Saturday, 4 May 2024
ดีอีเอส

'ดีอีเอส' วอน ประชาชนชัวร์ก่อนแชร์ 'ข่าวปลอม' หลังข่าวปลอม นโยบายรัฐพุ่ง สวนกระแสข่าวปลอมโควิด

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สรุปสถานการณ์ข่าวปลอมสัปดาห์ล่าสุด พบข่าวปลอมนโยบายรัฐบาล เกินครึ่ง จำนวน 55 เรื่อง ขณะที่ข่าวปลอมเรื่องภัยพิบัติมีเพียง 9 เรื่อง

นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 14- 20 ตุลาคม 2565 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบข้อความที่เข้ามาจำนวน 10,638,847 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 256 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 109 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นเรื่องโควิด-19 จำนวน 2 เรื่อง

ทั้งนี้ ดีอีเอสได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ เป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย...

กลุ่มที่ 1 ข่าวปลอมเรื่องนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศจำนวน 55 เรื่อง อาทิ ทำใบขับขี่แบบเร่งด่วนจากขนส่ง กทม. ผ่านช่องทางออนไลน์ และ กรมการจัดหางาน รับสมัครพนักงานออนไลน์ ตำแหน่งแจกจ่ายสินค้าทั่วประเทศ เป็นต้น

กลุ่มที่ 2 ข่าวปลอมเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย จำนวน 34 เรื่อง อาทิ ผลิตภัณฑ์กัญชา จากกระทรวงสาธารณสุข และ เลือดเป็นกรด ทำให้ร่ายกายเซื่องซึม​ เหนื่อยง่าย ปวดหัว และอาจเป็นลมได้ เป็นต้น

กลุ่มที่ 3 ข่าวปลอมเรื่องเศรษฐกิจ จำนวน 11 เรื่อง อาทิ เกาหลี เปิดรับแรงงาน 5 อาชีพ ไม่ใช้วุฒิการศึกษา เงินเดือนสูงสุด 70,000 บาท และ ธกส.แจ้งเริ่มจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนา 16 ต.ค 65 รับทั้งหมด 4.68 ล้านคน เป็นต้น

และกลุ่มที่ 4 ข่าวปลอมเรื่องภัยพิบัติ จำนวน 9 เรื่อง อาทิ บริเวณทะเลจีนใต้ จะมีพายุก่อตัวหลายลูก ในช่วงปลายเดือนตุลาคม และเส้นทางพายุที่คาดว่าจะใช้ชื่อ ไห่ถาง จะเข้าภาคอีสาน ทางจ.มุกดาหาร และจ.อำนาจเจริญ ในอีก 10 วัน เป็นต้น

ทั้งนี้ข่าวปลอมทั้ง 4 กลุ่มมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องโควิด-19 จำนวน 2 เรื่อง

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจลำดับต้นๆ ในสัปดาห์ล่าสุดนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็นข่าวปลอมด้านเศรษฐกิจ

สำหรับข่าวปลอมที่มีคนสนใจสูงสุด 10 อันดับระหว่างวันที่ 14 - 20 ตุลาคม 2565 มีดังนี้...

อันดับที่ 1 เรื่อง เสพกัญชาทำให้เชื้อโควิด 19 ฝังตัวไม่ได้

อันดับที่ 2 เรื่อง เคี้ยวเม็ดมะละกอสุกแล้วกลืนโดยไม่ต้องกินน้ำตาม วันละ 3 เม็ด รักษามะเร็งระยะสุดท้าย เห็นผลใน 1 เดือน

อันดับ 3 เรื่อง เพจธนาคารออมสินจำกัดเชื่อมต่อกับธนาคารออมสินโดยตรง

อันดับที่ 4 เรื่อง เพจบน Facebook และ Line เชิญชวนลงทุนหุ้นยักษ์ใหญ่ระดับโลกเพียง 1,000 สำหรับมือใหม่ รับปันผล 20,XXX / เดือน ใช้โลโก้และจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายทำตามหลักของสำนักงาน ก.ล.ต.

อันดับที่ 5 เรื่อง ทำใบขับขี่แบบเร่งด่วนจากขนส่ง กทม. ผ่านช่องทางออนไลน์

อันดับที่ 6 เรื่อง ออมสินส่ง SMS ให้ประชาชนได้รับสิทธิ์ยื่นขอสินเชื่อ GSB จำนวน 65,000 บาท ผ่านลิงก์

อันดับที่ 7 เรื่อง ดื่มน้ำเปล่า 1-2 แก้ว เป็นตัวช่วยลดการเกิดอาการหัวใจล้มเหลว

อันดับที่ 8 เรื่อง เกาหลีเปิดรับแรงงาน 5 อาชีพ ไม่ใช้วุฒิการศึกษา เงินเดือนสูงสุด 70,000 บาท

อันดับที่ 9 เรื่อง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดลงทุนหุ้นด้วยพอร์ต 1,000 บาท รับปันผล 5,000 บาท

อันดับที่ 10 เรื่อง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดลงทุนเพื่อหาค่าข้าว วันละ 1,000 บาท ด้วยบิทคอยน์

‘ดีอีเอส’ ผนึก ‘กสทช.-35 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต’ ระงับแพร่ข้อมูลผิดกฎหมาย ภายใน 24 ชม.

