5 มิติ โครงสร้างสถาบันทางเศรษฐกิจไทย
จากผลงานวิจัยศึกษาของ ADB (2015) พบว่าโครงสร้างของสถาบันทางเศรษฐกิจไม่ได้เอื้อให้ผลิตภาพของแรงงานไทยเติบโตทันกับการพัฒนาของอุตสาหกรรม ซึ่งมักพึ่งพิงเทคโนโลยีและองค์ความรู้จากภาคธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาผ่านการลงทุนทางตรงระหว่างประเทศ สมประวิณ มันประเสริฐ นักการธนาคาร จึงเสนอแนวทางในการปรับโครงสร้างสถาบันทางเศรษฐกิจใน 5 มิติ ได้แก่
1. การพัฒนาเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และการสร้างนวัตกรรม
โดยยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและการสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนในการพัฒนานวัตกรรม เพื่อสร้างเงื่อนไขที่เอื้อต่อการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
2. การปรับโครงสร้างการศึกษาเพื่อสร้างบุคลากรที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิต
แรงงานไทยส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในภาคการผลิตที่มีผลิตภาพต่ำและมีทักษะต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อเปรียบเทียบกับระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ จากการศึกษาของ World Economic Forum (2014) ยังพบว่าการศึกษาของแรงงานไทยมักไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน แนวนโยบายที่จะช่วยยกระดับการศึกษาของไทยเกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณทางด้านการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การยกระดับคุณภาพบุคลากรทางการศึกษา และสนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างภาคการศึกษาและภาคการผลิตมากขึ้น
