Thursday, 16 May 2024
นิพนธ์

‘นิพนธ์’ ประสานทุกความร่วมมือเดินแนวทาง "น้ำเสีย อยู่คู่ชุมชนได้” ชี้ความสำเร็จอยู่ที่การร่วมมือทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ในงานครบรอบ 27 ปี สถาปนาองค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.)

เมื่อวันที่ (15 ส.ค. 65) ที่ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองแพรกษา จังหวัดสมุทรปราการ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานและมอบนโยบายเนื่องในวาระครบรอบ 27 ปี วันสถาปนาองค์การจัดการน้ําเสีย(อจน.) โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ,  รองนายกเทศมนตรีเมืองแพรกษา , นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย, ผู้บริหาร, เจ้าหน้าที่จากกระทรวงมหาดไทย, เจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ผู้นำชุมชน และประชาชน ร่วมให้การต้อนรับ



นายนิพนธ์ กล่าวว่า  การจัดกิจกรรมเนื่องในวาระครบรอบ 27 ปี วันสถาปนาองค์การจัดการน้ําเสียในวันนี้ นับว่าเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งท่ี ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดกิจกรรมให้ชุมชนได้ตระหนักถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน ทำอย่างไรให้น้ำเสียสามารถอยู่คู่กับชุมชนได้ และทำอย่างไรให้ทุกคนได้มีส่วนในการรับผิดชอบในการจัดการน้ำเสียในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชน เยาวชนได้มาร่วมกันแก้ไขปัญหาน้ําเสีย เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยความรู้ ความเข้าใจ และให้ความร่วมมือในการลดความสกปรกของน้ําเสียจากแหล่งกําเนิดซึ่งจะช่วยให้คุณภาพน้ําของแหล่งรองรับน้ําในพื้นท่ีดีข้ึน 

'นิพนธ์' ร่วมกิจกรรม 'พาป๋าหลบบ้าน' ทำบุญตักบาตรฯ - ประกอบพิธีบรรจุอัฐิป๋าเปรมใต้ฐานอนุสาวรีย์ฯ รวมใจชาวสงขลา สืบสานปณิธาน “เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน”

วันที่ 26 สิงหาคม 2565 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยนางกัลยา บุญญามณี ภริยาร่วมในพิธีทำบุญตักบาตร ข้าวสาร อาหารแห้งพระสงฆ์ 99 รูปเพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ก่อนที่จะมีพิธีบรรจุอัฐิพลเอกเปรม ติณสูลานนท์  ณสวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยมี ศาสตราจารย์กิติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายบัญญัติ จันทร์เสนะ นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หัวหน้าส่วนราชการ มูลนิธิเรารักสงขลา มูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์  บุคลากรสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ร่วมในพิธีทำบุญตักบาตร

ต่อจากนั้นเวลา 09.30 น. ศาสตราจารย์กิติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และประธานมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลอัฐิ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์  พร้อมทั้งอัญชิญอัฐิพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ บรรจุไว้ใต้ฐานอนุสาวรีย์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์  ภายในบริเวณสวนประวัติศาสตร พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ต.พะวง อ.เมือง จ.สงขลา

นิพนธ์ ยัน ปชป.พร้อมเปิดโอกาสคนรุ่นใหม่มาร่วมกันพัฒนาพรรค พัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรือง ในเวทียุวประชาธิปัตย์ สงขลา รุ่นที่ 2

นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคปชป. เป็นประธานในพิธีปิดการอบรมโครงการค่ายผู้นำเยาวชนยุวประชาธิปไตย ในศตวรรษที่ 21 รุ่นที่ 2 โดยมีนายสรรเพชญ บุญญามณี ผู้ช่วยดำเนินงานนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา นายเกรียงไกร คมขำ ผอ.หลักสูตรค่ายผู้นำเยาวชนยุวประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 21 รุ่นที่ 2  นายจักรธร สุริยแสง นายกเทศบาบเมืองเขารูปช้าง และวิทยากรจาก Trainning&Coaching Company   และเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมในพิธีปิด ณ อาคารศูนย์บริบาลผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ต.พะวง อ.เมือง จ.สงขลา

