าเรื่องท่านสุบินยกมือไหว้ในหลวงของเรา และแหกแมสเสจไฮโซจอมเสี้ยม ต่อเนื่องกันเลยค่ะ

ทั้งนี้คุณวารินทร์ สัจจเดว ได้อธิบายอีกมุมหนึ่งของดรามาไว้ในรายการ Thailand Morning Call เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 66 โดยมีอาจารย์แพท แสงธรรม เป็นแขกร่วมรายการ โดยคุณวารินทร์ระบุว่า…

“เซเลปตระกูลดังได้ส่งข้อความมาเป็นภาษาไทยว่า หลังการแสดงทุกคนถูกกักบริเวณในหอประชุมเกือบครึ่งชั่วโมง จนขบวนเสด็จพ้นไปประมาณ 5 กิโลเมตร ผมอ่านเพียงแค่นี้ก็ส่งอิโมจิหัวเราะกลับไปเลย และถามว่า หากคุณถูกกักบริเวณในหอประชุมจริง ๆ จะรู้ได้อย่างไรว่าขบวนเสด็จผ่านพ้นไปแล้ว 5 กิโลเมตร อันนี้คือข้อที่ 1 ส่วนข้อที่ 2 คือผมอยู่ในงานวันนั้นด้วย ต้องบอกว่า ทั้งตอบเสด็จมาหรือเสด็จกลับ ผมไม่ได้รู้สึกเดือดร้อนอะไรเลย และไม่ได้รู้สึกว่ารอนานอะไร ผมกับเพื่อนที่ไปด้วยกันยังรู้สึกเลยว่า ทุกอย่างรวดเร็วมาก ๆ

หลังจากนั้นผมก็ตอบกลับไปว่า ไม่ถึงนะครับ ผมอยู่ในงาน ขั้นตอนเสด็จมาและกลับ เรียบร้อยและรวดเร็วมาก ๆ ครับ เป็นผม ถ้ารับไม่ได้ ก็จะเลี่ยงไม่ไปดูรอบที่มีเสด็จ ซึ่งผมเคยทำแล้ว ผมทราบตารางงานล่วงหน้า หากมีงานต่อ ผมรู้ ผมก็ไม่ไป รอดูทางอื่นเอา จากนั้นผมก็ถามกลับไปว่า คุณเป็นคนที่อยู่ในงานไหม ทางนั้นตอบว่ามา ไม่ได้อยู่ในงาน แต่ครอบครัวอยู่”

‘ในหลวง ร.10 - พระราชินี’ พระราชทานสิ่งของแก่ ‘อาสาสมัครทหารพราน’ หลังได้รับบาดเจ็บจากเหตุคนร้ายลอบวางระเบิด-ยิงปะทะ จ.นราธิวาส

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เชิญดอกไม้และตะกร้าสิ่งของพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ไปมอบแก่เจ้าหน้าที่ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดและยิงปะทะกับเจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนกองร้อยทหารพราน นาวิกโยธินที่ 3 หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ขณะทำการลาดตระเวนบริเวณอ่างเก็บน้ำบ้านยะลูตง ตำบลกาเยาะมาตรี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 5 ราย ดังนี้

- อาสาสมัครทหารพราน ณัฐพล ชนะเกียรติ
- อาสาสมัครทหารพราน ดิฐวัฒน์ พุดหอม
- อาสาสมัครทหารพราน กฤษณะ แก้วมณี
- อาสาสมัครทหารพราน วัชรศักดิ์ ชูหอย
- อาสาสมัครทหารพราน ณัฐวัฒน์ มณีพันธ์

โดยทั้ง 5 ราย เข้ารับการรักษาพยาบาล ณ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

ทั้งนี้ การได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณในครั้งนี้ ถือเป็นความปลื้มปีติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแก่ผู้บาดเจ็บและครอบครัวอย่างหาที่สุดมิได้

3 มิถุนายน วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2521 ณ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีพระนามเดิมว่า สุทิดา ติดใจ ครอบครัวของพระองค์เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ทรงเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จากนั้นจึงทรงเข้าศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จนจบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2543

หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว ในช่วงเวลานั้นพระองค์ทรงเข้าเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท แจลเวย์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2546 และทรงเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2551 ทรงใช้ชีวิตแบบสามัญชนทั่วไป

ต่อมาทรงเข้ารับราชการทหารในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุด เป็นรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ) ทั้งยังทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชองครักษ์เวรในพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์

ย้อนกลับไปในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557 สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ (ในเวลานั้นคือพลเอกหญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์) ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในพิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพล

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ได้ตามเสด็จในพิธีสังเวยพระป้ายในเทศกาลตรุษจีน ณ พระที่นั่งอัมพรสถานฯ และปรากฏตัวอีกครั้งในวันประสูติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ในปีเดียวกัน

ต่อมาวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ทางกองพระราชพิธี สำนักพระราชวังได้เผยแพร่รายงานการเสด็จพระราชดำเนินที่พระองค์ได้ตามเสด็จพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติไปทอดพระเนตรพระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพลเอกหญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์ ได้รับพระราชทานพระอิสริยยศเพิ่มเติมเป็น วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา (มีหมายกำหนดการระบุชื่อสกุลดังกล่าวมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีเดียวกัน)

วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะที่ยังทรงเป็นสยามมกุฎราชกุมาร พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ในพระราชพิธีถวายน้ำสรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ต่อมาในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 พระองค์ทรงนำทำการแสดงทางทหารประกอบดนตรี ‘ราชวัลลภ เริงระบำ’ (Hop to the Bodies Slams) ในงานวันราชวัลลภได้อย่างสง่างามและเข้มแข็ง ในฐานะผู้บังคับการกองผสม
วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560 มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจตุลจอมเกล้า (ฝ่ายใน) ให้แก่ พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา อีกทั้งได้รับพระราชทานพระอิสริยยศเพิ่มเติมเป็น ท่านผู้หญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็น ‘สมเด็จพระราชินีสุทิดา’ ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์

ต่อมาในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสุทิดาขึ้นเป็น ‘สมเด็จพระบรมราชินี’ ทรงพระนามว่า ‘สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี’

'ในหลวง-พระราชินี' ทรงห่วงใยไฟไหม้ชุมชนเยาวราช พระราชทานถุงพระราชทาน-เครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้เดือดร้อน

เมื่อวานนี้ (7 ก.ค. 67) ที่อาคารอเนกประสงค์ วัดสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงห่วงใยราษฎรที่ประสบอัคคีภัยและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้ในพื้นที่ชุมชนตรอกโพธิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 

ในโอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง องคมนตรี ร่วมกับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เชิญถุงพระราชทานและเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 100 ชุด ไปมอบแก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้ ภายในชุมชนตรอกโพธิ์ ถนนทรงสวัสดิ์ แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อช่วยบรรเทาความร้อนเดือดร้อนเบื้องต้น 

โอกาสนี้ องคมนตรี ได้เชิญพระราชกระแสทรงห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ไปกล่าวแก่ราษฎรที่ประสบอัคคีภัยและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้ดังกล่าวได้รับทราบกับสอบถามการเกิดเหตุเพลิงไหม้และให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้การช่วยเหลือ พร้อมทั้งพูดคุยสร้างขวัญกำลังใจ เพื่อให้สามารถกลับประกอบสัมมาอาชีพและดำรงชีวิตได้ตามปกติสุขต่อไป ผู้ประสบอัคคีภัยและผู้ที่ได้รับผลกระทบต่างปลื้มปีติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

ทั้งนี้เหตุเพลิงไหม้ดังกล่าวเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2567 เวลา 20.41 น. ภายในชุมชน ตรอกโพธิ์ ถนนทรงสวัสดิ์ แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ที่เกิดเหตุเป็นบ้านไม้ ปลูกติดกันหลายหลังเรือน ต้นเพลิงเกิดขึ้นภายในชุมชน ขณะเกิดเหตุมีลมกระโชกแรงทำเพลิงลุกไหม้อย่างรวดเร็วเสียหายหมดทั้งชุมชน จำนวน 37 ครัวเรือน บ้านเรือน จำนวน 66 หลังคาเรือน

รวมถึงลุกลามไปยังพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ โรงแรมนิวเอ็มไพร์ ได้รับความเสียหายที่ชั้น 4 ชั้น 5 และชั้น 6 ร้านหูฉลามเฉลิมบุรี ได้รับความเสียหายที่ชั้น 4 และ 5 กับภัตตาคารไต่เซ็ง ได้รับความเสียหายที่ชั้น 4 และชั้น 5 พื้นที่เพลิงไหม้เสียหายโดยประมาณ 1 ไร่ 80 ตารางวา รถดับเพลิงใช้น้ำทำการดับเพลิงสงบ เมื่อเวลา 23.37 น. พบว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 5 ราย ซึ่งได้รับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว 

ทั้งนี้ สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ ได้ตั้งจุดลงทะเบียนและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ แก่ผู้ประสบอัคคีภัยและผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นการเร่งด่วนในเบื้องต้นแล้ว

3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ‘ในหลวง-พระราชินี’ เสด็จฯ เปิด ‘สวนป่าเบญจกิติ’ ระยะ 2-3 พื้นที่สาธารณะสีเขียวที่ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมชาวกรุงฯ

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสวนป่าเบญจกิติ ระยะที่ 2-3 ณ สวนสาธารณะเบญจกิติ ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสันติ พร้อมพัฒน์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมข้าราชการ เฝ้า ฯ รับเสด็จ

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงศีล จากนั้นเสด็จออกจากพลับพลาพิธี ไปยังแท่นพิธีทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายสวนเบญจกิติ โดยถ่ายทอดผ่านจอมอนิเตอร์ แล้วเสด็จเข้าพลับพลาพิธี ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์ เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวาย เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก และเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (เหรียญที่ระลึกประดับแพรแถบ) ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565

ต่อมา เสด็จฯ ไปยังบริเวณจัดนิทรรศการ ‘สวนป่าเบญจกิติ’ ทอดพระเนตรนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสวนป่าระยะที่ 2-3 ในสวนสาธารณะเบญจกิติ จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ไปทรงปลูกต้นรวงผึ้ง จำนวน 1 ต้น เมื่อสมควรแก่เวลาเสด็จฯ กลับ

ทั้งนี้ โครงการจัดสร้างสวนป่าเบญจกิติ ระยะที่ 2-3 ดำเนินการออกแบบภายใต้แนวคิดในการสืบสานพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการปลูกป่าในใจคน ด้วยการเป็นสวนป่าสำหรับคนเมือง (Urban Forest) ที่เชื่อมโยงและเอื้อต่อการเข้ามาทำกิจกรรมและใช้ประโยชน์ในวิถีชีวิตของ คนเมือง เป็นแหล่งเรียนรู้มีชีวิต ที่สร้างความผูกพันและสำนึกรักในคุณค่าของป่า น้ำ ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อนำไปสู่การมีส่วนร่วม และสำนึกหวงแหนดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ในการออกแบบได้เน้นให้มีพื้นที่สวนป่ามากที่สุด มีพื้นที่ป่าและพื้นที่น้ำร้อยละ 85 โดยปลูกต้นไม้เพิ่ม ในพื้นที่โครงการฯ กว่า 7,000 ต้น มีพรรณไม้ประมาณ 350 ชนิด ทั้งไม้ใหญ่ ไม้พุ่ม ไม้คลุมดิน และไม้น้ำ และเพื่อให้สวนป่าแห่งนี้สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองจึงได้ออกแบบให้มีบึงน้ำจำนวน 4 บึง สามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 128,000 ลูกบาศก์เมตร ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครต่อไปในอนาคต

