Tuesday, 22 April 2025
ประชุมสภาผู้แทนราษฎร

28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ถือเป็นวันกำเนิด ‘รัฐสภาไทย’ 

วันนี้ เมื่อ 91 ปีก่อน เป็นวันเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก ณ ห้องโถงชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นวันกำเนิด ‘รัฐสภาไทย’

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปีพุทธศักราช 2475 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ประเทศไทย (สยาม) ได้เปลี่ยนผ่านจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก้าวเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ นับแต่นั้นมา ประเทศไทยก็ขับเคลื่อนไปด้วยกลุ่มบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนที่เรียกว่า ‘ผู้แทนราษฎร’ ทำหน้าที่ใช้สิทธิออกเสียงในการบริหารปกครองบ้านเมืองแทนประชาชน

เวลา 14 นาฬิกา ของวันที่ 28 มิถุนายน 2475 สภาผู้แทนราษฎรได้มีการประชุมเป็นครั้งแรก ณ ห้องโถงชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคม โดยจัดห้องประชุมเป็นลักษณะครึ่งวงกลมตามระนาบพื้นห้อง การประชุมเริ่มขึ้นเมื่อหลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) อ่านรายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง จำนวน 70 คน และเป็นผู้กล่าวนำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปฏิญาณตนในที่ประชุม จากนั้น เจ้าพระยามหิธร เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ได้อัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาอ่านเปิดประชุม เสร็จแล้วจึงได้ดำเนินการประชุมต่อไป จึงถือว่าวันนั้นเป็นวันก่อกำเนิดของรัฐสภาไทยมาจนถึงทุกวันนี้

การประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันนั้น ที่ประชุมมีมติเลือกเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก และเห็นชอบให้หลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรก รวมทั้งมีมติเลือกพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานกรรมการราษฎร (นายกรัฐมนตรี) คนแรก จึงถือว่าคณะรัฐมนตรีได้ถือกำเนิดขึ้นในวันเดียวกันด้วย

แม้จะล่วงเลยผ่านตามการเปลี่ยนแปลงของกาลเวลา รัฐสภาชุดต่าง ๆ ยังคงทำหน้าที่ในฐานะองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยฝ่ายนิติบัญญัติแทนประชาชน โดยออกกฎหมายมาใช้บังคับในสังคม ควบคุมและตรวจสอบการทำงานของคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร และให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญ ๆ ของประเทศ รวมทั้งแสดงบทบาทในฐานะผู้แทนประชาชนในกิจการต่าง ๆ และเป็นสิทธิเป็นเสียงแทนประชาชนทั้งประเทศต่อเนื่องตลอดมา

จากวันนั้น...ถึงวันนี้...เป็นระยะเวลา 91 ปี ที่รัฐสภาได้เกิดขึ้นเคียงคู่กับการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีสมาชิกรัฐสภาผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ รวม 25 ชุด มีประธานรัฐสภาทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา ให้เป็นไปอย่างราบรื่นและดูแลการบริหารราชการของข้าราชการฝ่ายรัฐสภาอย่างมีประสิทธิภาพ รวม 31 คน มีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรทำหน้าที่เป็นกลไกหลัก ในการควบคุมตรวจสอบการทำงานของคณะรัฐมนตรีในฐานะฝ่ายบริหาร รวม 8 คน รวมทั้งได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการควบคุมตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจกับคณะรัฐมนตรี รวม 52 คณะ ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี รวม 29 คน

ตัวเลขเหล่านี้ ย่อมบ่งบอกถึงการผ่านร้อนผ่านหนาว สั่งสมประสบการณ์และสร้างสรรค์ประโยชน์แก่บ้านเมืองมาเป็นระยะเวลาพอสมควร เผชิญเหตุการณ์มากมายทั้งที่เป็นปัญหาอุปสรรค และส่งเสริมสนับสนุนต่อวิถีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้เข้มแข็ง พัฒนาและก้าวหน้าขึ้น