นายนิพนธ์ บุญญามณี กล่าวว่า ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากอิทธิพลของเทคโนโลยีและสภาวะ วิกฤตที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ประชากรโลกต้องปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ ผู้นำประเทศต้องปรับบทบาททางการบริหารเพื่อรักษาสภาวะทางสังคมให้มีความสมดุลมากขึ้น การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีบทบาทในการเสนอความคิดเห็นและแนวทางการแก้ปัญหาอย่างวิถีทางประชาธิปไตยนั้น จะทำให้ประเทศขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพเด็กและเยาวชน นับเป็นกลุ่มประชาชนกลุ่มแรกที่ควรเร่งผลักดัน เพื่อเป็นพลังสำคัญ ในการสร้างความตระหนักรับรู้ถึงความเป็นประชาธิปไตย เพื่อให้ท้องถิ่นมีการพัฒนาที่เพิ่มขึ้น

การเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง จะเป็นการฝึกทักษะกระบวนการทำงานแบบมีบูรณาการและยอมรับความเห็นต่างอย่างเข้าใจ อันเป็นรากฐานของความเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ จึงถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ เพราะได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพราะวัยนี้ถือเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ จากสถานการณ์ปัจจุบันกับอดีต จึงอาจมีความแตกต่างกันบ้าง คนหนุ่มคนสาวจึงถือเป็นอนาคตของประเทศ ความคิดเห็นทางการเมืองจึงมีข้อแตกต่างกันได้ สังคมส่วนใหญ่จึงต้องมองที่เหตุและผล 

พรรคประชาธิปัตย์ถือเป็นพรรคที่ไม่มีเจ้าของสมาชิกทุกคนเป็นเจ้าของเหมือนกัน เป็นสถาบันทางการเมือง โดยมีการตั้งพรรคมาตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2489 มาพร้อมกับอุดมการณ์ 10 ข้อ อาทิอุดมการณ์ข้อที่ 1 คือพรรคปชป.ต้องทำการเมืองด้วยความบริสุทธิ์  อุดมการณ์ที่ 2 คือความซื่อสัตย์สุจริตในทางการเมือง ซึ่งถือเป็นหลักปฏิบัติของพรรคปชป. ส่วนอุดมการณ์ข้อที่ 5 พรรคต้องมีการกระจายอำนาจการดำเนินการในท้องถิ่นให้มากที่สุด ในข้อที่ 6 พรรคมีจุดประสงค์ที่จะให้คนไทยมีที่ทำกิน มีที่อยู่ และอาชีพ เป็นต้น

จนผ่านมาถึงวันนี้ย่างเข้าปีที่ 77 สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่พรรคปชป.จะขับเคลื่อนต่อไป และการจัดกิจกรรมวันนี้จึงเป็นสิ่งที่พรรคปชป.จะทำอย่างต่อเนื่อง เพราะคนรุ่นใหม่คืออนาคตของประเทศ และปชป.ก็พร้อมให้โอกาสกับคนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้าเราทุกคนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า ปชป.ก็พร้อมรองรับคนรุ่นใหม่ มาร่วมกันคิดร่วมกันทำมาร่วมกันพัฒนาพรรค พัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญรุ่งเรือง เพราะนี่คือคนหนุ่มคนสาวที่มีไฟแรง เปรียบเสมือนคลื่นลูกใหม่ เป็นคลื่นลูกใหม่ที่มีพลัง 

'นิพนธ์' ยัน 3 ปีกว่าที่เป็นรัฐบาล ทำตามสัญญากับประชาชน ชู ประกันรายได้-เปลี่ยนความขัดแย้งสู่ความมั่นคงทางอาหารพื้นที่ชายแดนใต้ พร้อมขอโทษสิ่งผิดพลาดในอดีต เดินหน้าสร้างอนาคต