สำหรับการบริหารจัดการน้ำในโครงการได้ใช้ระบบบำบัดน้ำแบบบึงประดิษฐ์ โดยใช้กระบวนการทางธรรมชาติของระบบรากพืชชุ่มน้ำ และได้ออกแบบบ่อดักตะกอน ซึ่งเป็นจุดแรกในการรับน้ำจากคลองไผ่สิงโต มีสารแขวนลอยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำจากคลองไผ่สิงโต เพื่อนำมาใช้รดน้ำต้นไม้ในโครงการ อีกทั้งมีเส้นทางเดิน ทางวิ่ง ทางจักรยาน ระยะทางรวม 4 กิโลเมตร มีทางเดินศึกษาธรรมชาติลัดเลาะไปตามต้นไม้ใหญ่และบึงน้ำ มีการออกแบบทางเดินลอยฟ้า (Sky Walk) ความสูง 5-8 เมตร ที่สามารถมองเห็นมุมมองในระยะสูงเป็นอีกหนึ่งจุดไฮไลท์ของสวนที่สามารถให้ทุก ๆ คน เดินเชื่อมไปยังส่วนอื่น ๆ ของพื้นที่สวนป่าได้ในส่วนของงานสถาปัตยกรรมได้ออกแบบอาคารโรงงานผลิตยาสูบเดิมให้เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต การเรียนรู้ที่หลากหลาย

มีพื้นที่สำหรับการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สำหรับอาคารโกดังเดิมจำนวน 3 หลัง ได้ปรับปรุงเป็นอาคารกีฬา และได้เปิดพื้นที่กลางอาคารทั้ง 4 หลัง ให้โปร่งโล่งและปลูกต้นไม้เพิ่มกลางอาคารโดยใช้แนวคิดออกแบบอาคารเขียว เป็นพื้นที่ที่ประชาชนได้ใช้ทำกิจกรรมร่วมกัน

โดยสวนป่าแห่งนี้เป็นสวนที่แสดงให้เห็นถึงการน้อมนำพระราชดำริมาพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับปวงชนชาวไทยที่สร้างการตระหนักรู้ถึงการอยู่ร่วมกันระหว่าง คน สัตว์ ป่า การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน สวนแห่งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ประชาชนชาวไทยได้มีส่วนร่วมแสดงความจงรักภักดี ต่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 และกรมธนารักษ์ คาดหวังว่า สวนป่าแห่งนี้จะช่วยให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งความสุขต่อไปได้

'พระราชินี' ทรงร่วมการแข่งขันกับทีม ‘วายุ’ ในศึกการแข่งขันเรือใบที่สเปน 1 ใน Strategist ปลื้ม!! พระองค์ทรงให้กำลังใจแก่ทุกคนยามท้อ จนมีแรงฮึดสู้

เมื่อวานนี้ (1 ก.ย. 67) เวลา 10.52 น.ตามเวลาราชอาณาจักรสเปน ซึ่งช้ากว่าเวลาประเทศไทย 5 ชั่วโมง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปยังท่าเรือ Puerto Portals เกาะมายอร์กา เพื่อทรงร่วมการแข่งขันเรือใบ รายการ Puerto Portals 52 Super Series Sailing Week TP 52 Super Series 2024 เพื่อเก็บคะแนน Race ที่ 9 เป็นวันสุดท้าย 

การนี้ก่อนการแข่งขัน ได้พระราชทานของที่ระลึกซึ่งเป็นกระเป๋าจากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ให้แก่ นายโทนี่ แรงค์รี่ย์ (Mr.Tony Langley) เจ้าของทีมเรือ Gladiator (แกลด-ดิ-เอ-เทอะ) จาก สหราชอาณาจักร พร้อมภรรยา และลูกเรือทุกคน ณ เรือยอช์ต 'Corinthian' (คะ-ริน-เธียน) 

จากนั้นเวลา 15.15 น. สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี เริ่มทรงเรือใบร่วมกับทีมวายุ (Vayu) หมายเลขเรือ 27 ออกจากจุดสตาร์ทพร้อมกับทีมเรือใบอีก 12 ทีม เพื่อทำการแข่งขันเก็บคะแนน Race ที่ 9 อันเป็นวันสุดท้ายของการแข่งขัน ซึ่งการแข่งขันตลอดทั้ง 9 Race ที่ผ่านมาทีมวายุทำคะแนนสะสมอยู่อันดับที่ 12 ของตาราง 