ดีอีเอส ร่วมกับ กสทช. และ 35 หน่วยงานผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หาแนวทางแจ้งเตือน ระงับการเผยแพร่ข้อมูลผิดกฎหมาย ภายใน 24 ชม.

(3 พ.ย. 65) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเชิญผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 35 ราย รับทราบ และชี้แจงประกาศกระทรวงดิจิทัลฯ เรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2565 เพื่อระงับเนื้อหาข้อมูลเท็จ ความมั่นคง ลามกอนาจาร หลังรับแจ้งการกระทำผิด

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ (26 ต.ค. 2565) ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2565 ซึ่งมีรายละเอียดที่สำคัญโดยสรุป ดังนี้...

1. ปรับปรุงประกาศฉบับเดิม เมื่อปี 2560 ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน เพื่อคุ้มครองประชาชนมากยิ่งขึ้น และสร้างหลักประกันแก่ผู้ให้บริการ/สื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย หากได้ปฏิบัติตามข้อร้องเรียนของประชาชนทั่วไป หรือผู้ใช้บริการ หรือตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศอย่างถูกต้องครบถ้วน จะเข้าข้อยกเว้นความรับผิด (Safe Harbor) ของผู้ให้บริการ/สื่อสังคมออนไลน์ตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ 

2. ขั้นตอนการปฏิบัติของผู้ให้บริการ/สื่อสังคมออนไลน์ คือ ต้องมีช่องทางเพื่อรับแจ้งเนื้อหาที่เป็นความผิด ทั้งข้อมูลเท็จ บิดเบือน ปลอมแปลง กระทบต่อความมั่นคง หรือลามกอนาจาร จากประชาชนทั่วไป หรือผู้ใช้บริการ โดยจัดทำแบบฟอร์มข้อเรื่องร้องเรียน (Complaint Form) และเมื่อได้รับแจ้งแล้ว ให้ระงับหรือนำเนื้อหาที่ผิดกฎหมายออกจากระบบ หรือเมื่อได้รับคำสั่งให้ระงับหรือนำข้อมูลออกจากระบบจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระงับหรือนำข้อมูลฯ ออกจากระบบของตน ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามลักษณะเนื้อหาของข้อมูล ดังนี้…

- เนื้อหาที่เป็นเท็จ บิดเบือน ปลอม ตามมาตรา 14 (1) ให้ระงับ หรือนำข้อมูลออก ทันที ไม่เกิน 7 วัน 
- เนื้อหาที่กระทบต่อความมั่นคง ตามมาตรา 14 (2) และ (3) ให้ระงับ นำข้อมูลออกทันที แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
- เนื้อหาที่มีลักษณะลามก ตามมาตรา 14 (4) ให้ระงับ นำข้อมูลออกทันที แต่ไม่เกิน 3 วัน สำหรับกรณีภาพลามกอนาจารเด็ก ต้องระงับหรือนำข้อมูลออก ทันที แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง

3. สำหรับประชาชนทั่วไป หรือผู้ใช้บริการต้องมีการร้องทุกข์กล่าวโทษ หรือต้องมีการลงบันทึกประจำวันไว้กับตำรวจก่อนดำเนินการแจ้งไปยังผู้ให้บริการ/สื่อสังคมออนไลน์

ทั้งนี้ ประกาศนี้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (วันที่ 25 ธันวาคม 2565) เพื่อให้ผู้ให้บริการ/สื่อสังคมออนไลน์ เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตาม

“ประกาศฉบับนี้ ออกมาเพื่อเร่งระงับข้อมูลผิด กฎหมาย อย่างไรก็ตาม ขอเตือนว่า อย่าใช้ช่องทางนี้ ในการกลั่นแกล้งผู้อื่น หากดำเนินการ โดยเจตนาไม่สุจริต หรือเป็นเท็จ ผู้แจ้งอาจต้องรับผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญาได้” นายชัยวุฒิ กล่าว

นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันการกระทำความผิดเนื่องจากการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ การฉ้อโกงผ่านระบบออนไลน์ รวมถึงการสร้างความเข้าใจผิดให้กับประชาชนผ่านระบบคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ประชาชนได้รับผลกระทบ ช่วยลดภาระของประชาชนหรือผู้เสียหาย และตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพ ดีอีเอส ได้ร่วมกับ 36 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย... 

