Saturday, 19 April 2025
ประชุม

อุดรธานี-พรรครวมพลัง เลือกหัวหน้าพรรค พร้อมคณะกรรมการบริหารพรรคปี 2567

“ดนุช ตันเทอดทิตย์” ได้รับความไว้วางใจเป็นหัวหน้าพรรครวมพลังต่อ ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีที่อุดร พร้อมเดินหน้าต่อเพื่อสร้างประโยชน์ให้ประชาชนทุกกลุ่ม 

วันนี้(31 มีนาคม 2567) พรรครวมพลัง จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี  2567 เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคและกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ณ ศูนย์ประชุมอุดรดุษฎี โรงแรมเจริญโฮเต็ล จังหวัดอุดรธานี โดยมีสมาชิก หัวหน้าสาขาพรรค จากทั่วประเทศร่วมอาทิ จากกาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ สงขลา พัทลุง กำแพงเพชร อยุธยา พิษณุโลก กรุงเทพ และอุดรธานีเจ้าภาพ ซึ่ง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ปรึกษาพรรครวมพลัง ได้ให้เกียรติ ร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย  มีนางสาวณัฐธนินทร์ เลิศเตชะสกุล หรือ "น้องโย" หญิงเก่งของพรรค ดำเนินรายการ

ดร.ดนุช ตันเทิดทิตย์ หัวหน้าพรรครวมพลัง ได้กล่าวพบปะสมาชิก รายงานการดำเนินงานกิจกรรมของพรรคในรอบปีที่ผ่านมา และรายงานงบการเงิน และมีการเลือกคณะกรรมการบริหารพรรค ปี 2567 พรรคเราอยู่อย่างสมศักดิ์ศรีของพรรค ไม่มีนายทุน ไม่เอาประโยชน์จากงบประมาณ โครงการต่างๆ เราทำงานเป็นทีม ทุกคนล้วนมีประสบการณ์ สร้างประโยชน์ให้ประชาชนทุกกลุ่ม

ทั้งนี้ การเลือกกรรมการบริหารพรรคของที่ประชุม มีดังนี้ 
ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์  หัวหน้าพรรค
นายภูมิ เทือกสุบรรณ  เลขาธิการพรรค
นางชลิตา บุรณศิริ  เหรัญญิกพรรค
ผศ.ดร.วัชรินกร เมฆลา  นายทะเบียนสมาชิกพรรค
นางสาวเพชรน้ำหนึ่ง ศรีวรรธนะ  กรรมการบริหารพรรค
นางสาวนงนุช เพชรสังฆาต  กรรมการบริหารพรรค
นายยศวัจน์  ธนทรงทรัพย์  กรรมการบริหารพรรค

นอกจากนี้ยังมีการเลือกตั้งกรรมการจริยธรรมและวินัย และกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง

ประวัติหัวหน้าพรรครวมพลัง
“ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ “ หรือ ดร.ปอน ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรครวมพลัง
เกิดวันที่ 18 สิงหาคม 2507  (ปัจจุบันอายุ 60 ปี)
จบการศึกษา ปริญญาตรี พาณิชยศาสตร์บัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,ปริญญาโท California State University , Bakersfield สาขา การตลาด
,ปริญญาเอก ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

จุดเริ่มต้นเข้ามาในเส้นทางการเมืองเริ่มต้นด้วยการผู้ประสานงานกลุ่มพันธมิตร, ร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ , เข้าร่วมกับคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในเวลาต่อมาก็เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย และเป็นกรรมการบริหารพรรค เดือนสิงหาคม 2564 ได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีอว. และ เลขานุการรัฐมนตรีอว. ในสมัยรัฐบาลที่ผ่านมา

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ปรึกษาพรรครวมพลัง กล่าวว่า ตนเองเป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรค เราร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อประเทศชาติ เพื่อประชาชน เป็นพรรคเล็กๆ เลือกตั้งครั้งแรกเราประสบความสำเร็จพอสมควร และได้รับเชิญให้เป็นพรรคร่วมรัฐบาล ดูแลกระทรวงแรงงาน และกระทรวง อว. วันนี้เป็นการประชุมใหญ่สามัญประจำปีตามปกติ มาร่วมประชุมเป็นกำลังใจให้สมาชิก ที่มีอุดมการณ์เดียวกัน ไม่ได้มีอะไรพิเศษ ส่วนแนวทางการเลือกตั้งนั้น จะมีการคัดเลือกคนลงสมัครในระดับต่างๆตามที่พรรคมีความพร้อม เราจะเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ 

