Monday, 19 May 2025
ทหารมีไว้ทำไม

'ใบตองแห้ง' ยก!! ทหารเป็นกำลังสำคัญในการกอบกู้ภัยพิบัติ ยัน!! ไม่ปฏิเสธการมีทหาร แต่แค่มีนายพลมากมายไว้ทำไม

(25 ก.ย. 67) อธึกกิต แสวงสุข หรือ ใบตองแห้ง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Atukkit Sawangsuk' ในหัวข้อ 'ทหารมีไว้ทำไม' ระบุว่า...

คุยกับ บก.ลายจุด ทำงานร่วมกับทหารดีมาก

“เขาก็รู้ว่าผมเป็นใคร” แต่ทำงานร่วมกันอย่างมืออาชีพ ทหารยังให้รถมาใช้

ไม่ใช่แค่ บก.หรอก อาสาสมัครมูลนิธิกระจกเงามีหลากหลาย

แดง ส้ม คนรุ่นใหม่ ก็ไปทำงานร่วมกัน เสธ.ทั้งหลาย (ในขณะที่พวก IO นั่งหน้าคีย์บอร์ด)

ไม่ได้มีปัญหาในการทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยผู้ประสบภัยพิบัติ

ทหารนั้นเป็นกำลังสำคัญในการกอบกู้ภัยพิบัติ

เป็นอย่างนี้ทุกประเทศ เพราะมีกำลังพลพร้อมลุย

อันที่จริง ควรมีการฝึกซ้อมด้านนี้ด้วยซ้ำ

แต่อันดับแรก คือต้องเพิ่มประสิทธิภาพ ปภ. เป็นเจ้าภาพ แล้วให้ทหารเป็นกำลังหลัก อาสาสมัครเป็นกำลังเสริม 

เวลาพูดเรื่องทหารมีไว้ทำไม

เราไม่ได้ปฏิเสธว่าทหารมีไว้รบ มีไว้กู้ภัย

แต่มันมีนายพลมากมายไว้ทำไม 

มีสนามกอล์ฟมากมายไว้ทำไม

มีทหารกระดาษ ทหารเดินเอกสาร ไว้มากมายทำไม

กองทัพอากาศสวิตเซอร์แลนด์ ครั้งหนึ่ง เคยทำการบินสกัดกั้น เฉพาะในวัน-เวลาทำการเท่านั้น เหตุ!! ถูกลด ‘งบการทหาร’

(24 ก.พ. 68) เรื่องราวสุดเหลือเชื่อนี้เกิดขึ้นจริงในปี 2014 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ เมื่อเที่ยวบินที่ 702 ของสายการบิน Ethiopian ซึ่งเดินทางจากกรุงแอดดิสอาบาบาไปยังนครมิลานโดยผ่านกรุงโรม โดยเครื่องบินลำดังกล่าว เป็นเครื่องบินโดยสารแบบ Boeing 767-3BGER หมายเลข MSN 30563 หมายเลขทะเบียน ET-AMF ถูกจี้ระหว่างบินจากกรุงแอดดิสอาบาบาไปยังกรุงโรมโดย Hailemedhin Abera Tegegn นักบินผู้ช่วยซึ่งไม่มีอาวุธเลย 