'บิ๊กป้อม' แจงภาพหลุด!! ไม่ได้หลับ แค่ก้มมองพื้น ยัน!! ทำหน้าที่ ส.ส.ตามวาระการประชุมปกติ

(5 ก.ค. 66) พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ปฏิเสธตอบว่าการเสนอชื่อโหวตนายกรัฐมนตรีจะมีชื่อตนหรือไม่ 

เมื่อถามถึงกระแสโซเชียลเผยแพร่ภาพพลเอกประวิตร ระหว่างการประชุมสภา พล.อ.ประวิตร ส่ายหน้า ก่อนระบุว่า “โถ ใครจะไปหลับเล่า ใครจะไปหลับ ผมก็นั่งของผมมาอย่างนั้นมาตลอด ไม่เคยหลับหรอก” ก่อนเดินขึ้นรถเดินทางกลับทันที

ด้าน พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก ประจำรองนายกรัฐมนตรี ปฏิเสธภาพที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นั่งหลับในขณะประชุมสภาผู้แทนราษฏร เมื่อวาน (4ก.ค.66) โดยกล่าวว่า ไม่เป็นความจริง ภาพขณะนั้นเป็นภาพที่ท่านกำลังก้มมองดูพื้นและเงยหน้าขึ้น พร้อมยืนยันว่า ท่านได้ทำหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามวาระการประชุม ด้วยดีเหมือนสมาชิกท่านอื่นๆ

28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 วันเปิดประชุม ‘สภาผู้แทนราษฎร' ชุดแรก-ครั้งแรกของไทย ใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปีพ.ศ. 2475 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ประเทศไทย (สยาม) ได้เปลี่ยนผ่านจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก้าวเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ นับแต่นั้นมาประเทศไทยก็ขับเคลื่อนไปด้วยกลุ่มบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนที่เรียกว่า ‘ผู้แทนราษฎร’ ทำหน้าที่ใช้สิทธิออกเสียงในการบริหารปกครองบ้านเมืองแทนประชาชน

ทั้งนี้ เวลา 14 นาฬิกา ของวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 สภาผู้แทนราษฎรได้มีการประชุมเป็นครั้งแรก ณ ห้องโถงชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคม โดยจัดห้องประชุมเป็นลักษณะครึ่งวงกลมตามระนาบพื้นห้อง การประชุมเริ่มขึ้นเมื่อหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) อ่านรายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง จำนวน 70 คน และเป็นผู้กล่าวนำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปฏิญาณตนในที่ประชุม จากนั้น เจ้าพระยามหิธร เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ได้อัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาอ่านเปิดประชุม เสร็จแล้วจึงได้ดำเนินการประชุมต่อไป จึงถือว่าวันนั้นเป็นวันก่อกำเนิดของ ‘รัฐสภาไทย’ มาจนถึงทุกวันนี้

ทั้งนี้ การประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันนั้น ที่ประชุมมีมติเลือกเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก และเห็นชอบให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรก รวมทั้งมีมติเลือกพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานกรรมการราษฎร (นายกรัฐมนตรี) คนแรก จึงถือว่าคณะรัฐมนตรีได้ถือกำเนิดขึ้นในวันเดียวกันด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้จะล่วงเลยผ่านตามการเปลี่ยนแปลงของกาลเวลา รัฐสภาชุดต่าง ๆ ยังคงทำหน้าที่ในฐานะองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยฝ่ายนิติบัญญัติแทนประชาชน โดยออกกฎหมายมาใช้บังคับในสังคม ควบคุมและตรวจสอบการทำงานของคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร และให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญ ๆ ของประเทศ รวมทั้งแสดงบทบาทในฐานะผู้แทนประชาชนในกิจการต่าง ๆ และเป็นสิทธิเป็นเสียงแทนประชาชนทั้งประเทศต่อเนื่องตลอดมา

โหวตงบฯ 68 รัฐบาลไม่แตกแถว 309 ต่อ 155 ปชป.งดออกเสียง 4 บ้านป่าไม่เห็นด้วย 9 เสียง