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมอบ 15 นโยบายการบริหารราชการ เน้นย้ำการเปลี่ยนแนวคิด (MINDSET) ปรับองค์กร เร่งปราบปรามอาชญากรรม เพิ่มขีดความสามารถสถานีตำรวจ ดูแลสวัสดิการตำรวจและครอบครัว สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาให้กับพี่น้องประชาชน

(4 พ.ย. 67) เวลา 14.00 น. พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายการบริหารราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 ณ ห้องแจ้งยอดสุข อาคารศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรและสวัสดิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ , ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ , ข้าราชการตำรวจระดับ พล.ต.ต. ขึ้นไป พร้อมทั้งสมาคมแม่บ้านตำรวจ จำนวนกว่า 465 นาย เข้าร่วมประชุม ณ ห้องแจ้งยอดสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และถ่ายทอดสัญญาณผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไปยังหน่วยงานตำรวจทั่วไปประเทศ เพื่อร่วมรับฟังวิสัยทัศน์และนโยบายการบริหารราชการของผู้บัญชาการตำรวจคนที่ 15 ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นตำรวจมืออาชีพ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส เพื่อให้เกิดความผาสุกแก่ประชาชน” 

โอกาสนี้ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้อัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานหนังสือชุด ธรรมนาวา “วัง” เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ดังนี้ 
“หลัก “ธรรม” ในพระศาสนา เป็นเรื่องสำคัญต่อมวลมนุษยชาติ และพวกเราทั้งหลายในฐานะทหาร และตำรวจ หลักปฏิบัติธรรมมะนาวาวังนี้ จะช่วยให้พวกเราได้เข้าใจในหลักธรรมคำสอนได้อย่างมีระบบระเบียบ โดยสามารถยึดถือเป็นหลักการและแนวทางในการศึกษา ฝึกปฏิบัติ ตลอดจนถึงการนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต 
อนึ่งการทหาร การตำรวจ กับ หลักธรรมคำสอนในพระศาสนานั้น หากพวกเราได้ทำความเข้าใจในธรรมะและศาสนา คือคำสอนที่ว่าด้วยเรื่องของชีวิต ตามความเป็นจริง สู่การดับทุกข์อย่างลึกซึ้งแล้วนั้น จะส่งผลให้สามารถครองตนและครองคนโดยธรรมได้เป็นอย่างดีและมั่นคงต่อไป”

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้มอบ 15 นโยบายหลัก เน้นหนัก และเร่งด่วน ดังนี้
1. ปกป้อง เทิดทูน และพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. เปลี่ยนแนวคิด ค่านิยม และกรอบความคิด (MINDSET) ให้ตำรวจเป็นที่พึ่งของประชาชน
3. สร้างขวัญกำลังใจ ให้รางวัลแก่ “ตำรวจน้ำดี” และพิจารณาลงโทษตำรวจที่ทำไม่ดีอย่างเด็ดขาด
4. ปรับปรุงการให้บริการ การอำนวยความสะดวกในหน้าที่ของตำรวจทุกด้าน พัฒนางานสถานีตำรวจ
5. ส่งเสริม สนับสนุน และแก้ไขปัญหางานสอบสวน รวมทั้งอำนวยความยุติธรรมทางอาญา
6. ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน และเป็นภัยคุกคามต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ เช่น ยาเสพติด อาชญากรรมทางเทคโนโลยี ค้ามนุษย์ ผู้มีอิทธิพล อบายมุข บ่อนการพนัน การพนันออนไลน์ สินค้าผิดกฎหมายหรือเลี่ยงภาษีศุลกากร และหนี้นอกระบบ
7. ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ และกลุ่มชาวชาวต่างชาติที่ประกอบธุรกิจโดยใช้นอมินี แรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองหรือทำงานโดยผิดกฎหมาย
8. สร้างเสริมวินัยจราจร บังคับใช้กฎหมายและแก้ปัญหาด้านการจราจรเพื่อลดอุบัติเหตุ
9. นโยบายเชิงรุกด้านการข่าว ร่วมกับหน่วยงานความมั่นคง
10. สร้างความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของประชาชน ประชาสัมพันธ์เชิงรุก และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร
11. ปรับปรุง พัฒนาระบบและวิธีการทำงาน เพื่อสร้างแผนแม่บท (MASTER PLAN)
12. ปรับการบริหารงานบุคคลและงบประมาณใหม่ 
13. ทบทวน แก้ไข ปรับปรุง ระเบียบคำสั่ง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานของตำรวจ และการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
14. ฝึกอบรม ทบทวน พัฒนา ทักษะ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานของตำรวจ
15. จัดสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ที่ตำรวจพึงมีอย่างเต็มที่ รวมถึงการแก้ปัญหาหนี้สินของตำรวจ การสร้างอาชีพเสริมรายได้โดยสุจริต และไม่กระทบกับงานประจำ

