Monday, 19 May 2025
ติวเข้ม

ผู้ช่วย ผบ.ตร. ติวเข้มงานการมีส่วนร่วมของประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพตามโครงการ RTP Cyber Village เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในทุกพื้นที่

ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จ.นครปฐม พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย ผบ.ตร. ได้รับมอบหมายจาก พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. รับผิดชอบงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ให้เดินทางมาเป็นประธานพิธีเปิดการสัมมนาทางวิชาการตามโครงการ RTP Cyber Village โดยมีผู้เข้าร่วมรับการสัมมนา เป็นผู้แทนจาก บช.น. และ ภ.1-9 ผู้แทนจากสถานีตำรวจที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกหมู่บ้านหรือชุมชน ที่ใช้เป็นต้นแบบ (Best Practice) จำนวน 10 แห่ง รวมถึงตัวแทนภาคประชาชนเข้าร่วมการสัมมนา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ แสดงความคิดเห็น แบ่งปันประสบการณ์ เพื่อให้ได้รูปแบบการดำเนินงานตามโครงการที่ดีที่สุด (Best Model) นำมาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินการตามโครงการ RTP Cyber Village ต่อไป 

ในโอกาสนี้ พล.ต.ท.ประจวบฯ ได้บรรยายในหัวข้อการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ ให้แก่ผู้เข้าร่วมการสัมมนา โดยกล่าวถึงนโยบายขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน (Stronger Together) ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่มุ่งการบูรณาการความร่วมมือของส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนทุกภาคส่วน รวมพลังกันเพื่อทำนุบำรุงสถาบันหลักของชาติ ตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในทุกมิติ ประกอบกับตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านความมั่นคง ที่ได้กำหนดและให้ความสำคัญในการแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นและองค์กร เพื่อป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและรักษาความสงบเรียบร้อย 

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้นำนโยบายรัฐบาลมาสู่การปฏิบัติ โดยได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมอย่างยั่งยืน และดำเนินโครงการ “สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมระดับตำบล เพื่อสนับสนุนการป้องกันอาชญากรรม ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามนโยบายขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน (Stronger Together)” โดยมีเป้าหมาย “เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอและแก้ไขปัญหา ชุมชน สังคมมีความสงบเรียบร้อย ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้ ส่งเสริมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เพื่อความผาสุกของประชาชนอย่างยั่งยืน” โดยมอบหมายให้ พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข และ พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้ช่วย ผบ.ตร. ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการ

ผบ.ตร.ติวเข้ม กอ.ร่วมเอเปค เริ่มมีผู้นำเดินทางมา ภาพรวมยังเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สั่งขยายการลงทะเบียนเข้าพื้นที่ถึง 19 พ.ย. 65 ย้ำต้องดูแลสวัสดิการเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเต็มที่ 

วันนี้ (15 พ.ย.65) เวลา 09.00 น. พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง ในฐานะโฆษกกองอำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัยและการจราจร การประชุมเอเปค 2565 เปิดเผยถึงผลการประชุมมาตรการดูแลความปลอดภัย การบริหารจัดการจราจร และสถานการณ์การข่าวว่า “พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ในฐานะ รอง ผอ.กอ.ร่วมฯ พร้อมด้วย พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ตัวแทนกองบัญชากองทัพไทย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่า 30 หน่วยงาน เข้าร่วมประชุม เพื่อบูรณาการทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการประชุมเอเปค 2565 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย 