'ชัยวุฒิ' โอด!! เว็บสรรพากรปลอมระบาด ปิดกี่ครั้งก็เจอใหม่ จี้!! ธนาคารเร่งทำระบบกันมัลแวร์ เจาะโมบายแบงก์กิ้ง

'ชัยวุฒิ' เร่งประสาน ตร. สั่งปิดเว็บสรรพากรปลอมระบาด โอด ปิดหลายรอบก็ยังเปิดใหม่ จี้ ธนาคารเร่งทำระบบป้องกันมัลแวร์ เจาะโมบายแบงก์กิ้ง

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส กล่าวถึงกรณี ประชาชน และพ่อค้าแม่ค้าหลายรายโดนแก๊งคอลเซนเตอร์ หลอกให้กดลิงค์เว็บไซต์ กรมสรรพากรจนถูกดูดข้อมูลและถูกเงินเงินออกจากบัญชี ว่า เรื่องนี้ กระทรวงดีอีเอส ไม่ได้นิ่งนอนใจ ที่ผ่านมาได้สั่งปิดเว็บไซต์กรมสรรพกรปลอมมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็พบว่ากลุ่มมิจฉาชีพ มีการเปิด URL ใหม่ขึ้น มาและใช้รูปแบบในการหลอกลวงที่ต่างออกไป ซึ่งกรณีล่าสุดที่เป็นข่าว ได้สั่งการให้กระทรวงดีอีเอส ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขออำนาจศาลสั่งปิดเว็บไซต์ ดังกล่าวแล้ว อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ รวมถึงจะต้องดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็ว

'ดีอีเอส' เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ 'ข่าวปลอม' หลังข่าวปลอมกรมสรรพากรเรียกชำระหนี้ พุ่งอันดับ 1

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) สรุปสถานการณ์ข่าวปลอมสัปดาห์ล่าสุด พบว่าข่าวปลอมกรมสรรพากรโทรศัพท์เรียกจ่ายหนี้ภาษีอากรค้างชำระมาอันดับหนึ่ง ขณะที่กระแสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนระบาดและทำให้การติดโควิด-19 ง่ายขึ้น ส่งผลมีข่าวปลอม 7 เรื่อง

น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (DES) กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 2-8 ธันวาคม 2565 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบข้อความที่เข้ามาจำนวน 5,131,164 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 222 ข้อความ แบ่งเป็นข้อความที่มาจาก Social listening จำนวน 184 ข้อความ และข้อความที่มาจาก Line Official จำนวน 38 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 103 เรื่อง

ทั้งนี้ DES ได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ เป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1 ข่าวปลอมเรื่องนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศจำนวน 49 เรื่อง

กลุ่มที่ 2 ข่าวปลอมเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย จำนวน 39 เรื่อง

กลุ่มที่ 3  ข่าวปลอมเศรษฐกิจ จำนวน 11 เรื่อง

กลุ่มที่ 4 ข่าวปลอมเรื่องภัยพิบัติ จำนวน 4 เรื่อง

สำหรับข่าวปลอมทั้ง 4 กลุ่มมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องโควิค-19 จำนวน 7 เรื่อง

'ดีอีเอส' ประสาน 'Play Store-App Store' จัดการแอปอันตราย แนะ ปชช. ไม่โหลดแอปแปลกปลอม ป้องกันมิจฉาชีพดูดเงิน

ดีอีเอส เปิดรายชื่อแอปอันตรายมีมากกว่า 200 แอปเตือน ประชาชน อย่าหลงเชื่อ อย่าโหลด อาจสูญเงินและข้อมูลส่วนตัวได้

เมื่อไม่นานมานี้ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ร่วมกับ สกมช. แจงกรณีแอปดูดเงินอันตราย หลังพบประชาชนได้รับผลกระทบจากการติดตั้งแอปพลิเคชันอันตรายลงในโทรศัพท์มือถือ แล้วทำให้กลุ่มมิจฉาชีพเข้ามาดูดเงินออกไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง

นายชัยวุฒิ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการแพร่ระบาดของมัลแวร์อันตราย ที่มาในรูปแบบของแอปพลิเคชัน ซึ่งดีอีเอส และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้มีการตรวจสอบมาโดยตลอด โดยพบปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยเฉพาะผู้ใช้งานโทรศัพท์ที่ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ถูกระบุว่าสามารถขโมยข้อมูล หรือควบคุมเครื่องโทรศัพท์ได้ โดยในปี 2022 มีการเผยแพร่รายชื่อแอปพลิเคชันอันตรายเหล่านี้ ซึ่งมีมากกว่า 200 รายการ ทั้งในระบบ iOS และ Android ตามที่ปรากฎใน Facebook ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ Facebook ของ สกมช. (NCSA THAILAND) จึงขอให้ผู้ใช้งานทำการตรวจสอบ หากพบแอปพลิเคชันดังกล่าวให้ถอนการติดตั้งโดยทันที และควรอัปเดตระบบของเครื่องโทรศัพท์ของตนเองให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ

‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ ใช้ QR Code หลอกดูดเงินผ่านไลน์ ‘ดีอีเอส’ เตือน ปชช. ระวังภัยออนไลน์ - รู้เท่าทันกลโกง

แก๊งคอลเซ็นเตอร์มามุกใหม่ ใช้ QR Code หลอกดูดเงินร้านอาหารผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ทำทีสั่งอาหาร และให้ร้านแสกนเพื่อรับเป็นเพื่อน แท้จริงคือ Scams วอนประชาชนตระหนัก รู้เท่าทันกลโกง และระวังก่อนสแกน