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2565 ที่ห้องประชุมสาขาพรรคประชาธิปัตย์ เขตเลือกตั้งที่ 1 สงขลา นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประธานเปิดการประชุมหารือแนวทางเตรียมการเลือกตั้งกับ แกนนำพรรค สมาชิกพรรคปชป. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม.และพี่น้องประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลเกาะแต้ว โดยมีนายสรรเพชญ บุญญามณี ผู้ช่วยดำเนินงานนายชวน หลีกภัย และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เขต 1 สงขลา นายนราเดช คำทัปน์ สมาขิกสภา อบจ.สงขลา นายศิริชัย เอกพันธุ์ รองประธานสภา อบจ.สงขลา นายถนอมศักดิ์ แป๊ะเส้ง ประธานสาขาพรรค ปชป.เขตเลือกตั้งที่ 1 สงขลา และกรรมการสาขาพรรคร่วมในการประชุมหารือแนวทางการเตรียมการเลือกตั้ง

นายนิพนธ์ กล่าวว่า การเตรียมตัวสำหรับการเลือกตั้งถือเป็นหัวใจสำคัญ การเตรียมความพร้อมของสาขาพรรคจึงเป็นสิ่งจำเป็น พรรคปชป.จะทำทุกกลุ่มทุกรุ่น สร้างคนรุ่นต่อรุ่น เพราะผลพวงของการสร้างคนรุ่นใหม่จำเป็นสำหรับพรรคการเมืองประชาธิปัตย์ตั้งมาแล้วถึง 76 ปี ย่างเข้าสู่ปีที่ 77 ดังนั้นคนของพรรคปชป.จึงมีรุ่นแล้วรุ่นเล่าสืบต่อกันมา พรรคปชป.เป็นพรรคที่ไม่มีเจ้าของให้โอกาสกับคนทุกคน จึงให้คว่มมั่นใจได้ว่าพรรคนี้จะอยู่บ้านคู่เมืองแน่นอน ผมเตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้งซึ่งจะมีขึ้นเร็วๆนี้ ดังนั้นการหาสมาชิกพรรคจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งเราจะดูแลทุกระดับ และพวกเราจะทำงานใกล้ชิดกับท้องถิ่น และจะทำงานใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชน อะไรที่ท้องถิ่นดูแล พี่น้องได้ผู้แทน ก็อยากจะขอโอกาสพี่น้อง รอบนี้ประชาธิปัตย์หวังว่า คราวที่แล้วถือเป็นบทเรียน ให้ประชาธิปัตย์ 22 คนจาก 50 คน ผมในฐานะรองหัวหน้าพรรคต้องยอมพร้อมรับที่พี่น้องได้สั่งสอนพรรคปชป.ไปแล้ว และมีอะไรที่ผิดพลาดผมก็ขอถือโอกาสนี้ขอโทษ ซึ่งก็คงไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย พรรคการเมืองก็มีโอกาสผิด ปชป.ทำอะไรไม่ถูกในพี่น้องก็ต้องขอโทษ และพร้อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพื่อเดินหน้าสู่อนาคต

'นิพนธ์' เสนอตัดมาตรา6(2) ถกร่าง พ.ร.บ. เข้าชื่อถอดถอนสมาชิกท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ....เพื่อหาข้อสรุปในส่วนของกฏหมายฉบับนี้

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ณ ห้อง Ca311 อาคารรัฐสภา เวลา 09.30 น. นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท. ได้เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ.... เพื่อทบทวนและปรับปรุงมาตรา 6 และ มาตรา 7 ของร่างพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.... ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยประธานเสนอให้ทบทวน มาตราที่6 และ7 ที่ประชุมได้มีมติให้ตัดมาตรา6 (2) ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าชื่อขอให้มีการสอบสวนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ออกไป เนื่องจากมีความซ้ำซ้อนกับการดำเนินการตามกฎหมายอื่นที่มีอยู่แล้ว ส่วนมาตรา7 ให้แก้ไขข้อความให้ชัดเจนขึ้นทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติให้นัดประชุมเพื่อทบทวนร่าง พ.ร.บ.ฯ และรายงานการประชุมในอาทิตย์ถัดไปอีกครั้ง ก่อนที่จะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมของสภาผู้แทนราษฎร​เพื่อพิจารณาต่อไป