เมื่อวานนี้ (5 ก.ย. 67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โหวตผ่านวาระ 3 ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ด้วยคะแนน 309 ต่อ 155 งดออกเสียง 4 ไม่ลงคะแนน 1 ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่า เสียงที่เห็นด้วยส่วนใหญ่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล โดย ‘พรรคเพื่อไทย’ (พท.) ส่วนใหญ่พบว่าปกติ ยกเว้น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง, พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี สส.บัญชีรายชื่อ, น.ส.ณัฐจิรา อิ่มวิเศษ สส.นครราชสีมา, นพ.ทศพร เสรีรักษ์ สส.แพร่ ที่ไม่พบว่าลงมติใดๆ

ขณะที่ ‘น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์’ สส.บัญชีรายชื่อ พรรค พท. กดไม่ลงคะแนนเสียง แต่ได้รับการชี้แจงภายหลังว่า กดเห็นด้วย แต่เครื่องลงคะแนนเสียงมีปัญหา ขณะที่ ‘พรรคประชาธิปัตย์’ (ปชป.) ซึ่งงดออกเสียง ประกอบด้วย นายชวน หลีกภัย, นายบัญญัติ บรรทัดฐาน, นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์สส.บัญชีรายชื่อ และ นายสรรเพชญ บุญญามณี สส.สงขลา

ขณะที่ ‘พรรคพลังประชารัฐ’ (พปชร.) ที่แบ่งออกเป็นสองขั้ว ระหว่างขั้วของ ‘ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า’ สส.พะเยา กับ ‘พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ’ สส.บัญชีรายชื่อ พบว่า สส.ในกลุ่มของ ร.อ.ธรรมนัส ที่มีจำนวน 20 คน ลงมติเห็นชอบ ยกเว้นนาย’ชนนพัฒฐ์ นาคสั้ว’ สส.สงขลา ในส่วนของ สส.กลุ่ม พล.อ.ประวิตร มี 20 คน แต่ลงมติไม่เห็นด้วยเพียง 9 คน ส่วนคนที่เหลือไม่ปรากฏว่า ลงมติใดๆ อาทิ พล.อ.ประวิตร, น.ส.ตรีนุช เทียนทอง สส.สระแก้ว, นายโชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ สส.สิงห์บุรี, นายปริญญา ฤกษ์หร่าย สส.กำแพงเพชร เป็นต้น

ส่วนของ ‘พรรคไทยสร้างไทย’ (ทสท.) ยังคงเป็นกลุ่มที่เคยโหวตสวน ประกอบด้วย นางสุภาพร สลับศรี สส.ยโสธร, นายหรั่ง ธุระพล สส.อุดรธานี และ นายอดิศักดิ์ แก้วมุงคุณทรัพย์ สส.อุดรธานี สำหรับพรรคเล็ก 6 พรรค ที่เป็นของรัฐบาลก็โหวตเห็นด้วยเช่นกัน ส่วนพรรคเล็กที่อยู่ฝ่ายค้าน 3 เสียง นั้น นายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ สส.กทม. ‘พรรคไทยก้าวหน้า’ และ นายกัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ ‘พรรคเป็นธรรม’ ลงมติไม่เห็นด้วย ยกเว้น นายกฤดิทัช แสงโยธิน สส.บัญชีรายชื่อ ‘พรรคใหม่’ ที่จัดว่าอยู่ฝ่ายค้าน แต่รอบนี้โหวตเห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ส่วน ‘พรรคเสรีรวมไทย’ 1 เสียง ที่หัวหน้าพรรคประกาศว่าขอเป็นฝ่ายค้านนั้น ‘นายมังกร ยนต์ตระกูล’ สส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรค ไม่แสดงตนและไม่ลงคะแนน

อย่างไรก็ตาม ‘พรรคประชาชน’ (ปชน.) พบว่า ส่วนใหญ่ลงมติไม่เห็นด้วย มีเพียงแค่ นายวิทวิสิทธิ์ ปันสวนปลูก สส.ลำพูน และนายสิริน สงวนสิน สส.กทม. ที่พบว่าไม่มีการลงมติใด ๆ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top