Thursday, 22 May 2025
ดรนิว

'ดร.นิว' ถาม 'ธนาธร' ชี้นำความคิดให้ผู้อื่นกระทำสารพัด แล้วเคยบอกลูกให้ลาเครื่องแบบโรงเรียนนานาชาติหรือยัง?

(2 ธ.ค. 65) นายศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ 'ดร.นิว' นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Suphanat Aphinyan ระบุว่า...

2 ปีผ่านมาแล้ว วันนี้ลูก ๆ ของคุณ Thanathorn Juangroongruangkit ได้บอกลาเครื่องแบบโรงเรียนนานาชาติคอนคอร์เดียนกับโรงเรียนนานาชาติไบร์ทตันแล้วหรือยัง?

ผมพูดจริงๆ นะ การที่คุณพล่ามบอกลูกๆ ของชาวบ้านให้ทำนู่นทำนี่สารพัด คอยชี้นำทางความคิดและยัดเยียดภาระหน้าที่อันหนักอึ้ง แต่ในขณะเดียวกัน คุณกลับไม่ได้พล่ามบอกลูกๆ ของตัวเองให้กระทำเช่นนั้นด้วย 

สุดท้าย คนอย่างคุณก็เป็นได้เพียงแค่นายทุนชนชั้นนำนักเผด็จการคนหนึ่ง ซึ่งมีส่วนร่วมในการสร้างความเหลื่อมล้ำ ชนชั้น และการเอารัดเอาเปรียบ แม้จะพูดจาสวยหรู แต่การกระทำกลับสวนทางกับคำพูดอย่างสิ้นเชิง

‘ดร.นิว’ ท้า!! ‘ธนาธร-ปิยบุตร’ อดอาหารเป็นเพื่อน ‘แบม-ตะวัน’

(7 ก.พ. 66) ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ 'ดร.นิว' นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัว Suphanat Aphinyan ระบุว่า "ถ้าธนาธรกับปิยบุตรกล้าอดอาหารเป็นเพื่อนกับ #ตะวันแบม เดี๋ยวผมอดด้วยครับ"

'ตะวัน' และ 'แบม' นักกิจกรรมอิสระ ได้ทำการประท้วงอดอาหารมาเป็นเวลากว่า 20 วันแล้ว เพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัวผู้ต้องขังคดีการเมือง และข้อเรียกร้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม การอดอาหารเป็นระยะเวลานานนั้น ส่งผลให้อาการของตะวันและแบมทรุดลงอย่างน่าวิตก อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนศาสตร์ประเมินแล้วพบว่า แบมและตะวัน มีภาวะเลือดเป็นกรด ค่าคีโตนสูง รวมถึงมีอาการอ่อนเพลีย หายใจเหนื่อย นอนไม่หลับ มีเลือดออกตามไรฟัน ระดับน้ำตาลในเลือดที่เจาะจากปลายนิ้วยังคงต่ำกว่าปกติ แพทย์ประเมินความเสี่ยงระดับสูงต่อการเกิดกลุ่มอาการหลังการได้รับสารอาหารหรือ refeeding syndrome ทั้งนี้ ทีมแพทย์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ยังคงเฝ้าติดตามอาการของทั้งสองคนอย่างใกล้ชิด

‘ดร.นิว’ ชี้!! สงกรานต์นี่แหละ Soft Power ไทยสุดทรงเสน่ห์ สร้างชื่อให้เมืองไทย เป็นที่รู้จัก ชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วโลก

(15 เม.ย. 66) ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ‘ดร.นิว’ นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้โพสต์ข้อความถึงประเพณีสงกรานต์ที่ถือเป็นอีก Soft Power สำคัญ ช่วยทำให้ทั่วโลกรู้จักเมืองไทย และล่าสุดพระเอกซุปตาร์แห่งฮ่องกงอย่าง ‘หลิวเต๋อหัว’ ก็ยังมาร่วมประเพณีนี้ในแผ่นดินไทย หลังโลกโซเชียลแชร์สะพัดว่า “หล่ออมตะ” ผู้นี้ได้มาเยือนเมืองไทยในช่วงสงกรานต์ด้วย ว่า...

‘ดร.นิว’ เฮ!! ผลหยั่งเสียงเลือกอธิการบดี มธ. ‘ปริญญา’ ได้ที่โหล่ อาจปิดช่องประชาคมธรรมศาสตร์ ต่อท่อกับพรรคก้าวไกลเสียที

(24 ก.พ. 67) ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ‘ดร.นิว’ นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า…

“โชคดีของประชาคมธรรมศาสตร์ที่นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล ได้รับการเสนอชื่อเป็นอธิการบดีในอันดับท้ายสุด มิฉะนั้นไม่รู้ว่าธรรมศาสตร์จะไปทางไหน เพราะนายปริญญาปล่อยให้ม็อบสามนิ้วใช้ธรรมศาสตร์ปราศรัยล้มล้างการปกครอง ใช้วิชา TU100 ต่อท่อกับพรรคก้าวไกล ดังนั้น #ให้ปริญญาจบที่รุ่นเรา ก็ดีแล้ว”

สำหรับการหยั่งเสียงเพื่อเลือกอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนใหม่ เมื่อวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 3 ราย คือ ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ คณะรัฐศาสตร์, รศ.ดร.พิภพ อุดร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และ ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์