โดยการแข่งขันในครั้งนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ทรงทำหน้าที่เป็น Strategist คอยวางแผนการเดินเรือผ่านการคำนวณทิศทางของลมในทะเลทั้งซ้ายขวา เพื่อให้เรือแล่นไปในทิศทางที่ต้องการและถึงที่หมายอย่างรวดเร็วและปลอดภัย แต่ก็ยังทรงทำหน้าที่อื่นในเรือร่วมกับสมาชิกทุกคนอย่างเต็มกำลัง เช่น ทรงช่วยหมุนกว้านทดแรง เพื่อช่วยให้ดึกเชือกทุกเส้นได้ง่ายและเร็วขึ้น ทรงช่วยโหนและถ่วงเรืออย่างเต็มที่ ไปจนถึงทรงช่วยพับเก็บ-กางใบเรือ แม้บางครั้งสมาชิกบางคนหมดแรงใจในการแข่งขันที่ใช้ระยะเวลาหลายวันติดต่อกัน พระองค์ก็จะทรงให้กำลังพระทัยแก่สมาชิกทุกคนให้มีแรงสู้อีกครั้ง

นางสาวนพเก้า พูนพัฒน์ หนึ่งในสมาชิกทีมเรือวายุ ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่เป็น Strategist ร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีตลอดการแข่งขันทั้ง 5 วัน กล่าวว่า พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในการทรงเรือใบมาก เพราะทรงใช้ทักษะพิเศษของความเป็นนักบินในการพยากรณ์ท้องฟ้า จึงทำให้สามารถคำนวณทิศทางลมซ้ายขวาในแต่ละวันได้อย่างแม่นยำ อันจะส่งผลสำคัญในการเลือกใบเรือที่จะใช้แข่งให้เหมาะสมได้ในแต่ละวันและด้วยการแข่งที่หลายมีขึ้นหลายวันสมาชิกหลายคนมีความท้อถอย พระองค์ก็จะทำทุกหน้าที่อย่างเต็มกำลัง ซึ่งสมาชิกเห็นท่านทรงสู้ไม่ถอยก็จะมีกำลังแรงใจต่อสู้อย่างแข็งขันเช่นกัน หรือแม้แต่ในแต่ละวันการกำหนดทิศทางลมอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ก็จะทรงให้กำลังพระทัยสมาชิกทุกคนว่า "สู้ๆไม่เป็นไร เราต้องทำได้"

สำหรับการแข่งขันในวันนี้ แม้จะเป็นวันสุดท้ายของสนามที่ 4 แต่สมาชิกทีมวายุทุกคนต่างพร้อมใจและกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า "จะตั้งใจสู้อย่างสุดหัวใจ เพื่อคะแนนที่ดีที่สุด" ซึ่งวันนี้ได้เตรียมใบเรือมาถึง 3 ขนาด อีกทั้งพยายามปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การเล่นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด จึงเข้าเส้นชัยใน Race ที่ 9 ในลำดับที่ 10

สำหรับการแข่งขันเรือใบรายการ 'Puerto Portals 52 Super Series Sailing Week' TP 52 Super Series 2024 วันนี้นับเป็นวันสุดท้ายของการแข่งขันของสนามที่ 4 ซึ่งสามารถทำการแข่งขันได้แค่เพียง 9 Race เนื่องจากเจอสภาพลมอันแปรปรวน และเวลาการแข่งขันที่ถูกกำหนดไว้ จึงไม่สามารถทำการเก็บคะแนนใน Race ที่ 10 ได้

ดังนั้นคณะกรรมการจึงนับผลการแข่งขันในสนามที่4 เพียงแค่ 9 Race เท่านั้น ส่งผลให้ ทีม Gladiator จากสหราชอาณาจักร มีคะแนนนำเป็นอันดับได้ที่ 1 ทีม Platoon Aviation จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นอันดับที่ 2 และทีม Quatum American Magic จากสหรัฐอเมริกา เป็นอันดับ 3 ส่วนทีมวายุอยู่ที่อันดับที่ 12 ของตาราง

นอกจากนี้ จะมีการแข่งขันในสนามที่5 อันเป็นนัดการเก็บคะแนนนัดสุดท้ายต่อไป เพื่อหาทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันของรายการ '52 Super Series Sailing Week' TP 52 Super Series 2024 ต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top