Saturday, 19 April 2025
ปราบปรามการค้ามนุษย์

‘ผบช.ภ.1’ ปล่อยแถวระดมกวาดล้าง ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์!!

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2564 เวลา 16:00 น. ที่ลานจอดรถ ห้างแม็คโครคลองหลวง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี พล.ต.ท.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค1 เป็นประธานปล่อยแถวเพื่อระดมกวาดล้างป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ 

โดยมี พล.ต.ต.พนัญชัย ชื่นใจธรรม รองผบช.ภ.1 พล.ต.ต.ชุมพล ชาญชนะโยธิน ผบก.ภ.จว.ปทุมธานีพ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ มิตรปราสาท ผกก.สภ.คลองหลวง ว่าที่ร้อยตรี พิชญะ เพียราช ปลัดอำเภอคลองหลวง นำเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝ่ายปกครอง สาธารณสุขเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม แรงงานจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ตำรวจสันติบาลจังหวัดปทุมธานี และตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดปทุมธานี เข้าร่วมปล่อยแถว 



ในเวลาต่อมา พล.ต.ท.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค1 พร้อมส่วนเกี่ยวข้องได้เข้าตรวจสอบตลาดผลไม้ตลาดไท ต.คลองสอง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมี พ.ต.ต.สิรภพ บัวหลวง สว.สส.สภ.คลองหลวง พร้อมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ตลาดไท ให้การต้อนรับและนำตรวจแผงค้าผลไม้และพื้นที่ตลาดไทเนื้อที่กว่า 500 ไร่  

ด้านพล.ต.ท.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค1 เปิดเผยว่า ตามนโยบายของรัฐบาลและผบ.ตร.ให้ดูแลเรื่องแรงงานต่างด้าวให้เข้มข้นตลอดระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมามีการเข้มงวดตรวจสอบแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาในพื้นที่ประเทศไทยเข้ามาอย่างถูกต้องหรือไม่ มีการลักลอบนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างผิดกฎหมายหรือไม่การตรวจวันนี้มีการทำพร้อมกันทั้งจังหวัดปทุมธานี ทุกโรงพัก ว่าเป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เข้าเมืองอย่างถูกต้องโดยถูกกฎหมายหรือไม่ 

ก.แรงงาน มอบประกาศนียบัตรเจ้าหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รุ่นที่ 5 นำนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ

วันที่ 24 มิถุนายน 2566 เวลา 11.00 น.นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีปิดและมอบใบประกาศนียบัตรโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับปี พ.ศ. 2565) รุ่นที่ 5 (พนักงานเจ้าหน้าที่ รุ่นที่ 64) เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงานหรือบริการตามหลักกฎหมายและหลักสากล รวมทั้งมีคุณสมบัติตามกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมี นางสาวโสภณา บุญ-หลง ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน กล่าวรายงานผลการฝึกอบรม และนายพฤกษ์ พรหมพันธุม เลขานุการกรม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในครั้งนี้ ณ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร

นายบุญชอบ กล่าวว่า ตามที่ได้รับทราบการกล่าวรายงานจาก ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ถึงผลการฝึกอบรมฯ หลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อแต่งตั้ง
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รุ่นที่ 5 (พนักงานเจ้าหน้าที่ รุ่นที่ 64) ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้ง 40 คน ได้รับความรู้จากวิทยากร
ผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการป้องกันการค้ามนุษย์ทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) โดยได้ทำการทดสอบทั้งทฤษฎีและปฏิบัติตามหลักสูตรที่กำหนด ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้ง
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ต่อไป 

 
“ผมขอให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกท่านได้นำความรู้ความสามารถที่ได้รับจากการอบรมในครั้งนี้ รวมทั้งการใช้อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในการปฏิบัติงานป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงานหรือบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ" นายบุญชอบ กล่าวท้ายสุด

มอบประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติ ให้กับสตรี ที่มีผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือเด็ก สตรี ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และงานจราจร เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day)

ศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศพดส.ตร.) มอบประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติ ให้กับสตรี ที่มีผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือเด็ก สตรี ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และงานจราจร เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day)

