Wednesday, 23 April 2025
ทรานซิสเตอร์

‘พงษ์ภาณุ’ อดีตรองปลัดคลังฯ วิเคราะห์ ‘จีน’ ผลิตชิปเองทั้งระบบ อ้างเหตุ ด้านความมั่นคง

นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น อดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และอดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง ได้ให้มุมมองต่อเศรษฐกิจของโลก ผ่านรายการ ‘NAVY TIME เรื่องดี ๆ ประเทศไทยยามเช้า’ ออกอากาศช่วงเช้า เวลา 07.00- 08.00 น. ทางสถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือวังนันทอุทยาน (ส.ทร.วังนันทอุทยาน) FM93 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 66 โดยระบุว่า มนุษย์ผลิต ทรานซิสเตอร์ ชิป กันอย่างมากมายมหาศาล และราคาของชิปนั้น ก็ถูกมาก หาซื้อได้ง่าย ชิปนั้นมีความสำคัญกับมนุษย์มาก ทุกเครื่องใช้ไฟฟ้า จะต้องมีชิปเป็นส่วนประกอบ จุดเริ่มต้นของการผลิตชิปนั้น ก็ประมาณหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ประเทศอเมริกา มีผู้ผลิตวงจรทรานซิสเตอร์ได้สำเร็จ เริ่มต้นนั้น ชิป ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของสหรัฐอเมริกา นำไปใช้ในขีปนาวุธเพื่อนำวิถี เริ่มใช้ในสงครามเวียดนาม แต่มาประสบผลสำเร็จอย่างมากก็ในสงครามอ่าวเปอร์เซีย

นอกจากนี้โครงการอพอลโล ที่เดินทางไปดวงจันทร์ ก็ใช้ชิปเหล่านี้ โดยมีการพัฒนาให้ชิปมีขนาดเล็กลงและมีน้ำหนักเบา ซึ่งต้องชื่นชมการประสานงานการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาล บริษัทเอกชน และสถาบันการศึกษาต่างๆในอเมริกา ที่ร่วมกันทำงานอย่างไร้รอยต่อ ซี่งหลังจากนั้นก็มีการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตชิป ให้ขยายออกไปในวงกว้าง เพื่อทำตลาดขายให้กับบุคคลทั่วไป ซึ่งมีฐานการผลิตที่กระจายออกไปยังประเทศตามภูมิภาคต่างๆ เพื่อนำชิปมาผลิตเป็นเคื่องคิดเลข คอมพิวเตอร์ เป็นการกระจาย เอาท์ซอร์ท ซัพพลายเชนท์ ออกไปทั่วโลก รวมทั้งกระจายมายัง ไทย เวียดนาม

แต่ในปัจจุบัน ประเทศมหาอำนาจอย่างจีน กลับเน้นที่จะผลิตชิปเองภายในประเทศ เพราะเหตุผลทางด้านความมั่นคง ซึ่งส่งผลให้เกิดการแข่งขันการผลิตชิป รวมทั้งสงครามทางการค้า ซึ่งก่อให้เกิดการตึงเครียด ไปถึงความมั่นคง

แต่ในขณะเดียวกัน อเมริกา ในฐานะต้นกำเนิดของผู้ผลิตชิปนั้นก็ยังคงเป็นผู้นำทางด้านความไฮเทคในการผลิตชิปต่างๆ ซึ่งก็ยังเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับจีน ในการที่จะทำสงครามเรื่องชิปกับประเทศที่ไฮเทคอย่างอเมริกา

อีกหนึ่งอุปกรณ์ส่งข่าวสารที่ ‘ลุงตู่’ เคยเอ่ยถึง แถมทุกคนสามารถเข้าถึงได้ แม้ไม่ใช่เทคโนโลยีล้ำสมัย แต่มีประโยชน์อย่างยิ่งยามเกิดภัยพิบัติ

เหตุการณ์แผ่นดินไหวในเมียนมา เมื่อวานนี้ (28 มี.ค. 68) เกิดแรงสั่นสะเทือนจนกระทบมาถึงฝั่งไทย ทำให้หลายพื้นที่ได้รับความเสียหาย เช่น บ้านเรือน ตึก อาคาร คอนโด มีรอยแตกร้าว หน้าต่างแตกเสียหาย สร้างความกังวลใจอย่างมาก และหวั่นเกิดเหตุซ้ำอีกระลอก

นอกจากนี้ เหตุการณ์อาคารกำลังก่อสร้างของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ถล่มลงมา ก็สร้างความสะเทือนใจให้แก่ผู้พบเห็นและได้รับฟังข่าวไม่น้อย

คำถามที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเริ่มคลี่คลายคือ เหตุใดจึงไม่มีการแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ หลังจากเกิดแผ่นดินไหวในเมียนมา เพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชนเตรียมตัวอพยพได้ทัน