(18 มี.ค. 66) นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวที่ได้รับความสนใจจากประชาชนในเรื่องการฉ้อโกงออนไลน์รูปแบบใหม่ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยการใช้ QR Code หลอกดูดเงิน วิธีการคือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ติดต่อร้านอาหารผ่านแอปพลิเคชันไลน์ หลอกสั่งข้าวกล่องจำนวน 100 กล่อง เพื่อนำไปจัดเลี้ยงประชุม และโอนมัดจำมาก่อน 2,000 บาท วันต่อมา คนร้ายได้โทรศัพท์บอกให้ร้านอาหารสั่งชุดอาหารพิเศษเพิ่ม 7 ชุด และส่ง QR Code มาให้ร้านแอด และบอกว่าจ่ายเงินเพิ่มให้ภายหลัง โดยอ้างว่าเป็น QR Code แอดไลน์เท่านั้น แต่เมื่อแสกน QR Code พบว่า หน้าจอเหมือนถูกไวรัส เจ้าของโทรศัพท์จึงรีบเข้าแอปฯ ธนาคาร เพื่อโอนเงินส่วนใหญ่ออกไปบัญชีอื่นก่อน และโทรศัพท์ก็เริ่มค้าง ระบบรวนจึงรีบปิดเครื่อง

จากกรณีที่เกิดขึ้น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีความห่วงใยความปลอดภัยของประชาชน จึงขอแจ้งเตือนว่า ในการใช้จ่ายสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ร้านอาหารหลายแห่งเริ่มใช้ QR Code ในการชำระเงินแบบไร้เงินสด แต่เหรียญมีสองด้าน การใช้งานที่ค่อนข้างสะดวกของ QR Code ก็ต้องระวังและมีสติในการใช้งานด้วยเช่นกัน เพราะคนร้ายหรือมิจฉาชีพอาจจงใจใช้ QR Code พิมพ์ URL ซึ่งนำไปสู่เว็บไซต์หลอกลวง (Phishing) หลอกให้กรอกข้อมูลหรือบัญชีธนาคาร หรือหลอกให้โอนเงินไปบัญชีคนอื่นที่ไม่ใช่บัญชีของร้านค้าได้ ดังนั้นประชาชนต้องปกป้องตัวเอง และป้องกันภัยจาก QR Code หลอกลวง หรือ QR Code Scams ดังนี้

‘ดีอีเอส’ ชี้!! กรณี 9near โทษแรงส่อคุกได้ถึง 100 ปี แนะ!! ปชช.ต่อจากนี้ เลี่ยงตั้งรหัสด้วย ‘เลขบัตรฯ-วันเกิด’

จากกรณีที่แฮกเกอร์ 9near อ้างว่ามีข้อมูลคนไทยจำนวนกว่า 55 ล้านคน นั้น ในวันนี้ (7 เม.ย.66) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส กล่าวว่า... 

“เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถระบุตัวและชื่อของแฮกเกอร์ได้แล้ว อยู่ระหว่างการติดตามจับกุมตัวและดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม สำหรับสาเหตุการรั่วของข้อมูลอยู่ระหว่างการหาข้อเท็จจริง”

นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีกฎหมาย PDPA ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ถ้ามีคนร้ายขโมยข้อมูลและนำข้อมูลไปใช้อย่างผิดกฎหมายจะมีโทษ ขณะเดียวกันผู้ที่นำข้อมูลจากคนร้ายนำไปเผยแพร่หรือใช้ต่อจะมีโทษด้วย ฝากเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการให้ข้อมูลตนเองกับผู้ที่ไม่รู้จัก

ขณะเดียวกันก็ควรระวังการตั้ง Username และ Password ซึ่งไม่ควรใช้เลขที่บัตรประชาชนและวันเดือนปีเกิดหรือเบอร์โทรศัพท์ และขอย้ำเตือนว่าเรามีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและลงโทษแฮกเกอร์หลายฉบับ ผู้กระทำความผิดก็จะมีโทษหนัก

รัฐมนตรี ดีอีเอส กล่าว “กระทรวงได้กำชับให้ทุกหน่วยงานยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล และให้ทำการตรวจสอบและปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบฐานข้อมูล ปิดช่องโหว่ต่างๆ เพื่อดูแลข้อมูลประชาชนให้ได้มาตรฐานสูงสุด”

ด้านพลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กล่าวว่า “สำหรับผู้กระทำความผิดกรณีนี้ เป็นทหาร ยศจ่าสิบโท ทั้งนี้ จากข้อมูลชี้ว่าแฮกเกอร์คนนี้เป็นคนมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์”

‘ดีอีเอส’ เดินหน้าพัฒนากฎหมายดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพิ่มความปลอดภัย คุ้มครองประชาชน มีผล 21 ส.ค.นี้

