Tuesday, 22 April 2025
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

‘จรัญ ภักดีธนากุล’ ลั่น ไม่หวั่นคำขู่ หลังถูกขู่ทำร้าย ปมเห็นพ้องกับศาลรธน.

'จรัญ-อดีตตุลาการศาลรธน.' เผยเคยถูกขู่ หลังมีความเห็นไปในทางเดียวกับศาลรธน. ลั่นคนทำงานขนาดนี้ ไม่มีใครกลัวหรอก พร้อมตายทุกเมื่อ เชื่อ คำวินิจฉัยล้มล้างการปกครอง เพราะต้องการจะป้องปราม

12 พ.ย. 64 นายจรัญ ภักดีธนากุล ผู้อำนายการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวตอนหนึ่งระหว่างการบรรยายพิเศษ ให้กับนักศึกษาหลักสูตรการพัฒนาการเมือง และการเลือกตั้งระดับสูงรุ่นที่ 12 ในหัวข้อธรรมาภิบาลกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปด้านการเมือง

ทั้งนี้ในช่วงท้าย ของการบรรยาย มีนักศึกษา ถามถึงความเห็นต่อคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีการล้มล้างการปกครอง นายจรัญ ได้กล่าวว่า คำวินิจฉัยของศาลดังกล่าวเชื่อว่า ต้องการจะออกมาเตือน ป้องปรามว่าการกระทำของกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวไม่มีขอบเขตผิดกฎหมายและมีความผิดระดับร้ายแรงเพราะหากถือตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ถือว่าร้ายแรงมากจึงเหมือนอยากจะให้ถอยกันให้หมด

อดีตศาลรธน. วิเคราะห์วาระ 8 ปีนายกฯ ชี้ชัดบทเฉพาะกาล ม.264 ดึงมาตีความไม่ได้

อดีตศาล รธน. วิเคราะห์วาระ 8 ปี ‘บิ๊กตู่’ ดึง ม.264 มาตีความไม่ได้ เหตุเป็นบทเฉพาะกาล-ข้อยกเว้น ชี้ต้องเริ่มนับจากปี’62 

อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รายหนึ่ง แสดงความคิดเห็นถึงแนวทางในการตีความวาระดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า ตามหลักกฎหมายทั่วไป บทเฉพาะกาลถือเป็นข้อยกเว้นจากหลักเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งในกรณีมาตรา 264 ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2560 ก็เช่นกัน เป็นข้อยกเว้นที่เขียนให้รัฐบาลที่อยู่ก่อนรัฐธรรมนูญบังคับใช้เป็นรัฐบาลโดยชอบตามรัฐธรรมนูญ ก็เพื่อให้ไม่มีรอยแหว่ง ให้มีความต่อเนื่อง เพราะไม่เช่นนั้นจะหาว่ารัฐบาลที่อยู่ก่อนรัฐธรรมนูญประกาศใช้เป็นรัฐบาลเถื่อน แต่งตั้งใครไปก็เป็นโมฆะ ใช้เงินก็เป็นโมฆะ ดังนั้นจึงต้องมีข้อยกเว้นเป็นบทเฉพาะกาลดังกล่าวไว้ เหมือนกับกฎหมายทุกฉบับ

“เมื่อบทเฉพาะกาลถือเป็นข้อยกเว้น ก็มีหลักว่าข้อยกเว้นจะต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งมาตรา 264 ก็ตีความเฉพาะว่ารัฐบาลมีความต่อเนื่องตีความแค่เรื่องนี้ ไม่เกี่ยวกับเรื่องวาระการดำรงตำแหน่ง จะเอาเรื่องนี้ไปใช้ด้วยไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทีหลัง ทั้งนี้รัฐบาลตามรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะใช้เงื่อนไขทุกอย่างตามรัฐธรรมนูญ ทั้งคุณสมบัตินายกฯ คุณสมบัติรัฐมนตรี จะต้องเริ่มตั้งแต่วันที่มีการแต่งตั้งรัฐบาล วันที่ (9 มิ.ย. 2562) ดังนั้นหากจะนับ 8 ปีก็จะต้องนับตั้งแต่ปี 2562 ส่วนใครจะเป็นนายกฯ ก็ให้เป็นให้เบื่อไปเลย แต่กติกาเป็นอย่างนี้”