พอมานึก ๆ ดู นี่ก็ไม่ใช่คำถามที่แปลกใหม่อะไร เพราะเคยมีคนถามคำถามคล้าย ๆ แบบนี้มาแล้ว ในช่วงเกิดภัยพิบัติอื่น ๆ เช่น น้ำท่วม เมื่อปี 65

ย้อนกลับไปตอนที่เกิดน้ำท่วมปี 65 หากใครยังจำกันได้ ตอนนั้นประเด็นเรื่อง ‘ทรานซิสเตอร์’ กลายเป็นสิ่งที่ผู้คนพูดถึงอย่างมาก โดยจุดเริ่มต้นก็มาจาก ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ หรือ ‘ลุงตู่’ นั่นเอง

โดยเรื่องมีอยู่ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในขณะนั้น ได้กล่าวช่วงหนึ่งในการประชุมการบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยและให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบผ่านระบบเทเลคอนเฟอเรนซ์เมื่อ 3 ต.ค. 65

โดยกล่าวถึงการกำหนดพื้นที่เป้าหมายเศรษฐกิจ พื้นที่สุขภาพที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลด้านสาธารณสุข ก็ต้องดูแลให้สามารถเข้าบริการได้ ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการให้บริการไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ ก็ต้องให้ใช้ได้นานที่สุด ถ้าระบบมันล่มไปทั้งหมด การสื่อสารแจ้งข้อมูลจะทำได้ลำบาก อาจจะต้องไปใช้ ‘วิทยุทรานซิสเตอร์’ ในการออกอากาศแจ้งเตือนประชาชนได้อีกทาง ซึ่งเคยใช้กันเมื่อปี 2554 เพราะตอนนั้นไฟฟ้าดับหมด ดังนั้นเราต้องเตรียมแผนตรงนี้ไว้ด้วยในกรณีที่อาจจะเกิดปัญหา

พลันที่มีคำว่า ‘วิทยุทรานซิสเตอร์’ หลุดออกมา ก็มีคนไทยกลุ่มหนึ่งจับตาและกล่าวว่านี่คือ ‘ความล้าหลัง’ และขำขันกันอย่างสนุก 

แต่กลับกันภายใต้ความขบขันนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในปัญหาแบบผู้มีองค์ความรู้รอบด้านของผู้นำกับสถานการณ์ที่เป็นจริงได้อย่างสอดคล้องมากกว่า

แน่นอนว่าในบ้านเราตอนนี้ คนอาจจะติดภาพทรานซิสเตอร์ว่าโบราณ บ้านนอก แต่จริง ๆ แล้ว วิทยุพกพาที่รับสัญญาณจากอากาศที่ไม่ได้ใช้สัญญาณดาวเทียมหรืออินเทอร์เน็ต ซึ่งมีขายในท้องตลาด ก็ล้วนแล้วแต่ใช้เทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ทั้งหมดในการรับสัญญาณ AM/FM

โดยวิทยุทรานซิสเตอร์นั้นใช้ระบบคลื่นสั้น AM ลักษณะเดียวกับที่ใช้ในวิทยุสื่อสารทหาร การรับส่งสัญญาณทำได้มีประสิทธิภาพมากกว่าคลื่น FM ไม่ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหน ลึกเข้าไปในป่าเขาก็รับสัญญาณได้หมด จึงเหมาะแก่การแจ้งเตือนภัยพิบัติ เพราะด้วยความที่สามารถใช้พลังงานถ่านไฟฉาย ซึ่งเป็นกระแสตรง (DC) โวลท์เตจต่ำ ไม่ต้องพะวงเรื่องการช็อตเมื่อเปียกน้ำ และเปลี่ยนถ่านทีหนึ่งก็อยู่ได้เป็นครึ่ง ๆ เดือน จึงเหมาะแก่การมีติดบ้าน ไว้รับข่าวสารยามน้ำท่วมหรือเกิดเหตุภัยพิบัติที่สุด

โชคดีของคนไทย ที่ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวครั้งนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ที่รับมือได้ และคลี่คลายไปอย่างรวดเร็ว แต่ก็ใช่ว่า ผ่านแล้วก็ผ่านไป แต่ควรต้องนำกลับมาทบทวนและหารับมือดียิ่งขึ้น เพื่อรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

และแน่นอนว่าประเด็น ‘ทรานซิสเตอร์’ ที่เกิดขึ้นในสมัยของลุงตู่ ก็ไม่ควรเป็นเพียงแค่ความขบขัน เอามาหัวเราะกันสนุกปาก เพราะนี่คือหนึ่งในช่องทางกระจายข่าว เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมตัวรับมือภัยพิบัติ ในกรณีที่เกิดเหตุร้ายแรง อินเทอร์เน็ตล่ม หรือสัญญาณโทรศัพท์ไม่มีนั่นเอง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top