‘ดีอีเอส’ ประกาศ กฎหมาย Digital Platform จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคมที่จะถึงนี้ พร้อมประกาศให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เป็นสื่อกลาง อาทิ โซเชียลมีเดีย อีคอมเมิร์ซ sharing economy บริการสืบค้น (search engine) บริการรวมรวมข่าว โฮสติ้ง คลาวด์ แจ้งการประกอบธุรกิจต่อสำนักงานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ‘ETDA’

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า เพื่อรองรับ พ.ร.ฎ.การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ ‘กฎหมาย Digital Platform’ ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม ที่จะถึงนี้ ซึ่งมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล คือ ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ที่มีรายได้เกิน 50 ล้านบาทต่อปี กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นนิติบุคคล หรือเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นบุคคลธรรมดา หรือมีจำนวนผู้ใช้บริการเกิน 5,000 รายต่อเดือน มีหน้าที่แจ้งให้ ETDA ทราบก่อนการประกอบธุรกิจ และหากเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักร แต่ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรมีหน้าที่แต่งตั้งผู้ประสานงานในราชอาณาจักร

โดยกฎหมาย Digital Platform จะกำหนดหน้าที่ให้เหมาะสมกับลักษณะของการให้บริการและผลกระทบที่อาจเกิดจากการให้บริการ และกฎหมายนี้จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 21 สิงหาคมนี้ ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ประกอบธุรกิจอยู่ก่อนวันดังกล่าวจะต้องแจ้งให้ ETDA ทราบภายใน 90 วันซึ่งจะตรงกับวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 หากไม่แจ้งภายในเวลาดังกล่าว จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

“กฎหมาย Digital Platform กำกับดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อให้มีมาตรฐานที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลให้บริการได้อย่างโปร่งใสและเป็นธรรม มีการดูแลผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม และยังเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน โดยกฎหมายนี้มุ่งเน้นการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ดังนั้น ขอย้ำว่าผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ขายสินค้าออนไลน์ หรือคนไลฟ์สด หรือคนทำ content เผยแพร่ บนบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ได้มีหน้าที่ต้องมาแจ้งให้ ETDA ทราบตามกฎหมายนี้แต่อย่างใด” นายชัยวุฒิ กล่าว

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้กฎหมายมีความครบถ้วนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ETDA จึงได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อกฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.ฎ. Digital Platform (Public hearing) รวม 4 ครั้ง โดยปัจจุบันได้ดำเนินการมาจนถึงครั้งที่ 4 ในวันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2566 เกี่ยวกับ (ร่าง) คู่มือการพิสูจน์และยืนยันตัวตนเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ใช้บริการ ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาที่สำคัญจากการใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น การหลอกลวง การไม่ทราบตัวคนที่ต้องรับผิด เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทำแนวปฏิบัติที่ดี (Best practice) หรือมีกลไกในการกำกับดูแลตนเองที่เหมาะสม

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดโต๊ะหารือ 2 ผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์ม ‘Pantip – Blockdit’ ถึงวิธีการลงทะเบียนผู้ใช้บริการผ่าน User ID เร่งดัน ‘(ร่าง) คู่มือการพิสูจน์และยืนยันตัวตนเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ใช้บริการ’ สู่การสร้างกลไกการดูแลตนเอง (Self-regulation) และการดูแลผู้ใช้บริการที่เหมาะสม ภายใต้ กฎหมาย Digital Platform Services ด้วย

พร้อมกันนี้ ในที่ประชุมยังได้มีการพูดคุยกันถึงแนวทางการดูแล ป้องกันและแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นแก่ผู้ใช้บริการ ผ่านกลไกการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้งาน เนื่องจาก Pantip และ Blockdit ถือเป็นตัวอย่างผู้ให้บริการ social media ที่มีการใช้กลไกการลงทะเบียนของผู้ใช้บริการ หรือ User ID ที่ดีมาอย่างต่อเนื่องและมีบัญชีผู้ใช้บริการที่ยังใช้งานอยู่ในระบบจำนวนมาก จากพูดคุยพบว่า ทั้ง 2 ผู้ให้บริการได้มีการกำหนดวิธีการลงทะเบียนเข้าใช้งานของผู้ใช้บริการที่ค่อนข้างชัดเจน คือ มีการกำหนดระดับความน่าเชื่อถือ ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้งานตามความเสี่ยงของการใช้งาน เช่น ถ้าเป็นการใช้งานขั้นพื้นฐานทั่วไปที่มีความเสี่ยงน้อย ก็จะเน้นลงทะเบียนยืนยันตัวตนด้วย ชื่อ-สกุล อีเมล หรือ เบอร์โทรศัพท์ แต่ถ้าหากเป็นการใช้งานที่มีความเสี่ยงมากๆ เช่น ขายสินค้า ก็จะต้องมีการยืนยันตัวตนด้วยชื่อ ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ หรือยืนยันตัวตนด้วย Digital ID ที่น่าเชื่อถือ อย่าง Digital ID ที่ออกโดยแอปพลิเคชัน ThaiD ของกรมการปกครอง ซึ่งจากการให้บริการของ 2 แพลตฟอร์ม พบว่า คนไทยส่วนใหญ่ค่อนข้างมีความตระหนักในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในการลงทะเบียน หรือ สมัครเข้าใช้บริการ โดยเฉพาะการกรอกเลขบัตรประชาชนและเลขโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