‘นิพนธ์’ ควง ‘วสันต์’ แถลงสู้คดี เปิดหน้าซัด ป.ป.ช.ชุดนาฬิกายืมเพื่อน ให้เหตุผลรับคดีนี้ เหตุ ‘นิพนธ์’ ไม่ได้รับความเป็นธรรม ลั่น ถ้าไม่คิดว่าชนะคดี คงไม่รับทำ

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์  อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ร่วมกันแถลงข่าวคดีรถซ่อมบำรุงทางอเนกประสงค์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์  อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้เล่าย้อนถึงความเป็นมาก่อนมารับคดีเป็นทนายความให้กับนายนิพนธ์ ต่อสู้คดีกับ ป.ป.ช. ซึ่งถูกสังคมและสื่อ วิพากษณ์วิจารณ์ว่าเป็นถึงอดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ แล้วลดตัวมาเป็นทนายว่า อาชีพเดิม เคยเป็นทนายความในสำนักงานหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เมื่อปี 2510 และเริ่มว่าความในปี 2511 ก่อนเข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษาปี 2516 อีกทั้งอาชีพที่ตั้งตัวได้คืออาชีพทนายความ ก่อนมาเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ คำพูดแบบนี้มองว่าเป็นการดูถูกอาชีพอิสระ เพราะทุกวงการมีทั้งคนดีคนเลวปะปนกัน และหลังจากลาออกก็ไม่เคยคิดจะไปสู้คดีให้ใคร เพื่อมาสู้กับศาลรัฐธรรมนูญที่เคยเป็นประมุข แต่ก็คงไม่น่าเกลียดเพราะไม่เคยเป็นประธานศาลฎีกา 

ขณะเดียวกันยังยกตัวอย่างหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ที่เคยเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ยังไปเป็นทนายความ ขณะเดียวกันเมื่อลาออกจากประธานศาลรัฐธรรมนูญในปี 2556 มาทำอาชีพทนายความปี 2558 โดยว่าความคดีแรกก็ไม่มีใครรู้ว่าตนเองเคยเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญมาก่อน ดังนั้นการที่สื่อบางคน บอกว่าเป็นการลดตัวไปว่าความ และเวลาไปศาลนั้นคนจะยกมือไหว้ตั้งแต่หัวกะไดศาล ไม่เป็นความจริง 

พร้อมกันนี้ยังเปิดเผยว่าเคยรับคดีว่าความสู้กับ ป.ป.ช. มาแล้ว ซึ่งที่รับทำเพราะมีคนถูกกลั่นแกล้ง รังแก หากช่วยพรรคพวกได้ก็ควรช่วย และการรับคดีก็ต้องพิจารณาจะมีทางต่อสู้หรือไม่ ซึ่งหากนายนิพนธ์เป็นฝ่ายผิด คงไม่รับทำคดีให้ เพราะจะเสียฟอร์ม “ตนเป็นทนายเงียบๆ ไม่ได้หิวแสงเหมือนคนอื่น” 

ซึ่งคดีแรกที่ว่าความคือคดีที่ ป.ป.ช. กล่าวหาคณะกรรมการคัดเลือกข้าราชการกระทรวงการคลัง ที่มี นายสมหมาย ภาษีอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งชนะคดี

นายวสันต์ ยังเล่าว่าตนไม่คุ้นเคยกับนายนิพนธ์ แต่คุ้นเคยกับ นายสุทัศน์ เงินหมื่น อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และอดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นเพื่อนรุ่นพี่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แนะนำให้นายนิพนธ์ มาพบมาพูดคุยก่อนบอกว่า “ตนอยู่ในวงการยุติธรรมมา 50 ปี มองออกว่าใครได้รับความเป็นธรรม หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม” ทั้งนี้เมื่อตรวจเอกสารรายละเอียดคดี เห็นว่านายนิพนธ์ ไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงรับทำคดีให้