โดยในวันนี้ จะมีเริ่มจะมีการเดินทางเข้ามาของคณะผู้นำเขตเศรษฐกิจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในบางประเทศ สภาพการจราจรพบว่าในวันที่ 14 พ.ย. 65 ปริมาณรถจำนวนมาก เนื่องจากยังเป็นวันปกติที่ส่วนราชการและโรงเรียนยังเปิดปกติ แต่ยังเคลื่อนตัวได้ดี โดยทางตำรวจนครบาล ได้จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเพิ่มความเข้มในการดูแลอำนวยความสะดวกให้พี่น้องประชาชน เพื่อให้มีผลกระทบต่อประชาชนในการเดินทางสัญจรให้น้อยที่สุด ผบ.ตร.ได้สั่งการให้ ขยายเวลาการลงทะเบียนของผู้พักอาศัย ที่มีความจำเป็นต้องใช้ถนนบริเวณที่งดการใช้การจราจรกว่า 45,000 รายในพื้นที่ สน.ลุมพินี และ สน.ทองหล่อ โดยได้เปิดให้ลงทะเบียนอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 ส่วนกรณีเจ้าหน้าที่ขนส่งพัสดุ ไปรษณีย์ อาหารหรือเอกสารต่างๆ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจบริเวณจุดตรวจและแสดงเอกสารหลักฐานเพื่อขอเข้าพื้นที่ได้เป็นราย ๆไป 

ก.แรงงาน ติวเข้มเพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ มุ่งไทยสู่เทียร์ 1

วันที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น.นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงานและโฆษกกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ รุ่นที่ 4 ณ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร และอบรมทางไกลผ่านระบบ Zoom Meeting โดยมี นายพงศ์ธร ศุภการ ผู้แทนสำนักงานเลขานุการศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์โครงการ

นายวรรณรัตน์ กล่าวว่า ตามที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2566 (TIP Report 2023) เมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยประเทศไทยได้รับการจัดระดับให้อยู่ใน Tier 2 ติดต่อเป็นปีที่ 2 ซึ่งรายงานดังกล่าวยังคงมีข้อเสนอแนะให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้สามารถนำแนวปฏิบัติตามมาตรา 6/1 ของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไปใช้ในการคัดแยกผู้เสียหายอย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดให้ทีมสหวิชาชีพประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกอบรมและมีประสบการณ์เพียงพอในการปฏิบัติงานด้านการค้ามนุษย์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการคัดแยกผู้เสียหาย และเสริมสร้างความตระหนักรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจข้อบ่งชี้ของการค้ามนุษย์ เช่น การบังคับทำงานใช้หนี้ การทำงานเกินเวลามากเกินจำเป็น การยึดเอกสารของลูกจ้างและการทำงานโดยไม่จ่ายผลตอบแทน

นายวรรณรัตน์ กล่าวต่อว่า กระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานสำคัญและเป็นหน่วยงานหลักในการต่อต้านการค้ามนุษย์ ภายใต้ยุทธศาสตร์ 20 ปี ด้านความมั่นคง โดยรับผิดชอบเป็นเจ้าภาพหลักในการป้องกันการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ในการยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองดูแลและป้องกันไม่ให้แรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และท่านสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคนำมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) ในการคัดกรองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและการบังคับใช้แรงงาน และการนำแผนปฏิบัติการว่าด้วยกลไกการส่งต่อระดับชาติฯ (NRM) นำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบังคับใช้แรงงานหรือบริการและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยกผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ซึ่งเป็นการยกระดับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทยให้เทียบเท่ากับมาตรฐานขั้นต่ำในกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ค.ศ. 2000 (TVPA) ของประเทศสหรัฐอเมริกา

“กระทรวงแรงงาน พร้อมผนึกกำลังกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นผู้เข้าร่วมการอบรมจากหน่วยงานทีมสหวิชาชีพจากส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กรมการปกครอง และเจ้าหน้าที่สำนักงานแรงงานจังหวัด สำนักงานจัดหางานจังหวัด และสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 

ทั้ง 19 จังหวัด ในการขับเคลื่อนการต่อต้านการค้ามนุษย์ ขจัดการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์
ในประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำของสหรัฐฯ และได้รับการจัดอันดับในรายงานการค้ามนุษย์ให้อยู่ในระดับ Tier 1 ต่อไป”นายวรรณรัตน์ กล่าวท้ายสุด


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top