โดยข้อมูลที่ได้จากการประชุมร่วมครั้งนี้ จะถูกนำไปเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอแนะที่จะนำไปปรับปรุง ‘(ร่าง) คู่มือการพิสูจน์และยืนยันตัวตนเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ใช้บริการ’ กฎหมายลำดับรองภายใต้ กฎหมาย DPS (Digital Platform Services) ที่จะมีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น Public Hearing ในวันที่ 26 มิถุนายนนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ แก่ผู้ให้บริการในฐานะผู้ประกอบธุรกิจ ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนผู้ใช้บริการ ผ่านการลงทะเบียนการเข้าใช้งาน เพื่อให้ได้บัญชีผู้ใช้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ ระบุตัวตนได้ เพื่อเป็นประโยชย์ในการคุ้มครองผู้บริโภค ลดการฉ้อโกงออนไลน์

โดยเนื้อหาของร่างคู่มือฉบับนี้ จะครอบคลุมทั้ง การจัดประเภทผู้ใช้งานที่ควรพิสูจน์และยืนยันตัวตน กำหนดระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์และยืนยันตัวตน List ข้อมูลที่จะต้องเก็บรวบรวม แนวทางการตรวจสอบข้อมูล การแสดงสัญลักษณ์หรือข้อความว่าดำเนินการพิสูจน์และยืนยันตัวตนแล้ว โดย (ร่าง) คู่มือ ฉบับดังกล่าว นับเป็นหนึ่งตัวอย่างของการสร้างกลไกการดูแลตนเอง (Self-regulation) ของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เหมาะสม สอดคล้องตามเจตนารมณ์ภายใต้กฎหมายฉบับนี้
 

‘ชัยวุฒิ’ เร่งปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ เดือน พ.ค. ระดมจับคนขายบัญชีม้า ซิมม้าแล้วกว่า 200 ราย

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 2/2566เพื่อเร่งรัดทุกหนว่ยงานที่เกี่ยวข้องปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์

วันนี้ (23 มิถุนายน 2566) นายชัยวุฒิ รัฐมนตรีดีอีเอส พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์ สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พล.ต.อ. ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. พล.ต.ต. เอก รักษ์ ลิ้มสังกาศ รองเลขาธิการ ปปง. พล.ต.ท. วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. พล.ต.ท. สุรพล เปรมบุตร ผู้บัญชาการประจําสํานักงานผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ นาวาโท ศักติพงษ์ สิบหมื่นเปี่ยม ผู้อํานวยการฝ่ายเฝ้า ระวังความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ สกมช. นายเขมชาติ ประกายหงษ์มณี ผู้อํานวยการกองคดีเทคโนโลยี และสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ ไทย นายกฤษณ์ ไพโรจน์กีรติกุล ผู้อํานวยการฝ่ายอาวุโส บมจ. ธนาคารกรุงไทย ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย นางสาวสุชา บุณยเนตร ผู้ช่วยเลขาธิการสํานักงาน ก.ล.ต. นางสาวอรวรี เจริญพร ผู้อํานวยการสํานักบริหาร จัดการหมายเลขโทรคมนาคม สํานักงาน กสทช. และนายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการฯ ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม อาชญากรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 2/2566 เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับตาม พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 และพิจารณากระบวนการ ดําเนินงานที่เกี่ยวข้องในการระงับยับยั้งธุรกรรมที่ต้องสงสัยและช่องทางสําหรับให้บริการประชาชนอย่าง สะดวกและรวดเร็ว

ที่ผ่านมาหลัง พ.ร.ก. มีผลบังคับใช้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดําเนินการ สรุปผลได้ดังนี้ เมื่อเทียบก่อนและหลังออก พ.ร.ก. สถิติการเกิดคดีออนไลน์ ลดลง และสามารถอายัดบัญชีคนร้ายได้มากขึ้น ดังนี้

- สถิติคดีออนไลน์ - การอายัดบัญชีก่อน เฉลี่ย 790 เรื่อง/วัน หลัง เฉลี่ย 684 เรื่อง/วัน

(คดีลดลงเฉลี่ย 106 เรื่อง/วัน) ก่อน อายัดได้ทัน 6.5% (ขออายัด 1.35 พันล้านบาท อายัดทัน 87 ล้านบาท) หลัง อายัดได้ทัน 15.3% (ขออายัด 1.5 พันล้านบาท อายัดทัน 229 ล้านบาท) (อายัดได้ทันเพิ่มขึ้น 8.8%)