วันสตรีสากล (International Women’s Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี การถือกำเนิดของวันสตรีสากลนี้เป็นเสมือนจุดเริ่มต้นในการขจัดการแบ่งแยกและการเหยียดเพศให้หมดไป ดังจะเห็นได้ว่าโลกในยุคใหม่นี้ ให้ความสำคัญและยอมรับผู้หญิงมากขึ้น ทำให้ผู้หญิงในปัจจุบันมีบทบาทอย่างแพร่หลายต่อการขับเคลื่อนของสังคม ดังนั้น "วันสตรีสากล" จึงเป็นอีกวันหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงทุกคนได้แสดงความสามารถ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความทัดเทียมกันได้อย่างดี ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะ มุ่งให้เห็นความสำคัญของสุภาพสตรีเช่นกัน ดังนั้น ในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2532 ประเทศไทยจึงได้ก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยสังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของผู้หญิงในสังคม รวมทั้งระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา ทุกวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี ประเทศไทยจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในวันสตรีสากล โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดนิทรรศการต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จักและเห็นความสำคัญของวันสตรีสากล และยังได้จัดให้มีการประกาศเกียรติคุณแก่สตรีดีเด่นประจำปี เนื่องในวันสตรีสากล ทั้งนี้ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติสตรีผู้สร้างประโยชน์ในสาขาอาชีพต่าง ๆ อีกด้วย

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์  หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รับผิดชอบ งานด้านความมั่นคง และงานจราจร และในฐานะ ผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ได้เล็งเห็นความสำคัญ ถึงบทบาท หน้าที่ของสตรี ในยุคปัจจุบัน ที่มีความรู้ความสามารถ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี จึงมีแนวคิดที่จะมอบประกาศเกียรติคุณให้กับข้าราชการตำรวจหญิงที่ปฏิบัติงานด้านการปกป้อง คุ้มครองเด็กและสตรีดีเด่น ,ข้าราชการตำรวจหญิงที่ปฏิบัติงานจราจรดีเด่น และสตรีผู้ปฏิบัติงานในองค์การนอกภาครัฐ (NGOs) ซึ่งมีผลงานด้านการปกป้อง คุ้มครองเด็ก และสตรีดีเด่น เพื่อเชิดชูเกียรติ และสร้างขวัญกำลังใจให้กับสตรี เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day) โดยได้ให้หน่วยงาน เสนอรายชื่อผู้มีคุณสมบัติ และมีผลการปฏิบัติงานเป็นที่ประจักษ์  ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือก  โดยมีผู้ที่ได้รับประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติ  เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day) ดังนี้

ข้าราชการตำรวจหญิงที่ปฏิบัติงานด้านการปกป้อง คุ้มครองเด็กและสตรีดีเด่น ได้แก่
พ.ต.อ.หญิง กษิรานิษฐ์ เตชิตวรเศรษฐ์  รอง ผบก.สก.สกพ.(ฝอ.ศพดส.ตร.)
พ.ต.อ.หญิง จรีย์วรรณ พุทธานุรักษ์ ผกก.(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน บก.สส.ภ.5
พ.ต.ท.หญิง จารุวรรณ มากยงค์ รอง ผกก.(สอบสวน) สภ.เมืองระนอง ภ.จว.ระนอง
พ.ต.ท.หญิง ชมภูนุช อนันตญากุล รอง ผกก.(สอบสวน) สภ.ป่าตอง ภ.จว.ภูเก็ต
พ.ต.ท.หญิง ฐิติพร เรืองรอด รอง ผกก.วป.ผอ.
พ.ต.ท.หญิง เมธาวรินทร์ เอี่ยมชู  รอง ผกก.ปพ.ผอ.
พ.ต.ท.หญิง ชนัญชิดา ตุ่ยสิมา สว.(สอบสวน) กก.6 บก.ปคม.
พ.ต.ท.หญิง พรรัมภา พัฒนาวาท สว.กก.ดส.
ว่าที่ พ.ต.ต.หญิง ภูษณิศา จันทรรัชภ์ สว.(สอบสวน) สภ.เมืองเพชรบุรี ภ.จว.เพชรบุรี
ร.ต.อ.หญิง ขวัญดาว หิรัญ รอง สว.กลุ่มงานต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเตอร์เน็ต บก.ตอท.
ร.ต.อ.หญิง พิสมัย วิชัยศร รอง สว.กก.สืบสวน 3 บก.สส.ภ.4 (ชป.TICAC ภ.4)
ร.ต.อ.หญิง พรรณวดี เกสร  รอง สว.(สอบสวน) กตค.บก.กค.ภ.4
ร.ต.ท.หญิง ณัฐวดี ศรีคำสุข รอง สว.กลุ่มงานต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเตอร์เน็ต บก.ตอท.
จ.ส.ต.หญิง ทิพยรัตน์  สมสวัสดิ์ ผบ.หมู่ 1 กก.สืบสวน 2 บก.สส.ภ.4 (ชป.TICAC ภ.4)    