ผลการนับคะแนนเบื้องต้นปรากฏว่า ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ได้รับการเสนอชื่อเป็นอันดับที่ 1 ใน 26 ส่วนงาน, รองลงมาคือ รศ.ดร.พิภพ ได้รับการเสนอชื่อเป็นอันดับที่ 1 ใน 12 ส่วนงาน และ ผศ.ดร.ปริญญา ได้รับการเสนอชื่อเป็นอันดับที่ 1 ใน 5 ส่วนงาน

ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาฯ จะได้จัดประชุมในวันที่ 28 ก.พ. เพื่อรายงานสรุปความคิดเห็น เสนอต่อสภามหาวิทยาลัยทราบ พร้อมทั้งทาบทามบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสัมภาษณ์ และแถลงแนวทางการบริหารมหาวิทยาลัยต่อคณะกรรมการสรรหาฯ พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย นักศึกษา และศิษย์เก่า เข้ารับฟังการแถลงแนวทางการบริหารในวันที่ 19 เม.ย. ต่อไป

‘ดร.นิว’ ย้ำชัด "การเซ็นรัฐประหาร" ไม่มีจริง ชี้!! เป็นเพียงวาทกรรมใส่ร้ายในหลวง ร.9 เท่านั้น

เมื่อวานนี้ (15 ต.ค.67) ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas โพสต์เฟซบุ๊ก Suphanat Aphinyan ระบุข้อความว่า...

การเซ็นรัฐประหารเป็นเพียงวาทกรรมใส่ร้าย ร.9 

ในหลวง ร.9 โดนบิดเบือนให้ร้ายมากที่สุดในข้อกล่าวหาเซ็นรัฐประหาร ทั้ง ๆ ที่การเซ็นรัฐประหารเป็นเพียงแค่วาทกรรมเท่านั้น ไม่ได้มีอยู่จริง แต่กลับถูกปั่นกระแสบิดเบือนทางโซเชียลมีเดีย ผลิตซ้ำแล้วซ้ำเล่าให้ท่องตาม ๆ กัน ไม่ต่างจากนกแก้วนกขุนทอง เป็นการโฆษณาชวนเชื่อที่ปราศจากความรู้และความเข้าใจในความจริง 

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระราชอำนาจส่วนใหญ่ที่มีมาแต่เดิมของพระมหากษัตริย์ได้ผ่องถ่ายมาสู่ประชาชน พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยจึงมีพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มิได้มีพระราชอำนาจอันเบ็ดเสร็จเด็ดขาด รวมถึงไม่ได้มีพระราชอำนาจที่จะยับยั้งการรัฐประหารได้ 

พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยจึงไม่ต่างจากพ่อที่ได้ยกมรดกหรือกิจการให้ลูก ๆ ไปแบ่งปันดูแลเกือบหมด จนเป็นหน้าที่ของลูกๆ ในการบริหารจัดการกันเอง พ่อจึงเป็นได้เพียงแค่ที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงที่มีความเป็นกลาง คอยเฝ้ามองดูอยู่ห่างๆ สามารถแนะนำ ให้กำลังใจ และตักเตือนได้เท่านั้น แต่ไม่อาจแทรกแซงได้ 

การรัฐประหารแต่ละครั้งคล้ายกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ของคณะราษฎรที่ไม่ได้สร้างประชาธิปไตย ไม่ได้ทำอำนาจอธิปไตยให้เป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง หากแต่เป็นการยึดอำนาจที่พระมหากษัตริย์ได้พระราชทานให้กับประชาชนมาเป็นของคณะราษฎรเสียเอง แล้วก็ไม่เคยที่จะส่งอำนาจนั้นถึงมือประชาชน 

เมื่อการเซ็นรัฐประหารไม่ได้มีอยู่จริง แต่สิ่งที่มีอยู่จริง คือ การนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหาร ซึ่งการรัฐประหารเหมือนกับการที่ลูก ๆ ทะเลาะกัน ส่วนการนิรโทษกรรมก็คล้ายกับการที่ลูกฝ่ายซึ่งได้ดูแลกิจการขอโทษพ่อที่ลูก ๆ ทะเลาะกัน โดยต้องยอมรับว่าการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหารเป็นวัฒนธรรมที่คณะราษฎรริเริ่มขึ้น 

การที่ในหลวง ร.9 ไม่ได้ทรงยุ่งเกี่ยวกับการรัฐประหารถือเป็นเรื่องที่ถูกต้องที่สุด อีกทั้งยังเป็นไปด้วยความรักที่มีต่อประชาชนอย่างลึกซึ้ง เพราะถ้าหากในหลวงทรงแทรกแซงด้วยการไม่ยอมรับการรัฐประหาร ก็เท่ากับปลุกให้ประชาชนลุกฮือ อันเป็นเหตุให้เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายรัฐประหารกับฝ่ายต่อต้านรัฐประหาร 

นอกจากนี้ การที่ในหลวง ร.9 ทรงไม่ยุ่งเกี่ยวกับการรัฐประหาร จึงเหมือนกับการที่ในหลวง ร.7 ทรงตัดสินพระทัยไม่ต่อสู้กับคณะราษฎร ในหลวงทุกพระองค์ล้วนรักประชาชนอย่างแท้จริง ในหลวงต่างจากนักการเมืองที่ความรักของในหลวงไม่ได้หวังผลตอบแทน และไม่ได้ใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือเฉกเช่นนักการเมือง แต่ทรงรักประชาชนเหมือนดั่งลูก 

ดร.ศุภณัฐ
14 ตุลาคม พ.ศ. 2567
#ประชาธิปไตยTheseries by ดร.ศุภณัฐ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top