ข้อเน้นย้ำในการปฏิบัติราชการและความร่วมมือด้านต่าง ๆ
1. การสั่งให้ข้าราชการตำรวจไปช่วยราชการ ต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ โดยเฉพาะในสถานีตำรวจที่ต้องให้บริการประชาชน
2. สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ต้องไม่ปล่อยปละละเลยให้มีการลักลอบกระทำความผิดเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง และประกอบอาชีพโดยผิดกฎหมาย
3. การดูแลนักท่องเที่ยว การรักษาความปลอดภัย ดูแลอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
4. การบริหารจัดการจราจร อำนวยความสะดวกการจราจร ป้องกันและลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล
5. สนับสนุนความร่วมมือในการทำงานของสมาคมแม่บ้านตำรวจร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
6. ผู้บัญชาการ/ผู้บังคับการ จะต้องเป็น Influencer ด้วยตนเอง ให้เป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง
 
ทั้งนี้ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเน้นย้ำ จะต้องเห็นการเปลี่ยนแปลงทุกด้านภายในองค์กรตำรวจ ขอให้ตำรวจทุกนายปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ เข้าถึงประชาชน สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาให้กับตำรวจ และขอให้สามัคคี ร่วมมือกันปฏิบัติหน้าที่ให้สมกับเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ เพื่อให้เกิดความผาสุกแก่ประชาชนและสังคมโดยรวม

ผบ.ตร.ประชุมร่วมทุกหน่วยขันน๊อตแก้ปัญหาจริงจัง เน้นปัญหาคนต่างชาติถูกหลอกลวงใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน กำชับตำรวจพื้นที่ชายแดนแม่สอด จ.ตาก มีมาตรการแก้ปัญหาให้เห็นผลชัดเจนภายใน 7 วัน 

พร้อมคาดโทษตำรวจทุกหน่วยที่ปล่อยปะละเลย หรือเข้าไปยุ่งเกี่ยว ต้องถูกดำเนินการอย่างเด็ดขาด

(20 ม.ค. 68) เวลา 14.00 น. พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เป็นประธานการประชุมแก้ปัญหาคนต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และคนต่างด้าวตั้งกลุ่มแก๊งกระทำความผิดหรือประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย และอาชญากรรมข้ามชาติ โดยมี พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร. , พล.ต.อ.ประจวบ วงศ์สุข รอง ผบ.ตร. , ผู้ช่วย ผบ.ตร. และผู้แทนหน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องศรียานนท์ อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผ่านการประชุมระบบทางไกลผ่านจอภาพ

ตามนโยบายรัฐบายที่จะเร่งแก้ปัญหาอาชญากรรม อาชญากรรมออนไลน์ และอาชญากรรมข้ามชาติ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดย ผบ.ตร.ขานรับนโยบายนำมาสู่การปฏิบัติ ซึ่งได้กำหนดนโยบายการปฏิบัติงานในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน และเป็นภัยคุกคามต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ และป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ และกลุ่มชาวชาวต่างชาติที่ประกอบธุรกิจโดยใช้นอมินี แรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองหรือทำงานโดยผิดกฎหมาย

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกรณีดังกล่าว ก่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและส่งผลต่อภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว และการรักษาความปลอดภัยของประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับกรณีดังกล่าว จึงขอให้ทุกหน่วยเร่งรัดดำเนินการให้เกิดผลโดยเร็ว มอบหมายหน้าที่แก่ผู้ปฏิบัติแต่ละนายให้ชัดเจน ตรวจสอบได้ และประสานการปฏิบัติกับทุกหน่วย 