อย่างไรก็ตาม กรณีการดำรงตำแหน่งนายกฯของ พล.อ.ประ ยุทธ์ จะเอามาเทียบเคียงกับกรณีของนายสิระ เจนจาคะ อดีต ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ไม่ได้ เพราะนายสิระ สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ก็ต้องใช้คุณสมบัติที่เขียนไว้ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ดังนั้นจะไปเปรียบเทียบกันไม่ได้ เพราะเป็นคนละเรื่อง

เปิดประวัติ 'นายอุดม รัฐอมฤต' ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ที่ถูกนักศึกษา มธ.แบน!! ไม่ให้มาเป็นอาจารย์สอนพิเศษ

🔍 เช็กประวัติ 'นายอุดม รัฐอมฤต' ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ที่ถูกนักศึกษา มธ.แบน!! ไม่ให้มาเป็นอาจารย์สอนพิเศษ

'อัษฎางค์' ยก!! ปัญหาด้าน 'ปัญญา' เรื่องใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของเมืองไทย หลัง 'โค้ชการเงินดัง' พลาด!! บอก 'ศาล รธน.' ไม่ได้มาจากประชาชน

เมื่อวานนี้ (8 ส.ค.67) อัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ในหัวข้อ 'ปัญหาใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของเมืองไทยคือ คนไทยจำนวนมากมีปริญญาแต่ไม่มีปัญญา' ระบุว่า...

พอล ภัทรพล โพสต์ข้อความว่า "ที่น่ายุบที่สุด คือองค์กรที่อำนาจมาก แต่ประชาชนไม่ได้เลือก"

อัษฎางค์ ยมนาค จะเอาความรู้สมัยมัธยมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยปี 1 มาทบทวนให้ใหม่อีกครั้ง

'องค์กรที่พอลพูดถึง' ก็คงไม่พ้น 'ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' ที่เพิ่งตัดสินยุบพรรคก้าวไกล

อยากถาม พอล กูรูการเงินคนดังว่า ที่วิจารณ์แบบนั้น รู้หรือไม่ว่า องค์กรที่ว่านั้น ซึ่งหมายถึง 'ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' ประชาชนไม่ได้เลือก แล้วใครเลือก?

สงสัยมาก ๆ ว่า พอล เรียนหนังสือจบมัธยมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยมาได้ยังไง เพราะวิชากฎหมายพื้นฐานต้องเรียนมาแล้วทุกคน

เริ่มต้นพื้นฐานแบบนี้เลยนะ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 200 กำหนดให้ 'ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน ซึ่งทั้ง 9 คนนี้ได้รับการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์'

ถ้าพระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้ง พอลมีปัญหาอะไรหรือเปล่า?

พอล มีปัญหาอะไรกับพระมหากษัตริย์หรือไม่?

หรือพอลเป็นปฏิปักษ์ต่อพระมหากษัตริย์หรือเปล่า?

ที่นี้มาอธิบายแบบรายละเอียดขั้นสูงขึ้นมาอีกนิด เพราะภาษากฎหมายบางที่มัน Complicated

คำว่า 'พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' คือภาษากฎหมาย ที่คนไม่ได้เรียนจบมหาวิทยาลัย หรือบางคนแม้จะจบมหาวิทยาลัย แต่ไม่ได้เรียนนิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์อาจไม่เข้าใจว่า...