สำหรับรายละเอียดของคดี อบจ.สงขลา ซื้อรถเอนกประสงค์ 2 คัน มูลค่ากว่า 40 ล้าน และมีการประมูลทำสัญญาส่งมอบรถ ซึ่งเมื่อนายนิพนธ์ มาเป็นนายก อบจ.สงขลา มีเรื่องร้องเรียนตรวจสอบเอกสารพบสงสัยมีการฮั้ว จึงทำเรื่องให้ผู้ว่าฯ สงขลา ระงับการจ่ายเงินไว้ก่อน และ อบจ.ได้ไปแจ้งความเพราะมีเจ้าหน้าที่รัฐร่วมด้วย และขณะนี้พนักงานอัยการสั่งฟ้องศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 9 และออกหมายจับ  นอกจากนี้ ป.ป.ช. ได้ให้เจ้าหน้าที่ไปแจ้งความกล่าวโทษเอกชนที่ฮั้วประมูล ซึ่ง ป.ป.ช. ต้องเชื่อว่ามีการฮั้ว ขณะเดียวกันเอกชนก็ไปฟ้อง ป.ป.ช. ว่าถูก อบจ.สงขลา กลั่นแกล้ง รวมถึงฟ้องศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาให้ อบจ.จ่ายเงิน แต่เมื่อมีการยื่นฟ้องคดีอาญาว่าฮั้ว ศาลปกครองสูงสุดจึงให้พิจารณาใหม่ และก็อยู่ระหว่างพิจารณาคดี
 


 

ทำความเข้าใจ 'ต่างด้าวซื้อที่ดิน' ขายชาติจริงหรือ…?

เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกรณีที่รัฐบาลกำลังดำเนินการแก้ไขกฎกระทรวงที่อนุญาตให้คนต่างด้าวซื้อที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ได้ ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดมากมาย แต่มีคนบางกลุ่มออกมาต่อว่า วิจารณ์รัฐบาลว่าเป็นการขายชาติ

เรื่องนี้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ โดยบัญญัติไว้ในมาตรา ๘๖ ว่า คนต่างด้าวจะได้มาซึ่งที่ดินก็โดย อาศัยบทสนธิสัญญาซึ่งบัญญัติให้มีกรรมสิทธิ์ใน อสังหาริมทรัพย์ได้และอยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วย

ตามบทบัญญัติดังกล่าวการให้คนต่างด้าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้เป็นตามสนธิสัญญา คือพลเมืองของประเทศที่มีสนธิสัญญาต่อกันให้พลเมืองถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินในประเทศที่มีสนธิสัญญาต่อกันได้

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายที่ดินเรื่องให้คนต่างด้วยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยมีการบัญญัติเพิ่มไว้ในมาตรา ๙๖ ทวิ โดยมาตรา ๙๖ ทวิ บัญญัติว่า บทบัญญัติว่าด้วยคนต่างด้าว จะได้มาซึ่งที่ดินโดยอาศัยบทสนธิสัญญาตามมาตรา ๘๖ วรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับคนต่างด้าวซึ่งได้นําเงินมาลงทุนตามจํานวนที่กําหนดในกฎกระทรวงซึ่งต้องไม่ตํ่ากว่าสี่สิบล้านบาท โดยให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ไม่เกินหนึ่งไร่และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี

การได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง โดยในกฎกระทรวงอย่างน้อย ต้องมีสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้...

.....(๑) ประเภทของธุรกิจที่คนต่างด้าวลงทุน ซึ่งต้องเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ หรือเป็นกิจการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศให้เป็นกิจการที่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนได้
.....(๒) ระยะเวลาการดํารงการลงทุนต้องไม่น้อยกว่าสามปี
.....(๓) บริเวณที่ดินที่อนุญาตให้คนต่างด้าวได้มา ต้องอยู่ภายในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาล หรืออยู่ภายในบริเวณที่กําหนดเป็นเขตที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง

.....ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ รัฐบาลที่มีนายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ออกกฎกระทรวง เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การได้มาของคนต่างด้าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๖ ทวิ และยังคงใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันซึ่งคนต่างด้าวก็สามารถถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้อยู่แล้ว