ทั้งนี้ ผบ.ตร. มีข้อสั่งการ ดังนี้
1. กำชับห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปยุ่งเกี่ยว พัวพัน เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ใดโดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบ ไม่เหมาะสม โดยผู้บังคับบัญชาจะต้องตรวจสอบการปฏิบัติงานและความประพฤติเจ้าหน้าที่อย่างใกล้ชิด เกิดผลการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม หากเพิกเฉย ละเลย จะถือว่าไม่เอาใจใส่ในการทำหน้าที่ เมื่อพบข้อบกพร่อง/ร้องเรียน จะพิจารณาทางปกครอง วินัย และอาญา โดยเด็ดขาดในทุกระดับชั้น

2. ให้กองบังคับการตำรวจนครบาล และตำรวจภูธรจังหวัด เป็นหน่วยหลักในการจัดทำแผนระดับพื้นที่ และจัดทำข้อมูลท้องถิ่นร่วมกับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว กองบัญชาการตำรวจสันติบาล กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และกองการต่างประเทศ เพื่อกำหนดการปฏิบัติร่วมกัน เช่น การตรวจที่พักคนต่างด้าว การตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด (แบบใยแมงมุม) การสืบสวนปราบปราม ตลอดจนประสานหน่วยอื่น ๆ เช่น กกล.ทหาร (ชายแดน) กอ.รมน. หน่วยข่าวด้านความมั่นคงและภาคส่วนในพื้นที่ โดยผู้บังคับการตำรวจนครบาล และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด จะต้องติดตามสถานการณ์ ประสานงานหน่วยในพื้นที่ และจัดทำแผนการปฏิบัติร่วมกัน ส่วนหน่วยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีการส่งต่อและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยให้เป็นปัจจุบัน โดยเฉพาะการแจ้งที่พักอาศัย สถานะของคนต่างด้าว บูรณาการข้อมูลทุกด้าน โดยให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเป็นหน่วยหลัก

ผบ.ตร. กล่าวว่า วันนี้ได้รับฟังข้อมูลจากหน่วยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนภารกิจ หน้าที่ตามกรอบของกฎหมายแต่ละฉบับ การประสานงานประเทศต้นทาง ในการควบคุม กำกับดูแลการประกอบธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนต่างด้าว เช่น ที่พักอาศัย รถเช่าต่าง ๆ ไกด์หรือมัคคุเทศก์ในประเทศไทย การเดินทางตามเส้นทางต่าง ๆ ในประเทศไปจนกระทั่งพื้นที่ชายแดน และการออกจากประเทศไทย พร้อมเน้นย้ำให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และแผนประทุษกรรมด้านการหลอกลวง การช่วยเหลือสืบสวนขยายผลติดตามคนต่างด้าว และกลไกการส่งต่อระดับชาติตามแผนป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์และแผนอาชญากรรมข้ามชาติ โดยให้ตำรวจพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนระดับพื้นที่ให้รัดกุม ชัดเจน และตั้งผู้ประสานงานระหว่างประเทศรับข้อมูลฝ่ายต่าง ๆ มาขับเคลื่อนโดยทันที

นอกจากนี้ ผบ.ตร. กล่าวว่า ในการประชุมวันนี้ มุ่งเน้นการยกระดับแก้ไขปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะปัญหาคนต่างชาติถูกหลอกลวงโดยใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านในพื้นที่ชายแดนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชายแดนด้าน อ.แม่สอด จ.ตาก ที่เกิดปัญหาอย่างมากในขณะนี้ สั่งการให้ตำรวจในพื้นที่ อ.แม่สอด ต้องมีมาตรการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ให้เห็นผลชัดเจนภายใน 7 วัน

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ป้องกันปราบปราบ สืบสวนขยายผลไปยังตัวการ ผู้ร่วมกระทำความผิด ผู้ช่วยเหลือที่กระทำความผิดตามกฎหมายทุกราย บริหารจัดการทุกภาคส่วนตั้งแต่ท่าอากาศยาน รถให้เช่า เส้นทาง ที่พักคอยต่าง ๆ ขอความร่วมมือคนไทยช่วยกันประชาสัมพันธ์และเป็นเจ้าบ้านที่ดี ต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างอบอุ่น ช่วยเหลือดูแล เพื่อสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top