*คำว่า 'พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' แต่ความจริงผู้แต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัวจริง 'ไม่ใช่พระมหากษัตริย์'

การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติก็จริง แต่ไม่ทรงมีอำนาจทางการเมืองหรืออำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน อำนาจแท้จริงที่ทรงมีเรียกว่า 'อำนาจทางพิธีการ' เท่านั้น

**ผู้ที่มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัวจริงคือ 'วุฒิสภา'

***โดยผู้ได้รับการคัดเลือกหรือสรรหาให้ดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องได้รับความเห็นชอบจาก 'วุฒิสภา' ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

เมื่อได้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนแล้ว จึงทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย

พระปรมาภิไธย หมายถึง พระนามของพระมหากษัตริย์ราชเจ้า ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ หลังจากที่ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว

ที่นี้เข้าใจคำว่า 'อำนาจทางพิธีการ' ของพระมหากษัตริย์หรือยัง?

การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ว่าจะเป็นประเทศใดในโลก และไม่ว่าจะเรียกชื่อต่างกันอย่างไร ก็มีหลักการเดียวกันทั้งโลก

>> นั่นคือ ผู้เลือกคณะรัฐมนตรี คือ รัฐสภา (วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนฯ)

>> ผู้เลือกศาลหรือตุลาการ คือ รัฐสภา (วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนฯ)

>> ส่วนผู้ที่เลือกผู้แทนราษฎร (สส.) วุฒิสมาชิก (สว.) ซึ่งเป็นสมาชิกของรัฐสภา คือ ประชาชน

ดังนั้นอธิบายวิชากฎหมายเบื้องต้น ซึ่งมีสอนในชั้นมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัยตั้งแต่ชั้นที่ 1 ซ้ำให้พอลได้ทบทวนแล้ว (ไม่รู้ว่าตอนเรียนสอบผ่านหรือเรียนหนังสือจบมาได้ยังไง)

พอล ได้คำตอบแล้วหรือยังว่า 'องค์กร' ที่อำนาจมาก (ซึ่งพอลหมายถึง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ) แต่ 'ประชาชนไม่ได้เลือก' ตามที่พอลบ่นออกมา

ความจริงแล้ว!! ใครเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ?

คำตอบคือ 'วุฒิสมาชิก' เลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยที่ วุฒิสมาชิก (ตามวิธีการสรรหาในปัจจุบัน) ประชาชนเป็นคนเลือกเข้าสภาอีกที

ดังนั้น คำตอบสุดท้ายของสมการนี้คือ 'ประชาชน' ก็เป็นผู้เลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นั่นเอง 

การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ส่วนใหญ่ในโลก ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยโดยตรง แต่เป็นระบบตัวแทน

ระบบตัวแทนก็คือ ประชาชน เลือกผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิก เข้าไปทำงานการเมืองและบริหารราชการแผ่นดินแทนประชาชน

แล้ว…ผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิก ซึ่งทำหน้าที่ในรัฐสภา ก็เป็นผู้เลือกคณะรัฐมนตรีและศาล แทนประชาชน

ดังนั้น คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภาและตุลาการในศาล ซึ่งเป็น 3 องค์กรที่อำนาจมากที่สุด (เนื่องจากเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของปวงชนชาวไทยทุกคน) โดยใช้อำนาจดังกล่าวนั้นแทนประชาชนทุกคน

- เข้าใจหรือยังว่า
- ประชาชนเลือกผู้แทนฯ 
- ผู้แทนฯ เลือกรัฐมนตรีและศาล
- เลือกได้แล้วจึงทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย

*พระมหากษัตริย์มีอำนาจและหน้าที่ เพียงแค่ลงชื่อหรือเซ็นชื่อรับรองเท่านั้น 

**พระมหากษัตริย์ ไม่มีอำนาจเลือกใครมาทำงานการเมืองหรือบริหารราชการแผ่นดินเลย

***ผู้มีอำนาจเลือกใครมาทำงานการเมืองหรือบริหารราชการแผ่นดินคือ ประชาชนอย่างเรา ๆ ทุกคน

สิ่งที่พอล ภัทรพล โพสต์ไว้ว่า "ที่น่ายุบที่สุด คือองค์กรที่อำนาจมาก แต่ประชาชนไม่ได้เลือก"