.....ตามกฎหมายมาตรา ๙๖ ทวิ และกฎกระทรวงที่ออกในปี ๒๕๔๕ มีหลักเกณฑ์สำคัญคือคนต่างด้าวต้องนำเงินมาลงทุนไม่น้อยกว่า ๔๐ ล้านบาท ก็อนุญาตให้ซื้อที่ดินเพื่ออยู่อาศัยได้ไม่เกิน ๑ ไร่ และมีเงื่อนไขอื่น ๆ อีก

.....สรุปว่าการให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้มีมาตั้งแต่ปี ๒๔๙๗ ต่อมามีการแก้ไขประมวลกฎหมายที่ดินในปี ๒๕๔๒ และได้ออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขต่าง ๆ ในปี ๒๕๔๕ ปัจจุบันคนต่างด้าวจึงถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือซื้อที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยไม่เกิน ๑ ไร่ ได้อยู่แล้วโดยรัฐบาลปัจจุบันไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรเลย

รัฐบาลปัจจุบันเพียงต้องการแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงปี ๒๕๔๕ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการที่จะให้คนต่างด้าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือซื้อที่ดินเพื่ออยู่อาศัยให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันเพื่อประเทศชาติจะได้ประโยชน์ให้มากที่สุดเท่านั้น แต่ก็ต้องให้เป็นไปตามที่มาตรา ๙๖ ทวิ กำหนดไว้จะผิดไปจากนี้ไม่ได้ และยังอยู่ในระหว่างดำเนินการแก้ไข โดยร่างกฎกระทรวงได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ยังมีการปรับปรุงแก้ไขได้ ยังไม่ได้ประกาศใช้เลย

ถ้ารัฐบาลปัจจุบันเพียงแต่ต้องการจะแก้ไขกฎกระทรวงที่มีอยู่แล้วและต้องเป็นไปตามที่มาตรา ๙๖ ทวิ กำหนดไว้ ถูกประนามว่าเป็นการขายชาติ 

รัฐบาลที่ประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดินในปี ๒๔๙๗ รัฐบาลที่แก้ไขประมวลกฎหมายที่ดินโดยการเพิ่มมาตรา ๙๖ ทวิ ในปี ๒๕๔๒ และรัฐบาลที่ออกกฎกระทรวงในปี ๒๕๔๕ ไม่ต้องถูกประนามว่าเป็นการขายชาติยิ่งกว่ารัฐบาลปัจจุบันหรือ ?

กลุ่มคนที่ออกมาด่ารัฐบาลว่า การให้คนต่างด้าวซื้อที่ดินเป็นการขายชาติ ควรต้องศึกษาหาความรู้บ้างว่าเรื่องนี้มีความเป็นมาอย่างไร จะได้ไม่สื่อสารออกไปในทางที่ผิด บิดเบือน ใส่ร้ายคนอื่นให้ได้รับความเสียหาย

'นิพนธ์' มั่นใจ!! 'จุรินทร์' พร้อมเป็นนายกรัฐมนตรี หากรวมเสียงข้างมากในสภาได้ ยัน! พรรคประชาธิปัตย์ให้การสนับสนุนฯ โว หากได้เป็นจะทำได้ดี

นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยถึงกรณีภายหลังที่ 'นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์' รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาประกาศตัวว่า พร้อมเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี หากพรรคประชาธิปัตย์ จะเสนอชื่อเพียงคนเดียว และมั่นใจว่าตัวเองมีความพร้อม หากหลังการเลือกตั้งแล้วไม่พร้อมสมาชิกเลือกไปก็เสียของ แต่ทั้งหมดอยู่ที่ประชาชนเห็นชอบด้วย รอผลจากการเลือกตั้ง