ข้าราชการตำรวจหญิงที่ปฏิบัติงานจราจรดีเด่น ได้แก่
พ.ต.ท.หญิง ปวีณา  ชุมฤทธิ์ สว.จร.สภ.เมืองภูเก็ต
ร.ต.อ.หญิง เนตรนฤมนต์  ปล้องใหม่ รอง สว.ป.สภ.กงหรา ภ.จว.พัทลุง
ร.ต.อ.หญิง สุชิรา  ยะโกะ รอง สว.(สอบสวน) สภ.เบตง ภ.จว.ยะลา
ร.ต.อ.หญิง ธวัลรัตน์  เอี่ยววิบูลธนกิจ รอง สว.จร.สภ.บางละมุง ภ.จว.ชลบุรี
ร.ต.ท.หญิง กุลภัสสร์สรณ์  นิลวรรณ รอง สว.(ป.) สน.บางรัก
จ.ส.ต.หญิง มัลลิกา  รามบุตรดี ผบ.หมู่ (ป.) สภ.โนนศิลา ภ.จว.ขอนแก่น
จ.ส.ต.หญิง บุษบา  กำเลิศภู  ผบ.หมู่ (ป.) สภ.เมืองอุดรธานี ภ.จว.อุดรธานี
จ.ส.ต.หญิง สิริยุพา  ศิริวัจนพร ผบ.หมู่ (ป.) สภ.หนองสองห้อง ภ.จว.ขอนแก่น
สตรีผู้ปฏิบัติงานในองค์การนอกภาครัฐ (NGOs) ซึ่งมีผลงานด้านการปกป้อง คุ้มครองเด็ก และสตรีดีเด่น ได้แก่
นางอภิญญา  ทาจิตต์  Stella Maris
น.ส.ณัฐกานต์  โนรี  โครงการสปริง มูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม
น.ส.นันทิรา  ศิริราช  มูลนิธิเพื่ออิสรภาพ ( The Exsodus Road)
นางวีรวรรณ  มอสบี้  โครงการฮัก ภายใต้มูลนิธิสานสัมพันธ์ครอบครัว
น.ส.พรนิภา  คำสม  มูลนิธิเพื่อความเข้าใจเด็ก (FOCUS)
น.ส.พรรณรัชฏ์ ยุทธวารีชัย  องค์การ โอ ยู อาร์ ประเทศไทย (O.U.R.)
น.ส.พชรลิตา  หรรษคุณาฒัย องค์การ โอ ยู อาร์ ประเทศไทย (O.U.R.)
น.ส.นันท์นารี  หลวงมอย  มูลนิธิศูนย์เพื่อน้องหญิง

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล กล่าวว่า สตรีที่ได้รับรับประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติจากศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศพดส.ตร.) เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day) ในครั้งนี้ เป็นสตรีที่มีความรู้ความสามารถ มีความเสียสละในการปฏิบัติงาน ทั้งด้านงานจราจร และด้านงานปกป้อง คุ้มครองเด็ก และสตรี  ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เล็งเห็นความสำคัญ และสิทธิความเท่าเทียมของสตรี มาโดยตลอด ซึ่งในปัจจุบันสตรีเป็นที่ยอมรับในสังคมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงานในสายอาชีพต่าง ๆ เช่น หมอ ตำรวจ ทหาร เป็นต้น จากอาชีพที่ยกตัวอย่างมานี้ล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพที่ส่วนใหญ่เพศชายมักจะทำกันทั้งสิ้น แต่สตรีก็สามารถทำงานสายนี้ได้เช่นกัน และอีกส่วนที่สำคัญ คือ สตรีที่ทำหน้าที่องค์การนอกภาครัฐ (NGOs) ที่มีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองเด็ก และสตรี ด้วยกันเอง มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการช่วยเหลือ คุ้มครอง และเพิ่มบทบาทให้กับสตรีในสังคมไทย สุดท้ายนี้ ขอแสดงความยินดี กับสตรีที่ได้รับประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติ เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day) จาก ศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศพดส.ตร.) ด้วยอีกครั้งนึง…

รรท.รอง ผบ.ตร. ร่วมประชุม 'Open Heart' บูรณาการทุกภาคส่วน ยกระดับงานปราบปรามการค้ามนุษย์

วันนี้ (22 ตุลาคม 2567) เวลา 09.30 น. พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รักษาราชการรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.รรท.รอง ผบ.ตร.(มค)/ผอ.ศพดส.ตร.) เข้าร่วมประชุมเปิดใจ “Open Heart” : ยกระดับงานต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทย เพื่อรับฟังข้อเสนอจากภาคประชาสังคมและข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยมี นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน , นางสาวอรนุช ภักดีวิสุทธิพร รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีค้ามนุษย์ , พล.ต.ต.ศารุติ แขวงโสภา ผู้บังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ และผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (พม., มท., รง., กต., ทท., กษ., ศย., อส., ศรชล., DSI, สตม., สถานแรกรับฯปากเกร็ด และสถานคุ้มครองฯ ภาครัฐ 8 แห่ง พร้อมหน่วยงานภาคเอกชนอื่นๆ NGOs) กว่า 21 หน่วยงาน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมประชาบดี ชั้น 19 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 