เครื่องส่งสัญญาณฉุกเฉินของเที่ยวบินที่ 702 เริ่มส่งสัญญาณ 7500 ซึ่งเป็นรหัสสากลสำหรับแสดงสถานะเครื่องบินถูกจี้ ขณะบินไปทางเหนือของซูดาน เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อนักบินออกจากห้องนักบินเพื่อเข้าห้องน้ำ นักบินผู้ช่วยได้จัดการล็อกประตูห้องนักบินและทำการบินต่อเพียงลำพัง เที่ยวบินดังกล่าวมีกำหนดเดินทางมาถึงท่าอากาศยานเลโอนาร์โด ดา วินชี–ฟิอูมิชิโนในกรุงโรม อิตาลี เวลา 04:40 น. แล้วจะเดินทางต่อไปยังท่าอากาศยานมัลเปนซาในนครมิลาน แต่เครื่องบินเที่ยวบินที่ 702 นี้กลับบินไปยังนครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ โดยนักบินผู้ช่วยได้บินวนอยู่หลายรอบในขณะที่ติดต่อกับหอบังคับการบินของท่าอากาศยานนานาชาติเจนีวา ซึ่งนักบินผู้จี้เครื่องบินรายนี้ได้เจรจาถึงเรื่องการขอสถานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองให้กับตนเอง อีกทั้งขอคำมั่นสัญญาจากรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ว่า จะไม่ส่งตัวเขากลับไปดำเนินคดียังเอธิโอเปีย

เวลา 06:02 น. ของเช้าวันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2014 เที่ยวบินที่ 702 ของสายการบิน Ethiopian ได้ลงจอดที่สนามบินนานาชาติเจนีวา โดยมีเชื้อเพลิงเหลืออยู่พอบินได้อีกประมาณ 10 นาที และเครื่องยนต์เครื่องหนึ่งดับ Hailemedhin นักบินผู้ช่วยออกจากเครื่องบินโดยปีนเชือกที่เขาโยนออกไปนอกหน้าต่างห้องนักบิน ก่อนจะเดินไปหาตำรวจเพื่อมอบตัว หลังจากระบุว่า ตนเองเป็นผู้ก่อเหตุ และถูกควบคุมตัว สนามบินนานาชาติเจนีวาถูกสั่งปิดเป็นการชั่วคราวในระหว่างเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งไม่มีผู้โดยสารหรือลูกเรือคนใดได้รับบาดเจ็บ

เครื่องบินที่ถูกจี้ลำดังกล่าวบินเข้าน่านฟ้าของสวิตเซอร์แลนด์โดยไม่มีการสกัดกั้นจากเครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศสวิสเซอร์แลนด์เลย มีเพียงการบินประกบคุ้มกันโดยเครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศฝรั่งเศสและอิตาลีจนกระทั่งลงจอดที่สนามบินนานาชาติเจนีวา ด้วยเพราะในช่วงเวลานั้นกองทัพอากาศสวิสก่อตั้งขึ้นในปี 1914 ถูกลดค่าใช้จ่ายด้านการทหารลดลง จนแทบไม่มีการซื้อเครื่องบินขับไล่แทนเครื่องบินขับไล่แบบเก่าซึ่งกำลังจะหมดสภาพใช้งาน และทำให้นักบินรบหลายคนต้องกลายเป็นกำลังสำรองไป โดยเวลาในการปฏิบัติการของเครื่องบินขับไล่สังกัดกองทัพอากาศสวิสเซอร์แลนด์ในตอนนั้นคือ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 08.00-17.00 น. (โดยมีเวลาพักเที่ยงอีกหนึ่งชั่วโมงครึ่ง) เท่านั้น 