โดยนายนิพนธ์ กล่าวว่า การที่หัวหน้าพรรคได้ออกมาให้สัมภาษณ์นั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ตนเองได้พูดมา 2 ปีแล้ว ว่าประชาธิปัตย์ ได้สนับสนุนให้ 'จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์' เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า พรรคเรา มีหัวหน้าพรรคมาแล้วทั้งหมด 8 คน และได้เป็นนายกรัฐมนตรี ไปแล้ว 4 คน โดยหัวใจสำคัญที่สมาชิกพรรคใช้ตัดสินในการเลือกหัวหน้าพรรรค มี 2 อย่างคือ 1. จะต้องนำพาพรรคไปข้างหน้าได้ และ 2. คนๆ นั้นต้องพร้อมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อเราได้เลือก 'จุรินทร์' ขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรค นั้นหมายความว่า เราพร้อมที่จะสนับสนุนให้เป็น 'นายกรัฐมนตรี' … ซึ่งในระบอบประชาธิปไตย การที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ต้องขึ้นอยู่กับระบบรัฐสภาฯ ซึ่งหมายความว่า หัวหน้าพรรคการเมืองพรรคไหน ที่ไปรวบรวมเสียงข้างมากในสภาได้ คนนั้นก็จะได้รับการสนับสนุน ให้เป็นนายกรัฐมนตรี เหล่านี้จึงอยู่ที่จำนวนมือของ ส.ส.ที่สนับสนุน ในสภาผู้แทน”

'นิพนธ์' ยืนยัน พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เคยทิ้งชาวประมง แก้ปัญหามาโดยตลอด ล่าสุดตั้งงบประมาณ พันกว่าล้าน เพื่อนำเรือออกนอกระบบ

นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรค และผู้อำนวยการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ได้ถึง 'ยุทธศาสตร์ 3 ส' ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ใช้ในการหาเสียง และเป็น นโยบายในการพัฒนา ประเทศในทุกด้าน ถ้าพรรคสามารถเข้าร่วมรัฐบาลอีกครั้งในสมัยหน้าว่าเป็น 'ยุทธศาสตร์' ที่มีการ ครอบคลุม ทั้งหมด จาก 'ยุทธศาสตร์ 3 ส' คือ สร้างเงิน,สร้างคน ,สร้างชาติ

ส่วนในกรณีของการช่วยเหลือชาวประมง นั้น พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความสำคัญในเรื่องของอาชีพการทำประมงที่มีผู้ประกอบอาชีพประมงในประเทศ 23 จังหวัด ล่าสุด มีการตั้งงบประมาณ จำนวน 1,806 ล้าน เพื่อนำเรือประมงออกนอกระบบจำนวน 1,007 ลำ เพื่อเป็นการช่วยชาวประมง ที่ไม่สามารถนำเรือไปทำการประกอบการประมงได้ ตามกฎหมาย ไอยูยู ซึ่งการนำเรือที่ไม่ถูกต้องออกนอกระบบ เพื่อเป็นการช่วยให้ได้รับเงินชดเชยเพื่อนำไปประกอบอาชีพประมงหรืออื่น ๆ เป็นการสร้างความสมดุล ระหว่างเรือประมงกับสัตว์น้ำที่มีอยู่ เป็นการสร้างความมั่นคงให้กับอาชีพประมง

'นิพนธ์' ระดมสมองผู้สมัครประชาธิปัตย์ ชายแดนใต้ ชู นโยบาย 'สันติภาพสู่สันติสุข' สอดรับ คำประกาศ '3 ส. สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ' พร้อมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหาร สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประชุม ชู 8 นโยบาย ด้านการเกษตร สู้ศึกเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อนำสันติภาพสู่สันติสุข โดยมีผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดสตูล และสงขลาบางส่วน ร่วมประชุมรับทราบนโยบายดังกล่าว ณ ห้องประขุมย่อย บ้านพักเขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา

โดยนายนิพนธ์ กล่าวว่า วันนี้พรรคประชาธิปัตย์ ได้ออก 3  ยุทธศาสตร์หลัก เพื่อสู้ศึกเลือกตั้งในครั้งนี้คือ การสร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ  โดยเฉพาะนโยบายในการนำมาใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นั่นคือ การสร้างเงิน ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นหลายนโยบาย โดยเฉพาะเน้นในเรื่องของนโยบายประกันรายได้คน และประกันรายได้ให้กับประเทศ 