ตามนโยบายรัฐบาลที่ตระหนักและให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการกระทำผิดเกี่ยวกับเด็ก สตรี ครอบครัว การป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์และภาคประมง ซึ่งได้มีการกำหนดไว้ให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยมุ่งหวังให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว สำนักงานตำรวจแห่งชาติภายใต้การนำของ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. ได้นำนโยบายรัฐบาลมาสู่การปฏิบัติ โดยได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย ผบ.ตร. รรท.รอง ผบ.ตร.(มค)/ผอ.ศพดส.ตร. ขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

ทั้งนี้ พล.ต.ท.ประจวบฯ กล่าวว่า ในห้วงที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้หารือและตรวจการลักลอบใช้แรงงานผิดกฎหมายในภาคประมง ในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร สร้างให้เป็น “สมุทรสาครโมเดล” ปราศจากการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงานในภาคประมง เพื่อให้แนวโน้มการกระทำความผิดประเภทนี้ลดลง อีกทั้งยังร่วมกันรับฟังสภาพปัญหาของผู้ประกอบการและแรงงานภาคประมง ซึ่งได้เสนอความต้องการให้ทางราชการปรับลดขั้นตอนการตรวจอนุญาตให้มีการตรวจเอกสารเพียงฉบับเดียว ลดความยุ่งยาก สิ้นเปลืองและเอกสารสูญหาย นอกจากนี้ ยังได้จัดชุดปฏิบัติการ TICAC จับกุมการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต โดยในปี 2566 จับกุมได้ 541 คดี และในปี 2567 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 จับกุมได้ 314 คดี ซึ่งอาชญากรรมประเภทนี้ เปลี่ยนรูปแบบจากออนไลน์เป็นออฟไลน์มากขึ้น มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังได้รับฟังความคิดเห็น ปัญหา ข้อเสนอแนะ ร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ และภาคประชาสังคม (NGOs) กรณีการใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังประเทศที่ 3 หรือประเทศเพื่อนบ้าน ในการตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ และร่วมกระทำความผิดขบวนการแก๊ง Call Center พร้อมทั้งเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจเข้า-ออกราชอาณาจักร และกำชับให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง , ตำรวจภูธรภาค 2-9 และกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งมีพื้นที่ติดแนวชายแดน กำหนดมาตรการคัดกรองคนต่างด้าวประเทศกลุ่มเสี่ยงในการเดินทางเข้า-ออกราชอาณาจักร จัดทำแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนผู้เดินทางเข้า-ออกราชอาณาจักร 6 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ จีน เมียนมา ลาว มลายู และไทย โดยให้ติดตั้งบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองชายแดน และท่าอากาศยานระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการถูกหลอกลวงไปค้ามนุษย์ในต่างประเทศ ดำเนินการตามกลไกการส่งต่อระดับชาติ หรือ NRM อย่างเคร่งครัด พร้อมฝึกอบรมให้ความรู้ในจริธรรมและเทคนิคของล่ามแปลภาษา และเปิดศูนย์คัดแยกและส่งต่อผู้เสียหายระดับชาติ อย่างเป็นทางการ โดยยึดผู้เสียหายเป็นศูนย์กลาง

สำหรับแนวทางในการขับเคลื่อน เพื่อยกระดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ของประเทศไทยขึ้นสู่ Tier 1 ได้กำหนดนโยบายเน้นหนัก ได้แก่ การอบรมให้ความรู้แก่ข้าราชการตำรวจด้าน NRM เพื่อให้มีการขับเคลื่อนตามกลไก NRM เต็มรูปแบบ อบรมเพิ่มทักษะในการเก็บพยานหลักฐานทางดิจิทัล เพื่อมุ่งเน้นการปราบปรามผู้กระทำผิดออนไลน์ บังคับใช้กฎหมายในคดีค้ามนุษย์ทุกรูปแบบ มุ่งเน้นให้มีการสืบสวนขยายผลไปยังตัวการ ผู้ซื้อบริการ หรือดำเนินการในการปิด Website หรือ Application ที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด ยกระดับการให้บริการล่ามแปลภาษาแก่ผู้เสียหาย ตลอดจนเพิ่มความเข้มในการตรวจเข้า-ออกราชอาณาจักร และประชาสัมพันธ์ผู้เดินทาง เพื่อมิให้ตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ ดำเนินการทางวินัยและอาญากับข้าราชการตำรวจที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์อย่างเด็ดขาด และเพิ่มการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ และองค์กรภาคประชาสังคม (NGOs) ในการร่วมกันในการแก้ไขปัญหา


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top