ผลการดําเนินงาน 4 ด้าน

1. บัญชีม้าซิมม้าแก๊งCallCenter-ปิดกั้นSMS/เบอร์โทรหลอกลวงรวม188,915รายการ (กสทช.) / ปิดกลุ่ม facebook ซื้อขายบัญชีม้า 19 กลุ่ม (กระทรวงดิจิทัลฯ) / อายัดบัญชี 101,904 บัญชี (สตช.) / - แจ้งรายชื่อบุคคล /เจ้าของบัญชีธนาคาร ที่ใช้กระทําความผิด 993 รายชื่อ (ปปง.) / ดําเนินคดี บัญชีม้า ซิมม้า 219 คดี ผู้ต้องหา 216 คน (ตํารวจ)

2. การหลอกลวงลงทุน-ระดมทุนออนไลน์และหลอกลวงทางการเงิน-ดําเนินคดี740คดี/ผู้ต้องหา 762 ราย (ตํารวจ)

3. การพนันออนไลน์-ดําเนินคดี662คดี/ผู้ต้องหา774ราย(ตํารวจ)/ปิดกั้น2,334เว็บไซต์ (กระทรวงดิจิทัลฯ)

4. การหลอกลวงซื้อขายสินค้าบริการออนไลน์ - ดําเนินคดี 331 คดี / ผู้ต้องหา 347 ราย (ตํารวจ)

ที่ประชุมไดพ้ ิจารณาประเด็นที่สําคัญในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ 7 เรื่อง

1. เหตุอันควรสงสัยของสถาบันการเงินโดยได้กําหนดเหตุอันควรสงสัยของธุรกรรมทางการเงินที่อาจเป็น การดําเนินการของมิจฉาชีพ 18 ข้อ

2. เหตุอันควรสงสัยของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ที่อาจเป็นการดําเนินการของมิจฉาชีพ10ข้อ

3. ระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ ระหว่าง สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจ

กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสมาคมธนาคารไทยอยู่ระหว่างพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล ITMX ซึ่งที่ ประชุมมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศและสมาคมธนาคารไทยเร่งรัดการจัดทําระบบแลกเปลี่ยน ข้อมูลให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

4. ระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่าง ผู้ให้บริการ เครือข่ายโทรศัพท์ ซึ่งที่ประชุมมอบหมายให้สํานักงาน กสทช เร่งพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ เพื่อใช้ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์

5. วิธีการและช่องทางในการแจ้งเหตุอันควรสงสัย และรับส่งข้อมูล ของสถาบันการเงินฯ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยตํารวจจะพัฒนาระบบ Banking เชื่อมต่อกับระบบ ITMX ของสถาบันการเงินเพื่อเป็น ช่องทางรับแจ้งเหตุอันควรสงสัย และให้ ปปง. และ DSI พิจารณาช่องทางในการรับแจ้งเหตุอันควร สงสัยและการรับส่งข้อมูลกับสถาบันการเงินด้วย

6. วิธีการและช่องทางในการแจ้งเหตุอันควรสงสัย และรับส่งข้อมูล ของผู้ให้บริการโทรศัพท์ฯ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยระบบ banking ของตํารวจจะเชื่อมต่อกับระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลของ

กสทช. ด้วยเพื่อรับแจ้งเหตุอันควรสงสัย

7. วิธีการและช่องทาง ของสถาบันการเงินฯ ในการรับแจ้งจากผู้เสียหาย โดยหน่วยงานได้ ร่วมกัน ดําเนินงานตาม พรก อย่างจริง

8. มาตรการอื่นๆได้แก่การควบคุมการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อไม่ให้เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยน และฟอกเงิน การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการรัฐร่วมเอกชน แนวทางการป้องกันและปราบปรามบัญชีม้าและ ซิมม้า แนวทางในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันป้องกันภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้แก่ประชาชน มาตรการในการป้องกันปราบปรามคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีประเภท แอปพลิเคชันดูดเงิน

รัฐมนตรีชัยวุฒิฯ แจ้งว่า คณะกรรมการได้เห็นชอบแนวทางตามที่เสนอและขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นําไปดําเนินการ อย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาลดความเดือดร้อนให้ประชาชนโดยเร็วต่อไป และขอขอบคุณทุก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขานรับและตั้งใจร่วมกันในการดําเนินงานแก้ไขปัญหาลดความเสียหายและอาชญากรรมที่ เกิดขึ้น บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จับกุมผู้กระทําความผิด และดําเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องกับบัญชีม้า และซิมม้ามาลงโทษ ซึ่งจะสามารถบรรเทาการสูญเสียทรัพย์ได้แน่นอน

ดีอีเอส-ETDA เปิด Public Hearing ‘คู่มือการลงทะเบียนผู้ใช้งาน’ ภายใต้กฎหมาย DPS

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) โดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น (Public Hearing) ต่อ “(ร่าง) คู่มือการพิสูจน์และยืนยัน ตัวตนเพื่อลงทะเบียนผู้ใช้บริการ” พร้อมเปิดเวทีระดมความเห็นต่อแนวทางการออกเครื่องหมาย แสดงการรับรอง ภายใต้กฎหมาย Digital Platform Services เพื่อเป็นกลไกเสริมในการลด ความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ดูแลผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า หลังจากที่ พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ

พ.ศ. 2565 หรือ กฎหมาย DPS (Digital Platform Services) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 ก่อนที่กฎหมายฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 นี้ ดีอีเอส ผ่านการดำเนินงานของ ETDA ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนกฎหมายฉบับดังกล่าว จึงได้เดินหน้าศึกษาและจัดทำร่างกฎหมายลำดับรอง ภายใต้กฎหมาย DPS หลังจากนั้นจึงได้มี กระบวนการรับฟังความคิดเห็น รวมถึงการจัด Focus Group สำหรับร่างกฎหมายลำดับรอง จากหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ทั้งจากภาครัฐ เอกชน regulator ตลอดจน ผู้ประกอบการ ผู้ใช้บริการ และประชาชนทั่วไปมาอย่างต่อเนื่อง ก่อนนำข้อเสนอแนะ ความคิดเห็น ที่ได้มาจัดทำและปรับปรุงร่างกฎหมายลำดับรองให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาได้มี การนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ และคณะอนุกรรมการกฎหมาย ภายใต้คณะกรรมการ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (คธอ.) ในการพิจารณาไปแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้หลักเกณฑ์ และข้อปฏิบัติ ภายใต้กฎหมาย DPS มีความชัดเจน โปร่งใส สำหรับผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ที่ผ่านมา ETDA จึงได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น หรือ Public Hearing ต่อร่างกฎหมายลำดับรองไปแล้ว 3 ครั้ง จำนวน 9 ฉบับ ผ่านระบบการประชุมทางออนไลน์ และผ่านระบบกลางทางกฎหมาย โดยวันนี้ (26 มิถุนายน 2566) จะเป็นกิจกรรม Public Hearing ครั้งที่ 4 เพื่อรับฟัง

ความคิดเห็นต่อ “(ร่าง) คู่มือการพิสูจน์และยืนยันตัวตนเพื่อลงทะเบียนผู้ใช้บริการ เพื่อเป็น แนวทางในการปฏิบัติ แก่ผู้ให้บริการ ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ในการพิสูจน์ และยืนยันตัวตนผู้ใช้บริการ ผ่านการลงทะเบียนการเข้าใช้งาน เพื่อให้ได้บัญชีผู้ใช้งานที่มีความน่าเชื่อถือ ระบุตัวตนได้ เพื่อเป็นประโยชย์ในการคุ้มครองผู้ใช้บริการ ลดความเสี่ยงจาก การฉ้อโกงออนไลน์ โดยเนื้อหาของ (ร่าง) คู่มือฉบับนี้จะครอบคลุมทั้งการจัดประเภทผู้ใช้บริการที่ควร พิสูจน์และยืนยันตัวตน การกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์และยืนยันตัวตน รายการของ ข้อมูลที่จะต้องเก็บรวบรวม แนวทางการตรวจสอบข้อมูล และการแสดงสัญลักษณ์หรือข้อความว่า ผู้ใช้บริการรายนั้นได้ดำเนินการพิสูจน์และยืนยันตัวตนแล้ว เป็นต้น นอกจากนี้ เรายังมีกิจกรรมการ ระดมความเห็นต่อ “แนวทางในการออกเครื่องหมายแสดงการรับรอง” เพื่อนำไปเสริมเป็นแนวคิด ในการจัดทำประกาศ คธอ. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกเครื่องหมายแสดงการรับรอง พ.ศ. .... ภายใต้มาตรา 27 ของ กฎหมาย DPS เพื่อเป็นกลไกช่วยผู้ใช้บริการประกอบการตัดสินใจ เลือกใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ได้รับเครื่องหมายรับรองนี้ ทั้งยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ ประกอบธุรกิจ DPS เกิดการปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎหมาย รวมถึงการได้รับความเชื่อมั่นจาก ผู้ใช้บริการมากขึ้น ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นและการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ จะถูก นำไปเป็นข้อเสนอแนะและข้อมูลสำคัญในการนำไปปรับปรุงและพัฒนาเนื้อหาของเอกสารทั้ง 2 ฉบับ ให้มีความครบถ้วน ชัดเจนยิ่งขึ้น และสามารถปฏิบัติตามได้จริง

สำหรับผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ผู้ประกอบการ คนทำงานบน แพลตฟอร์ม ผู้บริโภค ผู้ใช้บริการที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป ที่สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการ พัฒนาคู่มือและแนวทางทั้งสองเรื่องให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สามารถร่วมแสดงความ คิดเห็น ข้อเสนอแนะต่อร่างคู่มือการพิสูจน์และยืนยันตัวตนเพื่อลงทะเบียนผู้ใช้บริการ และ แนวทางในการออกเครื่องหมายแสดงการรับรองได้ที่ระบบกลางทางกฎหมาย หรือ ที่ลิงก์ https://www.etda.or.th/th/regulator/Digitalplatform/Public-Hearing-DP.aspx ได้ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน – 26 กรกฎาคม 2566


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top