ซึ่งในส่วนของการประกันรายได้ มุ่งเน้นในเรื่องของการเกษตร การประกันรายได้เงินส่วนต่าง ในเรื่องของ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยางพารา และปาล์ม ยังคงนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง ในเรื่องของการให้เงินส่วนต่าง และนโยบายช่วยเหลือชาวนา 30,000 บาทต่อครัวเรือน แม้แต่ปลูกข้าวกินก็ยังได้ส่วนต่าง สำหรับผู้ที่มาลงทะเบียน นโยบายการจัดตั้งธนาคารหมู่บ้าน-ชุมชน แห่งละ 2 ล้านบาท การออกโฉนดที่ดิน 1 ล้านแปลงภายใน 4 ปี ฟรีนมโรงเรียน 365 วัน การให้เงินทุนสำรองประมงท้องถิ่น 100,000 บาททุกปี ทุกกลุ่มที่ขึ้นทะเบียน การออกเอกสารสิทธิทำกินในที่ดิน ให้ผู้ที่ทำกินในที่ดินของรัฐ และการปลดล๊อกประมงพาณิชย์ ภายใต้ luu นี่คือสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ทำนโยบายในเรื่องของการสร้างเงิน 8 นโยบาย และอีก 5 ฟรี คือเรียนฟรี อาหารกลางวันฟรี นมโรงเรียนฟรี และหญิงตั้งครรภ์รับทันที 600 บาท ต่อเดือน จนคลอด ฟรี

ในวันนี้เราได้เน้นในเรื่องของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้จังหวัดชายแดนใต้เป็นพื้นที่ความมั่นคงทางด้านอาหาร ซึ่งเราต้องเดินหน้าต่อ พร้อมกับการขยายการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ ซึ่งจังหวัดชายแดนใต้ต้องยุติความขัดแย้ง  การสูญเสียชีวิตมันต้องยุติได้แล้ว และเราอยากเห็นจังหวัดชายแดนใต้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชน

สำหรับนโยบายสร้างเงิน 8 นโยบายที่พรรคได้ประกาศ นี่เฉพาะกลุ่มแรกหลังจากที่พรรคประกาศยุทธศาสตร์ สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ ซึ่งงวดแรกที่ได้กล่าวไปแล้วนั่นคือเรื่องของการสร้างเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่ในภาคเกษตรเป็นหลัก และจะมีภาคธุรกิจอื่นตามมาอีก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเศรษฐกิจทันสมัย เรื่องของนวัตกรรม เรื่องของ SME และเรื่องอื่นๆ ที่จะทยอยประกาศตามมา เพื่อสร้างรายได้ในส่วนนั้น และในเรื่องของการสร้างคนซึ่งจะเป็นตัวตนของประชาธิปัตย์ รวมถึงเรื่องของสาธารณสุข รวมถึงในเรื่องของsold power และสุดท้ายในเรื่องของการสร้างชาติ นั่นคือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อที่จะให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น รวมถึงในเรื่องของการกระจายอำนาจ ซึ่งสุดท้ายนโยบายชายแดนภาคใต้ซึ่งได้ขอความเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ซึ่งเราเคยมีนโยบาย ใต้สันติสุข แต่วันนี้เราจะไม่เอาเพียงใต้สันติสุข แต่จะเป็นนโยบายใต้ชายแดน 'สันติภาพสู่สันติสุข' เพราะการยุติความขัดแย้งนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องมีการพูดคุยกัน ซึ่งเราจะไม่มีวันจบในเรื่องของการใช้อาวุธเพื่อแก้ปัญหาเรื่องความขัดแย้ง แต่จะจบด้วยการพูดคุยกัน เราใช้งบประมาณ กว่า 4.9 แสนล้าน ในเวลา19 ปี ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้นจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงต้องพูดคุยกัน ทุกฝ่ายเพื่อยุติความขัดแย้ง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top