ดังนั้นเครื่องบินขับไล่ฝรั่งเศสและอิตาลีจึงต้องทำหน้าที่บินคุ้มกันเครื่องบินเที่ยวบินที่ 702 ของสายการบิน Ethiopian ที่ถูกจี้ไปลงจอดยังสนามบินเจนีวาอย่างปลอดภัยในเช้าวันจันทร์ เนื่องจากเมื่อเวลา 06.02 น. ยังต้องรออีกเกือบ 2 ชั่วโมงก่อนที่กองทัพอากาศสวิสเซอร์แลนด์จะเริ่มปฏิบัติงาน ซึ่งแหล่งข่าวของทางการสวิสเซอร์แลนด์ระบุว่า “สวิตเซอร์แลนด์ไม่สามารถเข้าแทรกแซงได้ เนื่องจากฐานทัพอากาศของประเทศปิดทำการในตอนกลางคืนและวันหยุดสุดสัปดาห์ อันเนื่องมาจากเรื่องของงบประมาณและเจ้าหน้าที่” ทำให้ช่วงเวลานั้น สวิสเซอร์แลนด์ต้องพึ่งพาศักยภาพด้านการทหารของเพื่อนบ้าน เพื่อให้ความสามารถในการตอบสนองการป้องภัยทางอากาศตลอด 24 ชั่วโมงด้วยเครื่องบินขับไล่สกัดกั้น รัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์จึงมีข้อตกลงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอิตาลีและฝรั่งเศส อนุญาตให้เครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศทั้งสองสามารถบินเข้าสู่พื้นที่น่านฟ้าของสวิตเซอร์แลนด์ได้ทุกเมื่อที่จำเป็นเพื่อจัดการกับภัยคุกคามทางอากาศ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงที่อีกมาก เพราะหากเครื่องบินถูกจี้บินเหนือสวิตเซอร์แลนด์ และถูกสั่งให้โจมตีเป้าหมายที่มีความอ่อนไหวภายในประเทศ เครื่องบินขับไล่จากฝรั่งเศสหรืออิตาลีจะมีโอกาสน้อยมากที่จะบินเข้ามาสกัดกั้นได้ทันเวลา” ในระหว่างการประชุมเวิลด์อีโคโนมิกฟอรัมที่เมืองดาวอส สวิสเซอร์แลนด์เมื่อเดือนมกราคม 2014 รัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ถึงกับต้องร้องขอให้กองทัพอากาศออสเตรียช่วยดูแลน่านฟ้าของตน

สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศเล็ก ๆ ที่รักษาความเป็นกลางมาโดยตลอด ดังนั้น กำลังทางอากาศจึงมีขนาดจำกัด และไม่สามารถรับมือกับความขัดแย้งทางอากาศในระยะยาวได้ ภารกิจหลักของกองทัพอากาศสวิสฯ คือการรับประกันอธิปไตยทางอากาศและการป้องกันทางอากาศทั่วประเทศ ซึ่งทำได้โดย (1) รักษาการเพื่อควบคุมน่านฟ้าทั่วไปป้องกันการบุกรุกน่านฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตผ่านเรดาร์ตลอด 24 ชั่วโมง (โดยมีการขยายขอบเขตโดยการเปิดใช้งานหน่วยป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้นดิน (GBAD)) และ (2) ควบคุมดูแลทางอากาศตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันเพื่อปกป้องน่านฟ้า โดยมีภารกิจรองคือ การดำเนินการขนส่งทางอากาศ การลาดตระเวน และการรวบรวมและวิเคราะห์ข่าวกรองสำหรับผู้นำรัฐบาลและผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพ 

หลังจากเหตุการณ์จี้เครื่องบินเที่ยวบินที่ 702 ของสายการบิน Ethiopian มาลงจอดยังสนามบินนานาชาติเจนีวาแล้ว มีการปรับปรุงขีดความสามารถในการป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพอากาศสวิสเซอร์แลนด์อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2017 เครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศสวิสเซอร์แลนด์สามารถปฏิบัติการบินสกัดกั้น ในเวลา 8.00-18.00 น. ได้ทุกวันตลอดทั้งปี ต่อมาในปี 2019 เพิ่มเวลาปฏิบัติการเป็น 06.00-22.00 น. และตั้งแต่สิ้นปี 2020 เครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศสวิสเซอร์แลนด์มีขีดความสามารถในปฏิบัติการบินสกัดกั้นได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันตลอดทั้งปี และเมื่อเปรียบเทียบกับกองทัพอากาศไทยของเราแล้ว เครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศไทยจากทุกฐานบิน มีขีดความสามารถในปฏิบัติการบินสกัดกั้นตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันตลอดทั้งปีมาอย่างต่อเนื่องยาวนานหลายสิบปีแล้ว ซึ่งเป็นคำตอบที่ชัดเจนที่สุดของคำถามที่ว่า “ทหาร มีไว้ทำไม?”


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top