เป็นคำพูดหรือประโยคของคนที่เหมือนไม่ได้รับการศึกษา หรือเหมือนจบการศึกษามาโดยไม่มีความรู้ใด ๆ ติดตัวมา นอกจากกระดาษหนึ่งใบที่เรียกว่า 'ใบปริญญา' แต่เหมือนว่าอยากจะแสดงความเห็นอย่างคนที่มีการศึกษา 

พอลคิดว่า เราเลือกผู้แทนฯ ให้ไปนั่งพูดในสภาเท่านั้นหรือ? 

ผู้แทนฯ ของเราคือ ผู้มีอำนาจล้นฟ้าเลยนะ เพราะเขาใช้อำนาจอธิปไตยแทนเรา เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน 

"คำว่าบริหารราชการแผ่นดิน ก็รวมถึงการเลือกคนมาทำงานบริหารราชการแผ่นดิน เช่น คณะรัฐมนตรีและศาลด้วยนั่นเอง"

คิดก่อนพูด มีความรู้จริงค่อยแสดงความคิดเห็น

เพราะคำพูดหรือความเห็นใด ๆ ของใคร บ่งบอกภพภูมิของคน ๆ นั้น

คนเป็นกูรูทางการเงิน แต่ไม่รู้เรื่องการเมืองและกฎหมายพื้นฐานเลยไม่ได้นะ เพราะการเงินมีปัจจัยสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับการเมืองและกฎหมาย

พูดแต่เรื่องที่รู้หรือเชี่ยวชาญนะดีแล้ว
แต่อย่าไปพูดเรื่องที่ไม่รู้
เพราะ…ไม่พูด คนก็ไม่รู้ว่า เราโง่ หรือไม่รู้!

กรุณาแสดงความเห็นด้วยข้อเท็จจริงและด้วยความสุภาพ

เปิดรายชื่อ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 5 ต่อ 4 วินิจฉัย 'เศรษฐา' พ้นนายกฯ

(14 ส.ค. 67) จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญ มีมติโดยเสียงข้างมาก (5 ต่อ 4) วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน ผู้ถูกร้องที่ 1 นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) เนื่องจากไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง อันมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (5)เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) แล้ว รัฐมนตรีต้องพ้นตำแหน่งทั้งคณะ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 167 วรรคหนึ่ง (1) โดยให้นำมาตรา 168 วรรคหนึ่ง (1) มาใช้บังคับกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต่อไป ตามข่าวที่เสนอไปแล้วนั้น

สำหรับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก จำนวน 5 คน เห็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา นายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบ มาตรา 160 (4) และ (5) ประกอบด้วย...

1.นายปัญญา อุดชาชน
2.นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม
3.นายวิรุฬห์ แสงเทียน
4.นายจิรนิติ หะวานนท์
5.นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์

ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จำนวน 4 คน เห็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ 1 นายกรัฐมนตรี ไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรม นูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) ประกอบด้วย...

1.นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
2.นายนภดล เทพพิทักษ์
3.นายอุดม รัฐอมฤต
4.นายสุเมธ รอยกุลเจริญ

'มติ สว.' ตีตกญัตติสอบจริยธรรมตุลาการของ 'สว.พันธุ์ใหม่' ชี้!! ไม่เร่งด่วน หากเทียบกับการเสนอญัตติเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม

วันนี้ (2 ก.ย. 67) ได้มีการประชุมวุฒิสภา โดยมี พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม โดยก่อนที่จะเข้าสู่ระเบียบวาระ น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สว.เสนอญัตติด่วนเพื่อตรวจสอบจริยธรรมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่า ตุลาการฯ ที่วินิจฉัยคึดียุบพรรคก้าวไกล มีการวิจารณ์ที่ไม่เหมาะสมและส่อขัดต่อประมวลจริยธรรมที่ใช้บังคับ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเสนอญัตติดังกล่าว พบว่า มี สว.ที่เห็นต่างและประท้วง เนื่องจากมองว่าไม่ใช่เรื่องด่วนหากเทียบกับการเสนอญัตติเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม อีกทั้งยังมองว่า ไม่มีความจำเป็น เพราะการตั้งญัตติดังกล่าวเป็นการกระทบกับบุคคลภายนอกรัฐสภา นอกจากนั้นแล้ว ขอให้วุฒิสภาพิจารณาร่างแก้ไขข้อบังคับวุฒิสภาให้เสร็จเพื่อตั้งกรรมาธิการ จากนั้นจึงควรเสนอเรื่องดังกล่าวให้ กมธ.พิจารณา

อย่างไรก็ดี สว.ในกลุ่มที่สนับสนุนญัตติด่วนของ น.ส.นันทนา ลุกโต้แย้งและมองว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่าสภาผู้แทนราษฎรได้วินิจฉัยในญัตติที่มีเนื้อหาทำนองเดียวกันและถือเป็นญัตติด่วน ดังนั้นวุฒิสภาจึงสามารถพิจารณาเรื่องดังกล่าวได้

ทั้งนี้ พล.อ.เกรียงไกร ได้วินิจฉัยให้ น.ส.นันทนา เสนอญัตติด่วนได้ แต่ต้องใช้มติของวุฒิสภาตัดสินว่าจะพิจารณาญัตติด่วนดังกล่าวหรือไม่ โดยผลการลงคะแนนพบว่าเสียงข้างมาก 118 เสียง ไม่เห็นด้วยกับญัตติดังกล่าว ต่อ 37 เสียง และงดออกเสียง 12 เสียง

‘ใบตองแห้ง’ โพสต์เล่าเรื่อง ‘ไอ้หนุ่มผมยาว’ หลัง ‘ดร.ไชยันต์’ ลงสมัคร!! ศาลรัฐธรรมนูญ

(7 เม.ย. 68) นายอธึกกิต แสวงสุข หรือ ‘ใบตองแห้ง’ คอลัมนิสต์การเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Atukkit Sawangsuk แสดงความคิดเห็นภายหลัง ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัดสินใจลงสมัครตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีใจความว่า …

ตำนานไอ้หนุ่มผมยาว

จบจากอังกฤษมาเป็นอาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬา
อ.ไชยวัฒน์ ค้ำชู คณบดีสมัยนั้นเห็นความสามารถตั้งให้เป็นรองคณบดี แล้วก็มีวาระประชุมผู้บริหารมหาลัย
อ.ไชยวัฒน์ให้เข้าประชุมแทน
โห พวกอนุรักษนิยมสีชมพูด่าพรึม
รับไม่ได้ เสียสถาบัน ผมยาวเฟื้อยมานั่งอยู่กลางคณาจารย์ผู้เคร่งขรึม เป็นรองคณบดีได้ไง
แหม่ ไม่รู้เสียแล้ว อย่าดูคนแค่ภายนอก
คนเราเปลี่ยนกันได้

อย่างไรก็ตาม ต่อมา ศ.ดร.ไชยันต์ เข้ามาแสดงความคิดเห็นในโพสต์ดังกล่าว ระบุว่า...

กลับมาสอน สมัยอาจารย์สุจิตเป็นคณบดีครับ ตอนนั้นอาจารย์ผู้ใหญ่บางคนมาติเรื่องผมยาว
เมื่อเวลาผ่านไป หลังจากอาจารย์สุจิตหมดวาระ มีการแข่งขันชิงตำแหน่งคณบดี
ผมกับอาจารย์พิชญ์ไปขอให้อาจารย์ไชยวัฒน์ลงแข่ง พอท่านได้ ผมก็ต้องไปช่วยท่าน โดยเป็นรองคณบดีครับ
ตอนนั้น ไม่มีใครติเรื่องผมยาวแล้ว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top